โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

นโยบายสาธารณะและพื้นที่สุขภาวะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย “ACTIVE PEOPLE ACTIVE ENVIRONMENT” ในงานสร้างสุขภาคใต้9 สิงหาคม 2566
9
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นโยบายสาธารณะและพื้นที่สุขภาวะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย “ACTIVE PEOPLE ACTIVE ENVIRONMENT”
ในงานสร้างสุขภาคใต้ วันที่ 9-10 สิงหาคม 2566
ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

  • กล่าวต้อนรับและเปิดงานการประชุม และชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม
    โดย... ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ
          รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

  • นำเสนอความก้าวหน้ามติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ประเด็น การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น 9 มติ และสถานการณ์กิจกรรมทางกาย โดย...ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ อาจารย์ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แลกเปลี่ยนการขับเคลื่อนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เป็นรูปธรรมในพื้นที่ (ประเด็นละ 10 นาที)

  • การขับเคลื่อนงานส่งเสริมกิจกรรมทางกายผ่านกองทุนสุขภาพตำบลสู่คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) จ.พัทลุง โดย คุณสมนึก นุ่นด้วง พี่เลี้ยง สปสช.เขต 12
  • กองทุนสุขภาพตำบลรูปธรรมความสำเร็จขับเคลื่อนงานส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่เทศบาลตำบลนาท่อม จ.พัทลุง โดย คุณถาวร คงศรี พี่เลี้ยง สปสช.เขต 12
  • บทเรียนการจัดการความปลอดภัยกีฬามวลชน โดย ดร.นพ.วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย เลขาธิการมูลนิธิสุขภาพภาคใต้ /อาจารย์สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • บทเรียนการจัดงานวิ่งท่าข้ามเทรล จ.สงขลา โดย ดร.สินธพ อินทรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
  • พื้นที่สุขภาวะเมืองภูเก็ต (ท้องถิ่น/มหาวิทยาลัย) และพื้นที่สุขภาวะเอกชนสวนสมุนไพรที่พังงา                    โดย คุณธนวัฒน์ วงศ์ลักษณพันธ์ รักษาการหัวหน้างานงานบริการวิชาการ วิจัย และประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสงขลานนครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต และคุณณัฐวิช วิเศษสินธุ สถาปนิกโครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย
  • นวัตกรรมการเรียนการสอนกับการส่งเสริมกิจกรรมกาย โดย อาจารย์อะหมัด หลีขาหรี รองผู้อำนวยการโรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ อ.นาทวี จ.สงขลา
  • มุมมองสื่อจากประสบการณ์ถอดบทเรียนชุมชนกับการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในประเทศไทย โดย คุณถนอม ขุนเพ็ชร์ สื่อ/นักเขียนอิสระ ผู้ดำเนินการประชุม : ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ อาจารย์ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระดมความคิดเห็นแต่ละกลุ่ม (แบ่งกลุ่ม 4 กลุ่ม) คุย 9 มติ ว่าใครทำอะไรอย่างไรต่อ
    หัวข้อ: Roadmap แผนและโครงการ PA เพื่อการขับเคลื่อนในพื้นที่/องค์กร โดย... Stakeholders ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน แลกเปลี่ยนเรียนรู้/นำเสนอ Roadmap แผนและโครงการ PA แต่ละมติ
    ผู้ดำเนินการประชุม: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ  ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ และคณะทำงาน โดย Stakeholders ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน
    สรุปการประชุม
    โดย... ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ
          รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ดำเนินการระดมสมองเพื่อระบุแนวทาง / กิจกรรม และผู้รับผิดชอบในแต่ละมติตามแผนกิจกรรมทางกาย ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2567-2569) (ความคิดกลุ่ม)

  • Active society มีมติ 2 ข้อ คือ
    1.การรับรู้กิจกรรมทางกาย
    2.การสื่อสารให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
    ซึ่งใน 2 มตินี้มีการดำเนินการไปแล้ว ซึ่งมีการรับรู้ในส่วนของตัวบุคคลและองค์กร แต่อาจจะยังไม่เต็มที่เท่าที่ควร ส่วนในด้านของการสื่อสาร ซึ่งต้องมีการขยับขับเคลื่อนต่อไป ในส่วนของหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบ ที่เกี่ยวข้อง โรงเรียน ควรมีนโยบายหรือหลักสูตรในระดับสถานศึกษา ในเรื่องกิจกรรมทางกาย รวมไปถึง อปท. อบต. อบจ. เทศบาล ควรมีนโยบายและการรณรงค์ แบบแผน 3 ปี สนส. สปสช. มีงบประมาณทั้งในเรื่องของส่วนกลาง กองทุนสุขภาพ ควรเข้ามาสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง รพ.สต. ก็ควรมีระบบของฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับทุกหน่วยงาน การยกระดับของปีที่ 2-3 ให้เป็นในเรื่องของการติดตามการยกระดับ และการทำอย่างต่อเนื่องและรวมไปถึงการถอดบทเรียนระหว่างทางด้วย และประเด็นของการสื่อสาร องค์กรสื่อในมติสมัชชาสุขภาพ พูดถึงประเด็นกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกฯ ซึ่งควรมีองค์กรที่เกี่ยวข้องมากกว่านั้น และควรสร้างกิจกรรมทางกาย ให้เป็นกระแสสร้างความต่อเนื่อง โดยอาจจะสร้างจาก influencer ผู้ที่มีอิทธิพลต่อความคิด อิทธิพลบนสื่อโซเชียลมีเดีย เพื่อเป็นไอเดียในการรณรงค์ในเรื่องกิจกรรมทางกาย เพื่อการสร้างสื่อและขยับการสร้างกระแส ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและยังคงกระแสไว้ได้อย่างต่อเนื่อง จะทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ

  • Active environment
      มีการดำเนินการไปแล้ว แต่ยังไม่ครอบคลุมเท่าที่ควร ซึ่งในสิ่งที่ควรทำต่อ คือ ในเรื่องของพื้นที่ในการอกกำลังกาย สวนสาธารณะ สวนสาธารณะประโยชน์ทั่วไป ที่เป็นพื้นที่ที่สามารถใช้และสร้างกิจกรรมทางกายได้ แต่ยังขาดระบบรักษาความปลอดภัย เช่น ไฟฟ้า แสงสว่าง และเครื่อง AED ในสถานที่ทำกิจกรรมทางกาย ซึ่งเป็นประเด็นแรกๆ ที่ควรทำและดำเนินการ มีการดำเนินการไปแล้วในปีที่1 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมี อปท. ตำรวจ และสาธารณสุข และในส่วนเรื่องของสัญลักษณ์ของ environment ยังมีสัญลักษณ์ที่ไม่ชัดเจน จำเป็นจะต้องมีสัญลักษณ์แบ่งให้ชัดเจน เช่น สัญลักษณ์แบ่งเลนการขี่จักรยาน /วิ่งช้า/วิ่งเร็ว พื้นที่สาธารณะส่วนใหญ่ไม่เอื้อให้ทุกกลุ่มวัยในการทำกิจกรรมทางกาย ซึ่งควรจะต้องเป็นพื้นที่สามารถทำกิจกรรมทางกายได้ทุกกลุ่มวัย และสามารถทำกิจกรรมครอบครัวได้ จึงจำเป็นต้องมีการออกแบบพื้นที่นั้นๆ ให้เอื้อต่อการทำกิจกรรมทางกายได้ทุกกลุ่มวัย และในส่วนพื้นที่ที่มีบริเวณจำกัด อาจจะใช้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์และทำกิจกรรมทางกายได้ อาจจะมีการออกแบบให้เหมาะสมในกลุ่มวัยต่างๆ การสร้างพื้นที่ทำกิจกรรมทางกายเหล่านี้ ควรคำนึงถึงสาธารณูปโภค ที่เอื้อต่อการออกกำลังกาย เช่น ห้องน้ำ โทรศัพท์ และควรมีการจัดผังเมืองที่ระบุถึงพื้นที่ที่เอื้อต่อการทำกิจกรรมทางกายได้ ด้านข้อกฎหมาย ในการใช้พื้นที่สาธารณะร่วมกัน ในบางพื้นที่ยังติดขัดในข้อกฎหมายในการใช้พื้นที่ร่วมกัน ซึ่งจริงๆ แล้ว ในพื้นที่สาธารณะ สามารถใช้ร่วมกันได้ ภายในโรงเรียน อาจมีการจัดการพื้นที่ให้สามารถมีพื้นที่ ในการทำกิจกรรมทางกายได้ มีการจัดบริเวณสัดส่วนที่สามารถออกกำลังกายได้ ซึ่งจะต้องเสริมสร้างความคิดว่าการออกกำลังกายมีความสำคัญและควรทำอย่างต่อเนื่อง ข้อบังคับ

  • การใช้พื้นที่สาธารณะร่วมกัน ในทุกๆองค์กรจำเป็นต้องมีระบบ ระเบียบ วิธีการ เพื่อมีข้อตกลงร่วมกัน เพื่อใช้พื้นที่ให้เอื้อต่อการทำกิจกรรมทางกายร่วมกันได้
  • ควรมีการกระจายพื้นที่สาธารณะ ที่เอื้อต่อการทำกิจกรรมทางกาย อาจจะมีการสร้างพื้นที่เล็กๆ เช่น โรงเรียน อบต. ในบริเวณที่เป็นพื้นที่ว่างเพื่อเป็นพื้นที่สาธารณะในการทำกิจกรรมทางกาย        ทำให้เกิดความกระจายมากยิ่งขึ้น และครอบคลุมทุกกลุ่มวัย ควรมีการสร้างพื้นที่ให้มีความหลากหลายในการออกกำลังกาย เช่น แบ่งโซนประเภทการออกกำลังกาย

  • Active People
        กิจกรรมที่เคยดำเนินไปแล้ว คือ การรณรงค์ส่งเสริมประชาสัมพันธ์ จากกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้ประชาชนเกิดความรับรู้ เข้าใจ และตระหนัก การมีส่วนร่วม เพื่อนำไปสู่การมีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น สนับสนุนทำให้มีความรู้ เข้าใจ ความตระหนัก การจัดการความรู้ สร้างนวัตกรรม และการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และการมีกิจกรรมทางกายของประชาชนที่สอดคล้องกับบริบทของสังคม และมองรวมไปถึงเรื่องประชาสัมพันธ์ กระบวนการการจัดทำโครงการ ในปีที่1 มีกิจกรรม เช่น งานวิ่ง ปั่นจักรยาน ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบควรเป็นท้องถิ่น หรือโรงเรียน เพราะเป็นองค์กรที่ใกล้ชิดกับภาคประชาชนมากที่สุด ในปีที่2 มองถึงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะให้มีลานกิจกรรมมากขึ้น จะได้มีกิจกรรมทางกายมากขึ้น หน่วยงานที่จะเข้ามาดูแลควรเป็นในส่วนท้องถิ่น และความมีการสร้างความตระหนักในการจัดการความรู้ ควรมีต้นแบบในการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย หรือจัดทำโครงการ ซึ่งผู้รับผิดชอบอาจจะเป็นภายในชุมชน หรือโรงเรียน โดยมีการเขียนโครงการเพื่อขอบประมาณต่างๆในการจัดทำโครงการ ส่วนกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย ควรมีการจัดทำหลักสูตร ในปีที่2 โดยเน้นการเรียนรู้ที่ชุมชนเป็นฐาน หน่วยงานที่รับผิดชอบคือชุมชน ท้องถิ่น โรงเรียน และสถานประกอบการ ในปีที่3 มองถึงหลักสูตรในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย ในส่วนของกระทรวงแรงงาน ควรจัดทำเป็นสื่อท้องถิ่น ผู้รับผิดชอบควรเป็นภาคเอกชน และในปีที่2 จะมองถึงการมีฐานข้อมูลกิจกรรมทางกาย ผู้รับผิดชอบโครงการ จะเป็นมหาวิทยาลัย ชุมชน หรือรวมถึงท้องถิ่น ในวิจัยจะขยับในปีที่3 โดยจะมีสถานศึกษา และมหาวิทยาลัยเข้ามาดูแล

  • Active system
      มีการสร้างนโยบาย การส่งต่อนโยบาย และการทำข้อมูลสถานการณ์ ซึ่งมีการส่งต่อให้กับภาคีเครือข่าย โดยมีกระทรวงการกีฬาและการท่องเที่ยว ให้มีการจัดอบรมอาสาสมัครส่งเสริมกีฬาและการออกกำลังกาย จะทำให้กลไกเหล่านี้มีบทบาทในการทำกิจกรรมทางกายในพื้นที่  ด้านการวางแผนดำเนินการต่อในปีที่1-3 ในปีที่ 1 ดำเนินการโดยกองทุนมีการจัดประชาคม ส่วนในปีที่2 มีการยกระดับแผนกองทุนให้เป็นแผนของอำเภอ เป็นบทบาทของ พชอ. และการบูรณาการแผนรวมกันในระดับจังหวัดซึ่งตอนนี้มีจังหวัดพัทลุง ปัตตานี สตูล นำร่อง โดยนำเรื่องกิจกรรมทางกายเป็นอีกหนึ่งแผนงาน ถ้าหากทุกจังหวัดมีการทำแผนรวมทุนจัดทำกิจกรรมทางกาย สร้างนโยบายจะทำให้การขับเคลื่อนแผนงานกิจกรรมทางกายได้มากขึ้น
      การส่งเสริม การสนับสนุน การให้ปฏิบัติในพื้นที่ ในปีที่1 จะมีผู้รับผิดชอบ สช. พชอ. พชต. ปีที่2 การส่งเสริม การสนับสนุน การให้ปฏิบัติในพื้นที่ จะมี พชอ. ในการขับเคลื่อน ส่วนในปีที่ 3 การส่งเสริม การสนับสนุน การให้ปฏิบัติในพื้นที่ สช. จังหวัด ขับเคลื่อนงานทั้งหมด และมีการพัฒนาข้อมูล และการจัดการข้อมูล ปีที่1 จะมีการจัดทำแผนและฐานข้อมูลในกิจกรรมทางกายในระบบ และในเว็บกองทุนตำบล เป็นบทบาทของกองทุนตำบล ปีที่2 แผนในระดับอำเภอบทบาทของ พชอ. ปีที่3 คาดว่ามีฐานข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้น จะเป็นบทบาทของ พชอ. และกองทุนตำบล และมีการขอความร่วมมือ กับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมกิจการเด็กและเยาวชน กรมกิจการสตรี และสถาบันครอบครัว รวมด้วยกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดให้มีแผนงานและนโยบาย โครงการ ในการส่งเสริมให้สถาบันครอบครัวมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น ในปีที่1 จะมีการผลักดันให้มีแผนกิจกรรมทางกาย ระดับครอบครัวและภาคีเครือข่าย โดยการส่งเสริมจาด พมจ. และเครือข่ายครอบครัวเข้มแข็ง ในส่วนปีที่2 มีการผลักดันให้เกิดโครงการสู่การปฏิบัติภายในระดับพื้นที่ จะเป็นในส่วนของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ปีที่ 3 คือการสร้างเครือข่าย Network ในระดับตำบล ระดับอำเภอ เป็นเครือข่ายศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน กลไกความร่วมมือ ในส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการสนับสนุนด้านงบประมาณ หลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นและพื้นที่ ให้มีแผนงานเกี่ยวกับกิจกรรมทางกาย และสอดคล้องกับแนวคิดนโยบายแผนเดียวของกระทรวงมหาดไทย และคิดว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อบต. อบจ. ต้องมีการยกระดับแผนงานในระดับเทศบัญญัติ ที่นำไปสู่แผนงานในปีที่ 2 และมีการประเมิน ติดตาม เพื่อยกระดับโดยมีท้องถิ่น เครือข่ายที่เกี่ยวข้องเข้ามาประเมินและติดตามผล ในเรื่องของมาตรการภาษี เป็นบทบาทหลักของสถาบันวิจัยสาธารณสุข มีเรื่องกระบวนการจัดการเรียนรู้ การเผยแพร่  การประชาสัมพันธ์ ในเรื่องกิจกรรมทางกาย ให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษี ในปีที่2 จะนำผลงาน จากปีที่ 1 เข้าแผนทำนโยบาย ส่วนปีที่ 3 จะเป็นการปฏิบัติเพื่อสร้างความยั่งยืน ซึ่งเป็นเรื่องระหว่างสถาบันวิจัยสาธารณสุข เพื่อส่งเรื่องนโยบายไปสู่กระทรวงการคลัง