โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

อัปเดตการออกแบบพื้นที่กับทีมPAภูเก็ต / zoom415 กุมภาพันธ์ 2566
15
กุมภาพันธ์ 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประขุมรายงานความก้าวหน้าการออกแบบพื้นที่และวางแผนการดำเนินโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การออกแบบพื้นที่มาจากความต้องการของชุมชนที่จะเข้ามาใช้ประโยชน์ใน ม.อ. ด้วยวิสัยทัศน์ของ ม.อ.ที่ให้ความสำคัญเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและร่วมกันพัฒนาชุมชนด้วยกัน ทางทีมงานได้ลงพื้นที่สำรวจความต้องการความคิดเห็นต่อการสร้างพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมสุขภาพส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้ประชาชนมีสุขภาพคุณภาพชีวิตที่ดี

ผลจากการสำรวจทางคณะทำงานและสถาปัตย์โครงการนำมาออกแบบ มีองค์ประกอบงานออกแบบ ดังนี้
1. ป้ายและองค์ประกอบพื้นที่
2. เพิ่มพื้นที่กิจกรรมทางกาย ระดับปานกลาง
3. พื้นที่กิจกรรมสำหรับเด็ก
4. พื้นที่สมุนไพรและให้ความรู้
5. พื้นที่กิจกรรมตลาด

รายละเอียด ดังนี้
1. ป้ายและองค์ประกอบพื้นที่ ป้ำยแผนที่ แนะน ำกิจกรรม ประกาศความเชื่อมั่นในศักยภาพ พื้นที่มหาวิทยาลัยและช่วยให้ ผู้คนเข้าใจพื้นที่ 2. สีอัฒจันทร์ตำมสีคณะ เชื่อว่าสีสันจะช่วยให้เกิดความสนุก ในการใช้พื้นที่มากขึ้น 3. เส้นทำงเดิน – วิ่ง หลากหลายทางภาษา เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ และกา รได้เห็นภาษาตัวเอง ใ น ต่ า ง ถิ่น จ ะ ช่ ว ย ใ ห้ เ กิ ด ค ว า ม รู้ สึ ก ถึ ง ความเป็นเจ้าของต่างชาติ 2. เพิ่มพื้นที่กิจกรรมทางกาย ระดับปานกลางใช้ป้ายกระโดดแปะ เชื่อว่าถ้ามา มอ.แล้วกระโดด แตะป้ายครบ 30 ป้ายตามทางเดิน จะถูกหวย / สอบผ่าน / ได้แฟน เกิดการบอกต่อและดึงดูให้คนมาใช้พื้นที่ 3. พื้นที่กิจกรรมสำหรับเด็ก ได้แก่ 1. Play Street fUniversity ทดลองปิดถนน ให้เด็กๆมาวาดชอล์คพบนพื้น สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เด็กได้เล่น สร้างความเชื่อให้กับชุมชนถึง การเปิดกว้างในการการใช้พื้นที่ ของมหาวิทยาลัย สร้างความเชื่อในความชอบ ของเด็กๆแบะได้เรียนรู้อาชีพ 2. ลำนเด็กเล่น สร้างพื้นที่เล่นลงบนบริบทเดิม เป็นลักษณะ Pop-up ที่ง่ายต่อการปรับเปลี่ยนเพื่อทดลองการใช้งาน เป็นงานโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อน โดยมีวัสดุที่ใช้คือ ห่วงยางรถยนต์ และ ไม้ไผ่
4. พื้นที่สมุนไพรและให้ความรู้ สร้างความเชื่อที่ถูกต้องในการใช้สมุนไพร สร้างความเชื่อที่ถูกต้องด้วยความรู้จากสสส. สร้างความเชื่อมั่นในร่างกายตนเอง 5. พื้นที่กิจกรรมตลาด อาจจะต้องคุยกันเพิ่มเติม เพื่อขอข้อมูล เช่น งบประมาณ จำนวนผู้ค้า การจัดการขยะ เป็นต้นเพื่อนำาไปสู่การออกแบบที่ตอบโจทย์ผู้จัด

แลกเปลี่ยนและวางแผนการดำเนินงานขั้นถัดไป
1. กิจกรรมตลาดวางแผนไว้จะเปิดวันที่ 10 มีนาคม 2566
ทางอาจารย์ได้แนะนำให้ปรึกษากับทีมตลาดเกษตร ม.อ.
2. ให้ตระหนักถึงความยั่งยืนของโครงการ เช่น การทำตลาดสุขภาพให้วิเคราะห์ทำอย่างไรให้ยั่งยืน
3. จากสถานการณ์ปัญหาสุขภาพของคน และการเข้าถึงพื้นที่ ม.อ. นำไปสู่การดำเนินกิจกรรมของโครงการ
4. กิจกรรมเต้นแอโรบิค ทำอย่างไรให้คนไม่มีกิจกรรมทางกาย หันมาออกกำลังกาย โดยบุคลากรใน ม.อ.ภูเก็ตมีจำนวน 300 คน สำรวจเบื้องต้นมี PA ที่เพียงพอ 20 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือคือ 80 เปอร์เซ็นต์ไม่มี PA คำถามที่จะก้าวไปต่อเพื่อหาแนวทางจัดการ คือ จะทำอย่างไรให้คน 80 เปอร์เซ็นต์มี PA ที่เพียงพอด้วย
5. การออกแบบทั้งหมดจะสามารถเชื่อมโยงกิจกรรมได้ เช่น ประชาชนมาเที่ยวตลาดสุขภาพด้วย พาลูกหลานมาเล่นที่ลานเด็กเล่นด้วย รวมทั้งไปเล่นกีฬาที่ศูนย์กีฬา หรือมาเดินวิ่งเต้นแอโรบิคใน ม.อ. ซึ่งจะทำให้เห็นพื้นที่เกิดการ Active ชุมชน บุคลากร นักศึกษา เข้ามาใช้เพื่อให้เกิดกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพต่อไป
6. อาจชวนผลิตภัณฑ์จากโครงการ U2T เข้ามาร่วมในตลาดสุขภาพด้วย
7. ให้นำเสนอข้อมูลการออกแบบพื้นที่ทั้ง 5 พื้นที่ กับทางคณะกรรมการต่อไปในเดือนมีนาคม 2566 /ผ่านระบบออนไลน์