โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

การประชุมเชิงปฏิบัติการการออกแบบพื้นที่โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (เขาหลัก จ.พังงา)3 มิถุนายน 2565
3
มิถุนายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การรายงานความก้าวหน้าการกำหนดและออกแบบการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (physical activity) ในพื้นที่โรงแรม (โปรแกรม post covid rehab / เบเกอรี่,กาแฟสูตรพิเศษ,อาหารเป็นยา/พืชเมืองหนาวอื่นๆที่จะใช้ปลูกในพื้นที่)

การรายงานความก้าวหน้าการออกแบบทางสถาปัตยกรรมเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย(physical activity) ในพื้นที่โรงแรม (แบบร่างพื้นที่สุขภาวะ)

โดย อาจารย์สมพงศ์ ดาวพิเศษ  ประธานสมาคมโรงแรมที่พักส่งเสริมสุขภาพอันดามันและอ่าวไทย
  ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  รศ.ดร.พันธ์ ทองชุมนุม รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตภูเก็ต   ดร.พท.จุฬาลักษณ์ โชคไพศาล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์   ผศ.ดร.พท.ธัญญลักษณ์ ศิริยงค์ คณะแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์   ดร.เสถียรพงษ์ ภูผา คณะแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์   นายณัฐวิช วิเศษสินธุ  สถาปนิกนักวิชาการอิสระ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พื้นที่สุขภาวะ แบ่งเป็น 5 ส่วน
ส่วนที่ 1 ส่วนหน้าโครงการลานจอดรถ จะมีการประยุกต์ปรับรูปแบบลานจอดรถให้เป็นพื้นที่ activity เช่น ถ้าไม่มีรถมาจอด ยังสามารถทำกิจกรรมทางกายในลานจอดรถได้
ส่วนที่ 2 สระน้ำ น้ำพุร้อน และสนามหญ้าหน้าโครงการ จะเป็นพื้นที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกายและมีลู่เดินวิ่งรอบสระน้ำและสนามหญ้า
ส่วนที่ 3 พื้นที่คลินิกแพทย์แผนไทย/จัดฝึกอบรมแพทย์แผนไทย บริการใช้ product (ยา,น้ำมัน,ลูกประกบ อื่นๆ) ส่วนที่ 4 พื้นที่ร้านอาหารเป็นยา (สมุนไพรเป็นยา, อาหารเป็นยา) / คาเฟ่เบเกอรี่สมุนไพรฯลฯ /shopจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของ ม.อ. เครื่องสำอาง อาหาร ตำรับแพทย์แผนไทย อื่นๆ
ส่วนที่ 5 พื้นที่สุขภาวะเรียนรู้สวนสาธิตสมุนไพร