วิจัยการท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศยั่งยืนภูมินิเวศน์เขา ป่า นา เล จังหวัดตรัง

ประเมินผลกระทบจากการดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านเขาหลัก20 พฤษภาคม 2560
20
พฤษภาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินผลกระทบจากการดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านเขาหลัก

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • การชี้แจงแนวทางการประเมินผลกระทบจากการดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านเขาหลัก โดยขอบเขตดูผลกระทบที่เกิดขึ้น 3 ด้าน ประกอบด้วยด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม
  • การให้ความเห็นและแลกเปลี่ยนซักถามจากแกนนำชุมชนต่อผลกระทบ 3 ด้าน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

แกนนำชุมชนได้เห็นผลกระทบเชิงบวกที่เกิดจากการดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านเขาหลัก

1.ด้านเศรษฐกิจ

  • ปี 60 ตั้งแต่เดือนมีนาคม-เมษายน มีนักท่องเที่ยวล่องแก่งประมาณ 700 คน รายรับประมาณ 126,500 บาทกระจายรายได้สู่กลุ่มล่องแก่งบ้านเขาหลัก
  • รายได้เสริมของสมาชิกstaffพายเรือกลุ่มล่องแก่งเขาหลัก ผู้ใหญ่ 14 คน เด็กเยาวชน 13 คน และ staff ที่เป็นคนขับรถ
  • รายได้เพิ่มขึ้นของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านในการทำอาหาร
  • รายได้เพิ่มขึ้นของกลุ่มทำขนมจำนวน 13 คน
  • รายได้ที่เพิ่มขึ้นของร้านค้าในชุมชน 4 ร้าน
  • ก่อให้เกิดการลดรายจ่ายในครัวเรือนจากการปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

2.ด้านสังคม

  • เกิดกลุ่มการล่องแก่งเขาหลัก ปัจจุบันปี 2560 มีสมาชิกจำนวน 87 คน
  • เด็กเยาวชนในชุมชนได้ใช้เวลาว่าง มาเป็นทีมงานพายเรือ หารายได้พิเศษและห่างไกลจากอบายมุข
  • กลุ่มรักษ์ป่าต้นน้ำตรังเกิดความหวงแหนการรักษาผืนป่าเพราะป่าต้นน้ำเป็นสายน้ำที่คอยหล่อเลี้ยงการดำรงชีวิตของชุมชนเขาหลักที่ยั่งยืน และการท่องเที่ยวล่องแก่ง
  • ทีมงานล่องแก่งมีทักษะการเป็นเจ้าบ้านที่ดีเพิ่มมากขึ้น
  • สร้างความภาคภูมิใจในการเป็นคนเขาหลัก ชุมชนอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ
  • เกิดการต่อยอดเป็นกลุ่มช่างไม้บ้านเขาหลัก
  • ทำให้มีการติดตั้งกล้อง cctv เพื่อรักษาความปลอดภัยในชุมชน
  • บ้านเขาหลักเป็นที่รู้จักทั้งภายในจังหวัดและภายนอกจังหวัด โดยมีสื่อเฟซบุค สื่อทีวีโทรทัศน์มาทำรายการแนะนำการท่องเที่ยวล่องแก่งบ้านเขาหลัก /หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
  • ชาวบ้านมีความเป็นเจ้าบ้านที่ดีเพิ่มมากขึ้น การยิ้มแย้ม ทักทาย กล้าพูด พูดสุภาพขึ้น
  • การพัฒนาแกนนำชุมชนในการเป็นวิทยากรประจำฐานเรียนรู้ต่างๆในชุมชน
  • ชาวบ้านมีส่วนร่วมและความสามัคคีในการดูแลความสะอาด การจัดการขยะมากขึ้น
  • มีเครือข่ายการทำงานเพิ่มมากขึ้น ทั้งชุมชนที่ทำการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการท่องเที่ยว ภาครัฐ

3.ด้านสิ่งแวดล้อม

  • ชาวบ้านตระหนักถึงคุณค่าของการรักษาผืนป่า การรักษาแหล่งต้นน้ำ เกิดการทำกิจกรรมเชื่อมโยงความศรัทธากับการอนุรักษ์ป่า ผ่านกิจกรรมบวชป่า การปลูกป่า การเดินลาดตระเวนเฝ้าระวังการตัดไม้ทำลายป่าจากกลุ่มทุนอิทธิพลภายนอกทำให้สามารถรักษาผืนป่าได้อุดมสมบูรณ์ต่อเนื่อง
  • ข้อตกลงในการดูแลป่า
  • การปรับสภาพแวดล้อมภูมิทัศน์ชุมชนและครัวเรือนหน้าบ้านน่ามอง
  • เกิดกองทุนเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ดูแลป่า ( เงิน 5% ของผลกำไรจากการล่องแก่ง)
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย
  • ทีมวิจัย 6 คน
  • แกนนำชุมชน 9 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-