แผนงานกลางระบบอาหารประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยและโภชนาการ จ.นครศรีธรรมราช จ.พัทลุง และ จ.สงขลา

ประชุมเวทีระดมทำแผนยุทธศาสตร์จังหวัดนครศรีธรรมราช 18 ธันวาคม 2560
18
ธันวาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหาร ประเด็น อาหารปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร และโภชนาการสูงวัย ในระดับจังหวัดนครศรีธรรมราช

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • 09.30 - 09.10 แนะนำหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุม
  • 09.10 - 09.30 นำเสนอตัวอย่างแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา โดย ผศ.ดร.ภก.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ผอ.สจรส.ม.อ.
  • 09.30 - 10.00 นายแพทย์ สสจ.กล่าวต้อนรับและกล่าวความร่วมมือในการทำยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีฯ
  • 10.00 - 11.30 แบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อจัดทำร่างยุทธศาสตร์ ดังนี้
  • กลุ่มที่ 1 ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร มีพี่เลี้ยง อ.ชุติมา รอดเนียม หน่วยงานที่อยู่กลุ่มนี้ ประกอบด้วย สำนักงานประมง สำนักงานเกษตร และภาคประชาชน
  • กลุ่มที่ 2 ประเด็นอาหารปลอดภัย มีพี่เลี้ยง ดร.เพ็ญ สุขมาก หน่วยงานที่อยู่กลุ่มนี้ ประกอบด้วย ฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภค สสจ.นครศรีฯ
  • กลุ่มที่ 3 ประเด็นโภชนาการสมวัย มีพี่เลี้ยง นายยุทธนา เกตุชุม และ อ.นัยนา หนูนิล หน่วยงานที่อยู่กลุ่มนี้ ประกอบด้วย ฝ่ายส่งเสริมและโภชนาการ สสจ. และ สนอ.ทุ่งใหญ่
  • 11.30 - 12.00 น. นำเสนอร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารในแต่ละประเด็น
  • 12.00 - 12.30 น. สรุปการประชุม และแนวทางการขับเคลื่อน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต ได้ร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหาร ทั้ง 3 ประเด็น มีเนื้อหาสรุป ดังนี้

  1. ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร ประกอบด้วย ข้อมูลสถานการณ์ด้านความมั่นคงทางอาหาร (พื้นที่การทำเกษตร การทำประมง จำนวนสัตว์น้ำที่จับได้ และการส่งเสริมทางด้านการเกษตรของภาครัฐ) มีกรอบยุทธศาสตร์ 8 ด้าน คือ 1) มีการคุ้มครองพื้นที่การเกษตรเพื่อสร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงปัจจัยการผลิตโดยการจัดทำแผนผังแม่บท (โซนนิ่ง) ผังเมือง พื้นที่ที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ และเขตฟาร์มทะเล 2) ชุมชนพึ่งตนเองด้านอาหารในระดับชุมชน ครอบครัว 3) การฟื้นฟูภูมิปัญญาด้านอาหารพื้นบ้าน ขนมพื้นบ้าน อาหารและสมุนไพรเป็นยา 4) ยกระดับ เพิ่มมูลค่าอาหารไปสู่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ 5) บูรณาการเรื่องอาหารพื้นบ้าน สมุนไพรพื้นบ้าน ให้อยู่ในแผนการท่องเที่ยวของจังหวัดและแผนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์/แผนการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชน 6) จัดตั้งเป็น “ศูนย์การจัดการฐานทรัพยากรเพื่อความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัย” ขึ้น ทั้งในระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น 7) จัดระบบเพื่อรองรับความมั่นคงด้านอาหารในภาวะวิกฤต 8) จัดระบบการสื่อสารสาธารณะทั้งภายในและภายนอกในการรณรงค์และขยายผลความมั่นคงทางอาหาร
  2. ประเด็นอาหารปลอดภัย มีกรอบยุทธศาสตร์ 7 ด้าน คือ 1) ทบทวนและร่วมกันผลักดันคณะกรรมการอาหารปลอดภัยของจังหวัด 2) ผลักดันมาตรฐาน GAP ที่เหมาะสมให้เป็นภาคบังคับทางกฎหมาย และเป็นข้อตกลงของชุมชนโดยเน้นระบบตลาดภายในจังหวัด ตลาดในห้างสรรพสินค้า และตลาดส่งออก 3) ผลักดันให้เกิดตลาดและร้านอาหารปลอดภัยและโภชนาการเพื่อสุขภาพ 4) รณรงค์สร้างกระแสให้ผู้บริโภคตระหนักถึงความสำคัญของอาหารปลอดภัย และโภชนาการที่เหมาะสมโดยการมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่าวที่เกี่ยวข้อง 5) สร้างต้นแบบสำหรับการผลิตที่ได้มาตรฐานในระดับต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้แลกเปลี่ยนและถ่ายทอดการปฏิบัติระหว่างผู้ประกอบการ เกษตร ผู้ผลิต และผู้บริโภค 6) พัฒนากลไกการติดตามเฝ้าระวัง และคุ้มครองผู้บริโภคระดับท้องถิ่นที่เน้นเรื่องความปลอดภัยด้านอาหารให้กับผู้บริโภค 7) จัดตั้งศูนย์ข้อมูลติดตามเฝ้าระวังอาหารปลอดภัย (Information Center) ระดับจัง
  3. ประเด็นโภชนาการสมวัย มีกรอบยุทธศาสตร์ 10 ด้าน คือ 1) พัฒนาระบบข้อมูลสถานการณ์ด้านโภชนาการและสุขภาพในทุกพื้นที่ ทั้งระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น 2) ผลักดันให้เกิดขับเคลื่อนเรื่องโภชนาการสมวัยเข้าสู่แผนชุมชนและแผนท้องถิ่น 3)พัฒนารูปแบบการใช้นวัตกรรมด้านอาหารและโภชนาการให้เหมาะสมกับบริบทในพื้นที่ 4)  ประกาศให้ เรื่องอาหารของแม่ เป็นวาระของจังหวัด เพื่อให้เด็กได้รับการโภชนาการที่ดีและเพิ่มความสัมพันธ์ในครอบครัว 5) ส่งเสริมให้ชุมชนมีบทบาทในการจัดการเรื่องโภชนาการในทุกกลุ่มอายุ 6) มีการพัฒนาเครื่องชี้วัดพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมส่งเสริมสนับสนุนให้มีการประเมินภาวะโภชนาการอันเป็นผลของพฤติกรรมการบริโภคและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมเพื่อแก้ไขภาวะโภชนาการที่ไม่ปกติ 7) สร้างและยกระดับบุคลากรรวมถึงอาสาสมัครต่างๆให้ทำงานด้านความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และ โภชนาการสมวัย 8) ประกาศให้เรื่องอาหารของหญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร เป็นวาระของจังหวัด 9) ผลักดันการแก้ปัญหาสารปรุงรส (โซเดียม น้ำตาล สารปรุงแต่งรส) เข้าสู่การจัดการในระดับชุมชน 10) บูรณาการงานวิจัยกับการสร้างเสริมภาวะโภชนาการในแต่ละกลุ่มวัย
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 35 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน ทีม สสจ.นครศรีฯ ประกอบด้วย นายแพทย์ สสจ. หัวหน้าฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภค หัวหน้าฝ่ายสิ่งแวดล้อม และหัวหน้าฝ่ายส่งเสริมและโภชนาการ รวมทั้งคณะทำงานทั้ง 3 ฝ่าย
  • หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน จ.นครศรีฯ ทั้งภาคราชการ และภาคประชาชน
  • ทีมวิชาการ ม.วลัยลักษณ์
  • ทีม สจรส.ม.อ.
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • การประสานงานที่เร่งด่วน ทำให้ที่หน่วยงานตอบรับเข้าร่วมน้อย
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-