โครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย : จ.สตูล อ.เมือง ต.บ้านควน
1.พืชแซมยาง 2.พืชปันสุข 3.ผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากขยะเศษอาหารสู่ชุมชน
1.พืชแซมยาง วันที่จัดโครงการ 08-09/09/2021
กรกฎาคม : ประสานความร่วมมือกับเครือข่ายและภาคีที่เกี่ยวข้อง
สิงหาคม : พัฒนาศักยภาพเกษตรกรชาวสวนยาง 10 คน
- อบรมให้ความรู้การปลูกพืชร่วมยางระยะสั้น
- อบรมการทำบัญชีครัวเรือน
- อบรมปุ๋ยอินทรีย์ชุมชน
สิงหาคม -กันยายน :
- การประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพเกษตรกรเพื่อสร้างแปลงต้นแบบ
- การทำแปลงพืชร่วมยางเพื่อเพิ่มรายได้ให้ประชาชน
กันยายน - ตุลาคม :
- เก็บเกี่ยวผลผลิต
- นำจำหน่ายสู่ตลาดเพื่อเพิ่มรายได้
ตุลาคม : บันทึกผลผลิต,ระยะเวลาเก็บเกี่ยว,บันทึกรายรับครัวเรือน/รายจ่ายครัวเรือน
พฤศจิกายน – ธันวาคม :
- ติดตามและประเมินผล 1 ครั้ง/เดือน
- สรุปผลการติดตาม
- แก้ไขและพัฒนาต่อไป
2.พืชปันสุข วันที่จัดโครงการ 21-22/09/2021
กรกฎาคม : ประสานความร่วมมือกับเครือข่ายและภาคีที่เกี่ยวข้อง
สิงหาคม : พัฒนาศักยภาพกลุ่มเป้าหมาย 40 คน
- อบรมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการปลูกพืชสวนครัว
- อบรมการทำบัญชีครัวเรือน
สิงหาคม -กันยายน
- วางแผนการเพาะปลูกและคำนวณระยะเวลาการให้ผลผลิต
- ออกแบบเมนูปฏิทินกินผักของชุมชน
- ดำเนินการเพาะปลูกพืชแต่ละครัวเรือนโดยปฏิบัติการสาธิตทดลอง แปลงต้นแบบ
1) ปรับหน้าดิน/ทำแปลงปลูก
2) เพาะเมล็ด/ต้นกล้า
กันยายน - ตุลาคม
- เก็บเกี่ยวผลผลิต
- นำจำหน่ายสู่ตลาดเพื่อเพิ่มรายได้
- แบ่งปันผักสวนครัวกับเพื่อนบ้าน/กลุ่มเปราะบาง
ตุลาคม : บันทึกผลผลิต/ระยะเวลาเก็บเกี่ยว/บันทึกรายจ่ายครัวเรือน/รายจ่ายด้านอาหารต่อครัวเรือน/คำนวณการลดค่าใช้จ่ายด้านอาหาร
พฤศจิกายน – ธันวาคม
- ติดตามและประเมินผล 1 ครั้ง/เดือน
- สรุปผลการติดตาม
- แก้ไขและพัฒนาต่อไป
3.ผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากขยะเศษอาหารสู่ชุมชน วันที่จัดโครงการ 12,17/11/2021
กรกฎาคม : ประสานความร่วมมือกับเครือข่ายและภาคีที่เกี่ยวข้อง
สิงหาคม : อบรมให้ความรู้การทำปุ๋ยอินทรีย์ชุมชน
สิงหาคม -กันยายน : สร้างจุดเก็บเศษอาหารจากครัวเรือน
- ผลิตปุ๋ยเศษอาหารจากครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม
กันยายน – ตุลาคม : แต่ละครัวเรือนเพาะปลูกพืชสวนครัว/และรับปุ๋ยอินทรีย์ไปปลูก/ในรอบต่อไปเอาผักมาแลกปุ๋ย/ผักปันสุขแจกจ่ายให้ชุมชน
ตุลาคม : บันทึกผลผลิต/ระยะเวลาเก็บเกี่ยว/บันทึกรายจ่ายครัวเรือน/รายจ่ายด้านอาหารต่อครัวเรือน/คำนวณการลดค่าใช้จ่ายด้านอาหาร
พฤศจิกายน – ธันวาคม
- ติดตามและประเมินผล 1 ครั้ง/เดือน
- สรุปผลการติดตาม
- แก้ไขและพัฒนาต่อไป
1.พืชแซมยาง
พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 10 คน ค่าเฉลี่ยเก็บเกี่ยวผลผลิต มะพร้าว ใช้ประโยชน์ด้านบริโภค 5 กก. ใช้ประโยชน์ด้านการขาย 9.5 กก. กล้วยไข่ ใช้ประโยชน์ด้านบริโภค 1.5 กก. ใช้ประโยชน์ด้านการขาย 8.5 กก. ขมิ้นชัน ใช้ประโยชน์ด้านบริโภค 0.9 กก. ใช้ประโยชน์ด้านการขาย 0 กก. ขิงใช้ประโยชน์ด้านบริโภค 0.6 กก. ใช้ประโยชน์ด้านการขาย 0 กก. ข่า ใช้ประโยชน์ด้านบริโภค 0.6 กก. ใช้ประโยชน์ด้านการขาย 0 กก. ฟ้าทะลายโจร ใช้ประโยชน์ด้านบริโภค 0.5 กก. ใช้ประโยชน์ด้านการขาย 0 กก. ผักเหลียง ใช้ประโยชน์ด้านบริโภค 0.5 กก. ใช้ประโยชน์ด้านการขาย 0 กก. กระชาย ใช้ประโยชน์ด้านบริโภค 0.15 กก. ใช้ประโยชน์ด้านการขาย 0.95 กก. ไม้พยุง ใช้ประโยชน์ด้านการขาย 219,500 กก. ไม้ยางแดง ใช้ประโยชน์ด้านการขาย 20,600 กก. ไม้สัก ใช้ประโยชน์ด้านการขาย 1,540 กก. กาแฟใช้ประโยชน์ด้านการขาย 1,540กก. และ สับปะรด ใช้ประโยชน์ด้านการขาย 10 กก.
2.พืชปันสุข
ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 40 คนมีค่าเฉลี่ยการลดค่าใช้จ่ายอาหารของผู้ตอบแบบสอบถาม 40 คน อยู่ที่ 610 บาทต่อเดือน และค่าเฉลี่ยด้านรายได้จากการจำหน่ายอยู่ที่ 1,018 บาทต่อเดือน
3.ผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากขยะเศษอาหารสู่ชุมชน
ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 21 คน ได้นำปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตมาใส่ในแปลงผักหรือสวน คิดเป็นร้อยละ 100 และลดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ย 300 - 500 บาท จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 52.5 รองลงมา 1,000 – 3,000 บาท จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 14.4 รองลงมา น้อยกว่า ๑00 บาท จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 9.5 รองลงมา 100 – 300 บาท จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 9.5 รองลงมา 500 – 700 บาท จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 4.7 รองลงมา 700 – 1,000 บาท จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 4.7 และ มากกว่า 3,000 บาท จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 4.7