โครงการพัฒนากลไกการจัดการภัยพิบัติ อันดามัน และการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน

(ลงพื้นที่)ประชุมร่วมคณะทำงานจังหวัดพังงา ครั้งที่ 2 ตำบลคลองเคียน28 กันยายน 2561
28
กันยายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย เครือข่ายภัยพิบัติอันดามัน
circle
วัตถุประสงค์

1.ทำความเข้าใจโครงการ 2.จัดทำแผนการขับเคลื่อนชุมชนเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

โครงการการจัดทำแผนการขับเคลื่อนชุมชนเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติโดยชุมชน เป็นแนวคิดว่า " ภัยพิบัติเป็นเรื่องที่ป้องกันและบรรเทาได้ ถ้ามีการเตรียมความพร้อมที่ดี "  ได้นำแนวคิดการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเป็นฐานมาใช้ เพื่อให้ชุมชน หมู่บ้านมาอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย มีความรู้ความเข้าใจถึงภัยในท้องถิ่น และตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการจัการภัย แนวคิดในการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน เป็นการศูนย์กลางในการดำเนินการป้องกัน แก้ไข บรรเทา ฟื้นฟูจากภัยพิบัติ โดยใช้ทรัพยากรและบุคลากรในชุมชน มีส่วนร่วมในการ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมวางแผน ท้งในด้านการแจ้งเตือนภัย การอพยพประชาชนอย่างเป็นระบบ และการฝึกซ้อมแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของชุมชน ลดความเสี่ยงภัยของชุมชนและเพิ่มขีดความสามารถให้คนในชุมชน เพิ่มทักษะโดยการฝึกปฏิบัติให้แก่คนในชุมชน สามารถรับมือกับภัยพิบัติด้วยตนเอง ชุมชนเข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมวางแผน ทั้งในด้านการแจ้งเตือนภัยการอพยพประชาชนอย่างเป็นระบบ และการฝึกซ้อมแผนป้องกันภัย ในพื้นที่ชุมชนคลองเคียนเคยได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิ หลังจากนั้นได้มีองค์กรเอกชนเข้ามาให้การสนับสนุนตั้งอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน อปพร. เพื่อให้ชุมชนช่วยเหลือตนเองได้ แต่การดำเนินการไม่ต่อเนื่อง จึงต้องมีการทำแผนเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ ทางคณะทำงานโครงการฯจะเข้ามรเป็นพื่เลี้ยงช่วยดำเนินการและประสานงานกับหน่วยงาน เช่นประสานงานกับปภ.จังหวัดในการให้ความรู้เรื่องภัยและอบรมการกู้ภัยเบื้องต้น  ทั้งนี้ ในชุมชนต้องมีขั้นตอนในการดำเนินการ 1. สถานะการณ์ในพื้นที่ 2.สิ่งที่มี 3.สิ่งที่ต้องทำ  สถานะการในพื้นที่/สภาพทั่วไปของตำบลคลองเคียน มีอะไรบ้าง แผ่นดินไหว/ลมพายุ เสียเป็นส่วนใหญ่ น้ำทะเลหนุนสูง ดินสไลด์ใน ม.7 ม.8 ในสวนยางทำให้ต้นยางเสียหาย  ลมพายุ เรือล่ม ไฟ้ไหมลามสวน ในเดือนท่ีผ่านมานั้น พายุหอบเอาหลังคาบ้านไปหลายหลัง ทำให้ทาง อบต.คลองเคียน ช่วยเหลือกระเบื้องมุงหลังคาให้กับชาวบ้าน  ในเหตุพายุอาจมีการปรกาศล่วงหน้าได้ แต่ในสภาวะดินสไลด์และเหตุนำ้ทะเลหนุนไม่มีประกาศล่วงหน้าทำให้มีความเสียหายและส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตของคนในชุมชน เป้าหมายของโครงการ คือการรู้เท่าทันต่อสถานการณ์การเกิดภัย ความเสี่ยง สิ่งสำคัญ คือ อาสาสมัคร/คณะทำงานโครงสร้าง ข้อมูลประชากรชุมชน ความรู้เดิมของทีมงาน การปรับเพิ่มคณะทำงาน การจัดทำข้อมูลในพื้นที่ตำบล เพื่อสังเคราะห์ข้อมูลจัดทำแผนภัยพิบัติ การเก็บข้อมูลเพื่อจัดทำแผนเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ โครงสร้างคณะทำงานกรรมการศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติตำบล มี ประธานศูนย์ฯ รองประธาน 2 คน  ที่ปรึกษา 2 คน เลขานุการ เหรัญญิก ฝ่ายต่างๆ หัวหน้าฝ่ายเฝ้าระวัง หัวหน้าฝ่ายจราจร หัวหน้าฝ่ายอพยพ หัวหน้าฝ่ายปฐมพยาบาล หัวหน้าฝ่ายครัวกลาง ระดมความคิดเห็นคนเข้าเป็นอาสาสมัคร

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เข้าใจในโครงการ/มีโครงสร้างคณะกรรมการศูนย์เตรียมความพร้อม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ต้องการให้ผู้ที่มีจิตอาสาเข้ามาร่วมทำงานด้วย