โครงการพัฒนากลไกการจัดการภัยพิบัติ อันดามัน และการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน

(ลงพื้นที่)ประชุมร่วมคณะทำงานจังหวัดพังงา ครั้งที่ 2 ตำบลตำตัว15 กรกฎาคม 2561
15
กรกฎาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย เครือข่ายภัยพิบัติอันดามัน
circle
วัตถุประสงค์

1.ทำความเข้าใจโครงการ 2.จัดทำแผนการขับเคลื่อนชุมชนเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ภัยพิบัติเป็นเรื่องใกล้ตัวเราแล้ว พี่น้องในชุมชนก็เห็น เพราะในพื้นที่ตำบลตำตัว-บางไทร มีเหตุการณ์น้ำท่วมขังทุกปีเนื่องจากฝนตกหนัก  นั้นก็ถือว่าเป็นภัยพิบัติเหมือนกัน ทั้งยังมีเหตุบนท้องถนนก็เยอะ  แนวคิดเรื่องโครงการแผนการจัดการรับมือภัยพิบัติโดยชุมชนนั้น คือการที่ชุมชน ชาวบ้านในพื้นที่เป็นศูนย์กลางในการดำเนินการป้องกัน แก่ไข ลดความเสี่ยงภัยของตนเองและครอบครัว โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผน ตัดสินใจ กำหนดแนวทางแก้ปัญหาและการบริหารจัดการภัย โดยใช้ทรัพยากรและบุคลากรในชุมชนโดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญ คือ ลดความเสี่ยงของชุมชน และเพิ่มขีดจำกัดให้กับคนในชุมชน ว่าด้วยทีมทำงานโครงการจะเป็นพี่เลี้ยง สนับสนุนเรื่องกระบวนการการจัดทำแผนเตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติ และสนับสนุบประสานหาหน่วยงานให้การอบรมกู้ภัยเบื้องต้น ขั้นตอนการจัดทำแผนเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติโดยชุมชน 1.สภานการณ์ภัยในพื้นที่ 2.ต้นทุนชุมชน 3.สิ่งต้องทำต่อไป สถานะการณ์ภัยพื้นที่ตำบลตำตัว-บางไทร ในตำบลเป็นพื้นสวนเสียเป็นส่วนใหญ่และบ้านพักอาศัยอยู่ห่างๆกัน จึงมีเหตุ 1.น้ำท่วมขังเนื่องจากฝนตกติดต่อกันหลายวัน 2.ภัยท้องถนน(อุบัติเหตุ) 3.ภัยวาตภัย/ลมพายุ 4.น้ำป่า/ดินถล่ม 5.ไฟใหม้  ต้นทุนชุมชน เช่น อุปกรณ์กู้ภัยเบื้องต้น เลื่อยไฟฟ้า /ทีมอาสาสมัคร หรือ อปพร. ชรบ. ข้อมูลประชากรในพื้นที่ ช่วงบ่าย ระดมความคิดเห็นในเรื่องโครงสร้างคณะทำงานทีมเตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติตำบล เลือกหัวหน้าฝ่ายงานรับผิดชอบก่อน แล้วค่อยประชุมหมู่บ้านทำความเข้าใจและหาอาสาเพิ่มเติม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชาวบ้านมีความเข้าใจและมีส่วนร่วม หัวหน้าฝ่ายคณะทำงานทีมเตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติ
การปฏิบัติการประชุมร่วม มีการทำแผนที่ทำมือของแต่ละหมู่บ้าน มีการจัดตั้งคณะทำงานระดับตำบล

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 31 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 5 คน
แกนนำและชาวบ้านในพื้นที่ 26 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ทีมทำงานมาเข้าร่วมประชุมน้อย/นัดประชุมทีม

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ต้องจัดทีมสมาชิกมากกว่านี้