โครงการพัฒนากลไกการจัดการภัยพิบัติ อันดามัน และการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน

(ลงพื้นที่)ประชุมร่วมคณะทำงานจังหวัดพังงา ครั้งที่ 2 ตำบลรมณีย์14 กรกฎาคม 2561
14
กรกฎาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย เครือข่ายภัยพิบัติอันดามัน
circle
วัตถุประสงค์

1.ทำความเข้าใจโครงการ 2.จัดทำแผนการขับเคลื่อนชุมชนเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ความเป็นมาของโครงการแผนเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติโดยชุมชน ว่าด้วยภัยธรรมชาติหรือภัยที่เกิดจากความประมาทน้ำมือคนนั้น เช่นอุบัติเหตุต่างๆ ถือว่าเป็นภัยพิบัติทั้งนั้น ภัยเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบต่อความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นจำนวนมาก การที่เรายอมรับชะตากรรมรอให้ทางราชการให้การช่วยเหลืออย่างเดียว ถือว่าเป็นภาระให้กับทางรัฐ ทั้งนี้การรับมือภัยพิบัติควรเป็นหน้าที่ของ่ทุกคน ทุกหน่วยงานที่จะต้องมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไข เมื่อเกิดเหตุภัยขึ้น ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติ จึงเป็นกลุ่มแรกท่ีจะๆด้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ อย่างพื้นที่ชุมชนตำบลรมณีย์เป็นพื้นที่เสี่ยงหับภัยธรรมชาติเสียเป็นส่วนใหญ่เพราะจากที่เห็นเป็นพื้นที่ล้อมรอบไปด้วยภูเขาและแหล่งน้ำ ชุมชนเป็นพื้นที่เสี่ยงภัย ในโครงการฯนี้เราจะเน้นการจัดการป้องกันและรับมือภัยพิบัติด้วยชุมชนเอง แกนนำชุมชนรมณีย์ว่าในพื้นที่นี้ ท้องที่ ท้องถิ่น ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี มีการสนับสนุนให้ใช้เรื่องอุปกรณ์กู้ภัย ส่วนที่ ทาง อบต.รมณีย์มีอยู่ มีการพูดคุยเรื่องขอสนับสนุนไว้บางแล้วกับท้องที่ แกนนำและทีมอาสาได้เข้าร่วมประชุมงานภัยพิบัติอย่างต่อเนื่อง ถือว่าในพื้นที่รมณีย์เป็นเครือข่ายภัยพิบัติจังหวัดพังงา โครงการนี้ทางทีมคณะทำงานจะมาเป็นพี่เลี้ยงให้ โดยจะช่วยประสานให้ชุมชนเป็นชุมชนเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติได้เอง การดำเนินการนั้นจะต้องมีการจัดทำแผนเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติตำบลรมณีย์ ขั้นตอนต่างๆ ทางทีมคณะทำงานจะช่วยดำเนินการประสานทำความเข้าใจ ประสานหน่วยงานอบรมให้ความรู้กู้ภัยเบื้องต้น ในตอนนี้ทางตำบลรมณีย์ที่เข้าร่วมประชุม มี4หมู่บ้าน เพราะฉะนั้นวันนี้เราได้ให้ทำแบบสำรวจความเสี่ยงในพื้นที่ก่อน เช่น ในพื้นที่ตำบลประสบภัยอะไรบ้าง มีน้ำป่าไหลหลาก น่ำฝนท่วมขัง อุบัติเหตุทางถนน ช้างทำลายพืชไร่  หัวข้อที่ชุมชนจะต้องดำเนินการคือ  1.สถานการณ์พื้นที่ 2.ต้นทุนที่ทำมา 3.สิ่งที่ต้องทำต่อไป สถานการณ์ภัยในพื้นที่-มีน้ำป่าไหลหลาก เนื่องจากเป็นพื้นที่น้ำตก น้ำป่า -ดินสไลด์-เส้นทางถนนเป็นเส้นทางภูเขา มีโค้งอันตรายเยอะ-เมื่อเกิดเหตุการให้การช่วยเหลือไม่ถูกวิธี ต้นทุนที่ทำมา- มีทีมอาสาสมัครในพื้นที่-ทีม ท้องถิ่น อบต. อปพร. อาสาชาวบ้าน -ทีมอบุติเหตุทั่วไป บนท้องถนน -ทีมภัยพิบัติดินถล่ม โคลนสไลด์-ทีมชาวบ้านในพื้นที่ สิ่งที่ต้องทำต่อไป- ต้องมีการสำรวจข้อมูลประชากรในพื้นที่เสี่ยงภัย ข้อนี้แนะนำให้ปรึกษาทีม อสม.ในตำบล -ทำปฏิทินภัย เพื่อจะได้ทราบข้อมูลภัยและทำการรับมือ -จัดทำโครงสร้างคณะทำงานเตรียมความพร้อมตำบลรมณีย์ -จัดทำแผนเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ -จัดตั้งศูนย์เตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติประจำตำบล - อบรมให้ความรู้เรื่องการกู้ภัย
ช่วงบ่าย มีการจัดทำและแสดงความคิดเห็น ปฏิทินภัยในพื้นที่ การจัดทำปฎิทินภัยมีความสำคัญมากเพื่อเราจะได้รู้และตั้งรับมือภัยได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว การเตรียมทีมอาสาในพื้นที่ต้องมีความพร้อมและเสียสละเวลา
อาจจะเป็นทีม อปพร.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีปฏิทินภัยในตำบล มีทีมอาสาป้องกันภัย เข้าใจในโครงการฯ ท้องที่ท้องถิ่นให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ผู้เข้าร่วมประชุมไม่ตามเป้าที่วางไว้/นัดประชุมครั้งต่อไปต้องให้พื้นที่พร้อมก่อน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่