โครงการพัฒนากลไกการจัดการภัยพิบัติ อันดามัน และการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน

(ลงพื้นที่)ประชุมร่วมคณะทำงานจังหวัดพังงา ครั้งที่ 2 ตำบลนบปริง20 มิถุนายน 2561
20
มิถุนายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย เครือข่ายภัยพิบัติอันดามัน
circle
วัตถุประสงค์

1.ทำความเข้าใจโครงการ 2.จัดทำแผนการขับเคลื่อนชุมชนเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุม ทำความเข้าใจโครงการจัดทำแผนเตรียมความพร้อมรับมือัยพิบัติโดยชุมชน เนื่องจากมีท่านนายก อบต.นบปริงให้เกียรติเข้าาร่วมประชุมด้วย จึงนำเสนอความเป็นมาของโครงการ เริ่มตั้งแต่ชุมชนบ้านน้ำเค็มเคยประสบภัยสึนามิ เมื่อปี  47  มีหน่วยงานเข้ามาให้การช่วยเหลือเบื้องต้นก็เยอะ แต่พอให้การช่วยแล้วก็กลับ ไม่มีการเยี่ยวยาอย่างต่อเนื่อง บ้างรายไม่มีชื่อ(ชาวมอแกรนบางคนไม่มีบัตร)ก็ไม่ได้รับการช่วยเหลือ แต่หลังจากผ่านไปเป็นปีๆ ก็ยังมีองค์กรที่ให้การช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้น ได้มีแนวร่วมกับองค์กรอิสระ สนับสนุนให้ชุมชนรุกขึ้นมาพึ่งตนเอง โดยมีการการจัดตั้งทีมอาสาสมัครเตรียมความพร้อมฯในชุชนหรือ ทีม อปพร. และได้ขอการสนับสนุนให้มีการจัดอบรมการช่วยเหลือกู้ภัยเบื้องตน จากทาง ปภ.จ.พังงา แล้วจึงมีการสนับสนุนให้ในชุมชนจัดตั้งศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติตำบล ขึ้นมา และได้มีการจัดซ้อมแผนหนีภัยสึนามิทุกปี มีกิจกรรมการช่วยเหลือชุมชนใกล้เคียง  และทางศูนย์เตรียมความพร้อมฯกฌได้รับการยอมรับจากคนในชุมชนเป็นอย่างดี ตลอดจนมีต่างประเทศเข้ามาขอศึกษาดูงาน เช่น ศรีลังกา ฯ  โครงการจัดทำแผนเตรียมความพร้อมรับมือัยพิบัติโดยชุมชน เกิดจาก ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา คนเก่า ท่านเคยติเตียนว่า ทางทีมให้การช่วยเหลือแต่พื้นที่อื่น ทำไมไม่ทำในบ้านตนเองบ้าง จึงเกิดเป็นโครงการนี้ขึ้น โดยของบประมาณสนับสนุนจาก สจรส.มอ.สงขลา จึงมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ในจังหวัดพังงา ภูเก็ต ระนอง ในพื้นที่จังหวัดพังงานั้นตั้งเป้าไว้ 7 ตำบลก่อน ตำบลนบปริงก็เป็นพื้นที่หนึ่งด้วย ครั้งนี้ จึงขอทำความเข้าใจในรายละเอียดโครงการ โดยชุมชนจะต้องทำความเข้าใจในพื้นที่ที่เสี่ยงภัย ทำการสำรวจข้อมูลเสี่ยงภัย มีปฏิทินภัย ตั้งคณะทำงาน(อาสาสมัคร)ภัยพิบัติ และถึงจะมีการจัดทำแผนเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ อันดับต่อไปอาจมีการจัดตั้งศูนย์เตรียมความพร้อมฯตำบล แต่ในวันนี้ขอคุยรายละเอียดการจัดทำโครงการก่อน ทางชุมชนจะต้องทำการสำรวจพื้นที่เสี่ยงภัย และประชากรในพื้นที่เสี่ยง สอบถามสถานะของแต่ละครัวเรือนที่เสี่ยงภัย เพื่อจะได้มีข้อมมูลจัดทำแผนฯอย่างถูกต้องและตรงกับพื้นที่  จากนั้นทาง สำนักงาน ปภ.จ.พังงา ก็ได้อธิบายถึงการปฏิบัติง่นของหน่วยงาน ซึ่งการปฏิบัติงานของปภ.นั้น เกิดขึ้นหลังมีเหตุการณืการแล้ว จึงถือว่าเป็นการช่วยเหลือมากกว่า แต่ถ้าชุมชนไหนที่ต้องการบุคคลากรเพื่อเป็นวิทยากรในการอบรมกู้ภัยอย่างถูกต้อง หรืออุปกรณ์เครื่องมือให้การช่วยเหลือบ้างชนิด ก็พร้อมที่จะให้การสนับสนุน ทางด้าน อบต.นบปริงว่า อบต.มีหน้าที่ให้การช่วยเหลือแก่ชาวบ้าน หากชาวบ้านเดือดร้อนทาง อบต.ในพื้นที่มีหน้าที่ให้การช่วยเหลือเบื้องต้นไปก่อน เช่น ประสบเหตุพายุ หลังคาบ้านพังเสียหาย ก็มีการชดเชยให้ในรายที่มาแจ้งความเสียหาย ทาง อบต.นบปริง มีความเห็นด้วยและให้การร่วมมือสนับสนุนอย่างเต็มที่ ขอให้เห็นว่าชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ก่อน ไม่ต้องรอให้ทางหน่วยงานหรือรัฐบาลความช่วยเหลืออย่างเดียว ทาง อบต.นบปริงขอให้ชาวบ้านบอกจะรับฟังและให้การช่วยเหลืออย่างเต็มกำลัง ในครั้งหน้าจะชวนชาวบ้านให้เข้ามาจัดทำข้อมูลและแผนภัยพิบัติ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีความร่วมมือเกิดขึ้นหลายฝ่าย ทั้งท้องทีท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับภัยพิบัติ และทีมชาวบ้าน ก็เข้าใจเป็นอย่างดี

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 4 คน แกนนำและทีมชุมชน 4 คน ผู้แทน สำนักงาน ปภ.จ.พังงา 2 คน นายก อบต.นบปริง

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ชาวบ้านติดภาระกิจผู้เข้าร่วมประชุมน้อย/ ครั้งหน้าจะให้มีตัวแทนแต่ละหมู่บ้านที่เสี่ยงภัยเข้าร่วมอย่างน้อยหมู่บ้านละ 2 คน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่