โครงการพัฒนากลไกการจัดการภัยพิบัติ อันดามัน และการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน

การศึกษาดูงานการท่องเที่ยวชุมชนบ้านเกาะกลางและชุมชนถ้ำเสื่อ2 มีนาคม 2561
2
มีนาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย เครือข่ายภัยพิบัติอันดามัน
circle
วัตถุประสงค์

-เพื่อให้บุคลากรได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการปฏิบัติงานและการจัดการบริหารการท่องเที่ยว

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จุดที่ 1  เรียนรู้การจัดอาหารพื้นบ้านให้กับนักท่องเที่ยว เวลา 12.00-13.00 น. รับประทานร้านอาหารในแพชุมชนคลองประสงค์ - ได้รับการต้อนรับจากตัวแทนชุมชนอย่างอบอุ่น ( ผู้ประสานงานชุมชนคลองประสงค์ จ๊ะโสภา ) เวลา 13.00-14.00 น. เข้าที่พักเก็บสัมภาระทำภารกิจส่วนตัว จุดที่ 2  เรียนรู้การจัดที่พักโฮมสเตอร์รูปแบบแยกกันอยู่กับเจ้าของบ้าน ซึ่งต้อนรับคณะเราเป็นคณะแรก และเรียนรู้ชีวิตการทำธุรกิจของเจ้าของบ้านที่ทำในตัวเมือง แล้วต้องหันกับมาอยู่บ้านและทำโฮมสเตอร์ในชุมชน เพราะทำในตัวเมืองต้องเช่าที่ของอื่นและมีการแข่งขันธุรกิจไม่ได้คำนึงถึงวิถีชีวิตของเพื่อนร่วมโลก เวลา 14.00-18.00 น. นั่งสามล้อบริการไปยังสถานที่ท่องเที่ยวและเรียนรู้ของชุมชน จุดที่ 3 ประวัติศาสตร์ชุมชน โดยตัวแทนผู้สื่อสารชุมชน ชุมชนเกาะกลางเป็นเกาะเล็กๆมีวิถีชีวิตชุมชนที่เรียบง่าย  และยังคงรักษาเอกลักษณ์ท้องถิ่นไว้ได้อย่างดี เกาะแห่งนี้ตั้งอยู่กลางแม่น้ำกระบี่  ห้อมล้อมด้วยป่าชายเลนบริเวณปากแม่น้ำ  ที่มีความอุดมสมบูรณ์นับพันไร่  การเดินทางจากตัวเมืองกระบี่อาศัยเรือหางยาวข้ามฟาก ใช้เวลาเพียง 10 นาที  ที่นี้ประกอบด้วย  3  หมู่บ้าน  ประชากรราว 5,000  คน  ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม  ประมงพื้นบ้าน และรับจ้างทั่วไป เอกลักษณ์และความโดดเด่นของที่นี่ คือภูมิปัญญา และ วิถี ชีวิตชุมชนที่พึ่งพาอาศัย  และผูกพันสอดคล้องระหว่างมนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่  ผ่านกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวที่มาเยือนสามารถเรียนรู้และมีส่วนร่วมได้ เช่น การทำประมงพื้นบ้าน การสักหอย  การทำนาข้าวสังหยด การทำเรือหัวโทง  การทำผ้าปาเต๊ะ เป็นต้น  นอกจากนี้  สิ่งหนึ่งที่ทำให้เกาะกลางคงความงดงามและมีเสน่ห์ นั้นคือ  วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชนมุสลิมที่รักสันติ สงบและเรียบง่าย  มิตรภาพและน้ำใจไมตรีของคนเกาะกลาง  คือส่วนหนึ่งของความสุขที่ถ่ายทอดออกมาให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัส  ท่ามกลางสังคมและกระแสโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็ว  ที่นี่เป็นอีกที่หนึ่งที่ยังคงก้าวไปตามจังหวะของตนเอง  ชุมชนเกาะกลาง  เมืองกระบี่ จุดที่ 4 พื้นที่การทำนาข้าวสังข์หยด เป็นข้าวนาปีที่ปลูกปีละครั้ง  โดยมีการคัดเลือกเม็ดพันธ์  หว่านกล้า  โดยจะปักดำนาในช่วงเดือนสิงหาคมและเกี่ยวข้าวช่วงเดือนธันวาคม  ทั้งนี้จะมีการรวมกลุ่มกัน  เพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูก  สร้างเขื่อนคันดินกันน้ำเค็ม  ลงแขกนาดำ – เกี่ยวข้าว นำผลผลิตที่เหลือเช่นซังข้าว  ฟ้างข้าว  และแกบ  มาผลิตปุ๋ยเกษตรอินทรีย์  รวมทั้งจัดตั้งสหกรณ์และโรงงานสีข้าวชุมชน จุดที่ 5 การร่วมกลุ่มทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติต้นไม้ป่าโกงกาง จุดที่ 6 การร่วมตัวฟื้นฟูป่าชายเลนหลังจากถูกภัยพิบัติ สึนามิ จากพื้นที่หน้าชุมชนมีแค่ชายหาดจนทุกวันนี้แกนนำได้เสนอกับชุมชนและหน่วยงาน ท้องถิ่น ท้องที่ ให้ร่วมกันฟื้นฟูป่าชายเลน ปัจจุบันพื้นที่หนึ่งร้อยกว่าไร่มี กุ้ง ปล า หอย ปุ และสัตว์ต่างๆ ทำให้พื้นที่ป่าชายเลนเป็นจุดท่องเที่ยวที่ทำให้ผู้คนสนใจมาก การสักหอย (การขุดหอย) ชาวบ้านจะสักหอยบริเวณชายหาด  ในช่วงที่น้ำทะเลลด โดยหอยที่พบมากบริเวณชายหายเกาะกลางคือ หอยหวาน หอยราก หอยเม็ดขนุน หอยจุ๊บแจง หอยปากหนา หอยหลักไก่  หอยแครง  และหอยแว่น โดย หอยแต่ละชนิดจะมีวิธีการสังเหตุและวิธีหาที่แตกต่างกัน ชาวบ้านจะนำหอยที่ได้มาประกอบอาหารในครัวเรือน

จุดที่ 7 การละเล่นแข็งขันไก่ป่าส่งเสียง เป็นกีฬาพื้นบ้านแบบใหม่ที่กำลังนิยมกันในหมู่คนมุสลิมภาคใต้ เป็นการเลี้ยงไก่แจ้และฝึกให้มีการขันที่มีจังหวะและไพเราะ เราเห็นการนำไก่มาตั้งบนไม้เสาเตี้ยๆ ไก่แต่ตัวมีสีสันสวยงาม จุดที่ 8 พื้นที่หากินทางทะเล    ประมงชายฝั่ง (ประมงน้ำตื้น) การทำประมงชายฝั่ง  เป็นวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวเกาะกลาง  ที่สืบทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น  ชาวเกาะกลางส่วนใหญ่จะมีความรู้เรื่อง การวางอวนปลา  การทำโป๊ะน้ำตื้น  การวางลอบปู  การสักหอย เป็นต้น จุดที่ 9 ชมบรรยากาศยามเย็น จุดที่ 10 บ้านดั้งเดิมชุมชนเกาะกลาง จุดที่ 11 กลุ่มเรือหัวโทง เป็นการสืบสานวิถีชีวิตของชาวเกาะกลางสมัยก่อน ที่นิยมใช้เรือหัวโทงทำประมงหาเลี้ยงชีพและใช้ในการเดินทาง โดยในปัจจุบันอาชีพการประกอบเรือหัวโทงเริ่มลดน้อยลง เพราะการใช้งานลดลงและรูปแบบเรือหัวโทงดั้งเดิม ก็หาดูได้อยากขึ้น ชาวบ้านจึงรวมกลุ่มกันเพื่อทำเรือหัวโทงจำลองขึ้น โดยนักท่องเที่ยวจะได้เรียนรู้ถึงประวัติความเป็นมาของเรือที่เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของจังหวัดกระบี่  เรือหัวโทงจำลองจากเกาะกลาง  ได้พัฒนาเป็นสินค้า  OTOP  ระดับ  4  ดาว ที่มีชื่อเสียงของจังหวัด จุดที่ 12 ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเพื่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ( พี่นิด เจ้าหน้าที่จากมูลนิธิรักษ์และตัวแทนกลุ่มสตรี) เรื่องราวการพัฒนา และต่อสู้ของชุมชน เช่น - การฟื้นฟูทรัพยากร - การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเกาะกลาง เช่น กลุ่มเรือพาเที่ยว สามล้อพาเที่ยว - การเชื่อมโยงเครือข่ายชุมชนและหน่วยงานต่างๆ - มีกลุ่มออมทรัพย์ - ส่งเสริมกลุ่มอาชีพ เช่น กลุ่มเรือจำลอง ผ้ามัดย้อม หมายเหตุ ท่องเที่ยวชุมชน  สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปีเวลาที่ดีที่สุดเดือนธันวาคม-เมษายน

เวลา 18.00- 21.00 น. รับประทานอาหารเย็น/เวทีพบปะแลกเปลี่ยน/ถอดบทเรียนความรู้ที่ได้จากการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนเกาะกลาง/พักผ่อน สิ่งที่ได้เรียนรู้จากชุมชนเกาะกลาง นาย นิคม ธงชัย ตัวแทนจากชุมชนบ้านท่าใหญ่ - ดูพื้นที่การฟื้นฟูป่าชายเลน - ได้นั่งรถสามล้อท่องเที่ยวรอบๆในชุมชน - ได้พักโฮมสเตอร์ของชาวบ้าน - ชุมชนมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ได้ทุกวัย - ใช้ภูมิปัญญาชุมชนด้านต่างๆในการทำท่องเที่ยว นาง ผลาก  นาวารักษ์ และน้ำอิง เยาวชน  ตัวแทนจากชุมชนบ้านหินลาด/ทับปลา - ในชุมชนมีภูมิปัญญาหลายอย่าง - มีการปลูกข้าวสังข์หยด - มีกลุ่มเรือท่องเที่ยวชุมชน - การละเล่นแข็งขันไก่ป่าขัน น.ส.อรวรรณ  หาญทะเล และน้องพลอย เยาวชน ตัวแทนชุมชนบ้านทับตะวัน -  กิจกรรมผ้ามัดย้อม โดยเอาต้นไม้ป่าโกงกางมาทำสีย้อมผ้า เช่น ต้นบูน ต้นแม -  พื้นที่เยาวชนเล่นว่าว -  กฎกติกาชุมชน 5 ส./จัดโซนการดื่มสุราในชุมชน -  มีข้อตกลงการทำดูแลความสะอาดชุมชน -  มีกลุ่มออมทรัพย์ - มีกลุ่มโฮมสเตอร์2 แบบ แบบพักร่วม และแยกพักกับเจ้าของบ้าน - แกนนำเข้มแข็ง (ส่วนมากเป็นสตรีที่ทำงานอาสาชุมชน) - เยาวชนมีรายได้จากการท่องเที่ยวชุมชนและได้กลับมาอยู่มากกว่าเหมือนก่อน - มีสินค้าชุมชนจากคนในชุมชน -  มีการเชื่อมโยงเครือข่ายชุมชนในจังกระบี่-ภาค-ชาติ - ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2561 เวลา 07.00-09.00 น. รับประทานอาหารพื้นบ้านชุมชนเกาะกลางแล้วออกเดินทางไปดูงานที่ถ้ำเสือต่อ 09.00-11.00 น. เดินทางจากชุมชนเกาะกลาง ต.คลองประสงค์ สู่ศูนย์เรียนรู้การท่องเที่ยวบ้านถ้ำเสือ

2.4.2 ดูงานถ้ำเสือ
11.00 – 12.00 น.  เดินทางถึงชุมชนบ้านถ้ำเสือ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่
ที่ศูนย์รับนักท่องเที่ยวชุมชนบ้านถ้ำเสือ ที่นี่เรียกว่า “บ้านกำนัน” มีการแสดงรองแง็ง ยาโฮ้ง ต้อนรับจากชาวบ้านในชุมชน มีวิทยากรบอกเล่าที่มาในการเริ่มทำการท่องเที่ยวโดยชุมชน จากชุมชนที่ไม่มีผู้คนเข้าถึง ถือว่าเป็นพื้นที่ที่คนภายนอกมองว่าอันตราย ไม่น่าเข้ามาเยี่ยมเยือน ทั้งที่มีแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติและแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ วิถีวัฒนธรรมผู้คน และแหล่งโบราณทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ หลายที่ ถือว่าการปรับชุมชนมาทำการท่องเที่ยวเป็นการยกระดับคุณค่าของชุมชน และสามารถกำหนดแนวทางพัฒนาด้วยตนเองได้ชัดเจน 12.00-13.00 น. รับประทานอาหาร 13.00-15.30 น. เรียนรู้ดูการพาเที่ยวของสมาชิกการท่องเที่ยวชุมชนบ้านถ้ำเสือ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต ทำให้ชาวเลที่มาดูงานได้รับรู้และเข้าใจว่า การเริ่มคิดเกิดจากคนในที่มีแรงบันดาลใจ มองย้อนเห็นคุณค่าตัวตน ชุมชนของตนเอง ทางด้านความรู้และการท่องเที่ยวที่พื้นที่ดูงานมี ผสานกับการต้องการเปลี่ยนให้ชุมชนถ้ำเสือและเกาะกลาง เป็นพื้นที่ๆใครๆก็อยากมาสัมผัส เยี่ยมเยือน รวมถึงศึกษา เรียนรู้การท่องเที่ยวชุมชนซึ่งถือว่าจะเป็นเป็นพื้นที่ต้นแบบให้ชาวเลนำไปประยุกต์ ต่อยอดแนวคิดต่อไปได้
ผลลัพธ์ เข้าใจเรื่องการจัดการต้อนรับ ขนส่ง อาหาร ที่พัก ผลิตภัณฑ์ชุมชน  ต้นแบบการท่องเที่ยวชุมชน แนวคิด ประสบการณ์ การเชื่อมร้อยภาคีเพื่อเกิดการสนับสนุน ผลักดันนโยบาย สู่การเป็นชุมชนที่ยกระดับคุณค่าของชุมชนเอง และสามารถกำหนดแนวทางพัฒนาด้วยตนเองได้อย่างเป็นรูปธรรม เช่นเดียวกันกับการท่องเที่ยวบนพื้นที่คุ้มครองทางวัฒนธรรมชาวเลที่มุ่งหวังใช้การท่องเที่ยวเปิดเรื่องราวคุณค่าของพื้นที่ วิถีวัฒนธรรมของชาวเลให้ผู้คนได้มาสัมผัส ได้เห็นคุณค่าคู่ควรอนุรักษ์ของวัฒนธรรมและทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ชาวเล เพื่อความยั่งยืนของประเทศ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 23 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย
  • ตัวแทนโครงการหมู่บ้านน้ำเค็ม 5 คน
  • ตัวแทนโครงการบ้านทับตะวัน 5 คน
  • ตัวแทนโครงการเกาะพระทอง 5 คน
  • ตัวแทนโครงการบ้านทับปลา 5 คน
  • คณะทำงาน 5 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

2.6.1 พื้นที่เป้าหมายไปร่วมไม่ครบ ทำให้ต้องเปลี่ยนพื้นที่เป้าหมายของโครงการ จากชุมชนเกาะพระทองเป็นชุมชนบ้านท่าใหญ่ 2.6.2 การเดินทางไกลและจำนวนคนที่ไปดูงานมากกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้ ทำให้ค่าใช้จ่ายจำนวนที่ตั้งไว้ จึงแก้ไขโดยใช้รถยนต์ในชุมชน โดยการเหมาจ่ายเป็นค่าน้ำมัน 2.6.3 ตามแผนที่เขียนไว้เราจะดูงานที่เกาะกลางเป็นที่เดียว แต่ชุมชนบ้านถ้ำเสือ เป็นต้นแบบท่องเที่ยวโดยชุมชน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ควรหนุนเสริมการเชื่อมโยงพื้นที่เกาะกลางและถ้ำเสือกับชาวเลพังงาและท่องเที่ยวเรียนรู้หลักสูตรชุมชนพังงาแห่งความสุข เพราะทั้งชาวเลและพื้นที่ดูงานครั้งนี้ เคยทำโครงการกับ สจรส./สสส.

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

การดูงานการท่องเที่ยวโดยชุมชน ไม่มีรูปแบบมาตฐานตายตัวให้เราศึกษา แต่ชุมชนต้องใช้การสังเกตุและสอบถามแลกเปลี่ยนถึงจะเข้าใจทักษะทีี่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับชาวเลได้