โครงการพัฒนากลไกการจัดการภัยพิบัติ อันดามัน และการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน

ประชุมคณะทำงานเครือข่ายท่องเที่ยว ครั้งที่120 กุมภาพันธ์ 2561
20
กุมภาพันธ์ 2561รายงานจากพื้นที่ โดย เครือข่ายภัยพิบัติอันดามัน
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อเข้าใจโครงการการจัดทำข้อมูล 2. เพื่อเข้าใจแนวทางทำความเข้าใจข้อมูลในพื้นที่
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.4 กระบวนการ  ดำเนินการ โดย วิทวัส เทพสง เวลา
08.00-08.30 น. ลงทะเบียน มีแกนนำชุมชนมาทุกพื้นที่เป้าหมาย 08.30-09.00 น. ทบทวนสถานการณ์ชุมชนกลุ่มเป้าหมาย
.....แต่ละชุมชนมีแผนเรื่องการท่องเที่ยวชุมชนอยู่แล้ว แต่ยังต่างระดับความเข้าใจ หลายพื้นที่ยังยึดติดกับการท่องเที่ยวเชิงเศรษฐกิจเป็นหลักและขาดศักยภาพด้านการบริหารจัดการเพื่อยกระดับคุณภาพ และสามารถบริหารจัดการให้เกิดผลกำไรกับชุมชนได้ เพราะการทำการท่องเที่ยว แม้ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้วิถีวัฒนธรรมบนพื้นที่คุ้มครองทางวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ แต่การจัดกระบวนการและรูปแบบการนำเสนอ ต่างจากการนำเสนอปัญหาที่มีอยู่
09.00-10.00 น. ชี้แจงที่มาของโครงการ โดย นาย ไมตรี จงไกรจักร์
.....ชี้แจงที่มาของโครงการ โดยมี 2 ส่วน คือ
1. เรื่องของการพัฒนากลไกภัยพิบัติในอันดามัน 2. การจัดการภัยพิบัติสู่ความยั่งยืนโดยการท่องเที่ยวชุมชน 10.00-11.00 น. แลกเปลี่ยนแนวทางการทำงานตามกิจกรรมที่วางไว้ในโครงการ แกนนำแต่ละชุมชนมีแนวคิดแตกต่างกัน เข้าช่วงกับมีโครงการนวัตวิถี จึงเกิดข้อเปรียบเทียบรูปแบบของการดำเนินกิจกรรมที่ต่างกัน การท่องเที่ยวชุมชนชาวเลเป็นการท่องเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์พื้นที่ทางวัฒนธรรมและธรรมชาติในพื้นที่ดำรงวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวเล ให้อยู่ได้อย่างยั่งยืนและมีคุณค่าต่อชาวเล สังคม และประเทศชาติ ซึ่งแกนนำส่วนใหญ่เข้าใจรูปแบบแนวคิดของการท่องเที่ยวชาวเล จึงเห็นร่วมว่ากิจกรรมยึดเอาตามที่ได้เขียนไว้ แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและให้มีการหนุนเสริมในบางส่วนที่แกนนำไม่สามารถรับผิดชอบได้ ซึ่งกองเลขาฯก็ยินดีที่จะช่วยให้กิจกรรมดำเนินการได้ แต่จะลุล่วงไปอย่างไรนั้น ต้องเกิดจากทุกฝ่ายร่วมกันรับผิดชอบหน้าที่ของตนตามบทบาทที่จะได้รับ โดยแบ่งคณะทำงานเป็น 3 ส่วน 4 ภารกิจ 1. ส่วน/ภารกิจกลางของคณะกรรมการโครงการ 2. ส่วน/ภารกิจของงานภัยพิบัติ 3. ส่วน/ภารกิจของการท่องเที่ยว 4. ภารกิจร่วมที่เกี่ยวกับแผนงานโครงการและตามวาระร่วมของเครือข่าย/ภาคี 11.00-12.00 น. ตั้งโครงสร้าง วางบทบาทคณะทำงานเป็นรูปแบบกลไกร่วมทำงานตามศักยภาพ แกนนำชุมชนและกองเลขาร่วมวางบทบาทโดยยึดเอาแกนนำชุมชนกลับไปทำงานในพื้นที่ตัวเอง โดยมีทีมส่วนกลางคอยหนุนเสริมเรื่องกระบวนการและติดตาม 12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00-15.30 น. ประเมินความพร้อม-วางแผนปฏิบัติการและกำหนดช่วงเวลาที่ชัดเจน ความพร้อมในการปฏิบัติการของแต่ละชุมชนไม่เท่ากันทั้งด้านการหนุนเสริมจากหน่วยงานท้องที่-ท้องถิ่น สำหรับชุมชนทับตะวันซึ่งเป็นพื้นที่ปฏิบัติการอยู่แล้ว มีประสบการณ์พอที่จะดำเนินการได้ด้วยชุมชนเอง แต่บางชุมชนยังไม่เคยต้อนรับนักท่องเที่ยว นอกจากกลุ่มที่มาดูงานหรือศึกษาสภาพปัญหาของชาวเล ดังนั้นในแผนของแต่ละชุมชนก็จะมีคณะทำงานจากชุมชนอื่นๆ รวมถึงนักวิชาการและองค์กรภาคีไปร่วมหนุนเสริมด้วย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม


ผลผลิต ผู้ร่วมโครงการกับผู้ที่เพิ่งได้รับการประสานเชิญเข้าร่วมให้เป็นคณะทำงาน ได้ร่วมทบทวนที่มาของโครงการจากเดิมที่วางแผนกันไว้ตอนเขียนโครงการ และเกิดความเข้าใจข้อมูลเพิ่มเติม
ผลลัพธ์ มีการหารือและเสนอรูปแบบหลักๆของกิจกรรม ที่จะเพิ่มศักยภาพคนให้หนุนพื้นที่ โดยมีคณะทำงานจัดและช่วยกันเอื้อกระบวนการในแต่ละกิจกรรม มีการตกลงสมัครใจแบ่งหน้าที่ตามความถนัดของแต่ละคน เพื่อร่วมกันดำเนินโครงการตามที่วางแผนไว้ และมีความเป็นไปได้ว่าทำให้เกิดการมีส่วนร่วม จากส่วนของชุมชนชาวเล ภาคีทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาสังคมมาช่วยกันหนุนเสริมอีกระดับหนึ่ง 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

-หมู่บ้านน้ำเค็ม
-บ้านทับตะวัน
-เกาะพระทอง
-บ้านทับปลา
-คณะทำงานโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

มีจำนวนชุมชนที่ต้องการเข้าร่วมเพิ่มอีกคือ ชุมชนชาวเลมอแกลนบนไร่ ชุมชนมอแกลนท่าใหญ่ ส่วนชุมชนมอแกลนบ้านทับปลาขอแค่ร่วมเรียนรู้ แต่ความพร้อมในการปฏิบัติการนั้นยังไม่มี การดำเนินโครงการต้องต่อเนื่อง และคณะทำงานลงพื้นที่บ่อยขึ้น

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  1. ขอให้คำนึงถึงศักยภาพและบริบทของชาวเลที่ยังมีจุดด้อยในการบริหารจัดการโครงการ และเพิ่งเรียนรู้การใช้เทคโนโลยี
  2. ใน 24 ชุมชน 3 อำเภอของจังหวัดชาวเลมอแกลนเป็นญาติกัน เมื่อชุมชนใดจะเข้าร่วม จึงมีการปรับเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมาย บางชุมชนที่ไม่ได้เข้าร่วมตอนแรกเพราะขาดความมั่นใจ กลัวทำไม่ได้ ตอนนี้ขอร่วมด้วย และบางชุมชนที่ยังไม่พร้อมก็ขอเข้าเรียนรู้ เป็นการปรับตัวจากการมีปัญหาทำการท่องเที่ยว เชิงเรียนรู้ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติและวัฒนธรรมหรือการท่องเที่ยวบนพื้นที่คุ้มครองทางวัฒนธรรมชาวเล 
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ต้องมีการขยายความเข้าใจในชุมชนให้เกิดเป็นแผนของชุมชนที่สอดคล้องกับโครงการ มีคนที่จะเข้าร่วมในระดับที่สามารถรับผิดชอบได้