เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ (จริยธรรมสื่อ)
สรุปผลการจัดเวที Work Shop Matching Network ครั้งที่ 2 (ความมั่นคงทางสุขภาพ)
จากเวที Work Shop Matching Network ครั้งที่ 2 (ความมั่นคงทางสุขภาพ) เป็นการจัดกลุ่ม ประเด็นเครือข่ายที่ขับเคลื่อนงานที่ส่งผลต่อสุขภาพในพื้นที่ภาคใต้เพื่อแลกเปลี่ยนด้วยรูปแบบการเสวนา ว่าด้วย ความมั่นคงทางสุขภาพ พันธุกรรมพืช สัตว์พื้นถิ่นกับการดำรงวิถีชีวิตชุมชน ในเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนทำให้เห็นว่า ตัวแทนทั้ง 3 ด้าน พูดคุยในทิศทางร่วมกันคือมองถึงสุขภาพโดยรวมของประชาชน โดยในส่วนของเกษตรกรจะเน้นถึงความ “ความยั่งยืน” คือ การที่เราสามารถพึ่งตนเองได้ และสามารถนำพาคนอื่นให้ยืนได้เหมือนเรามีความเป็นผู้นำทางธรรมชาติ มีความเชื่อและความคิดเป็นของตนเอง และใช้เวลาเรียนรู้กับการจัดการในแปลงเกษตร เกิดข้อค้นพบเช่น
- สวนเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพ “ป่าร่วมยาง” การที่เมื่อก่อนเรามีความรู้และเครือข่ายเป็นทุนอยู่แล้ว แต่เป็นการปลูกพืชที่สวนกระแสไม่สนใจเรื่องพืชเศรษฐกิจ มาวันนี้เวลาผ่านมา 12 ปี องค์ความรู้ที่มีถูกนำมาใช้ คิดว่าป่าร่วมยางสามารถโยงเข้าหาได้ทุกเรื่องตอบโจทย์ได้หมดทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ป่าร่วมยาง พืชที่ปลูกต้องสามารถตอบโจทย์ 3 ข้อ คือ กินได้ ขายได้ เป็นยา ถ้ามองเรื่องสุขภาพ เกษตรร่วมยางเป็นเกษตรที่เอื้อต่อสุขภาพ
- มีแนวคิดเรื่องธนาคารต้นไม้เป็นจุดเริ่มต้นของการถ่ายทอดความรู้ของคนอยู่ป่า สื่อความรู้ให้กับคนภายนอกได้เรียนรู้
- นวัตกรรมเกษตรเชิงเดี่ยว เป็นการตอบโจทย์เรื่องรายได้เป็นหลัก
- การสร้างเสริมสุขภาพเราสามารถทำได้เองพึ่งตนเองได้จริง มีความรู้จริงในเรื่องสุขภาพ
ทั้งนี้ทั้งนั้นภาคการเกษตรก็ยังมีความจำเป็นที่จะได้รับความรู้และการบริการวสาธารณะสุขที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต นโยบายทางสาธารสุขที่เอื้อต่อการประกอบอาชีพทางการเกษตร การเจ็บป่วยที่เกิดจากอาชีวอนามัย รายได้เกษตรกรที่ไม่เพียงพอต่อการดูแลสุขภาพ ระบบอาหารที่มีความมั่นคงปลอดภัย ในขณะที่งานวิชาการ ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจยากสำหรับเกษตรกร แต่มหาวิทยาลัยยังต้องเป็นพี่เลี้ยงด้านวิชาการ รวมทั้งงานวิจัยต่างๆเพื่อให้มีนวัตกรรมใหม่ๆให้กับเกษตรกรด้วย
ผลที่ได้รับ
1. เกิดเครือข่ายด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น
- สวนเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพ : ป่าร่วมยาง
- มทร.ศรีวิชัยนครศรีธรรมราช (ไสใหญ่)
- ศูนย์อนามัยที่ 11
- สหทัยมูลนิธิ
2. เกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพจากเครือข่ายสุขภาพ
3. ความมั่นคงทางสุขภาพ และความมั่นคงทางอาหารมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับชุมชนอย่างมีนัย
4. การพัฒนานโยบายสาธารณะจากข้างล่างไปสู่ข้างบน และมาจากกระบวนการมีส่วนร่วม
()