การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน อันดามัน

เวทีจัดทำยุทธศาสตร์ร่วมเครือข่ายภัยพิบัติอันดามัน15 ตุลาคม 2563
15
ตุลาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย เครือข่ายภัยพิบัติอันดามัน
circle
วัตถุประสงค์

 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน ปกติแล้วภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดอันดามัน ชาวบ้านจะปรับตัวเข้ากับสภาพธรรมชาติได้เป็นอย่างดี มีการเรียนรู้ธรรมชาตินำไปสู่การตั้งถิ่นฐานและการทำมาหากิน ไม่ตั้งถิ่นฐานในพื้นที่เสี่ยงภัย การทำการเกษตรก็ไม่ทำลายหรือบุกรุกธรรมชาติ ดังนั้น เวลาเกิดภัยพิบัติเรียนรู้ที่จะปรับตัวจนกลายเป็นวิถีชีวิตปกติ อาศัยการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในหมู่เครือญาติก็จะผ่านพ้นภัยไปได้

แต่ด้วยสภาพที่ภัยธรรมชาติมีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างช่วงการเกิดธรณีภัยพิบัติสึนามิในปี พ.ศ.2547 ทำให้ชุมชนมีความตื่นตัวในการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน ซึ่งเกิดเป็นรูปธรรมที่ชุมชนบ้านน้ำเค็ม ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา และขยายตัวมากขึ้นตามภัยพิบัติที่เกิดขึ้น โดยการสนับสนุนของมูลนิธิชุมชนไท พอช. และ สสส. การเกิดภัยน้ำท่วม ปี พ.ศ. 2554 , 2560 ยิ่งเป็นแรงกระตุ้นให้ชุมชนมีการเตรียมการเพื่อจัดการภัยพิบัติด้วยตนเอง มีการหนุนช่วยซึ่งกันและกันข้ามจังหวัด ขยายคน ขยายพื้นที่ จนถึงปัจจุบันมีเครือข่ายชุมชนจัดการภัยพิบัติทั้ง 6 จังหวัด

ในการดำเนินงานจะเห็นรูปแบบดำเนินการทุกระดับ คือ 1. เกิดกลไกระดับจังหวัดโดยเน้นความร่วมมือกับทางจังหวัดและภาคีพัฒนาต่างๆ ในการหนุนเสริมการจัดการภัยพิบัติระดับพื้นที่ ตลอดจนเป็นศูนย์ร่วมข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นต่อการจัดการภัยพิบัติ การหนุนเสริมให้เกิดกองทุนภัยพิบัติ เป็นทุนตั้งต้นและที่ขาดไม่ได้ก็คือเป็นกลไกที่ประมวลปัญหา อุปสรรคสู่การแก้ปัญหาเชิงนโยบาย ที่อาจมีความเกี่ยวข้องกับระบบผังเมือง ชลประทาน การคมนาคม ตลอดจนงานของหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ

อย่างไรก็ดีบางจังหวัดอาจมีกลไกระดับอำเภอ เพื่อทำหน้าที่ประสานหนุนเสริมงานที่กำลังเกิดของพื้นที่ เป็นการช่วยงานของพื้นที่ให้ลุล่วงไปได้ เช่น งานที่ต้องเกี่ยวข้องกับภาครัฐ งบประมาณ ตลอดจนระบบการหนุนช่วยอื่นๆ

ปัจจุบันมีอยู่หลายจังหวัดที่มีการจัดตั้งกลไกอย่างเป็นทางการ โดยเป็นคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด เช่น พังงา ระนอง เป็นต้น แต่บางจังหวัดก็อยู่ในช่วงของการบูรณาการ โดยการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี การสร้างผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ เป็นต้น ซึ่งจะนำมาซึ่งการยอมรับของภาคีต่างๆ ในอนาคต 2. กลไกระดับพื้นที่ปฏิบัติการ หลายแห่งใช้ตำบลเป็นพื้นที่ปฏิบัติการโดยใช้สภาองค์กรชุมชนตำบลเป็นกลไกการขับเคลื่อน แต่บางแห่งก็ใช้พื้นที่หมู่บ้าน ขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่ โดยพื้นที่ปฏิบัติการนั้น จะต้องสร้างให้เกิด  กลไกการทำงานที่มีตัวแทนจากทุกหมู่บ้านและภาคีท้องถิ่น ท้องถิ่น อื่นๆ มีการจัดระบบการแบ่งงานความรับผิดชอบออกเป็นฝ่ายต่างๆ อย่างชัดเจน  มีศูนย์และทีมอำนวยการที่ชัดเจนในการเป็นจุดศูนย์กลางทั้งด้านการบัญชาการเหตุและการจัดการเรื่องอื่นๆ  มีทีมอาสาสมัครที่ผ่านการอบรมเพิ่มประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง  มีระบบข้อมูลแผนที่ ปฏิทินภัยและแผนรับมือภัยพิบัติ  มีกองทุนภัยพิบัติ

  1. การขยายเครือข่ายในการดำเนินงานทุกจังหวัดจะมีพื้นที่นำร่องทุกจังหวัดๆ ละ 4-5 พื้นที่ ซึ่งพื้นที่เหล่านี้จะมีการดำเนินงานที่เป็นระบบ ตั้งแต่โครงสร้างความรับผิดชอบ ความร่วมมือกับภาคส่วนอื่นๆ ข้อมูล อาสาสมัครการสื่อสารและกองทุนภัยพิบัติ ถึงแม้ว่าพื้นที่ต้นแบบหลายพื้นที่และพัฒนาพื้นที่ของตนเองในการก้าวไปสู่ “พื้นที่ต้นแบบที่สมบูรณ์” ในอนาคต

    นอกจากพื้นที่ต้นแบบแล้วทุกจังหวัดจะกำหนดให้มีพื้นที่ขยายครอบคลุมทั้งจังหวัด โดยพื้นที่ขยายที่มีการปฏิบัติการตามความพร้อมไปทีละเรื่อง เช่น เริ่มจากการมีทีมอาสาแล้วค่อยๆ พัฒนาไปตามศักยภาพของตนเอง

ข้อสังเกตสู่การพัฒนาระบบการจัดการภัยพิบัติ 6 จังหวัดอันดามัน 1. การพัฒนาคนและความสามารถสู่การจัดการภัยพิบัติ จากการลงพื้นที่ทั้ง 6 จังหวัด พบว่า กลไกหรือโครงสร้าง ตลอดจนภาระกิจแต่ละระดับมีความชัดเจนเพียงแต่ทุกจังหวัดทำได้เท่ากัน มีความข้น คุณภาพที่ต่างกัน ซึ่งยังต้องอาศัยพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ก็จะก้าวไปสู่กลไกหรือโครงสร้างที่สมบูรณ์ได้ ซึ่งสาระสำคัญ คือ กลไกระดับจังหวัดให้ความสำคัญกับการประสานเชิงนโยบายและหนุนเสริมพื้นที่ส่วนระดับพื้นที่เน้นเรื่องการปฏิบัติการจริง

แต่สิ่งที่น่าจะพิจารณาเป็นพิเศษในเรื่องนี้ก็คือ การพัฒนาคนที่มีอยู่แล้วให้มีความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการภัยพิบัติให้มากขึ้น การกระตุ้นให้เห็นความสำคัญ ความจำเป็นที่ต้องจัดการภัยพิบัติโดยตนเอง การให้ความรู้ความเข้าใจเฉพาะเรื่อง เช่น เทคนิคการประสานงาน การจัดทำข้อมูล การเชื่อมโยงข้อมูลกับการจัดทำแผนรับมือภัยพิบัติ เทคนิคการบัญชาเหตุ การใช้เครื่องมือสื่อสารใหม่ๆ การพยากรณ์อากาศ เป็นต้น รวมทั้งการขยายอาสาสมัครให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนรุ่นใหม่

  1. การขยายและยกระดับคุณภาพพื้นที่ปฏิบัติการ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน โดยพื้นที่ต้นแบบ จะต้องยกระดับให้สามารถดำเนินการได้ทุกเรื่อง ทั้งโครงสร้างที่ชัดเจนการร่วมมือกับภาคี การมีบริการศูนย์อำนวยการ การจัดระบบข้อมูล และแผนรับมือภัยพิบัติ ทีมอาสาสมัครที่เข้มแข็งหลากหลาย วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น ระบบการสื่อสาร และกองทุนภัยพิบัติระดับพื้นที่ เพราะพื้นที่เหล่านี้คือศูนย์เรียนรู้ที่สำคัญในการขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นๆ ซึ่งเท่าที่ตรวจสอบข้อมูลพื้นที่ต้นแบบหลายพื้นที่ยังต้องมีการพัฒนายกระดับ ให้ครบตามแนวทางดังกล่าว

ส่วนภารกิจอีกประการหนึ่งก็คือการค้นหาพื้นที่ขยายอาจเป็นพื้นที่ใกล้เคียงกับพื้นที่ต้นแบบ หรืออยู่ในระบบนิเวศเดียวกัน หรือพื้นที่ที่ประสบภัยอยู่สม่ำเสมอ ในการดำเนินงานก็ความจะเริ่มจากสิ่งที่มีความพร้อม เช่น การมีอาสาสมัคร ขยายไปสู่การจัดทำแผนที่เสี่ยงภัย ฯลฯ ซึ่งพื้นที่ขยายนี้ในแต่ละจังหวัดควรจะมีแผนในการขยายงานเพื่อเป็นทิศทางในการขับเคลื่อนต่อไป

  1. การบูรณาการแผนองค์รวมกับประเด็นอื่นๆ สู่การฟื้นฟูหลังภัยพิบัติ ในการทำงานพัฒนาชุมชนทุกระบบจะมีความเกี่ยวพันธ์กัน ดังนั้นแกนนำจะทำเรื่องที่อยู่อาศัย อาชีพ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องระวังความคิดว่า “ภัยไม่เกิดก็ไม่รู้จะทำอะไร” ทำให้แกนนำคิดงานไม่ออก ดังนั้น ควรจะบูรณาการงานพัฒนาแบบองค์รวมตามบริบทของพื้นที่ เช่น เครือข่ายสิทธิชุมชนพัฒนาภูเก็ต มีแผนงานด้านช่างชุมชน การส่งเสริมอาชีพ การตลาด เป็นต้น เพราะกิจกรรมเหล่านี้จะเป็นฐานสำคัญในการเชื่อมโยงให้แกนนำได้สัมพันธ์ต่อกันอย่างต่อเนื่อง มีประสบการณ์และเห็นความเชื่อมโยงของงานทุกระบบในชุมชน ไม่มีงานใครสำคัญกว่าของใคร

การดำเนินการดังกล่าวไม่เพียงทำให้งานพัฒนามีการบูรณาการกันเท่านั้น แต่ยังเป็น “การเตรียมความพร้อมสู่ความเป็นอยู่หลังภัยพิบัติ” อย่างเช่นการทำคลังอาหารชุมชน โดยการทำแหล่งผลิตอาหาร ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ การส่งเสริมอาชีพ การตลาด ฯลฯ ล้วนเป็นงานที่สามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนได้ ทั้งในยามปกติและเป็นการสะสมทุนอาหาร เก็บใช้หลังภัยพิบัติผ่านไป ทั้งนี้เพราะการฟื้นฟูหลังภัยพิบัติ มีงานที่จะต้องดำเนินการหลายเรื่อง ดังนั้น หากเรื่องใดที่สามารถทำได้ก่อนก็ควรทำและทำให้เป็นเรื่องปกติของชุมชน เป็นที่น่าสังเกตว่า โครงการ “โคก หนอง นา” ที่พัฒนาไปสู่ “เกษตรทฤษฎีใหม่” รัชกาลที่ 9 ทรงนำประสบการณ์มาจากการฟื้นฟูชุมชนหลังภัยพิบัติ แต่ทรงให้ราษฎร์ทำเป็นงานปกติในชีวิต ซึ่งจะรองรับการดำเนินชีวิตได้ทั้งในยามปกติและชีวิตหลังภัยพิบัติ

  1. การจัดการให้เกิดกองทุนภัยพิบัติระดับพื้นที่ ซึ่งเป็นภารกิจสำคัญของระดับพื้นที่ แต่ที่ต้องยกมาเป็นกรณีพิเศษก็คือ หลายพื้นที่ยังไม่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้เท่าที่ควร ทั้งที่การมีกองทุนจะสร้างความมั่นใจและความสะดวกในการทำงานได้เป็นอย่างมาก กล่าวคือ เมื่อเกิดเหตุการณ์ก็มีทุนในการขับเคลื่อนได้ทันที

การตั้งกองทุนภัยพิบัติระดับพื้นที่ อาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น ภูเก็ต จะเชื่อมโยงกับกองทุนเครือข่ายที่มีอยู่เดิม หรืออาจเริ่มด้วยการสมทบ บริจาค ข้อสนับสนุนจากแหล่งทุน กินน้ำชา ฯลฯ เพื่อให้มีเงินคงคลังในการเริ่มต้น

  1. ให้ความสำคัญกับการป้องกันภัยพิบัติ ซึ่งเป็นต้นตอของการเกิดภัยที่ชุมชน จะร่วมกันได้ เช่น การฟื้นฟูป่าไม้ ด้วยการปลูกป่าชายเลนของภูเก็ต และบางเหรียง ทับปุด หรือการให้ความสำคัญกับการส่งเสริมพลังงานทดแทนของบางหิน รัษฎา เป็นต้น แนวทางเช่นนั้นไม่เพียงทำให้ธรรมชาติสมบูรณ์แล้วยังทำให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างกว้างขวางและแกนนำเห็นความเชื่อมโยงของระบบทางธรรมชาติกับการเกิดภัยพิบัติได้เป็นอย่างดี
    ที่กล่าวมาเป็นเพียงข้อสังเกตเบื้องต้นเท่านั้น ยังมีประเด็นอื่นๆ เช่น การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายด้านภัยพิบัติในทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับจังหวัด ซึ่งเป็นที่ระบบของหน่วยงานต่างๆ ที่เป็นผู้กำหนดอนาคตของจังหวัดเป็นอย่างมาก การสร้างความรู้ความเข้าใจต่อกันกับองค์กรเหล่านี้ก็จะนำไปสู่การแก้และป้องกันภัยพิบัติที่ใหญ่ขึ้นได้

ปัจจุบันการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายภัยพิบัติ 6 จังหวัดอันดามัน ก็เป็นรูปธรรมหนึ่งที่น่าสนใจ เนื่องจากภาคชุมชน โดยสภาองค์กรชุมชนได้เข้าไปร่วมเป็นภาคีหนึ่งกับภาคพัฒนาต่างๆ ในนาม “อันดามันโกกรีน” ซึ่งจะทำให้เรื่องภัยพิบัติโดยชุมชน เป็นที่เข้าใจของภาคีอื่นๆ มากขึ้น อันจะนำไปสู่การสร้างความร่วมมือต่อกันในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งไปสู่การสร้างความร่วมมือกับราชการเชื่อมโยงระบบวิทยุสื่อสาร ทั้ง 6 จังหวัด และอาจมีความร่วมมือต่อกันในเรื่องอื่นๆ ต่อไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การจัดการภัยพิบัติอันดามันสู่ข้อเสนอ บริบทของอันดามัน สตูล พังงา ภูเก็ต ระนอง ส่วนใหญ่เป็นที่ราบมาก ยกเว้นตรัง กระบี่ ที่เป็นภูเขาลาดลงทะเล ภัยที่มี ประกอบด้วย
1. น้ำท่วมขัง
2. ดินสไลด์
3. น้ำหลาก
การช่วยเหลือ มีความเสียหายน้อย เวลามีน้ำท่วมสามรถปรับใช้เป็นวิถีชีวิตได้ การเปลี่ยนแปลง เขตอันดามันเป็นแหล่งท่องเที่ยว
1. ระบบผังพัฒนา ไม่มีส่วนร่วมจากภาคประชาชน พัฒนาเพื่อการท่องเที่ยว 2. การเปลี่ยนแปลงทางการเกษตร เกิดนโยบายบุกรุกป่ามาจากภาครัฐ ให้มีการสัมปทานป่า มีการบุกรุกป่าอย่างมาก มีนโยบายพัฒนาสัตว์น้ำ คือ กุ้ง มีการทำบ่อกุ้ง เกิดการทำลายป่าชายเลน และทำให้เกิดระบบน้ำเสีย 3. ระบบการจัดการของภาครัฐ 4. ภาวะโลกร้อน ทำให้ภัยเดิมรุนแรงขึ้น ( เกิดรุนแรงมากขึ้น เกิดถี่ขึ้น เกิดมากขึ้น ) ได้แก่ ดินสไลด์ วาตภัย ภัยแล้ง กัดเซาะ แผ่นดินไหว หมอกควัน ไฟป่า โรคระบาด และภัยอื่นๆ เช่น ภัยจากนโยบาย ภัยอื่นที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต
การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน 1. ในยุคแรกเป็นการช่วยกัน ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ดี แต่การจัดการภัยไม่ทั่วถึง รัฐออกกฎหมายคุ้มครอง
พ.ศ. 2543 เกิดน้ำท่วมที่หนัก พี่น้องประมงพื้นบ้านเริ่มช่วยพื้นที่น้ำท่วม มีการจัดเก็บข้อมูล และทำร่วมกับประมง ชายฝั่ง
เกิดสึนามิ 26 ธันวาคม พ.ศ.2547 พ.ศ.2548 มีการจัดตั้งกองทุนชุมชน         มีการบริหารจัดการชุมชน         สร้างอาชีพ         จัดการเรื่องที่อยู่อาศัย         จัดการเรื่องภัยพิบัติ         จัดการระบบสื่อสาร         จัดการเรื่องสิทธิชุมชน
2. มีมูลนิธิชุมชนไท ที่เป็นหลักสำคัญ ที่ให้ชุมชนจัดการตนเอง โดย มีการอบรมอาสาสมัคร มีการอบรม
อปพร. พัฒนาศักยภาพ พัฒนาสู่การช่วยเหลือเพื่อน เกิดการขยายไปพื้นที่อื่น เกิดเป็นเครือข่ายภัยพิบัติ ต่อมามีกรสนับสนุนโดย พอช. สสส. สนับสนุนบ้าง แต่ไม่จริงจัง มีแต่มูลนิธิชุมชนไท ยังมีการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง มีการจัดการอย่างเป็นระบบ คือ 1) คน / กลไก เป็นศูนย์กลางความร่วมมือ ระดับจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง มีหน่วยงานมาร่วมหลากหลาย เรื่องคนเป็นประเด็นสำคัญ ต้องพัฒนาศักยภาพของคน ด้านการสื่อสาร คนอาสา ด้านกลไก ต้องปรับคน ในบางพื้นที่เช่นบางเหรียง บางพื้นที่ก็เข้มแข็งแล้วเช่น ชุมชนบ้านโกตา 2) พื้นที่ระดับปฏิบัติการ บางพื้นที่ใช้ระบบตำบล บางพื้นที่ใช้ระบบหน่วยงาน 3) การขยายเครือข่าย ( การยกระดับพื้นที่สู่สาธารณะ ) • 1.การขยายเครือข่ายพื้นที่ต้นแบบ ในจังหวัดพังงา มีพื้นที่ต้นแบบ 5 พื้นที่ ดังนั้นพื้นที่เหล่านี้ มีระบบข้อมูลชัดเจน มีระบบอาสาเข้มข้น มีระบบกองทุน
• 2.การขยายเครือข่ายพื้นที่ขยาย ทุกจังหวัดต้องมีการกำหนดพื้นที่เป้าหมาย ซึ่งจังหวัดพังงา มี 16 พื้นที่ ทำเรื่องภัยพิบัติได้ แต่ต้องเริ่มจากกระบวน ก่อนเกิดภัย ระหว่างเกิดภัย และหลังเกิดภัย อาจจะทำอะไรก่อนหลังได้ทั้งหมด เพียงให้เข้าใจถึงกระบวนการ • 3.การขยายเครือข่ายในพื้นที่ที่เหลือ เพื่อเพิ่มให้เต็มพื้นที่       3.  การบูรณาการแบบองค์รวม  เมื่อภัยมา ก่อนเกิดภัย  ระหว่างเกิดภัย  หลังเกิดภัย  ต้องมีการพึ่งพาตนเองก่อนหรือช่วยตนเองก่อนโดยไม่พึ่งภาครัฐมากนัก และไม่ได้เป็นภาระกับใครมากเกินไป       4. กองทุนภัยพิบัติ ควรเริ่มทันที อย่ารอให้เกิดภัย เพื่อให้ช่วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง และเพื่อรัฐร่วมสมทบเป็นกองทุนภัยพิบัติระดับชาติ       5. การฟื้นฟูระบบนิเวศ เช่น คลังอาหาร ต่อยอดอาชีพ

ความเห็นเพิ่มเติม 1. การสื่อสารสาระสนเทศ 2. เป็นศูนย์ข้อมูลร่วม เป็นข้อมูลกลางของอันดามัน 3. ระบบสื่อสารกลาง 4. การผลักดัยเชิงนโยบาย ยุทธศาสตร์อันดามัน 1. พัฒนาเครือข่ายและพื้นที่ - พัฒนาคน - ยกระดับพื้นที่ - ยกระดับกองทุน - การบูรณาการแบบองค์รวม - กาฟื้นฟู พรก. - การใช้พลังงานสะอาด “ ทุกชีวิตปลอดภัยเมื่อภัยมา ”  เป้าหมาย  “ ความสูญเสียเป็นศูนย์ “

1) การพัฒนาคุณภาพเครือข่ายและพื้นที่ปฏิบัติการ กลยุทธที่ 1. การพัฒนาคน
- ระบบกลไกกลาง พื้นที่ระดับโซน / จังหวัด / อำเภอ - พัฒนาบุคลากร / อาสาแต่ละด้าน / เทคนิค 2) การบูรณาการแบบองค์รวม ทั้งภายในและภาคีความร่วมมือ 3) การยกระดับกองทุน - กองทุนตนเอง / แหล่งทุนในพื้นที่ - กองทุนภาครัฐ / ข้อเสนอเชิงนโยบาย 4) การฟื้นฟูทรัพยากร / พลังงานสะอาด - การฟื้นฟูทรัพยากร
- การใช้พลังงานสะอาด 2. ระบบสื่อสาร - ให้ กสทช.เปิดช่องคลื่นความถี่เป็นของตนเอง - เสาสัญญาณให้ครอบคลุมทั้ง 6 จังหวัด - พัฒนาระบสาระสนเทศเป็นของตนเอง - พัฒนาระบบไอที 3. การผลักดันเชิงนโยบาย ( ผลักดัน พรบ.การควบคุมอาคาร / พรบ.ผังเมือง ) - แก้กฎหมาย ปภ.ปี พ.ศ.2550 - แก้ผังเมืองอย่างมีส่วนร่วม ผลักดันการจัดทำผังชุมชน การปรับออกแบบโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งปลูกสร้าง เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและผลที่จะกระทบ - เชื่อมโยงกองทุนภัยพิบัติแห่งชาติ - การแก้ระเบียบกระทรวงการคลัง / ชดเชย / เยียวยา ใหปรับเป็นกฎหมาย - กฎหมายที่กี่ยวข้องกับความปลอดภัย ประเด็นหารือ • กรรมการกลุ่มจังหวัด • ประชุมคนอันดามัน • รวมพลคนอาสา กทม. ( 23 ธันวาคม 2563 ) • ประเด็นขับเคลื่อนร่วมกัน -    พรบ.   -    ระบบสื่อสาร               -    พื้นที่เสี่ยงภัย • ยื่นข้อเสนอคณะรัฐมนตรี • ภาคใต้แห่งความสุข

ยุทธศาสตร์การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน 6 จังหวัดอันดามัน

จากประสบการณ์การจัดการภัยพิบัติ 6 จังหวัดดังกล่าวนำไปสู่การจัดทำยุทธศาสตร์การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน 6 จังหวัดอันดามัน ดังนี้ วิสัยทัศน์ : ทุกชีวิตปลอดภัยเมื่อภัยมา เป้าหมาย : ความสูญเสียเป็นศูนย์ ยุทธศาสตร์ : ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ

  1. การพัฒนาคุณภาพเครือข่ายและพื้นที่ปฏิบัติการ 1) การพัฒนาคนไกลไก เน้นประสิทธิภาพของกลไกที่ มีการประสานงานกับภาคีต่างๆ เป็นจริง ปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพตามบทบาทของแต่ละระดับ รวมทั้งการพัฒนาคนของเครือข่ายให้ทำงานได้จริงในแต่ละด้าน 2) แผนการขยายพื้นที่ปฏิบัติการให้ครอบคลุม 3) การบูรณาการภัยพิบัติเข้ากับประเด็นอื่นๆ ของพื้นที่ 4) การตั้งและยกระดับกองทุนภัยพิบัติ เน้นการทำให้เกิดจากภายในแล้วแสวงความร่วมมือจากภายนอก รวมทั้งการมีข้อเสนอเชิงนโยบายต่อรัฐ 5) การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานสะอาด
  2. ระบบการสื่อสารเพื่อการรับมือภัยพิบัติ 1) การมีช่องความถี่เป็นของตนเอง (ประสารกับ กสทช.) 2) การพัฒนาเสาทวนสัญญาณครอบกลุ่มทั้ง 6 จังหวัด 3) การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการเตือนภัย
  3. การผลักดันเชิงนโยบาย 1) ผลักดันให้เกิดการแก้ พ.ร.บ. บรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 2) การพัฒนาระบบผังเมืองอย่างมีส่วนร่วม 3) การเชื่อมโยงกับกองทุนภัยพิบัติแห่งชาติ 4) การแก้ปละยกระดับ ระเบียบ กระทรวงการคลังเกี่ยวกับค่าชดเชยเยียวยาผู้ได้รับความสูญเสียจากภัยพิบัติ 5) การพัฒนากฎหมาย ระเบียบ ฯลฯ ต่างๆ ที่เกี่ยวกับภัยพิบัติ เช่น การจัดการน้ำ การก่อสร้างอาคาร ฯลฯ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

()

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่