ชุมชนบ้านกมลา จังหวัดภูเก็ต

การลงพื้นที่ศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชน19 สิงหาคม 2563
19
สิงหาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย Syuwari
circle
วัตถุประสงค์

 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมครั้งที่ 2 การลงพื้นที่ศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยมีการประสานงานกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการเก็บข้อมูลและสำรวจข้อมูลของชุมชนเพื่อนำมาพัฒนาให้เกิดมูลค่าต่อยอดในการท่องเที่ยวโดยชุมชนในลักษณะของการท่องเที่ยวในรูปแบบวิถีใหม่

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลที่ได้รับ
1. ให้ทางเลือกแก่ชุมชนในการตัดสินใจว่าในอนาคตชุมชนต้องการที่จะขับเคลื่อนการท่องเที่ยวไปในทิศทางใดและสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวในชุมชน เนื่องจากมีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย เช่น แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ยังคงความสมบูรณ์ แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม การเกษตร หัตถกรรม สุขภาพ และมีทัศนียภาพที่สวยงามไม่ว่าจะเป็น ถ้ำ น้ำตก ทะเล จุดชมวิว ภูเขา สวนผลไม้ เป็นต้น
2. นักท่องเที่ยวไม่หนาแน่น เหมาะสำหรับการพักผ่อนในบรรยากาศครอบครัว มีร้านอาหารขนาดเล็กหลายร้าน ไม่ว่าจะเป็นอาหารไทยหรืออาหารนานาชาติให้บริการ มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวมากมาย เช่น ร้านสปา ตู้เอทีเอ็ม มินิบาร์ ร้านค้าขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก และมีจุดบริการรับส่งนักท่องเที่ยวหรือแท็กซี่ เป็นสถานที่ที่นิยมในกลุ่มของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาพักผ่อนระยะยาวเป็นส่วนใหญ่
3. มีการปรุงอาหารโดยการใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น ทำให้อาหารมีรสชาติ 4. มีความหลากหลายทางประเพณี ศาสนา และวัฒนธรรม ที่เป็นมนต์เสน่ห์ของชุมชน
5. มีภูมิปัญญาวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมที่น่าสนใจ เช่น วิถีชาวมุสลิม, มัสยิด, กุโบร์และ วิถีประมง นอกจากนี้ชุมชนกมลายังเป็นชุมชนชาวไทยมุสลิมเก่าแก่ที่ใหญ่ที่สุดในภูเก็ต ที่มีประวัติความเป็นมาของพระนางมัสสุหรี  มีความหลากหลายทางอาชีพ เช่น การเกษตร ทำสวน เลี้ยงสัตว์ ค้าขาย รับจ้าง ธุรกิจการท่องเที่ยว มีสินค้าผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่หลากหลาย ซึ่งผลิตด้วยคนในชุมชน และสินค้ามีราคาไม่แพง เหมาะที่จะนำเป็นของระลึก มีโรงแรมรองรับนักท่องเที่ยวตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่รวมไปถึงอพาร์ทเมนต์เป็นจำนวนมาก มีหน่วยงานให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวรวมถึงการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางการท่องเที่ยวอยู่ตลอด

ข้อสังเกตจากผู้วิจัย ข้อมูลของชุมชนที่มีโอกาพัฒนาต่อยอดในอนาคตได้ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาของชุมชนในกลุ่มเป้าหมายที่มีอัตลักษณ์ที่แตกต่างกัน และสามารถนำมาเชื่อมโยงหรือพัฒนาร่วมกันได้ และกำหนดให้เกิดเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยง ได้เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ส้มควาย ที่ชุมชนคัดเลือกมาเพื่อเป็นสินค้าเด่นของชุมชน แต่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกค้าหลักยังไม่ชัดเจนทำให้ผลิตภัณฑ์ส้มควายยังไม่สามารถนำมาเป็นจุดขายของชุมชนได้ ทีมวิจัยและวิทยากรได้เสนอทางเลือกให้ชุมชนคิดทบทวนและคัดเลือกผลิตภัณฑ์ชนิดหรือตัวอื่นเพื่อเป็นจุดเด่นและง่ายต่อการขาย เช่น ผลิตภัณฑ์ประเภทผ้า

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

()

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่