แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)
กิจกรรม | ระยะเวลา | เป้าหมาย/วิธีการ | ผลการดำเนินงาน | ปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ตามแผน | ปฏิบัติจริง | ตามแผน | ปฏิบัติจริง | ตามแผน | ปฏิบัติจริง | ||
ลงพื้นที่และทบทวนข้อมูลผลกระทบการท่องเที่ยวโดยชุมชน | 12 ส.ค. 2563 | 12 ส.ค. 2563 |
|
กิจกรรมที่ 1 การสำรวจข้อมูลเพื่อทำฐานข้อมูลและพัฒนาสินค้าและบริการของชุมชน โดยมีการประสานงานกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการเก็บข้อมูลและสำรวจข้อมูลของชุมชนเพื่อนำมาพัฒนาให้เกิดมูลค่าต่อยอดในการท่องเที่ยวโดยชุมชนในลักษณะของการท่องเที่ยวในรูปแบบวิถีใหม่ |
|
ประเด็นปัญหาในด้านลบ
1. ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการท่องเที่ยวในชุมชนเช่น การปล่อยน้ำเสียลงสู่ทะเล ขยะมูลฝอย การก่อสร้างที่ปิดบังทัศนียภาพของแหล่งท่องเที่ยว การบุกรุกป่าไม้เพื่อก่อสร้างอาคาร บ้านเรือน โรงแรม รีสอร์ท ของนายทุน
2. ปัญหาด้านการเข้ามาทำธุรกิจของนายทุน ส่งผลให้วิถีชีวิตการเป็นอยู่ของชุมชนในอดีตมีความแตกต่างไปจากเดิม เช่น อาชีพ การกินอยู่ รวมถึงการย้ายถิ่นฐานออกไปสู่ภายนอกชุมชน ทำให้ชุมชนขาดการอยู่รวมกันในครอบครัว
3. ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเช่น การก่อสร้างอาคารในบริเวณเส้นทางธรรมชาติก่อให้เกิดอุทกภัยต่าง ๆในชุมชน เช่น น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วม เป็นต้น
4. ปัญหาด้านสิ่งเสพติดหรืออบายมุก ที่จะเกิดขึ้นในชุมชน เพราะชุมชนบ้านหัวควนเป็นชุมชมร้อยละ 90 ของชุมชนเป็นคนมุสลิม เมื่อมีนักท่องเที่ยวต่างชาติหรือคนต่างถิ่นเข้ามาอาศัยก็อาจจะทำให้เกิดปัญหายาเสพติดขึ้นในชุมชน
5. ปัญหาด้านความปลอดภัยในชุมชน เมื่อมีนักท่องเที่ยวหรือบุคคลภายนอกชุมชนเข้ามาอาศัยหรือท่องเที่ยวก็อาจจะมีประเด็นการลักเล็กขโมยน้อยเกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่อชุมชน ประเด็นปัญหาในด้านบวก 1. การสร้างงานให้กับคนในชุมชน การที่มีอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเข้ามาในชุมชนเช่น มีโรงแรม ร้านอาหาร ก็ทำให้คนในชุมชนได้มีที่ทำงานไม่ต้องออกจากถิ่นไปทำงานในเมืองใหญ่ ทำให้ครอบครัวได้อยู่ด้วยกัน 2. การสร้างรายได้ให้กับชุมชน อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีการบริหารจัดการของผู้นำชุมชนที่ดีก่อให้ได้ประโยชน์ในทุกส่วนของชุมชน เช่น การนำเอาสินค้าหรือวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนมาแปรรูปหรือทำเป็นสินค้าของฝากต่าง ๆ ทำให้เกิดรายได้แก่ฃชุมชน 3. ทำให้ชุมชนเป็นที่รู้จักของคนภายนอก เมื่อมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในชุมชนมีการถ่ายรูป เช็คอินลงผ่านสื่อออนไลน์ต่าง ๆ เช่น Facebook line เป็นต้น ก็ถือว่าเป็นช่องทางที่ดีสำหรับการประชาสัมพันธ์ชุมชนให้คนทั่วไปได้รับรู้ข่าวสารของชุมชน ผลที่ได้รับ ให้ทางเลือกแก่ชุมชนในการตัดสินใจว่าในอนาคตชุมชนต้องการที่จะขับเคลื่อนการท่องเที่ยวไปในทิศทางใดและผลิตภัณฑ์อะไรที่จะชุมชนมีความต้องการในการพัฒนาและต่อยอดให้เกิดรูปธรรมมากที่สุด 1. สมาชิกของชุมชนที่เข้ารับการฝึกอบรมเริ่มตระหนักถึงทรัพยากรของชุมชนที่มีและเกิดการอนุรักษ์และฟื้นฟูจากสิ่งที่มีอยู่เดิมเพื่อเป็นทุนในการพัฒนาต่อยอดและส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการท่องเที่ยวในชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรมจากการได้ลงพื้นที่สำรวจร่วมกับทีมวิจัย 2. ได้ทบทวนกับแกนนำชุมชนเพื่อคัดเลือกผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงกับชุมชนใกล้เคียงและเกิดการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด ตามบริบทของพื้นที่ที่มีภูมิศาสตร์ในบริเวณเดียวกันคือ บ้านนาคาทำกิจกรรมการท่องเที่ยวร่วมกับบ้านนอกเล บ้านหัวควนทำกิจกรรมท่องเที่ยวร่วมกับบ้านบางหวาน |
|
การลงพื้นที่ศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชน | 19 ส.ค. 2563 | 19 ส.ค. 2563 |
|
กิจกรรมครั้งที่ 2 การลงพื้นที่ศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยมีการประสานงานกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการเก็บข้อมูลและสำรวจข้อมูลของชุมชนเพื่อนำมาพัฒนาให้เกิดมูลค่าต่อยอดในการท่องเที่ยวโดยชุมชนในลักษณะของการท่องเที่ยวในรูปแบบวิถีใหม่ |
|
ผลที่ได้รับ ข้อสังเกตจากผู้วิจัย ข้อมูลของชุมชนที่มีโอกาพัฒนาต่อยอดในอนาคตได้ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาของชุมชนในกลุ่มเป้าหมายที่มีอัตลักษณ์ที่แตกต่างกัน และสามารถนำมาเชื่อมโยงหรือพัฒนาร่วมกันได้ และกำหนดให้เกิดเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยง ได้เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ส้มควาย ที่ชุมชนคัดเลือกมาเพื่อเป็นสินค้าเด่นของชุมชน แต่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกค้าหลักยังไม่ชัดเจนทำให้ผลิตภัณฑ์ส้มควายยังไม่สามารถนำมาเป็นจุดขายของชุมชนได้ ทีมวิจัยและวิทยากรได้เสนอทางเลือกให้ชุมชนคิดทบทวนและคัดเลือกผลิตภัณฑ์ชนิดหรือตัวอื่นเพื่อเป็นจุดเด่นและง่ายต่อการขาย เช่น ผลิตภัณฑ์ประเภทผ้า |
|
การลงพื้นที่ประชุมกลุ่มย่อยการท่องเที่ยวโดยชุมชน | 26 ส.ค. 2563 | 26 ส.ค. 2563 |
|
กิจกรรมครั้งที่ 3 การลงพื้นที่ประชุมชมกลุ่มย่อยการท่องเที่ยวโดยชุมชน มีการประสานงานกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการเก็บข้อมูลและสำรวจข้อมูลของชุมชนเพื่อนำมาพัฒนาให้เกิดมูลค่าต่อยอดในการท่องเที่ยวโดยชุมชนในลักษณะของการท่องเที่ยวในรูปแบบวิถีใหม่ |
|
ผลที่ได้รับ 1. ทีมวิจัยได้รับข้อมูลและช่วยวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค สร้างโอกาสในการส่งเสริมการขายสินค้าและบริการให้กับชุมชนเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนในอนาคต เกิดการพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัตถุของชุมชนที่มีอยู่ และผลิตภัณฑ์จากเครือข่าย เช่น การการแปรรูปเมนูอาหารเมี่ยงคำกุ้งมังกรเจ็ดสี และการจัดภูมิทัศน์เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศในพื้นที่ตำบลกมลา จากการศึกษาแนวโน้มในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวของประเทศ พบว่า กระแสการท่องเที่ยวยั่งยืนพร้อมทั้งเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนได้รับความนิยมมากขึ้น ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ดีของชุมชนกมลาที่จะพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวที่สนใจทางธรรมชาติ ท้องถิ่น และสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพราะกมลามีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลายทั้งทางธรรมชาติและประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ อีกทั้งชุมชนยังคงความเอกลักษณ์ของท้องถิ่นทั้งในด้านการประกอบอาชีพ วิถีชีวิต การปรุงอาหาร และประเพณีวัฒนธรรม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นเสน่ห์ของชุมชนที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ชุมชนกมลายังมีจุดเด่นในเรื่องของภูมิศาสตร์ซึ่งเป็นชุมชนที่อยู่ใกล้กับแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดภูเก็ตทำให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างครบครันทั้งด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ อย่างไรก็ตาม ชุมชนกมลายังคงความสงบของชุมชนไว้ ทำให้เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ที่ต้องการพักผ่อนและสัมผัสวิถีชีวิตชุมชนอย่างแท้จริงเนื่องจากชุมชนกมลาเป็นชุมชนอิสลามที่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักสำหรับนักท่องเที่ยวมากนัก ดังนั้นสามารถทำให้นักท่องเที่ยวรู้จักชุมชนมากขึ้น โดยการโปรโมทผ่านด้านอาหารที่มีความหลากหลายจากทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น อาทิเช่น ข้าวยำ ข้าวคลุกกะปิ และ เมี่ยงคำ มาเป็นจุดขายเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว 2. บุคลากรในชุมชนยังไม่มีความชำนาญมากพอในการให้ข้อมูลกับนักท่องเที่ยว อีกทั้งขาดแคลนความเข้าใจในภาษาต่างประเทศ แต่บุคลากรเหล่านั้นยังคงมีความชำนาญในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลิตภัณฑ์ภายในชุมชน เช่น ผ้าปาเต๊ะ ซึ่งคนในสังคมปัจจุบันมีความนิยมในการแต่งกายชุดไทย และการสวมใส่เครื่องประดับแบบร่วมสมัยเพิ่มมากยิ่งขึ้น ยิ่งทำให้บุคลาการในชุมชนสามารถฝึกฝนและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นสินค้าของชุมชน และขายสู่ท้องตลาด เพื่อจะได้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวได้ นอกนี้ สถานที่ท่องเที่ยวหลักในชุมชนกมลา (ภูเก็ตแฟนตาซี) ซึ่งเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว แต่พบว่านักท่องเที่ยวหันมาสนใจในการท่องเที่ยวชุมชนมากยิ่งขึ้น ดังนั้นชุมชนกมลาเป็นหนึ่งชุมชนที่สามารถจัดการ และดูแลสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นผู้รับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวได้โดยตรง ดังนั้นชุมชนสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว ที่ต้องการจะสัมผัสความเป็นท้องถิ่น และต้องการจะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย ข้อสังเกตจากนักวิจัย ศึกษาศักยภาพของชุมชนตำบลกมลา ซึ่งเป็นพื้นที่กลุ่มเป้าหมายเพื่อค้นหาเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ในเชิงพื้นที่และจุดเด่นของพื้นที่ของกลุ่มเป้าหมาย สำรวจวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ของแต่ละกลุ่มเป้าหมายว่ามีจุดเด่นในการพัฒนาต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่เดิมเป็นอย่างไรเพื่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มจากสิ่งที่มีอยู่เดิมและ/หรือพัฒนาสิ่งใหม่ และออกสำรวจพื้นที่เพื่อพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนในแต่ละพื้นที่ของกลุ่มเป้าหมายเพื่อค้นหาจุดเด่นในการทำท่องเที่ยวโดยชุมชนและกิจกรรมของชุมชนได้มีวางแผนการพัฒนาร่วมกับแกนนำในการพัฒนาร่วมกับทีมวิจัยและร่วมวิเคราะห์ผลการสำรวจข้อมูลชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชนต่อไป |
|
สรุปการประเมินผลท่องเที่ยวโดยชุมชนและสร้างเครือข่ายของตำบลกมลา | 29 ก.ย. 2563 | 29 ก.ย. 2563 |
|
กิจกรรมครั้งที่ 4 สรุปการประเมินผลท่องเที่ยวโดยชุมชนและสร้างเครือข่ายของตำบลกมลา มีการประสานงานกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการสร้างเครือข่ายและสรุปประเมินผลทอดบทเรียนร่วมกับนักวิจัย |
|
ผลที่ได้รับ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 UNWTO ได้ประกาศให้เป็นปีการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนา ซึ่งมีความสอดคล้องกับแนวโน้มการท่องเที่ยวในปัจจุบัน ที่ผู้คนนิยมท่องเที่ยวในแบบวิถีชุมชน จึงนำการท่องเที่ยวเข้ามาสู่ชุมชนเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนบ้านกมลา ซึ่งมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจทั้งทรัพยากรทางธรรมชาติและวัฒนธรรม อีกทั้งยังได้เรียนรู้วิถีชีวิตของชาวมุสลิม เนื่องด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย ยังสามารถดึงความสนใจนักท่องเที่ยวได้จากหลายกลุ่มเป้าหมายให้เข้ามาเยือน ผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวในชุมชนกมลาที่นำเสนอให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยือนชุมชน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้และผลิตภัณฑ์ที่จับต้องไม่ได้ ในส่วนของผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้จะเน้นในเรื่องของสินค้าที่แสดงเอกลักษณ์ที่แท้จริงของชุมชนกมลา ซึ่งส้มควายเป็นพืชพื้นเมืองภูเก็ตที่สามารถนำมาแปรรูปได้หลายอย่าง เช่น ส้มความตากแห้ง น้ำส้มควาย สบู่ และแชมพู นอกจากนั้น ยังมีเรื่องของอาหารท้องถิ่น และผ้ามัดย้อมลายสโนติก ที่สร้างเอกลักษณ์ให้ชุมชน ในส่วนผลิตภัณฑ์ที่จับต้องไม่ได้เช่น ความเชื่อ ศาสนา วิถีชีวิต และวัฒนธรรม นักท่องเที่ยวสามารถสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ควบคู่ไปกับความสนุกเพลิดเพลิน ทำให้สามารถเข้าถึงประสบการณ์การท่องเที่ยวชุมชนกมลาอย่างลึกซึ้งและสร้างความประทับใจระหว่างโปรแกรมการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม ชุมชนจะต้องมีการสร้างเครือข่ายเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับสมาชิกของชุมชนในการจัดการและสร้างทีมทำงานเพื่อให้เกิดเครือข่ายในนามเครือข่ายของตำบลกมลา ทีมนักวิจัย ยกตัวอย่างและทอดบทเรียนการทำเครือข่ายและสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน show cased study เครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนโซนอันดามัน เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจบทบาทและวิธีการขับเคลื่อนเครือข่ายของกลุ่มเกิดความคิดเห็นและหาแนวทางในการสร้างเครือข่ายร่วมกัน จากการทำกิจกรรมครั้งนี้ ได้ทำการสรุปผลการศึกษา ทำให้สมาชิกมีการนำเสนอและมีการพิจารณาผู้นำ แกนนำ สมาชิกตัวแทนของแต่ละหมู่บ้านมาเป็นคณะกรรมการในการทำงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาเป็นตัวกลางในการขับเคลื่อนงานเครือข่ายให้ชัดเจนและทำงานได้จริง ซึ่ง นักวิจัยและวิทยากรถอดบทเรียนให้กลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการฝึกอบรมในการหาแนวร่วมและสร้างจุดร่วมในการทำงานเป็นทีม เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งในอนาคตหากเกิดปัญหาที่จำเป็นต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน การมีเครือข่ายจะช่วยให้การตัดสินใจร่วมกันได้รวดเร็วยิ่งขึ้น สรุปกิจกรรมครั้งที่ 1 – 3 พบว่า การท่องเที่ยวชุมชนกมลาเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดภูเก็ตที่มีทรัพยากรอันหลากหลายที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยได้มีการพัฒนาเป็นแหล่งพื้นที่ในการรับรองนักลงทุนเพื่อรองรับการขยายตัวจากด้านธุรกิจการท่องเที่ยว การควบคุมพื้นที่การเจริญเติบโตของกมลาที่เปลี่ยนจากผังเมืองชนบทและเกษตรกรรมมาเป็นที่อาศัยหนาแน่นน้อยและที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางทำให้การควบคุมเป็นไปได้ยาก ทำให้ส่งผลของพื้นที่ชุมชนจากข้อมูลกรมโยธาและผังเมือง สามารถแบ่งบริเวณกมลาออกได้เป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มประมง กลุ่มเกษตรกรรมและกลุ่มอาชีพที่เกี่ยวเนื่องด้านการท่องเที่ยว สถานประกอบการส่วนใหญ่แบบโรงแรมและภัตตาคารถึงร้อยละ 52.56 รองลงมาได้แก่ ร้านค้าปลีก การขนส่งทางบก และตัวแทนธุรกิจท่องเที่ยวตามลำดับ
ความเป็นอยู่และวัฒนธรรมของชาวบ้านชุมชนกมลาเป็นสิ่งที่งดงาม ทั้งด้านการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของ รัชกาลที่ 9 และการเป็นอยู่แบบช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังมีงานฝีมือที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน อาทิเช่น กรีช ,ผ้าปาเต๊ะ และ หนังตะลุง ดังนั้นจึงเกิดแนวความคิดที่จะพัฒนาศูนย์ชุมชนกมลาให้เป็นแหล่งให้ความรู้แก่ นักท่องเที่ยวและผู้คนในชุมชน เพื่อจะได้ช่วยกันอนุรักษ์และดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาท่องเที่ยวและ มีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ปัจจุบันศูนย์ชุมชนนั้นตั้งอยู่ใจกลางกมลา นักท่องเที่ยวผ่านไปมาเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นสถานที่ด้านหน้าติดทะเลและด้านหลังมองเห็นภูเขา ดังนั้นผู้จัดทำจึงเล็งเห็นว่า การพัฒนาศูนย์ชุมชน เป็นก้าวแรกที่สำคัญและ ยังเป็นประตูบานแรกให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในกมลา และยังคิดพัฒนา ผลิตภัณฑ์ รูปแบบต่างๆให้กับชุมชน |
|