พืชร่วมยาง ชุมพร

เวทีเครือข่ายร่วมกับ กยท. จัดทำพัฒนาข้อเสนอ แนวทางการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในสวนยาง และสร้างความร่วมมือขับเคลื่อนและผลักดันทางนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง20 ตุลาคม 2564
20
ตุลาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย Kero
circle
วัตถุประสงค์

 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานผู้ช่วย กยท.เขต เพื่อให้รับรู้การขับเคลื่อนงานและนัดหมายจัดประชุมเพื่อร่วมวางแนวทางขับเคลื่อนและพัฒนาข้อเสนอ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การยางแห่งประเทศไทยมีการจัดสรรงบประมาณ 49 (3) ซึ่งในพื้นที่จังหวัดชุมพร มีการอนุมัติไป  8 โครงการมีการกำหนดการจัดส่งโครงการภายใน 30 ต.ค
  สาขาเมือง    สหกรณ์สวนยางบ้านแหลมปาย        500,000  บาท (เงืนอยู่ที่เขต)   สาขาเมือง    สหกรณ์สวนยางบ้านในเหมือง        300,000  บาท   สาขาท่าแซะ  สหกรณ์สวนยางบ้านหินแก้ว            80,000    บาท (เปลี่ยนโครงการ)     สาขาท่าแซะ  สหกรณ์สวนยางพรุตะเคียน            270,000  บาท   สาขาปะทิว    สหกรณ์สวนยางบ้านทรายแก้ว        250,000  บาท     สาขาปะทิว    สหกรณ์สวนยางคลองวังช้าง          300,000    บาท   สาขาปะทิว    สหกรณ์สวนยางดอนยาง              318,752  บาท (เงินอยู่ที่เขต)   สาขาปะทิว    สหกรณ์สวนยางสมบูรณ์พัฒนา        249,000  บาท     การจัดสรรเป้าหมายการดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกทดแทน ปีงบประมาณ 2565 ตามอัตราส่วนการอนุมัติของปี 2564 จังหวัดชุมพรดังนี้ 1) ยาง= 1,600  2) ไม้ยืนต้น = 2,600  3) ผสมผสาน = 3,250  4) พืชคลุม = 920  5) พืชแซม = 2,150  ดังนั้นการยื่นขอรับการส่งเสริมสนับสนุนการปลูกแทนในปี 65 จะยึดถือตามอัตราอ้างอิงนี้ ส่วนการจัดสรรปุ๋ยให้แก่เกษตรกรสวนยางในปี 64 การยางมีแนวคิดที่จะสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง/ผู้ประกอบการการค้าปุ๋ยเคมีเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและสร้างรายได้ให้แก่สมาชิกรวมทั้งเพื่อประโยชน์ของเกษตรกรผู้รับการปลูกทดแทนด้วยยางพันธุ์ดี ปุ๋ยยางมีคุณภาพ เหมาะสมด้านราคา และเป็นธรรมกับเกษตรกร

    การขับเคลื่อนสังเคราะห์รูปแบบและข้อเสนอสวนยางยังยืน(พืชร่วมร่วมยาง) ชุมพร-ระนอง   การดำเนินงานศึกษารูปแบบการทำสวนยางยั่งยืนของชุมพร-ระนอง  ในการทำการส่งเสริมการผลิตตามแบบ 3  เกษตรผสมผสานของคณะทำงานจังหวัดชุมพรและระนอง (กยท.-ผู้แทนคณะกรรมการสถาบันเกษตรกรฯ-สมาคมประชาสังคมชุมพร-หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง)  ภายใต้แผนงานความมั่นคงทางอาหาร  ของสถาบันพัฒนานโยบายสาธารณะ  มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ 1) รูปแบบการจัดการสวนยางยั่งยืน(พืชร่วมยาง)  สามารถจำแนกได้ใน 2 ลักษณะ คือ  ขนาดและการใช้ประโยชน์จากที่ดิน  และรูปแบบการผลิตตามแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืน  5  รูปแบบ(เกษตรทฤษฎีใหม่-โคกหนองนาโมเดล,เกษตรผสมผสาน,เกษตรอินทรีย์,วนเกษตร,เกษตรธรรมชาติ)  รูปแบบและปัจจัยเงื่อนในการทำการเกษตร 1.1 รูปแบบจากขนาดและการใช้ประโยชน์จากที่ดิน
รูปแบบ การดำเนินผลิตในแปลง ปัจจัยเงื่อนไข 1.ขนาดพื้นที่ ไม่เกิน 10  ไร่ (ค่าเฉลี่ยการถือครองที่ดินเกษตรชาวสวนยาง 11.5 ไร่ต่อราย) -มีการดำเนินการผลิตในแบบเกษตรผสมผสานทั้งปลูกพืชหลากหลายชนิด  มีกิจกรรมการผลิตในแปลงเลี้ยงสัตว์  เลี้ยงสัตว์น้ำ การแปรรูป และการจัดการตลาดครบวงจร -พื้นทีแปลงมีแหล่งน้ำในแปลง -เกษตรกรมีความมุ่งมั่นตั้งใจทำการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและมีแรงงานในครัวเรือนอย่างน้อย 2 ราย 2.ขนาดพื้นที่ ไม่เกิน 11-50  ไร่ มีการดำเนินการผลิตในแบบเกษตรผสมผสานโดยจัดโซนนิ่งการเพาะปลูกพืชชนิดต่างๆ ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่  และมีกิจกรรมการผลิตหลากหลายกิจกรรมทั้งพืชและสัตว์ -พื้นทีแปลงมีแหล่งน้ำในแปลง -เกษตรกรมีความมุ่งมั่นตั้งใจทำการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง -เกษตรกรมีทุนหรือสินทรัพย์เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการผลิตที่เพียงพอ -มีแรงงานในการทำเกษตรอย่างน้อย 4 ราย 3.ขนาดพื้นที่ มากกว่า 50  ไร่ขึ้นไป มีการดำเนินการผลิตในแบบเกษตรผสมผสานโดยจัดโซนพื้นที่เพื่อทำการผลิตหรือเพาะปลูกพืช-เลี้ยงสัตว์  ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่  และแรงงานในแปลง เกษตร มีหลากหลายกิจกรรมทั้งพืชและสัตว์ -พื้นทีแปลงมีแหล่งน้ำในแปลง -เกษตรกรมีความมุ่งมั่นตั้งใจทำการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง -เกษตรกรมีทุนหรือสินทรัพย์เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการผลิตที่เพียงพอ -มีแรงงานในการทำเกษตรมากกว่า 4 ราย

1.2  รูปแบบการผลิตตามแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืน  5  รูปแบบ รูปแบบ การดำเนินผลิตในแปลง ปัจจัยเงื่อนไข 1.เกษตรทฤษฎีใหม่-โคกหนองนาโมเดล เกษตรทฤษฎีใหม่ (New theory agriculture) เน้นหนักการจัดการทรัพยากรน้ำในไร่นาให้เพียงพอเพื่อผลิตพืชอาหาร โดยเฉพาะข้าวเอาไว้บริโภคในครัวเรือน รวมทั้งมีการผลิตอื่น ๆ เพื่อบริโภคและจำหน่าย ส่วนที่เหลือแก่ตลาด เพื่อสร้างรายได้อย่างพอเพียง -พื้นทีแปลงมีแหล่งน้ำในแปลง -เกษตรกรมีความมุ่งมั่นตั้งใจทำการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและมีแรงงานในครัวเรือนอย่างน้อย 2 ราย -มีเป้าหมายในการทำการผลิตเพื่อการบริโภคในครัวเรือนเป็นขั้นต้น แล้วค่อยแปรรูปหรือจำหน่ายเพิ่มรายได้ 2.เกษตรผสมผสาน เกษตรผสมผสาน (Integrated farming) เน้นกิจกรรมการผลิตมากกว่าสองกิจกรรมขึ้นไปในเวลาเดียวกัน และกิจกรรมเหล่านี้เกื้อกูลซึ่งกันและกันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้มากขึ้นจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่ดินที่มีจำกัด ในไร่นาให้เกิดประโยชน์สูงสุด -พื้นทีแปลงมีแหล่งน้ำในแปลง -เกษตรกรมีความมุ่งมั่นตั้งใจทำการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง -เกษตรกรมีทุนหรือสินทรัพย์เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการผลิตที่เพียงพอ -มีแรงงานในการทำเกษตรอย่างน้อย 2 ราย 3.เกษตรอินทรีย์ เกษตรอินทรีย์ (Organic farming) เน้นหนักการผลิตที่ไม่ใช้สารอนินทรีย์เคมี หรือเคมีสังเคราะห์ แต่สามารถใช้อินทรีย์เคมีได้ เช่น สารสกัดจากสะเดา ตะไคร้หอมหรือสารสกัดชีวภาพเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์แก่ทรัพยากรดิน -พื้นทีแปลงมีแหล่งน้ำในแปลง -เกษตรกรมีความมุ่งมั่นตั้งใจทำการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง -เกษตรกรมีทุนหรือสินทรัพย์เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการผลิตที่เพียงพอ -มีแรงงานในการทำเกษตรมากกว่า 4 ราย -กรณีมุ่งเน้นการตลาดจำเป็นต้องมีกระบวนการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร 4.วนเกษตร วนเกษตรหรือไร่นาป่าผสม (Agroforesty) เน้นหนักการมีต้นไม้ใหญ่และพืชเศรษฐกิจหลายระดับที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ เพื่อการใช้ประโยชน์ป่าไม้ของพืชหรือสัตว์ชนิดต่างๆ ที่เกื้อกูลกัน ทั้งยังเป็นการเพิ่มพื้นที่ของทรัพยากรป่าไม้ที่มีจำกัดได้อีกทางหนึ่ง -เกษตรกรมีความมุ่งมั่นตั้งใจทำการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง -เกษตรกรมีทุนหรือสินทรัพย์เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการผลิตที่เพียงพอ -มีแรงงานในการทำเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่และกิจกรรมการผลิต 5.เกษตรธรรมชาติ เกษตรธรรมชาติ (Natural farming) เน้นหนักการทำเกษตรที่ไม่รบกวนธรรมชาติ หรือรบกวนให้น้อยที่สุดที่จะทำได้ โดยการไม่ไถพรวน ไม่ใช้สารเคมี ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี และไม่กำจัดวัชพืช แต่สามารถมีการคลุมดินและใช้ ปุ๋ยพืชสดได้ -เกษตรกรมีความมุ่งมั่นตั้งใจทำการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง -เกษตรกรมีทุนหรือสินทรัพย์เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการผลิตที่เพียงพอ -มีแรงงานในการทำเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่และกิจกรรมการผลิต

    2) ปัจจัยเงื่อนความสำเร็จโดยภาพรวมจากบทเรียนของเกษตรต้นแบบสวนยางยั่งยืน 2.1  เกษตรกรมีภูมิความรู้  ต้นทุนและสินทรัพย์เพื่อการผลิตที่เพียงพอและเหมาะต่อการทำการผลิตในแต่ละรูปแบบการผลิตต่าง ๆ และมีการออกแบบวางแผนการผลิตที่ดีตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 2.2  ความสามารถของเกษตรกรในการเข้าถึงความรู้ใหม่ ๆ  เครือข่ายการเรียนรู้และการผลิต  เทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ  และเข้าถึงแหล่งทุน เพื่อนำมาใช้ในการผลิต (เกษตรกรที่เป็นแปลงต้นแบบ  ส่วนใหญ่เป็นผู้นำหรือแกนนำเกษตรกร) 2.3 สภาพแปลงเกษตร ที่มีแหล่งน้ำ หรือมีระบบการจัดการน้ำที่ดีเหมาะสมมีประสิทธิภาพจึงจะเอื้อให้ทำการเกษตรผมผสานได้สำเร็จ 2.4 มีแรงงานในครัวเรือนหรือสามารถจัดการแรงงานได้เหมาะสมกับรูปแบบการผลิตแต่ละประเภท 2.5 การเพิ่มมูลค่าในผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ในแปลงเกษตร ให้เกิดรายได้  รวมถึงความสามารถในการจัดการตลาดทั้งรูปแบบ หน้าฟาร์มหรือเป็นแหล่งเรียนรู้ดูงาน  ตลาดออนไลน์  ตลาดท้องถิ่น

  3) ข้อเสนอต่อการส่งเสริมและพัฒนาสวนยางยั่งยืน(พืชร่วมยาง)

3.1 ขอให้การยางแห่งประเทศไทยขยายรูปแบบการให้ทุนสงเคราะห์ปลูกแทน ควรขยายไปถึงการให้ทุนปลูกแทนในสวนยางอายุเกิน 25 ปี โดยไม่ต้องโค่นปลูกใหม่ แต่ใช้รูปแบบที่เหมาะสมเช่น  รูปแบบผสมผสาน:กยท. 3    (เกษตรกรรมยั่งยืน) และเพิ่มปริมาณเป้าหมายการส่งเสริมสนับสนุนเกษตรผสมผสานในแต่ละปี (สัดส่วนเป้าหมายพื้นที่ 10-20-30-40-50 %  ของเกษตรกรชาวสวนยาง) เพื่อนำไปสู่การทำสวนยางยั่งยืนของเกษตรชาวสวน 3.2.ขอให้การยางแห่งประเทศไทยมีการขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยางที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ จากบัตรสีชมพูเป็นบัตรเขียว สามารถทำได้และมีสิทธิในการรับสวัสดิการและผลประโยชน์เช่นเดียวกับเกษตรกรชาวสวนยางทั่วไป 3.3ขอให้การยางแห่งประเทศไทยดำเนินการ หรือประสานความร่วมมือหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องและภาคีเครือข่ายต่างๆ  มีการส่งเสริมสนับสนุนการทำสวนยางยั่งยืน ดังนี้
-การจัดกระบวนการเรียนรู้สวนยางยั่งยืนที่ต่อเนื่อง  โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่  หรือการส่งเสริมแหล่งเรียนรู้หรือศูนย์เรียนรู้สวนยางยั่งยืน - จัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศสวนยางยั่งยืน  ที่เกษตรกรเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ง่ายผ่านแพลตฟอร์มและแอพพิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน
-  มีมาตรการหรือเพิ่มแรงจูงใจการทำสวนยางยั่งยืน  ที่ชัดเจน เช่นงบประมาณสมทบสำหรับผู้ข้อทุนประเภทสวนยางยั่งยืนเพิ่มขึ้นไร่ละ 10,000 บาท การสนับสนุนปัจจัยการผลิตและเทคโนยีการผลิตให้กับเกษตรกรชาวสวนยางรูปแบบนำร่องหรือเป็นแหล่งเรียนรู้ เช่นระบบน้ำด้วยโซล่าเซล  การผลิตสารชีวภัณฑ์ -มีกลไกการขับเคลื่อนสวนยางยั่งยืนที่ชัดเจน เช่นคณะกรรมการหรืออนุกรรมการขับเคลื่อน/ส่งเสริมสนับสนุนสวนยางยั่งยืน
4). ขอให้การยางแห่งประเทศไทยร่วมกับภาคีวิชาการ  มีการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรการผลิตที่สำคัญเช่น    พันธุ์ยางพื้นบ้านที่ต้านทานโรคอุบัติใหม่  นำมาใช้เป็นต้นตอที่เพียงพอ  การคัดเลือก  รับรองและพัฒนาพันธุ์ยางต้านทานโรคให้ผลผลิตสูงร่วมกับเกษตรกร  มีการพัฒนาระบบธนาคารน้ำใต้ดิน  รวมทั้งการลดต้นทุนการผลิต และทรัพยากรการผลิตอื่นๆ

  1. แนวทางการดำเนินงานสวนยางยั่งยืนร่วมกันในจังหวัดชุมพร     (ร่าง)การจัดตั้งกลไกการขับเคลื่อนสวนยางยั่งยืนจังหวัดชุมพร (คณะกรรมการหรืออนุกรรมการส่งเสริมสนับสนุนสวนยางยั่งยืน)       - เกษตรและสหกรณ์จังหวัดชุมพร       -  ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จังหวัด:ชุมพร       - .ตัวแทนจากกรมทรัพยากร       -  สภาเกษตรกรในพื้นที่
          -  ผู้แทนกรรมการสถาบันเกษตรกร.ทั้ง 3 สาขา       -  นักวิชาการหรือภาคประชาสังคมในพื้นที่  ตัวแทนสมาคมประชาสังคมชุมพร

  2. การยกระดับและพัฒนาแปลงต้นแบบ เป็นแหล่งเรียนรู้ของเกษตรชาวสวนยาง
          - เสริมกิจกรรมการสร้างรายได้ที่ชัดเจนเป็นระบบ         - ฝึกอบรมกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต         - สนับสนุนอุปกรณ์การเรียนรู้ เช่น ผังแปลง กระบวนการเรียนรู้         - อาคารหรือพื้นที่ถ่ายทอดความรู้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

()

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่