พืชร่วมยาง ชุมพร

ประชุมพัฒนาศักยภาพเกษตรกรสวนยาง 10 ราย20 มกราคม 2564
20
มกราคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย Kero
circle
วัตถุประสงค์

 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานกลุ่มเป้าหมาย  ออกแบบกิจกรรม -แลกเปลี่ยนเรียนรู้เส้นทางพัฒนาการ -นำชมแลกเปลี่ยนรูปแบบการจัดทำสวนยางแบบวนเกษตร

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1) เรียนรู้พัฒนาการทำเกษตร :  นายฉลองชาติ ยังปักษี.  เลขที่  120 ม.15 ต.ท่าข้าม  อ.ท่าแซะ  อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร  มีพื้นที่จำนวน 45 ไร่  ทำการเกษตรผสมผสานและวนเกษตร      ปลูกยางพารา/พืชแซมด้วยไม้ป่า  ปาล์มน้ำมันและเลี้ยงสัตว์  มาตั้งแต่ พศ.2535    หลังจากได้โอกาสไปศึกษาเรียนรู้และฝึกอบรมจากหลายๆ แหล่งเรียนรู้ หลาย ๆ ครั้ง  จนตกผลึกโดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง    การทำกสิกรรมธรรมชาติ        หลักการ “ปลูกป่า 3 อย่าง ได้ประโยชน์ 4 อย่าง”  คือ การปลูกไม้ผล  ไม้สร้างบ้าน  ไม้ใช้สอย  อันได้ประโยชน์คือ  ได้กินเป็นอาหาร  เป็นที่อยู่อาศัย  เป็นฟืน/พลังงาน  และรักษาความอุดมสมบูรณ์ดินน้ำ-ป่า
ในปี 52 ได้เปิดศูนย์พัฒนาศึกษาเกษตรธรรมชาติ  จัดกระบวนการเรียนรู้/ถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตร  การทำสวนยางแบบวนเกษตรหรือเกษตรธรรมชาติ  การแปรรูปผลผลิตเกษตร  พลังงานทดแทน  ทำเกษตรปศุสัตว์ทั้งเลี้ยงวัว/หมู  การเลี้ยงปลา ฯลฯ
2) นำชมแปลง  โดยนายฉลองชาติ (หลวงนก) ยังปักษี  เป็นผู้บอกเล่าแก่ผู้แทนเกษตรกรที่เข้าร่วมเรียนรู้จัดการแปลงสวนยางพาราในแต่ละโซนพื้นที่
โซนที่ 1  บ้านพัก/โรงอบแสงอาทิตย์/พืชผักสวนครัว
โซนที่ 2  ปลูกไม้ผล/ไม้และอ่างเก็บน้ำ
โซนที่ 3  ปลูกปาล์มและแซมด้วยพันธุ์ไม้พื้นถิ่นใต้หลากหลายชนิด
โซนที่ 4 ศูนย์เรียนรู้เกษตรธรรมชาติ  มีอาคารที่ประชุม,ห้องน้ำ,บ่อเลี้ยงกบ,โรงผลิตปุ๋ย เป็นต้น
โซนที่ 5  สวนยางพาราและไม้ใช้สอย(ยาง,สะเดา,มะฮอกกานี,จำปา,ฯ) เลี้ยงผึ้ง,   แปลงที่ 2 พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกยางพาราและพันธ์ไม้ป่า,ไม้ใช้สอย,ไม้ผล,พืชชั้นล่าง  กระวาน,เสม็ด,ผักเหลียง,ผักกูด,พืชหัวใต้ดิน ฯ

3) สรุปศาสตร์พระราชา    การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง "การปลูกป่า 3 อย่าง แต่ให้ประโยชน์ 4 อย่าง ซึ่งได้ไม้ผล ไม้สร้างบ้าน และไม้ฟืนนั้น สามารถให้ประโยชน์ได้ถึง 4 อย่าง คือ นอกจากประโยชน์ในตัวเองตามชื่อแล้ว ยังสามารถให้ประโยชน์อันที่ 4 ซึ่งเป็นข้อสำคัญ คือ สามารถช่วยอนุรักษ์ดินและต้นน้ำลำธารด้วย "        พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร        เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2523  ณ โรงแรมรินคำ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ พอกิน  คือ การปลูกต้นไม้ที่กินได้ รวมทั้งใช้เป็นยาสมุนไพร ไม้ในกลุ่มนี้ เช่น แค มะรุม ทุเรียน สะตอ ผักหวาน ฝาง แห้ม กล้วย ฟักข้าว ไม้ผลต่าง ๆ พอใช้  คือ การปลูกต้นไม้ให้เป็นป่าไม้ สำหรับทำเครื่องใช้สอยในครัวเรือน อาทิ ทำฟืน เผาถ่าน ทำงานหัตถกรรม หรือทำน้ำยาซักล้าง ไม้ในกลุ่มนี้ เช่น มะคำดีควาย หวาย ไผ่ หมีเหม็น พออยู่  คือ การปลูกต้นไม้ที่ใช้เนื้อไม้และไม้เชิงเศรษฐกิจให้เป็นป่า ไม้กลุ่มนี้เป็นไม้อายุยืนเพื่อใช้สร้างบ้าน ทำเครื่องเรือน ต้นไม้กลุ่มนี้ เช่น ตะเคียนทอง ยางนา สัก พะยูง พยอม พอร่มเย็น คือ ประโยชน์อย่างที่ 4  ที่เกิดจากการปลูกป่า 3 อย่าง จะช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศดินและน้ำให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ ร่มรื่น และฉ่ำเย็นขึ้นมา

การปลูกป่า 5 ระดับแบบกสิกรรมธรรมชาติ  ประกอบด้วยต้นไม้หลากหลายชนิดพันธุ์ โดยเราสามารถจัดแบ่งตามระดับช่วงความสูงและระบบนิเวศได้ 5 ระดับ ดังนี้ 1)ไม้สูง เป็นกลุ่มไม้เรือนยอดสูงสุดและอายุยืน ไม้ในระดับนี้ เช่น ตะเคียน ยางนา เต็ง รัง 2)ไม้กลาง เป็นกลุ่มต้นไม้ที่ไม่สูงนัก ไม้ในระดับนี้ ได้แก่ บรรดาไม้ผลที่เก็บกินได้ เช่น มะม่วง ขนุน มังคุด กระท้อน ไผ่ สะตอ 3)ไม้เตี้ย เป็นกลุ่มต้นไม้พันธุ์พุ่มเตี้ย ไม้ในระดับนี้ เช่น พริก มะเขือ กะเพรา ติ้ว ผักหวานบ้าน เหลียง 4)ไม้เลื้อยเรี่ยดิน ไม้ในระดับนี้เป็นตระกูลไม้ล้มลุกที่ทอดยอดเลื้อยได้ เช่น พริกไทย รางจืด ฟักทอง แตงกวา 5)ไม้หัวใต้ดิน ไม้หัวอยู่ใต้ดิน ไม้ในระดับนี้ คือ มัน เผือก กลอย กวาวเครือ ขิง ข่า

4.รายชื่อเกษตรกรสวนยางต้นแบบ/ตัวอย่าง 1)นายฉลองชาติ  ยังปักษี  ม.15 ต.ท่าข้าม  อ.ท่าแซะ  จ.ชุมพร.  พื้นที่ 45 ไร่ (สวนยางแบบวนเกษตรหรือเกษตรธรรมชาติ) 2) นางจรี รัตนะ 212 ม.10  ต.นาขา อ.หลังสวน จ.ชุมพร    เนื้อที่ 9 ไร่  สวนยางแบบผสมผสาน ยั่งยืน  (ปลูกยางพารา ,เลี้ยงผึ้งโพรง    เลี้ยงไก่พื้นเมือง ปลูกผักเหลียงในสวนยาง  ไม้ใช้สอย เช่น กฐินเทพา สะเดาเทียม  จำปาทอง จิก ) 3)นายอดิศักดิ์ ยมสุขขี    1 ม.1 ต.สวนแตง อ.ละแม จ.ชุมพร    เนื้อที่ปลูกยางพารา  13 ไร่ (แซมด้วยผักเหลียงและผลไม้กินผล) 4) นายแดง ทองแก้ว อายุ 84 ปี บ้านเลขที่ 31 ม.4 ต.ทุ่งคาวัด อ.ละแม จ. ชุมพร  พื้นที่ 29 ไร่ แบ่งปลูกยางพารา 20 ไร่  อีก 9ไร่ ทำสวนยางพาราเป็นแบบผสมผสาน  ผักเหลียง,เลี้ยงสัตว์ 5) นายประสาน ลูกจันทร์ บ้านเลขที่ 30 ม.4 ต.ทุ่งคาวัด อ.ละแม จ.ชุมพร  พื้นที่ 10 ไร่    ปลูกผักเหลียงในสวนยางนำไปสู่การเกิดรายได้ที่เพิ่มขึ้น
แปลงตัวอย่าง 6) นาย      ยังปักษี    ม.14 ต.ท่าข้าม  อ.ท่าแซะ  จ.ชุมพร.
7)นายวิเวก  อมตเวทย์  130 หมู่ 10 ต.ละแม อ.ละแม  จ.ชุมพร 8)นายประนายประพฤทธิ์  ฑิตสุวรรณ    26 หมู่ 2 ต.ทุ่งคาวัด อ.ละแม  จ.ชุมพร
9)นายสมคิด ดาวเปียก  33 หมู่ 2 ต.ทุ่งหลวง อ.ละแม  จ.ชุมพร 10) น.ส.มาลิณี  วงศ์สุวัฒน์  48/4 หมู่ 11 ต.ทุ่งระยะ อ.สวี  จ.ชุมพร

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

()

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่