แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1
ชื่อโครงการ พัฒนาเครือข่ายสื่อสาธารณะ
รหัสโครงการ - เลขที่ข้อตกลง 60-ข-079
ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2560 ถึง 30 พฤษภาคม 2562
รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กันยายน 2560 ถึงเดือน มกราคม 2561
ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์** กิจกรรมของโครงการ | ผลผลิต* | |
---|---|---|
ผลผลิตที่ตั้งไว้ | ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง | |
1. ประชุมสร้างความเข้าใจคณะทำงาน กองบก. เครือข่าย " สื่อสร้างสุขภาคใต้" ครั้งที่ 1 |
||
วันที่ 22 กันยายน 2560 เวลา 09:00-16:00 น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้1.เพื่อต้องการให้มีการแลกเปลี่ยนและรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานการดำเนินงานของเครือข่าย 2.วางแผนการร่วมมือ งานสร้างสุขภาคใต้ 3.สร้างความเข้าใจ งานงวดที่ 1 ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต
คณะทำงานเข้าใจกระบวนการทำงานและ ขั้นตอนต่างๆ ในการ ขับเคลื่อนงานเข้าใจแผนการใช้ งบประมาณและการายงานผลการดำเนินงาน ผลลัพธ์ คณะทำงานเข้าใจภารกิจความรับผิดชอบ ทำให้การขับเคลื่อน งานเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน1.แจ้งรายละเอียดการดำเนินงานในงวดที่ 1 กิจกรรมที่ทำจริงประชุมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อตกลงร่วมกันของเครือข่ายสื่อสร้างสุข การเตรียมความพร้อมงานสร้างสุขภาคใต้ครั้งที่ 10 และใช้รายการวิทยุ กินอิ่ม นอนอุ่น บนแผ่นดินใต้เพื่อการสื่อสารประเด็นทางสุขภาวะ
|
33 | 33 |
2. เวทีงานสมัชชาเพื่อนสื่อสาธารณะ ภาคใต้ ปี 2560 กับการสื่อสารประเด็นการขับเคลื่อนทางสังคม |
||
วันที่ 18 ตุลาคม 2560 เวลา 09:00 - 16:00 น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้1.เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงข้ามประเด็นข้ามเครือข่าย 2. เพื่อการเปิดพื้นที่กลางการรับฟังความคิดเห็น ผ่านสื่อสาธารณะ ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง
ยุทธศาสตร์/เป้าหมาย สิทธิการจัดการความมั่นคงทางอาหารของชุมชน ข้อเสนอต่อเครือข่าย มีแนวทางดังนี้ 1. สำรวจและรวบรวม/เก็บรักษาพันธุ์กรรมพื้นบ้าน จัดทำฐานข้อมูลทั้งพันธุ์พืช สัตว์ 2. ขึ้นทะเบียนจดสิทธิบัตรพันธุ์กรรมพืช แยกเป็น 3 ประเภท พืชเฉพาะถิ่น/พืชทั่วไป/พืชป่า 3. สร้างเครื่องมือ/กระบวนการ/การสื่อสารเพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร 4. พัฒนาศูนย์เรียนรู้ระดับชุมชน/วิถีการผลิตการแปรรูปของชุมชน 5. ฟื้นฟู วิถีและวัฒนธรรมการกินของชุมชน 6. ยกเลิกการใช้สารเคมีในเขตพื้นที่ เขา ป่า นา เล ให้เป็นพื้นที่ปลอดสารพิษ 7. ปรับวิถีการผลิตพืชเชิงเดี่ยวมาเป็นเกษตรอินทรีย์ ข้อเสนอต่อรัฐบาล มีแนวทางดังนี้ 1. รัฐบาลต้องยุติกฎหมาย/นโยบายที่ส่งผลต่อความมั่นคงด้านอาหาร 2. รัฐบาลต้องออกมาตรการ/กฎหมายเพื่อการคุ้มครองและปกป้องพื้นที่ผลิตอาหารที่ปลอดภัยของชุมชน 3. รัฐบาลต้องกำหนดเรื่องความมั่นคงด้านอาหารเป็นวาระแห่งชาติ (แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี) ข้อเสนอต่อสื่อสาธารณะ ไทยพีบีเอส มีแนวทางดังนี้
1. สื่อสาธารณะต้องทำหน้าที่ในการสื่อสารเพื่อสร้างความตระหนักต่อความมั่นคงด้านอาหาร
2. สื่อสาธารณะต้องทำหน้าที่ให้ความรู้กับประชาชน ในเรื่องกฎหมาย/นโยบาย ที่ส่งผลต่อสังคม กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนร่วมกิจกรรมการสื่อสารสื่อสาธารณะกับประเด็นสุขภาวะทางสังคม ประเด็นการสื่อสารเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร กิจกรรมที่ทำจริง
|
200 | 170 |
3. เวทีสมัชชา "ขับเคลื่อนเมืองนคร สู่นครศรีฯ อยู่ดีมีสุข" |
||
วันที่ 23 พฤศจิกายน 2560 เวลา 08:00-16:00 น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงผลผลิตที่ได้จากการจัดเวที
1. มีเครือข่ายภาคี ความร่วมมือให้ความสำคัญกับกระบวนการสมัชชาสุขภาพ และมองเห็นการนำไปใช้ประโยชน์ร่วมกันในอนาคต โดยเฉพาะการเริ่มงานขาเคลื่อนในปีต่อไปที่จะสามารถ จัดการให้เกิดความร่วมมือก้าวไปด้วยกันตั้งแต่ต้นปี
2. ได้รูปแบบการสื่อสารที่ชัดเจนมากขึ้น และมีคุณภาพเหมาะสมกับบริบท พฤติกรรมการรับข่าวสารของคนจังหวัดนครศรีธรรมราช เช่น การสื่อสารเรื่องราวด้วยบทหนังตะลุง การใช้ “เวทีหยวกกล้วย” ที่แสดงถึงการมีความเสมอภาคความเป็นภราดรภาพต่อกัน เกิดความเท่าเทียมในการแสดงความคิด การเสนอเรื่องราวที่เป็นประโยชน์การสื่อสาร
3. ร่างมติ และข้อเสนอของแต่ละประเด็นที่ขับเคลื่อน ซึ่งเกิดจากกระบวนการนโยบายสาธารณะ มีรูปธรรม และมีเนื้อหาทางวิชาการที่สมารถพัฒนา ต่อไปอย่างมีทิศทาง และเกิดประโยชน์กับชุมชนอย่างจริงจัง ผลลัพธ์
1. Participatory เกิดการมีส่วนร่วม แบบบูรณาการ ขององค์กรภาคี หน่วยงาน และชุมชนสถาบันพัฒนาองค์การชุมชน โดยเครือข่ายขบวนองค์กรชุมชน เป็นกลไกหลักในการรวมคน รวมเครือข่าย รวมงานที่ขับเคลื่อน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด/อำเภอ สถาบันส่งเสริมการเรียนรู้ สนง.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และอีก หลากหลาย กลุ่มองค์กร ภายใต้วิสัยทัศน์ นครศรีฯ อยู่ดี มีสุข
2. Public การร่วมมือกันของภาคส่วนต่างๆเกิดการมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายในงานสมัชชา “รวมพลคนอาสา” เพื่อการขับเคลื่อนนครศรี อยู่ดี มีสุข นำมติด้านปัจจัยเสี่ยง เด็กและเยาวชน มาบูรณาการแผนงานร่วมกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อการแก้ไขปัญหาความเสี่ยง ในเด็กและเยาวชน อย่างเป็นระบบต่อไป
3. policy ได้ร่างมติ และข้อเสนอ ที่ผ่านการรับรองจากสมาชิกสมัชชาขาขึ้น 2 ประเด็น ที่จะเป็นแนวในการเสนอเป็นนโยบายสาธารณะทั้งในระดับพื้นที่และในระดับจังหวัด ความมั่นคงทางด้านอาหาร(อาหารปลอดภัย) ปัจจัยเสี่ยงเด็กและเยาวชน(เหล้า บุหรี่ และ ผลงานขาเคลื่อนในประเด็นการบริหารจัดการน้ำตามมติสมัชชาจังหวัดปี 2559
4. Process การพัฒนากระบวนการขับเคลื่อน นโยบายสาธารณะ โดยตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆให้ความสำคัญและมีความร่วมมือมากขึ้น โดยการนำมติสมัชชาสู่การปฏิบัติ กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนเป็นการประชุมสมัชชาระดับจังหวัด โดยนายวิรัตน์ รักษ์พันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานเปิดงาน พิธีเปิดงานเป็นการแสดงพลังของการมีส่วนร่วมที่สื่อให้เห็นความเสมอภาค หรือความมีภราดรภาพของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช นั้นคือ “เวทีหยวกกล้วย” มีการแสดงวัฒนธรรมพื้นบ้าน หนังตะลุง นาฎศิลป์ การสื่อสารด้วยศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยนายหนัง วีระ งามขำ การเสวนาในหัวข้อ.การขับเคลื่อนนครศรีฯอยู่ดีมีสุขแบบมีส่วนร่วม ภาคีสนับสนุนมีความคิดเห็นอย่างไร..โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนา คือ ดร.วิรยะ แต้มแก้วหัวหน้าปฏิบัติการกลุ่มจังหวัดสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนภาคใต้ พลเอกภัทรชัย แทนขำ ผู้อำนวยการศูนย์ปรองดองสมานฉันท์กองทัพภาคที่4 นายชูรินทร์ ขวัญทอง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครศรีธรรมราช นายเจกะพันธ์ พรหมมงคล ผู้ช่วยผู้ประสานงานสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคใต้ตอนบน นางสุจิตรา ป้านวัน รองปลัดองค์กรบริหารส่วนตำบลนาไม้ไผ่ อ.ทุ่งสง คุณจารึก ไชยรักษ์ ผู้แทนจำสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ดำเนินรายการโดยคุณอานนท์ มีศรี นายยกสามาคมสื่อชุมชนภาคใต้นครศรีธรรมราช และในช่วงบ่ายเป็นการแบ่งกลุ่มย่อยตาม ประเด็นการขับเคลื่อน 3 ประเด็น คือ 1) ประเด็นการจัดการน้ำด้วยฝายมีชีวิต 2) ประเด็นอาหารปลอดภัย 3) ประเด็นปกป้องเด็กจากปัจจัยเสี่ยง แอลกอฮอล์และบุหรี่ และมีกลุ่มย่อยของ พมจ. และ เครือข่ายสภาองค์กรชุมชน และประกาศมติและข้อเสนอของแต่ละประเด็น กิจกรรมที่ทำจริงเป็นการประชุมสมัชชาระดับจังหวัด มีภาคีหลัก เข้าร่วมได้แก่ สาธารณะสุขจังหวัด สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช และผู้แทนจากประเด็นขับเคลื่อนทางสุขภาวะ 3 ประเด็น ได้แก่ประเด็นการจัดการน้ำด้วยฝายมีชีวิต ประเด็นอาหารปลอดภัย ประเด็นปกป้องเด็กจากปัจจัยเสี่ยง แอลกอฮอล์และบุหรี่ โดยนายวิรัตน์ รักษ์พันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานเปิดงาน พิธีเปิดงานเป็นการแสดงพลังของการมีส่วนร่วมที่สื่อให้เห็นความเสมอภาค หรือความมีภราดรภาพของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช นั้นคือ “เวทีหยวกกล้วย” มีการแสดงวัฒนธรรมพื้นบ้าน หนังตะลุง นาฎศิลป์ การสื่อสารด้วยศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยนายหนัง วีระ งามขำ การเสวนาในหัวข้อ.การขับเคลื่อนนครศรีฯอยู่ดีมีสุขแบบมีส่วนร่วม ภาคีสนับสนุนมีความคิดเห็นอย่างไร..โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนา คือ ดร.วิรยะ แต้มแก้วหัวหน้าปฏิบัติการกลุ่มจังหวัดสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนภาคใต้ พลเอกภัทรชัย แทนขำ ผู้อำนวยการศูนย์ปรองดองสมานฉันท์กองทัพภาคที่4 นายชูรินทร์ ขวัญทอง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครศรีธรรมราช นายเจกะพันธ์ พรหมมงคล ผู้ช่วยผู้ประสานงานสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคใต้ตอนบน นางสุจิตรา ป้านวัน รองปลัดองค์กรบริหารส่วนตำบลนาไม้ไผ่ อ.ทุ่งสง คุณจารึก ไชยรักษ์ ผู้แทนจำสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ดำเนินรายการโดยคุณอานนท์ มีศรี นายยกสามาคมสื่อชุมชนภาคใต้นครศรีธรรมราช และในช่วงบ่ายเป็นการแบ่งกลุ่มย่อยตาม ประเด็นการขับเคลื่อน 3 ประเด็น คือ 1) ประเด็นการจัดการน้ำด้วยฝายมีชีวิต 2) ประเด็นอาหารปลอดภัย 3) ประเด็นปกป้องเด็กจากปัจจัยเสี่ยง แอลกอฮอล์และบุหรี่ และมีกลุ่มย่อยของ พมจ. และ เครือข่ายสภาองค์กรชุมชน และประกาศมติและข้อเสนอของแต่ละประเด็น
|
200 | 180 |
4. หักภาษีดอกเบี้ยรับเงินฝากธนาคาร |
||
วันที่ 15 ธันวาคม 2560 เวลา 09:00-10:00 น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หักภาษีดอกเบี้ยรับเงินฝากธนาคาร ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงไม่มี กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนหักภาษีดอกเบี้ยรับเงินฝากธนาคาร กิจกรรมที่ทำจริงไม่่มี
|
0 | 0 |
5. ประชุม กองบก.สื่อสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 1 |
||
วันที่ 26 ธันวาคม 2560 เวลา 09:00-15:00 น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้1.เพื่อการรายงานความก้าวหน้าและการวางแผนการดำเนินงานของเครือข่าย 2.การติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหว ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง1.จัดเวทีถกเถียงสาธารณะ 3 ประเด็น หลัก
- การท่องเที่ยวโดยชุมชน กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนประชุมเพื่อการรายงานความก้าวหน้า และแลกเปลี่ยน วางแผนการขับเคลื่อนงานในระยะที่ 2 กิจกรรมที่ทำจริง1.ชี้แจงวัตถุประสงค์ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทิศทางการทำงานและการทำงานร่วมกับภาคีในบทบาทของเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ 2.กำหนดแนวทางการดำเนินงานใน ระยะที่ 2 มี 2 เรื่อง ที่จะเป็นเป้าหมาย คือ -รูปแบบการสื่อสารกับประเด็นสุขภาวะ -แนวปฏิบัติเพื่อกำหนดจริยธรรมสื่อ เพื่อสุขภาวะทางสังคม ทั้งนี้ ผลลัพธ์ คือการยกระดับความเป็นมืออาชีพ 3.บทบาทในงานสร้างสุขภาคใต้
|
30 | 30 |
6. สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ (การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดพังงา งวดที่ 1 |
||
วันที่ 5 มกราคม 2561 เวลา น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง
กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน
กิจกรรมที่ทำจริง1.จัดรายการ “กินอิ่ม นอนอุ่น บนแผ่นดินใต้”
|
1,000 | 0 |
7. สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ (การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช งวดที่ 1 |
||
วันที่ 5 มกราคม 2561 เวลา 09:00-16:00 น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต
1. สื่อสารกระบวนการทำงานของแต่ละประเด็นงานและเครือข่ายต่างๆในจังหวัด โดยเฉพาะประเด็นที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. สจรส.มอ. ผลลัพธ์ 1. เป็นส่วนหนึ่งในการให้เกิดเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาพใต้ ทั้ง 14 จังหวัด 2. การทำงานร่วมในรูปแบบกองบรรณาธิการสื่อสร้างสุขภาคใต้ โดยมีการร่วมการผลิตเนื้อหาการสื่อสารในประเด็นสุขภาวะของแต่ละพื้นนำมาสื่อสารในช่องทาง การสื่อสารของแต่ละจังหวัด โดยมีตารางการนำเสนอสลับสับเปลี่ยนกันในแต่ละจังหวัด ในการนำเสนอเนื้อหา 3. การวิเคราะห์เนื้อหาและวิธีการสื่อสารที่ได้ทำการสื่อสาร เพื่อการพัฒนาคุณภาพสื่อ และรูปแบบวิธีการที่เหมาะสม กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน1.ผลิตสื่อวิดิทัศน์ กระบวนการขับเคลื่อนในพื้นที่ เพื่อเผยแพร่ในช่องทางการสื่อสาร ทุกทาง 2.จัดรายการล้อมวงคุยกับคณะทำงาน แกนนำ และผู้ที่มีส่วนกับการผลักดันการขับเคลื่อนงานแต่ละ ประเด็น 3.นำเนื้อหาการขับเคลื่อนประเด็นงาน สื่อสารผ่านช่องทาง รายการวิทยุ Facebook Live เพจสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้นครศรีธรรมราช และนำเสนอสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส 4.จัดเวทีประชุมเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการเชื่อมโยงประเด็นงานการขับเคลื่อนรวมถึงภาคีสนับสนุน 5.จัดประชุมคณะทำงานโครงการเพื่อสร้างความเข้าใจ กิจกรรมที่ทำจริง1.จัดประชุมคณะทำงานโครงการเพื่อสร้างความเข้าใจและประชุมคณะทำงานเตรียมงานประชุมวิชาการ ประจำปี 2561 "สร้างคน สร้างงาน สร้างสุข สานพลังที่ก้าวข้ามขีดกำจัดสู่สุขภาวะที่ยั่งยืน
2.จัดเวทีถกเถียงสาธารณะ " ท่องเที่ยววีไทย เก๋ไก๋ อย่างยั่งยืน" และ "เวทีสาธารณะ “ย้อนรอย 470 วัน น้ำท่วมใหญ่ : การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน"
3.รายการ “ กินอิ่มนอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ ”
|
500 | 70 |
8. สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ (การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดชุมพร งวดที่ 1 |
||
วันที่ 5 มกราคม 2561 เวลา 09:00-16:00 น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต 1.สามารถสื่อสารการทำงานแต่ละประเด็นของเครือข่ายในจังหวัดทั้งที่ได้รับการสนับสนุนจากภาคีเครือข่าย และไม่ได้การสนับสนุนจากภาคีเครือข่าย 2.สามารถถ่ายทอดข้อมูล เนื้อหา ความรู้ และขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ 3.สามารถเชื่อมโยง ประสานงานเครือข่ายทางด้านข้อมูลและบุคคล 4.เพิ่มและพัฒนาทักษะรูปแบบการสื่อสารโซเซียลมีเดีย ผลลัพธ์ 1.เกิดความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายมากขึ้น 2.มีพื้นที่สำหรับการเรียนรู้ในแปลงเกษตรเพิ่มมากขึ้น 3.มีการทำงานร่วมกันในรูปแบบของกองบรรณาธิการสื่อสร้างสุขภาคใต้ โดยผลิตเนื้อหาของแต่ละประเด็นและจังหวัด แล้วนำมาเสนอ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในแต่ละจังหวัด กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน1.ผลิต/จัดรายการ “ท่องเที่ยวโดยชุมชนตลาดใต้เคี่ยม เศรษฐกิจพอเพียง อาหารปลอดภัย” ทาง facebook live เดือนละ 2 ครั้ง
2.รับสัญญาณเสียงรายการกินอิ่มนอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ ทุกวันเสาร์-อาทิตย์เวลา 09.00-10.00 น. ร่วมกับเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้
3.ผลิต/จัดรายการทาง face book live เดือนละ 2 ครั้ง
- ท่องเที่ยวโดยชุมชนตลาดใต้เคี่ยม เศรษฐกิจพอเพียง อาหารปลอดภัย กิจกรรมที่ทำจริง1.Face Book Live ตอน 1 ปี ตลาดใต้เคี่ยม(ท่องเที่ยวโดยชุมชนตลาดใต้เคี่ยม) 2.ร่วมเวทีเตรียมงานสร้างสุขภาคใต้ 2561 ห้องย่อยการท่องเที่ยวโดยชุมชนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโซนอันดามัน 3.เวทีพัฒนาศักยภาพสื่อโซเชียลมีเดีย 4.จัดทำสื่อสื่อสิ่งพิมพ์ท้องถิ่น “ฐานชุมพร”และจัดทำสื่อหนังสือพิมพ์ออนไลน์ ปะทิวนิวส์
|
1,000 | 1,000 |
9. สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้(การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดสงขลา งวดที่ 1 |
||
วันที่ 5 มกราคม 2561 เวลา 09:00-16:00 น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้1.สื่อสารสาธารณะด้านการสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่จังหวัดสงขลา 2.สนับสนุนการผลิตสื่อและจัดรายการเพื่อการสื่อสารสาธารณะให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง
กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน
กิจกรรมที่ทำจริง1.เข้าร่วมเวทีระดมความคิดเห็นประเด็นการท่องเที่ยวชุมชนโซนใต้บน ทำความรู้จักเครือข่ายสื่อชุมชนภาคใต้และวางแผนแนวทางการสื่อสารเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบสื่อสร้างสุขสงขลา 2.เวทีถอดบทเรียนโครงการ “เสริมสร้างศักยภาพและเตรียมความพร้อมของชุมชนหลังประสบอุทกภัยพื้นที่ตำบลเชิงแส อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา” 3.สัมภาษณ์เชิงลึก ถ่ายภาพนิ่ง และวิดีโอ เพื่อเก็บข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ได้แก่ ทะเลสาบสงขลาแหล่งอาศัยโลมาอิระวดี ธนาคารกุ้งเพื่อการอนุรักษ์ รวมทั้ง สัมภาษณ์บุคคลสำคัญที่เป็นแกนนำการอนุรักษ์ อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา 4.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายภัยพิบัติภาคใต้ 5.สัมภาษณ์เชิงลึก ถ่ายภาพนิ่ง และวิดีโอ เพื่อเก็บข้อมูลประเด็นร้านนมสร้างสุข อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 6.สัมภาษณ์เชิงลึก ถ่ายภาพนิ่ง และวิดีโอ เพื่อเก็บข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ได้แก่ บ้านใบตาลอายุ 100 ปี ชุมชนรำแดง และยอดหัวเขาแดง อ.สิงหนคร จ.สงขลา 7.ประชาสัมพันธ์การจัดงานภาคใต้สร้างสุข โดยพาชมบู๊ธต่างๆ และพูดคุยกับองค์กรภาคีเครือข่ายด้านสุขภาวะภาคใต้ที่มาร่วมกิจกรรม 8.สัมภาษณ์ปราชญ์ชาวบ้าน อาจารย์ภิรมย์ จิตภักดี ประเด็นสงขลาเมืองเก่า 9.Live คุยกับเครือข่ายองค์กรงดเหล้า จังหวัดสงขลา“ดื่มไม่ขับ กลับปลอดภัย” 10.เวทีเสวนาข้าวปลูกกับคนปลูกข้าวบ้านเรา เทศกาลข้าวใหม่บ้านเรา ครั้งที่ 1
|
500 | 200 |
10. สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ (การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดกระบี่ งวดที่ 1 |
||
วันที่ 5 มกราคม 2561 เวลา 09:00-10:00 น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output): พัฒนารูปแบบการใช้สื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีวิธีการนำเสนอ การเผยแพร่ข่าวสารเชิงประเด็น ที่เป็นรูปแบบโดยการผสมผสานสื่อวิทยุท้องถิ่น และเชื่อมโยงกับสื่อใหม่คือ การเผยแพร่ผ่านโซเชียลมีเดีย และการใช้เทคโนโลยี เชื่อมสัญญาณการออกอากาศเป็นเครือข่ายสื่อวิทยุของภาคใต้ ผลลัพธ์ (Outcome): กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน1.ผลิต/จัดรายการกินอิ่มนอนอุ่นบนแผ่นดินใต้กับกอง บก.สื่อสร้างสุขภาคใต้ เดือนละ 2 ครั้ง 2.รับสัญญาณเสียงรายการกินอิ่มนอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ ทุกวันเสาร์-อาทิตย์เวลา9.00-10.00 น.ร่วมกับเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ 3.ถ่ายทอดเสียงเวทีสาธารณะ “ท่องเที่ยวชุมชน” วันที่ 19-20 มกราคม 2561 (1 ชม.) 4.รายการ “ท่องเที่ยวหัวใจชุมชน” ทุกวันศุกร์ที่ 1 และ 3 ของสัปดาห์ (2 ครั้ง/เดือน) เวลา 09.00-10.00 น. ออกอากาศทางสถานีวิทยุ FM.96 Mhz. 5.ผลิต/จัดรายการ “ท่องเที่ยวหัวใจชุมชน” ทาง face book live เดือนละ 2 ครั้ง 6.รับสัญญาณ ถ่ายทอดเสียง งานสร้างสุขภาคใต้ 7.ร่วมถ่ายทอดเสียง/รับสัญญาณจากเวทีประเด็นต่างๆ จากกอง บก.สื่อสร้างสุขภาคใต้ ส่วนกลาง กิจกรรมที่ทำจริง1.ประชุมคณะทำงาน 2.ดำเนินรายการ กินอิ่ม นอนอุ่น บนแผ่นดินใต้ ประเด็นท่องเที่ยวโดยชุมชน ปัจจัยเสี่ยง และ ประชาสัมพันธ์ งานสร้างสุขภาคใต้ 3.Facebook live ที่ไร่ปรีดาโฮมสเตย์ และ Facebook live ณ ท่าเรือบ้าน ถ้ำเสือ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ ประเด็นท่องเที่ยวโดยชุมชน ปัจจัยเสี่ยง 4.ร่วมเวทีเตรีมความพร้อมงานสร้างสุข เวที “โซนอันดามัน” 5.ผลิตสปอตวิทยุรายการ กินอิ่ม นอนอุ่น บนแผ่นดินใต้
|
500 | 500 |
11. สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ (การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดพัทลุง งวดที่ 1 |
||
วันที่ 5 มกราคม 2561 เวลา 09:00-10:00 น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้1. เพื่อสนับสนุนการสื่อสารในรูปแบบเครือข่ายสื่อสรา้งสุขภาคใต้ 2. เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการศึกษารูปแบบการสื่อสาร เนื้อหา วิธีการ ช่องทางการสื่อสาร ของการขับเคลื่อนงานในประเด็นต่างๆ แต่ละเครือข่าย 3. เพื่อสื่อสารเรื่องราวความจริงของชุมชนสู่สังคม ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง
กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน
กิจกรรมที่ทำจริง1.จัดรายการวิทยุและถ่ายทอดสัญญาณวิทยุกินอิ่มนอนอุ่นบนแผ่นดินใต้
- ประเด็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน
|
500 | 500 |
12. สนับสนุนประเด็นสุขภาวะทางสังคม ประเด็นการจัดการปัจจัยเสี่ยงจังหวัดชุมพรงวดที่ 1 |
||
วันที่ 9 มกราคม 2561 เวลา 08:00-13:00 น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงสรุปประเด็นถอดบทเรียน เวทีสานเสวนาสาธารณะ ร้อยใจคนชุมพร ร่วมสร้างเมืองปลอดภัย กรณีศึกษา ภายหลังการเสวนา นายนายณรงค์ พลละเอียด ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ได้กล่าวโดยสรุปพร้อมมอบแนวทางการลดการเกิดอุบัติเหตุให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อนาไปใช้เป็นนโยบายต่อไป โดยเน้นการป้องกันในภาพรวมตลอดทุกวัน ไม่เพียงเฉพาะในเทศกาลสำคัญเท่านั้น เพื่อให้เกิดความยั่งยืนโดยมีรูปแบบดังนี้ ซึ่งจากการเสวนาครั้งนี้ยังพบประเด็นที่น่าสนใจในหลายๆประเด็น เช่น ปัญหาของชาวต่างชาติที่เข้ามาพักอาศัยในจังหวัดชุมพรซึ่งไม่เข้าใจภาษาไทย ทาให้ไม่สามารถสื่อสารและเข้าใจกฎหมายหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ได้ ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุ ปัญหาพื้นที่เสี่ยงที่มีทางแยกซึ่งไม่ใช่ทางแยกตามกฎหมายกำหนด ปัญหาการละเมิดสิทธิผู้ป่วยและการนาเสนอข่าวผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต เป็นต้น ผู้เข้าร่วมเสวนาจึงมีข้อเสนอแนะดังนี้ ดังนั้นการลดการเกิดอุบัติเหตุอย่างยั่งยืนในพื้นที่จัดหวัดชุมพรจาเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการร่วมกันหาแนวทางในการป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเน้นการสร้างจิตสานึกให้ประชาชนเกิดการเกรงกลัวต่ออุบัติเหตุ ไม่ขับขี่เมื่อดื่มแอลกอฮอล์ ขณะเดียวกันต้องสร้างให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมที่ดีในการเคารพกฎหมายและกฎจราจร ซึ่งจะต้องเน้นการประชาสัมพันธ์และความร่วมมืออย่างจริงใจเพื่อให้เกิดความยั่งยืนกับชาวชุมพรสืบไป กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนเป็นเวทีสานเสวนา ระดมความคิดเห็น และถอดบทเรียนการดำเนินงานการจัดการอุบัติเหตุทางถนน ในช่วงเทศกาลโดยมีวิทยากรเป็นผู้เปิดประเด็นชวนคิดชวนคุย เจาะประเด็นตามภารกิจที่หน่วยงาน รับผิดชอบของ รับฟังสถานการณ์ ปัญหาและข้อเสนอแนะ ซึ่งตลอดทั้งงานมีการถ่ายทอดสดผ่านรายการสื่อชุมชนภาคใต้ และมีการรับฟังความคิดเห็นผ่านรายการรวมทั้งการตอบปัญหาให้กับผู้ที่ซักถามผ่านรายการอีกด้วย กิจกรรมที่ทำจริง
|
50 | 56 |
13. สนับสนุนประเด็นสุขภาวะทางสังคม ประเด็นการจัดการปัจจัยเสี่ยงจังหวัดกระบี่ งวดที่ 1 |
||
วันที่ 9 มกราคม 2561 เวลา 09:00 - 16:00 น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้1.เพื่อให้ได้รูปแบบการสื่อสารเพื่อสุขภาวะโดยใช้ทรัพยากรเยาวชนขับเคลื่อนผ่านสื่อรูปแบบที่หลากหลาย 2.องค์กรเข้มแข็ง พร้อมขับเคลื่อนงานสุขภาวะเพื่อประโยชน์สาธารณะ 3.องค์กรโปร่งใส ฅนทำงานพร้อมทุกสถานการณ์การขับเคลื่อนสาธารณะ ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง1.มีกลุ่มคนทุกรุ่นแต่ละระดับอายุ ปรับจูนทำความเข้าใจร่วมกันในกลุ่มอายุต่างๆ แต่ยังมีความสนใจจากผู้เข้าร่วมเรื่องการเปลี่ยนแปลงสังคมโดยใช้สื่อใกล้ตัวร่วมกัน พร้อมทั้งเกิดช่องการสื่อสารและการติดต่อสื่อสารอย่างต่อเนื่อง ร่วมกันทำงานแบบบูรณาการการทำงานร่วมกันกับระหว่างเด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่ หน่วยงาน สื่อมวลชน ในการใช้สื่อขยับสังคมสร้างสรรค์ กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน1.สร้างเครือข่ายสื่อเยาวชน พลเมือง ฅนสร้างสุขปลอดปัจจัยเสี่ยง จ.กระบี่พร้อมทั้งขยายเครือข่าย
2.ประชาสัมพันธ์ เรื่องราวผ่านสื่อท้องถิ่น วิทยุ เคเบิ้ลท้องถิ่น กิจกรรมที่ทำจริง1.เวทีสร้างแกนนำสื่อเยาวชนพลเมือง ฅนสร้างสุขปลอดปัจจัยเสี่ยง จ.กระบี่”
|
200 | 198 |
14. สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ (การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี งวดที่ 1 |
||
วันที่ 10 มกราคม 2561 เวลา 09:00-10:00 น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง1 สื่อสารกระบวนการการจัดการขยะจากต้นทางภายใต้ความร่วมมือของชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง 2. นำเนื้อหาจากการพูดคุยนำเสนอในรายการวิทยุ กินกิ่มนอนอุ่น บนแผ่นดินใต้ 3. คณะทำงานโครงการ และผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความเข้าใจตระหนักถึงปัญหาการจัดการขยะ กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน1.พัฒนาศักยภาพและขยายโครงข่ายสื่อในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
- เวทีทำความเข้าใจแผนงานโครงการ
- งดเหล้าอาทิตย์ละ 1 วันให้ความสำคัญกับครอบครัว
- สนับสนุนการผลิตสื่อในพื้นที่
- อบรมรมเชิงปฏิบัติการต้นกล้าสื่อสร้างสุขภาวะ
2.ติดตามประเมินผล
3.สรุปการดำเนินงาน กิจกรรมที่ทำจริง1.เวทีทำความเข้าใจแผนงานโครงการ 2.จัดรายการถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุคไลฟ์ประเด็นการจัดการขยะ
|
100 | 100 |
15. เวทีถกเถียงสาธารณะ ร้อยใจคนชุมพร ร่วมสร้างเมืองปลอดภัย กรณีศึกษา “อุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาล” |
||
วันที่ 16 มกราคม 2561 เวลา น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง.....1 ข้อมูล การเกิดอุบัติเหตุ และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการอะไรไปบ้าง เพื่อนำมาเป็นข้อมุลสำคัญในการวิเคราห์และแก้ปัญหาร่วมกัน 2. การสื่อสารโดยตรงจากเวทีถึง ผู้ชมในพื้นที่และมีการแสดงความเห็นกันภายใต้ข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงและการายงานผลกระทบที่เกิดขึ้น มีความครอบคลุม และกระจาย 3. ข้อสรุปในเชิปฏิบัติการ่วม ที่ผู้เข้าร่วมจากหลายฝ่ายมีความเห็นร่วมกัน 4. การแกปัญหาเพื่อลดอุบัติเหต ภายใต้ข้อมูลที่มีความหลากหลาย และมีความชัดเจนน่าเชื่อถือของข้อมูลนำไปสู่การแก้ปัญหาที่มีประสืิทธิภาพ กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนเป็นเวทีสานเสวนา ระดมความคิดเห็น และถอดบทเรียนการดำเนินงานการจัดการอุบัติเหตุทางถนน ในช่วงเทศกาลโดยมีวิทยากรเป็นผู้เปิดประเด็นชวนคิดชวนคุย เจาะประเด็นตามภารกิจที่หน่วยงานรับผิดชอบของ กิจกรรมที่ทำจริง1.จัดเวทีเสวนาโดยเชิญ องค์กร หน่วยงาน ภาคี ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม นักวิชาการจากมหาวิทยาลัย 2. อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตชุมพร เป็นผู้ดำเนินรายการ ตั้งคำถาม จากผู้เข้าร่วม ตามภากิจแการบรณรการในเชงละบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการอุบัติเหตบนท้องถนน 3. ถ่ายทอดสด การเสวนาผ่านเฟสบุคไลฟ์ ช่องสมาคมสื่อชุมชนชนภาคใต้นครศรีธรรมราช และให้ผู้ชมทางบ้านร่วมแสดงความเห้น ข้อเสนอ และข้อซักถามผ่านรายการ 4 นักวิชาการ สรุปประเด็นปัญหา ที่มา และสาเหตของการเกิดปัญหา การบรณาการในเชิงปฏิบ้ตการเพื่อลดอุบัติเหตบนท้องถนน
|
50 | 0 |
16. สานเสวนา ทางเลือก ทางรอด ของเยาวชนคนคอน ภายใต้ปัจจัยเลี่ยงต่อสุขภาพที่รุมเร้า |
||
วันที่ 17 มกราคม 2561 เวลา 09:00-15:00 น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงนำสานเสวนาโดย คุณอรอุมาเรืองสังข์เครือข่ายสื่อมวลชน สถานการณ์ปัญหาของเยาวชนปัญหาของเยาวชนในทุกวันนี้มีให้เห็นอยู่ทุกวัน ทุกรูปแบบไมว่าจะเป็นเรื่องของเยาวชนติดเกมส์ ติดยา เด็กแว๊นท์ ท้องก่อนวัยอันควรเกิดขึ้นเพราะเราไม่กล้ายอมรับความจริง กลัวเสียชื่อเสียง ปัญหาและความเป็นไปของเยาวชนในปัจจุบัน ผู้เข้าร่วม ทำอย่างไรให้เยาวชนหลุดพ้นจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ และทำไมต้องทำ ? ตัวแทนสาธารณะสุข ทำอย่างไรให้เยาวชนหลุดพ้นจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ และทำไมต้องทำเกิดอะไรขึ้นกับสังคมทุกวันนี้มองว่า สังคมมองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติของวัยรุ่นหรือเยาวชนที่กระทำกันหรือเกิดขึ้นบ่อยจนเป็นเรื่องธรรมดา ปลัดอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชนโยบายของภาคใต้ทีเราต้องนำมาปรับใช้ การแก้ไขปัญหายาเสพติดต้องนำปัญหาจากข้างล่างขึ้นสู่ข้างบนเข้าใจต่อเด็กวัยรุ่นอาจเกิดจากความพลาดพลั้งการแก้ปัญหายาเสพติดแนวโน้มอาจมีพื้นที่ให้ปลูกกระท่อม ปลูกกัญชาได้ ผอ.โรงเรียนท่านครญาณโรภาส(ครูมองเห็นปัญหาและสถานการที่เกิดขึ้นอย่างไร)การสร้างโอกาส การให้โอกาสเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับคนที่ก้าวพลาด สังคมจะดึงเขากลับมาได้อย่างไรการทำโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนแห่งความสุขเป็นทางหนึ่งที่จะดึงเขากลับมา นักเรียนโรงเรียนท่านครญาณโรภาส(กล้ามั๊ยที่จะออกมาจากปัญหา) การพาเพื่อนออกมาจากปัญหาเป็นเรื่องยาก เด็กไม่สามารถสะท้อนปัญหาให้รับรู้ได้ แต่สามารถทำได้โดยใช้ความเป็นเพื่อนเนื่องจากเด็กวัยนี้รักเพื่อมักจะฟังเพื่อนมากว่าคนอื่นๆเช่น ชวนกันเล่นกีฬา เป็นต้น สสอ.เมืองนครศรีธรรมราชการลด ละ เลิก เป็นนโยบายของทางสาธารณะสุขซึ่งต้องทำไปตามนโยบายอยู่แล้ว ปลัดอบต.ไชยมนตรีปรับขบวนการการทำงานให้ง่าย กว้าง ครอบคลุมเป้าหมาย ทำอย่างไรต้องมีการพูดคุยกับนายอำเภอในฐานะที่เป็นองค์กรระดับอำเภอและจะเชื่อมโยงกับองค์กรอื่นๆได้หรือไม่อย่างไร การเอาตัวตัวรอดจะรอดได้อย่างไรสิ่งเร้าทุกเรื่องที่เข้ามาประเด็นที่ขับเคลื่อนจะต้องไปเคลื่อนระดับตำบล สปสช.เขต 11 สุราษฎร์ปัญหาที่เหล่านี้ทำให้เกิดปัญหาอื่นๆที่ตามมามากมายการแก้ปัญหาเหล่านี้ได้หน่วยงานทุกภาคส่วน เริ่มแต่พ่อแม่ ต้องเข้ามาพูดคุยกันงบประมาณส่วนของเขต11 อยู่ที่ 40 ล้าน อยู่ที่อบต.สามารถขอมาใช้ได้ รองปลัดอบต.นาไม้ไผ่มองเห็นปัญหาอย่างไรที่จะนำมาซึ่งการแก้ปัญหาร่วมกับทุกภาคส่วนเนื่องจากท้องถิ่นเป็นชุมชนมีเด็กหลายบริบทในชุมชน ปัญหาที่เกิดระดับต้นๆมาจากครัว ความไม่เข้าใจจากผู้ใหญ่การที่เราจะทำงานให้เกิดความสำเร็จได้เราต้องรู้จักพื้นที่การทำงานต้องทำด้วยหัวใจการเป็นพี่น้องใช้รากเหง้าในชุมชนมาดูแลกันเปิดโอกาสให้เขามีพื้นที่เรากำหนดเด็กได้ 0-9 ปีเท่านั้น เกินจากนั้นเรากำหนดยากมากนาไม้ไผ่ใช้โครงการขยะเป็นตัวเชื่อมกับผู้ใหญ่ให้เด็กคิดกระบวนการเองผู้ใหญ่ให้การหนุนเสริมเท่านั้น ให้เด็กเขามีพื้นที่ได้คิดเอง อย่าวางระบบให้เด็กคิดเด็กหลังห้องมักเป็นเด็กที่มีกกระบวนการคิดดีมากถ้าเราได้ส่งเสริมใช้ศาสตร์พระราชาเข้ามาประกอบให้เด็กได้ทำและใช้กระบวนการที่เขาได้คิดขึ้นมาเอง (เข้าใจเข้าถึงการพัฒนา) เครือข่ายงดเหล้าภาคใต้ตอนบนปัจจัยแวดล้อมต้องประกอบทั้ง 2 ส่วน คือภายในและภายนอกภายในจุดเริ่มต้นมาจากครอบครัว การเริ่มกินเหล้าครั้งแรกของเด็กส่วนใหญ่มาจากที่บ้าน เช่น งานวันเกิด งานปีใหม่ในส่วนงานที่ขับเคลื่อนอยู่เราทำได้เรามีเครือข่ายหลายๆภาคส่วน ผู้กำกับสภ.เมืองนครศรีธรรมราชกระบวนสุดท้ายคือกฎหมายเริ่มจากการป้องกันก่อนถ้าป้องกันไม่ไหวจึงจะถึงกระบวนการปราบปรามเช่น เรื่องแอลกอฮอร์เริ่มที่บ้าน ครอบครัว การป้องกันในสถานศึกษามีการจำกัดระยะของสถานบันเทิงบุหรี่มีการบังคับใช้ของใหม่ปี 60นครเป็นจังหวัดที่ใหญ่ปัญหาจึงมีมากและ นักหนากว่าจังหวัดอื่นคู่ๆกับจังหวัดสุราษฎร์ธานียาเสพติดเป็นปัญหาที่หนักกว่าเรื่องอื่นๆโดยเฉพาะน้ำกระท่อม สื่อฯเป็นเรื่องที่น่ากลัวมากสาเหตุที่ทำให้คนตายเป็นอันดับหนึ่งมาจากอุบัติเหตุการทำงานแบบนี้ต้องมีจิตอาสาเป็นอันดับแรก พื้นที่การศึกษาเขต12เห็นอะไรในกระบวนการและมีแนวคิดอย่างไรบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับต้นๆของเด็กวัยมัธยมต้นประเด็นแรก ครอบครัวเป็นการตั้งต้นที่จะช่วยเสริมสร้างความรักความอบอุ่นโรงเรียน เป็นครอบครัวที่ 2 ที่สามารถช่วยฉุดรั้งหรือป้องกันไม่ให้เด็กเข้าถึงสิ่งที่ไม่ดีเหล่านั้นได้หรือถ้าเกิดขึ้นแล้วต้องมีวิธีที่จะช่วยพยุงเด็กให้เดินต่อไปได้อย่างมีกำลังใจ มีทางเลือก ปลอดภัย นักวิชาการศึกษาเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช/พัทลุงดูแลเด็ก 90 โรงเรียน แนวทางในการดูแลเด็ก/เยาวชน (สถิติ ความร่วมมือ) การจัดอันดับ 1. สารเสพติด ประมาณ 70 % 2. ความรุนแรง 3. ท้องก่อนวัย 4. อุบัติเหตุ 5. พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม แนวทาง 3 ส.
1. สร้างโอกาส
2. สร้างศักยภาพ
3. สร้างคุณภาพ คือ ผลการเรียน สร้างให้นักเรียนมีมาตรฐานที่สูงขึ้น
จุดแตกหักของปัญหาอยู่ที่หมู่บ้าน ชุมชนเราทำอยู่ในทางหน้าที่ได้ในระดับหนึ่งต้องทำทางอื่นด้วยปัญหาที่เกิดทำอย่างไรให้พื้นที่ปลอดภัยลดพื้นที่เสี่ยงเพิ่มพื้นที่ดีประสานหลายๆส่วนมาช่วยดูแล มีพื้นที่นำร่อง คนทำงานทำอย่างไรให้มีหัวใจเดียวกันงบประมาณต้องดูแลอย่างทั่วถึง ครอบคลุมทุกกลุ่ม ทุกวัย
ผู้กำกับสภ.เมืองนครศรีธรรมราชการทะเลาะวิวาทเดี๋ยวนี้เกิดน้อยลงเนื่องจาก การเสียค่าปรับที่แพงขึ้นอุบัติเหตุทางท้องถนนช่วงปีใหม่61 มี 2 ราย ซึ่งเพิ่มจากปี 60 1 ราย สาเหตุเนื่องจากคนขับรถไม่มีวินัย ประมาทสื่อฯต้องปรับทัศนคติในเรื่องการนำเสนอเรื่องราวที่ต้องนำเรื่องดีๆมานำเสนอมากกว่านำเสนอเรื่องราวในทางลบ
ผอ.กองอำนวยการการดูแลเยาวชน2 ส่วน
1. ในสถานศึกษา
2. นอกสถานศึกษาอยู่ในเขตชุมชนจำนวน 63 ชุมชนปัญหาจากการสำรวจข้อมูลเรื่องสารเสพติดมาอันดับหนึ่งการดึงเด็กออกมาจากภาวะปัญหาครอบครัวเป็นสถาบันที่เล็กที่สุดแต่มีความสำคัญที่สุด ถ้าครอบครัวเข้มแข็งโอกาสที่เด็กจะก้าวล่วงไปในทางที่ผิดพลาดย่อมเกิดได้ยากชุมชน หมู่บ้านให้มองเด็กๆเป็นเสมือนลูกหลานของตนเอง การสื่อสารและช่องทาง รูปแบบการใช้ร่วมกัน
ผอ.ท่านครโรงเรียนแห่งการมีความสุขเราต้องเปิดหูฟังเด็กให้มากที่สุดช่องทางสื่อในหลายๆช่องทางมีความแตกต่างกันเด็กที่สร้างนวัตกรรมให้กับโรงเรียนคือกลุ่มเด็กหลังห้อง สิ่งที่สังคมจะต้องให้การสนับสนุนนักเรียนกลุ่มที่บกพร่องต่อการเรียนรู้ที่ถูกละเลยโดยระบบ(ท้อง แท้ง ทิ้ง) ถ้าเราสร้างโอกาสเด็กเหล่านี้จะกลับมาเรียนตามศักยภาพของเขาได้
- สร้างระบบผู้นำ โรงเรียนทุกโรงจะต้องมีสภาผู้นำ
- แบบอย่างของสังคมเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญที่ต้องใส่ใจ
- สร้างหลักสูตรอบรมผู้ปกครองสร้างความรู้ ความเข้าใจให้ตรงกัน
- การสร้างเครือข่าย บูรณาการหรือการเชื่อมโยงให้เข้าไปสู่วิถีชีวิตของเด็กให้ได้มากที่สุด
ผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาเมื่อเด็กเผชิญความเสี่ยงไม่สามารถจัดการกับปัญหาได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นเราเก็บเรื่องราวเหล่านี้เพื่อให้เกิดรูปธรรมการบูรณาการ
สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ (นายอานนท์มีศรี) รูปแบบการสื่อสาร ภายใต้การขับเคลื่อนโครงการภาคใต้แห่งความสุขเรื่องสุขภาวะของสังคมเป็นเรื่องสำคัญมีทั้งหมด 8 ประเด็นงานภายใต้ต้นทุน
1. ต้นทุนงานเป็นการต่อยอดไม่ใช่เริ่มใหม่มีการเปิดเวทีพูดคุยอย่างต่อเนื่อง
2. ต้นทุนของงบประมาณ
3. ต้นทุนเครือข่าย/คน
กระบวนการ
- กระบวนการสื่อสารที่ผ่านมา สิ่งที่เราขาดคือ จริยธรรมเอาความถูกใจเป็นที่ตั้ง
- การรายงานผลรูปธรรมความสำเร็จ
- การสร้างและขยายเครือข่ายทางสังคม
- ขับเคลื่อนต่อ
สรุปภาพรวม (เจกะพันธ์)
1. สถานการณ์ปัจจัยเสี่ยงของเด็กคอนคือ เหล้า บุหรี่ ยาบ้า ยาไอซ์ ท้องก่อนวัยอันควร
2. บทบาทของสื่อ
- กระบวนการสื่อสาร
- จริยธรรม/จรรยาบรรณในการสื่อสาร
- เปิดเวทีพูดคุย/ต่อยอด
3. โอกาสหรือทางออก กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนมีการสำรวจและรวบรวมข้อมูลด้านสถานการณ์ พฤติกรรมเสี่ยง ผลกระทบที่เกิดขึ้นของเด็กและเยาวชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่าสถานการณ์ของเด็กและเยาวชนในจังหวัดนครศรีธรรมราชมีพฤติกรรมเสี่ยงทั้งด้านการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ยาเสพติด เพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย อุบัติเหตุความรุนแรง การบริโภคสื่อที่ไม่ปลอดภัยโดยการดำเนินงานที่ผ่านมาได้เกิดเป็นมติสมัชชาสุขภาพจังหวัดนครศรีธรรมราช ประเด็นการปกป้องเด็กและเยาวชนโดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน จึงมีแนวคิดในการจัดกิจกรรมเวทีสานเสวนา ทางเลือก ทางรอด ของเยาวชนคนคอน ภายใต้ปัจจัยเลี่ยงต่อสุขภาพที่รุมเร้า เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติในการป้องกันและแก้ไขปัญหาแบบมีส่วนร่วมและบูรณาการการทำงารทุกภาคส่วน กิจกรรมที่ทำจริง1.การแสดงสัญลักษณ์ สถานการณ์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพโดยกลุ่มเยาวชน จังหวัดนครศรีธรรมราช
2.ล้อมวงคุยโดยมีผู้ดำเนินรายการนำคุุยเกี่ยวกับ
|
40 | 60 |
17. เวทีเตรียมงานสร้างสุขภาคใต้ปี 2561 ห้องย่อยการท่องเที่ยวโดยชุมชนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโซนอันดามัน |
||
วันที่ 19 มกราคม 2561 เวลา 09:00-16:00 น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้1.เพื่อรับฟังสถานการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชน ปัญหา อุปสรรค ข้อท้าทาย และข้อเสนอเชิงนโยบายในการก้าวต่อ 2.เพื่อขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้ รวมทั้งรับฟังร่างมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนของทางสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้ ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงความเป็นมางานสร้างสุขภาพใต้
มีจุดเริ่มมาจากงานสร้างสุขภาคใต้ตั้งแต่ปี 2549 โดยดูความความพร้อมของหน่วยงานที่มาหนุนเสริม เรื่องใดเป็นเรื่องสำคัญที่นำมาซึ่งความสุข มี 3 ระดับ ปี 2549 ปี2559การเป็นเจ้าของห้องย่อยมาจากฐานงานวิจัย ทำไปช่วงหนึ่งพบว่าพลังในการขับเคลื่อนยังมีไม่มากพอ เจ้าของประเด็นห้องย่อยที่แท้จริงต้องมาเป็นแกนนำ วิชาการเพียงหนุนเสริมเท่านั้น มาปี 2561 ในส่วนของห้องย่อยชุมชนควรขยับอย่างไร เวทีระดับโซน ตั้งแต่อันดามัน ใต้บน ใต้ล่าง โดยมีสมาคมมานร่วมขับอย่างจริงจัง กระบวนการพูดคุยผู้เล่นสำคัญโดยสมาคมท่องเที่ยวชุมชนที่ขยับมาตั้งแต่ปี 58 มีผลสัมฤทธิ์ไปถึงไหนแล้ว
การขับเคลื่อนงาน ต้องเริ่มมาจากความเข้มแข็งของชุมนก่อน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องพึ่ง 3 ส่วน ประกอบด้วย
1. พึ่งตนเอง เพื่อให้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระดับนโยบาย
2. พึ่งงานวิจัย ยุทธศาสตร์ 60-64 มี4 ยุทธศาสตร์หลัก ยึดโยงแผนงานเหมือนหน่วยงานราชการทั่วไป ประชุมส่วนกองบก. 3 เครือข่ายประเด็น 1. การจัดการน้ำโดยฝายมีชีวิต 2. ความมั่นคงด้านอาหาร 3. ปัจจัยเสี่ยง ประกอบด้วย 6 จังหวัด นคร พัทลุง สงขลา พังงา กระบี่ ชุมพร งบประมาณ โอนลงจังหวัดแล้ว การทำงานร่วมเครือข่าย เชิงประเด็น ได้รูปแบบของการสื่อสาร - แผนงาน - การสื่อสารก่อน-หลัง - การทำงานร่วมกัน เป้าหมาย ยกระดับการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง
สะท้อนกระบวนการเวทีของโซนอันดามัน กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนวันที่ 19 มกราคม 2560
1.เกริ่นนำ – ความเป็นมางานสร้างสุขภาคใต้ และที่มาห้องย่อย การท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์สมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้
2.การนำเสนอแลกเปลี่ยนการขับเคลื่อนมติการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ งานสร้างสุขภาคใต้ พ.ศ. 2559
การแลกเปลี่ยนสถานการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชน ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอใหม่เพื่อการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ จาก
• ผู้แทนภาครัฐ สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด /สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กิจกรรมที่ทำจริงวันที่ 19 มกราคม 2560
1.เกริ่นนำ – ความเป็นมางานสร้างสุขภาคใต้ และที่มาห้องย่อย การท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์สมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้
2.การนำเสนอแลกเปลี่ยนการขับเคลื่อนมติการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ งานสร้างสุขภาคใต้ พ.ศ. 2559
การแลกเปลี่ยนสถานการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชน ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอใหม่เพื่อการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ จาก
• ผู้แทนภาครัฐ สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด /สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
|
50 | 32 |
18. สนับสนุนเครือข่ายกขป.เขต 11 สุราษฎร์ธานี |
||
วันที่ 22 มกราคม 2561 เวลา 09:00 น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพื่อเชิญชวนกลุ่มคนที่ทำงานทางสังคมมาร่วมเรียนรู้รากเหง้าประวัติศาสตร์ศรีวิชัยซึ่งเป็นการเรียนรู้ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและความรุ่งเรืองในอดีตที่มีพลัง คุณค่า ความหมาย มาปรับใช้ในการสร้างพลังทางสังคมและการขับเคลื่อนงานทางสังคมต่อไป ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงวันที่ 22 มกราคม 2560 ทำไมเราต้องมาพุดคุยกันเรื่องอาณาจักรศรีวิชัย สิ่งนี้มีความสำคัญกับเราอย่างไร และสำคัญกับอนาคตของเราภาคใต้อย่างไร? โดยอาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธ์ ต้อนรับ ขับบทกลอนปลุกพลังคาถาคุณธรรมพระโพธิสัตว์และเส้นทางนักรบศรีวิชัย สนทนาว่าด้วยเรื่อง “การศึกษาประวัติศาสตร์และคุณค่าความหมายของสังคมการเมือง วัฒนธรรมศรีวิชัย สู่การสร้างขบวนการนักรบพลเมืองในภาคใต้”
อาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธ์ อาจารย์ปรีชา อูยตระกูล เสริมเรื่องเทพปกรณัม
เทพปกรณัม ในอดีตมีความเชื่อว่าเทพปกรณัมคือเทพที่คอยช่วยปกป้องรักษา หรือดลบันดาลให้สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้น มีเรื่องราวและตำนานต่าง ๆ เกิดขึ้น เช่นพระอิศวร หรือแม้กระทั่งเจ้าป่าเจ้าเขาในพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งคนในพื้นที่นั้น ๆ จะให้ความเคารพมาก บางครั้งต้องทำพิธีเพื่อทำความเคารพ เป็นเรื่องวิถีชีวิตและการดำรงอยู่เอความสุขและให้กำลังใจ วันที่ 23 มกราคม 2560 เกริ่นนำโดยอาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธ์ การทำงานเพื่อสังคมเราต้องใช้พลังพลังความกล้าหาญ พลังทางปัญญา ความเมตตา ไม่ใช่เพียงการไปประชุมในเวทีต่าง ๆ ตามสิ่งที่เขาเชิญเท่านั้น พวกเราจำนวนมากทิ้งเวลาไปกับการประชุมแบบเดิม ๆ แต่ขาดการยกระดับเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและมีความล้ำค่า เราจะทำอย่างไรให้มีความล้ำค่า เมื่อเราเจอสถานการณ์ที่มีความยาก เราจะทำตัวอย่างไร คือความท้าทาย เราจะมีปัญญาการปฏิบัติการ เพราะเมื่อถึงเวลาเราจะสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ทัน ดังนั้นเราจำเป็นต้องฝึกให้เป็นนิสัย รู้จักการครุ่นคิด มีสติ เราจึงต้องให้ความสำคัญกับเรื่องการตั้งสติ ใคร่ครวญ เราร่วมกันนั่งสมาธิภาวนานำภาวนา โดยคุณทวีศักดิ์ สุขรัตน์ การภาวนา....เริ่มจากการตั้งจิตของราให้มีความสงบ ใช้มือขวาทับมือซ้าย ใครถนัดสมาธิแบบลืมตาก็สามารถลืมตาได้ แต่หากใครถนัดหลับตาก็หลับตา สำหรับผมเองใช้วิธีการหลับตา เพราะรู้สึกสงบ จากนั้นหายใจเข้า ออก ให้รู้สึกตัวว่าเราหายใจเข้า ออก แล้วตามลมหายใจ เข้า ออก ยาว สั้น จากนั้นขอให้เราทุกคนร่วมปฏิบัติสมาธิภาวนา ประมาณ 5 นาที คุณทวีศักดิ์ สุขรัตน์ การเคลื่อนด้วยสติ สมาธิ ถือเป็นปัญญาญาณ ทำให้จิตมีพลัง
อาจารย์ณัฐพงศ์ จิตนิรัตน์ ได้มีโอกาสดูบรรยากาศยามเช้า สวยงามมาก แต่เมื่อลองเปิดประตูด้านหลังกลับพบว่าด้านหลังมีคลองมีต้นไม้ มีธรรมชาติที่สวยงามมาก ทำให้เกิดความรู้สึกว่าบางครั้งการที่เรามุ่งไปข้างหน้าแต่เรามักจะลืมดูข้างหลังที่สวยงาม ดังนั้น เราต้องหันกลับมาดูข้างหลังด้วยก่อนการก้าวต่อไปข้างหน้า
คุณซิกส์ ได้ทบทวนตัวเองและพยายามตีโจทย์การเรียนรู้ตั้งแต่เมื่อวานว่าเรากำลังมาทำอะไร ?เรามาเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องศรีวิชัยซึ่งไม่ค่อยได้มีโอกาสเรียนรู้ ถือเป็นเรื่องที่มีความแปลกใหม่ แต่รู้สึกว่าการเรียนรู้ครั้งนี้เป็นการเรียนรู้เพื่อให้เราดึงคุณค่าที่มีอยู่เพื่อให้เราดึงเอาพลังคุณค่านั้นไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตของเรา การปฏิบัติภาวนาทำให้เกิดความสงบ มีสติ สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
หมอสุภัทร์ ฮาสุวรรณกิจ ได้ทบทวนตัวเองว่าในช่วงที่ผ่านมาเราจะไม่ค่อยได้ฟังใครมาก เพราะส่วนใหญ่จะถูกเชิญไปให้พูด ไปเป็นวิทยาการ ไปร่วมนำกระบวนการเสียส่วนใหญ่ จึงไม่ค่อยได้ฟังมากนัก ครั้งนี้ได้มานั่งฟังจริง ๆ เมื่อตั้งใจฟังจริง ๆ ที่ไม่ได้รับรู้พียงเรื่องเล่า รู้สึกว่าตัวเองได้อะไรเพิ่มขึ้น
อาจารย์บุญธรรม เทอดเกียรติชาติ โดยส่วนใหญ่ความเป็นมนุษย์มีสามความรู้สึกหลักคือ ฮึกเหิม เฉย ๆ และเศร้าซึม ในยุคนี้หากเราประคับประคองตนเอง สติ ให้มีความมั่นคง สงบ จิตก็จะมีพลัง ยกสิ่งที่ได้เรียนรู้ได้พบเห็นขึ้นมาเป็นความรู้ใหม่ซึ่งจะเป็นความรู้ที่มีปัญญา
คุณทวีวัตร เครือสาย ในการทำงานเราต้องตั้งสติให้ดีเพราะจะมีสิ่งที่เราไม่ได้คาดคิดเข้ามาทำให้การทำงานไม่ราบรื่น ซึ่งในการทำงานจริงนั้นเราต้องพบเจอกับสิ่งที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้เสมอ ครั้งนี้ดีใจที่ได้เจอมิตรที่ดีที่เราห่างหายกันไปนาน ถือเป็นโอกาสที่ดีในการทำงานต่อไป ช่วงหลังมานี้ไม่ได้มีโอกาสไปร่วมงานกับใครมากนัก จะไปเท่าที่จำเป็นเพราะอยากจะทำงานอยู่ในพื้นที่ในท้องถิ่น มาครั้งนี้อยากจะมาร่วมฟังเรื่องราวความรู้จากทุกท่าน เพื่อได้มีโอกาสสั่งสมความรู้สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
อาจารย์ดำรง โยธารักษ์ ได้ทบทวนว่าการทำงานที่ผ่านมาเรามีความเร่าร้อน เร่งรีบ กระวนกระวาย เพราะเราใช้ความรู้ความชำนาญที่มีเป็นปรีชาญาณ ซึ่งสิ่งนี้เป็นขั้นแรก การก้าวเดินของเราต้องมีศรัทธาหากเรามีศรัทธาเชื่อมั่นว่าเราจะก้าวเดินต่อไปได้อย่างมีพลัง
คุณอานนท์ มีศรี ช่วงที่มีการนั่งภาวนาตนเองลืมปิดโทรศัพท์ ในขณะที่นั่งภาวนาจึงมีความรู้สึกกังวลว่าจะมีสายโทรศัพท์เข้ามาแล้วจะทำให้ผู้อื่นเสียสมาธิและกลัวว่าอาจารย์จะดุทำให้ตนเองจดจ่อเพียงว่าเมื่อไหร่จะหมดเวลาเสียทีจะได้รีบปิดโทรศัพท์ หลังจากช่วงเวลาในการภาวนาจบลงรีบมาปิดโทรศัพท์และคลายความกังวลไปมาก ก่อนมาเข้าร่วมครั้งนี้กังวลว่าตนเองจะได้มาหรือไม่เพราะมีภารกิจมากและโดยส่วนตัวรู้ตัวเองดีว่าขาดวินัยในเรื่องเวลาแต่พยายามปรับปรุง ครั้งนี้จึงจะลองปิดโทรศัพท์ในระหว่างการประชุมแต่ยังมีความกังวลอยู่บ้างว่าอาจจะมีใครโทรประสานงานไม่ได้ แต่ก็จะทดลองปิดดู
คุณปิยนาถ ประยูร ช่วงเช้าได้ทบทวนเรื่องวัฒนธรรม ซึ่งมองว่าเรื่องวัฒนธรรมเป็นเรื่องที่สร้างได้ ที่ผ่านมาได้ทำงานและฝึกฝนตนเองจากการติดตามสังเกตการทำงานของอาจารย์ พบว่าการสนทนาบางครั้งมีคลื่นพลังที่ดี แต่บางครั้งคลื่นพลังมีน้อย ความน่าสนใจคือเราจะพบพลังบางอย่างที่เรามองไม่เห็นแต่เราสัมผัสได้ว่ามีพลังเรารู้สึกได้ ในการทำกระบวนการเราจะช่วยกันสร้างสนามพลังร่วมให้เกิดขึ้นได้อย่างไรในวงใหญ่ ซึ่งทุกคนในวงสนทนาจะสามารถร่วมกันสร้างคลื่นพลังนั้นให้เกิดขึ้นได้ อีกประเด็นคือเรื่องการสร้างวัฒนธรรมในการประชุม การอยู่ร่วมกัน ตั้งแต่การเข้าร่วมสนทนา เราเป็นอย่างไร เพื่อนเป็นอย่างไร เราจะเห็นได้ว่าวัฒนธรรมในการสนทนาที่เรามีท่าทีที่เหมาะสม เพื่อนก็สามารถสัมผัสได้ แม้ว่าผู้ที่ไม่เคยเข้าร่วมกระบวนการของอาจารย์ช่วงหลังก็จะเห็นว่าเขาสามารถปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมในการสนทนาได้เร็วและดีมากขึ้น ซึ่งคนที่เข้ามาใหม่จะสามารถเรียนรู้วัฒนธรรมการสนทนาของกลุ่มได้ เขาจะรู้ว่าหากเป็นกลุ่มนี้เขาต้องปฏิบัติตัวในลักษณะนี้วิธีการสนทนาเป็นไปในลักษณะนี้ ซึ่งเราจะสัมผัสได้
คุณหนูพียร แสนอินทร์ นึกถึงเรื่องเทพปกรณัม เพราะอาจารย์พูดถึงเรื่องนี้บ่อย มีความสนใจในเรื่องนี้ซึ่งจะได้มีโอกาสศึกษาต่อ
อาจารย์ปรีชา อูยตระกูล เราเป็นผู้รับพลังจักรวาลมาสู่ตน หลายครั้งมีกลุ่มคนที่คอยทำพิธีการต่าง ๆ เพื่อติดต่อกับสิ่งศักดิ์สิทธิ เช่น เฒ่าจ้ำ ซึ่งเป็นคนทำพิธีกรรมติดต่อกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของทางภาคอีสาน เขาก็จะมีความเชื่อบางอย่างในการทำให้เกิดพลังความศักดิ์สิทธิให้เกิดขึ้น และกลายเป็นความเชื่อความศรัทธาของคนในชุมชน ซึ่งพลังแห่งอดีตนั้นมีอยู่แล้วเราเป็นผู้รับพลังจักรวาลมาสู่ตนเพื่อกระทำการบางอย่างต่อไป อาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธ์ ชวนคิดชวนคุยต่อ
เมื่อวานเราสัมผัสได้ว่าเรื่องที่เรากำหนดไว้ไม่ได้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ พลังกระจัดกระจาย มีแต่ความกังวล ไม่สมหวังไม่ได้ดังใจ แต่เราพยายามจูลคลื่นพลังขึ้นมาใหม่ ปรับใหม่ เพื่อสร้างพลังขึ้นมาใหม่ ช่วงที่อาจารย์บุญธรรมได้กล่าวบทคาถาปลุกใจและบทพระโพธิสัตว์ เราจะเห็นได้ว่าพลังเริ่มก่อตัวขึ้นมา จากความสับสน หดหู่ สิ้นหวัง เราค่อย ๆ ฟอร์มพลัง ความรู้สึก สภาวะ ขึ้นมาใหม่ จัดคลื่นพลังใหม่ จัดระเบียบคลื่นพลัง วันนี้การสนทนาของเราก็เริ่มมีพลังมากขึ้น เราทุกคนรู้สึกได้
อาจารย์ปรีชาพูดถึงเรื่องเฒ่าจ้ำ ซึ่งมีความน่าสนใจ เราเป็นเพียงคนส่วนน้อย แต่หวังว่าคนส่วนน้อยที่มีพลังจะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้เป็น Power of action ที่สามารถผูกโยงความหวัง กำลังใจ ความตั้งใจของผู้คนเข้ามา โดยส่วนตัวรู้สึกว่าคนจำนวนไม่น้อยกำลังสิ้นหวังและกำลังรอคอยความหวัง แต่คนไทยมีความเฉพาะที่น่าสนใจคือในท่ามกลางความสิ้นหวังคนไทยยังสามารถยิ้มได้หัวเราะได้ ไม่ถึงขั้นล้ม แม้ไม่มีความหวังแต่ก็ยังไม่ทั้งสิ่งที่หวังไม่ยอมแพ้ง่าย ๆ แต่ความฮึกเหิมมีน้อยลง สมาธิจิตความมุ่งมั่นมีน้อยลง คนจำนวนมากกำลังรอความหวังซึ่งความหวังนั้นไม่ได้มาจากนักการเมืองหรือใครอื่น แต่ความหวังเหล่านั้นมาจากคนกลุ่มเล็ก ๆ ที่ไม่ค่อยมั่นใจในความหวังของตนมากนัก
ถึงเวลาแล้วหรือเปล่าที่เราต้องร่วมกันสร้างความหวังความมั่นใจให้คนเล็ก ๆ จำนวนหนึ่งให้เขาได้มีความมั่นใจในสิ่งที่ตนเองทำและยกระดับต่อทำให้ดี มีพลังขึ้นกว่าเดิม หากจิตบอกว่าเราคงทำได้ประมาณนี้ ทำให้รอด ๆ ไป เราก็คงจะสามารถทำได้เพียงเท่านี้ แต่หากจิตคิดใหญ่กว่านั้นเราจะสามารถทำได้ใหญ่กว่านั้น เรามีบรรพบุรุษช่วยหนุนเสริมเป็นลมใต้ปีกที่คอยช่วยโอบอุ้มเรา เหตุการณ์หนึ่งที่น่าสนใจคือทหารอเมริกันมีอาวุธยุทธโทรปกรณ์เหลือคณานัปซึ่งไม่เคยมีใครคิดว่าทหารเวียดกง เวียดนามจะสู้เขาได้แต่เขาก็สู้ได้จากกองกำลังเล็ก ๆ มีปืน ดาบ ปืนพก ซึ่งมีอาวุธจำนวนน้อยเป็นกองกำลังเล็ก ๆ แต่ก็เติบโตขึ้นจนสามารถตั้งกองกำลังต่อสู้กับเอมริกาได้ ทำไมเขาจึงสู้ได้ หรือแม้กระทั่งทหารไทยเองก็มักจะมีของขลังเพื่อสร้างความฮึกเหิม มนุษย์เรานั้นมีความมหัศจรรย์ภายในบางอย่างที่สามารถทำบางสิ่งบางอย่างได้ ช่วงแบ่งกลุ่มย่อย แลกเปลี่ยนสิ่งที่ฉุกคิดใหม่
กระบวนการแบ่งกลุ่มย่อย 2 กลุ่มแล้วแต่ละกลุ่มร่วมสนทนาการเรียนรู้สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วแบ่งปันให้เพื่อนในกลุ่มได้รับทราบ
สรุปแบ่งปันการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น
- ประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่มีความศักดิ์สิทธิ์ สามารถปลุกให้เราลุกขึ้นสู้ด้วยความฮึกเหิมได้
- ความเชื่อ ศรัทธา จะนำมาสู่ความรัก หวงแหนแผ่นดินเกิด เคารพในพื้นที่ศักดิ์สิทธิ
- การสร้างประวิติศาสตร์สามัญชนจะสามารถสร้างความรักความภูมิใจในแผ่นดิน เราต้องใส่ใจกับประวัติศาสตร์สามัญชนแล้วนำมาเป็นพลังเพื่อร้อยคนเข้าร่วมปกป้องแผ่นดินเกิด
- การจัดคลื่นพลังที่หลากหลายให้สามารถนำมาเคลื่อนร่วมกันได้เป็นศิลปะการทำงาน เราต้องใช้คลื่นพลังที่ต่าง กระจัดกระจายมาจัดคลื่นพลังร่วมเพื่อทำงานร่วมกัน
- การหันกลับมาทำงานเล็ก ๆ ในชุมชนมากขึ้น แล้วนำเอาบทเรียนที่ได้เรียนรู้มาปรับใช้จริงเพื่อสร้างรูปธรรมในพื้นที่เป็นเรื่องที่สามารถสร้างการยอมรับในการทำงาน อาจารย์ชัยวัฒน์ ตั้งคำถามชวนคุยเพิ่มเติม
การภาวนาไม่ใช่เพียงการนั่งนิ่งแล้วบริกรรมยุบหนอ พองหนอ เท่านั้น การภาวนาที่ง่ายจะ
เกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราใส่ใจ มีสติ ตระหนักรู้กับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นข้างหน้าและเกิดขึ้นกับเรา เชื่อว่าวันนี้เรามีความสุข ทำไมเราถึงมีความสุข บางคนอาจจะบอกว่าเราได้กลิ่นของอดีต แต่เราเคยถามตัวเองบ้างหรือไม่ว่าทำไมเราถึงมีความสุขแล้วความสุขนั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร อาจารย์ชัยวัฒน์ ชวนมองเพิ่มเติม
การร่วมสนทนาของเราถือเป็นการสานพลัง แต่เป็นการสานพลังที่เราไม่ต้องพูดว่าสานพลัง ช่วงค่ำ วงสนทนาหลังรับประทานอาหารค่ำ
ปลุกหัวใจคนด้วยพลังจิตวิญญาณบรรพบุรุษ การค้นหาความลี้ลับมหัศจรรย์เราจับที่ใจของเรา การกลับมาหาพลังของบรรพบุรุษคือความสุขและมีพลัง การก้าวเดินแต่ละครั้งขอให้เรามีศักดิ์ศรีแล้วจะกลายเป็นความศักดิ์สิทธิ์ ไม่หวาดหวั่น ไม่หวั่นไหว ขอพียงเราเคารพนอบน้อมกตัญญูต่อบรรพบุรุษแล้วจะมีพลังบางอย่างจากบรรพบุรุษที่โอบอุ้มเราเป็นพลังให้เรารักษาแผ่นดินต่อไป
การร่วมสร้างชุมชนแห่งสำนึกอย่ารีบร้อน เราต้องมีสติสร้างความร่วมมือกับกลุ่มคน ชวนให้ชุมชนเห็นพลังของความลี้ลับมหัศจรรย์ นำพลังของบรรพบุรุษมาช่วยหนุนเสริมโอบอุ้มในการก้าวเดินของเรา ขอเพียงเราหากุญแจความลี้ลับมหัศจรรย์ให้พบแล้วเราจะสามารถเชื่อมร้อยกลุ่มคนในสังคมเพื่อร่วมสร้างชุมชนแห่งสำนึกได้ สังคมใหม่อยู่ที่เราบ่มเพาะปัจจุบันดังนั้นเราต้องสร้างคนคุณภาพ มีปัญญาในวันนี้เพื่อสร้างสังคมที่มีคุณภาพ
การสู้รบที่มีพลังต้องใช้ปัญญา ความรัก ความเมตตา เพราะศึกครั้งหน้าใหญ่หลวงนัก การสู้รบครั้งหน้าอาจจะเป็นการสู้รบครั้งสุดท้ายสำหรับบางคน แต่การต่อสู้ครั้งหน้าจะไม่เหมือนเดิม การต่อสู้เราจะเห็นวิธีการที่แปลกใหม่มากขึ้น ไม่ใช่การเดินออกมาประท้วงแต่อาจจะมีการใช้สื่อมากขึ้น ตัวละครที่จะเล่นก็มีมากขึ้น พวกเราเป็นเพียงตัวละครหนึ่งในสนามรบเท่านั้น สิ่งที่เราน่าจะทำได้คือชวนเพื่อนมิตรหาแนวร่วมเพื่อร่วมรบ เห็นศัตรูร่วมเราจึงจับมือกันรบ แต่การรบต้องสร้างสิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นอย่างมีคุณภาพ ซึ่งต้องใช้ทั้งฐานข้อมูล ความรู้ ปัญญา และใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารและสร้างเครือข่ายที่มีพลัง วันที่ 24 มกราคม 2560 สมาธิภาวนา...สร้างสนามพลังแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน เช็คอิน สนทนายามเช้า (กระบวนการ ผู้เข้าร่วมที่อยากจะแบ่งปันการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น บอกเล่าแบ่งปันให้เพื่อนได้รับทราบด้วยบรรยากาศสบาย ๆ ) คุณปรีชา อูยตระกูล ฉุกคิดเรื่องการรบครั้งหน้า จะเป็นการรบครั้งสุดท้าย ในฐานะนักรบที่อยากจะเห็นสิ่งดี ๆ เรารบอย่างต่อเนื่องเพื่อการเปลี่ยนแปลง การรบของเรา...ไม่มีครั้งสุดท้าย คุณทวีศักดิ์ สุขรัตน์ สังเกตเห็นว่าการพุดคุยของพวกเราใช้ภาที่มีพลัง ปลุกเร้า ให้กำลังใจ การรบครั้งสุดท้ายบอกให้เรารู้ว่าเราไม่มีเวลาอีกแล้ว พลังทางจิตวิญญาณเป็นพลังแห่งกายที่สัมผัสได้จากสิ่งรอบข้าง เราจะชนะ ใจเราและสิ่งรอบข้างที่ดำลังเข้ามา คุณรัตนา ชูแสง ฉุกคิดเรื่องการรบครั้งสุดท้าย มองว่าการรบครั้งสุดท้ายไม่ใช่การรบเพียงเพื่อเราอยู่รอดแต่การรบครั้งสุดท้ายเป็นการรบเพื่อปกป้องแผ่นดินทีมีเถ้าถ่านของบรรพบุรุษ คุณนิวัตร์ โฮ้เต้กิ้ม เรื่องอะไรที่เราไม่รู้แต่มีสัญญาณบางอย่าง การยังคงอยู่ของภูมินิเวศน์อันศักดิสิทธิ์ การสร้างเครือข่ายเล็ก ๆ ให้เติบโต มีพลัง มีความศักดิ์สิทธิ์ คุณบุญธรรม เทอดเกียรติชาติ เรื่องพิธีกรรมไม่ได้เป็นสิ่งที่มีอยู่เดี่ยว ๆ แต่มีความเชื่อมโยงกับจารีต ปัจจุบันเห็นได้ว่าเรากำลังเลี้ยงลูกแบบนกกาเหว่า ไข่ให้แม่กาฟัก เราเองก็ส่งลูกไปให้โรงเรียนดูแลตั้งแต่เด็ก อยากชวนมองเรื่ กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนเป็นการพบเจอกันของคน 3 วัย 3 รุ่น ร่วมเรียนรู้ learn how to learn and learn how to coach หัวข้อที่เราจะร่วมสนทนา คือ ทำไมการศึกษาประวัติศาสตร์และคุณค่าความหมายของสังคม การเมือง วัฒนธรรมศรีวิชัย จึงมีความหมายในการสร้างขบวนการนักรบพลเมืองในภาคใต้ ได้พลังสาระความรู้สู่การนำไปใช้ขับเคลื่อนงานทางสังคม จะช่วยตั้งคำถามชวนให้พวกเรามองเห็นสิ่งที่มองข้ามไปเพื่อตั้งหลักอย่างมีสติก่อนจะเคลื่อนต่ออย่างมีพลังและร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญอีกครั้ง กิจกรรมที่ทำจริง“ เรียนรู้รากเหง้าประวัติศาสตร์ศรีวิชัย...สู่การสร้างพลังทางสังคม ”
|
30 | 20 |
19. เวทีเรียนรู้ประวัติศาสตร์ศรีวิชัยสู่การสร้างพลังทางสังคม |
||
วันที่ 22 มกราคม 2561 เวลา 09:00-16:00 น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้1.เพื่อต้องการข้อมูลเพื่อการสื่อสารด้านประวัติศาสตร์ 2.เพื่อการเชื่อมโยงประเด็นทางสุขภาวะกับเครือข่ายอื่นๆ ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงเวทีเรียนรู้ประวัติศาสตร์ศรีวิชัยสู่การสร้างพลังทางสังคม มีเป้าหมายเพื่อเชิญชวนกลุ่มคนที่ทำงานทางสังคมมาร่วมเรียนรู้รากเหง้าประวัติศาสตร์ศรีวิชัยซึ่งเป็นการเรียนรู้ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและความรุ่งเรืองในอดีตที่มีพลัง คุณค่า ความหมาย มาปรับใช้ในการสร้างพลังทางสังคมและการขับเคลื่อนงานทางสังคมต่อไป หัวข้อที่เราร่วมสนทนา คือ ทำไมการศึกษาประวัติศาสตร์และคุณค่าความหมายของสังคม การเมือง วัฒนธรรมศรีวิชัย จึงมีความหมายในการสร้างขบวนการนักรบพลเมืองในภาคใต้ การสนทนาครั้งนี้เป็นการพบเจอกันของคน 3 วัย 3 รุ่น ร่วมเรียนรู้ learn how to learn and learn how to coach ร่วมสนทนากันด้วยบรรยากาศแห่งเพื่อนมิตร ครู ศิษย์ ผ่อนคลาย สบาย ๆ แต่ได้พลังสาระความรู้สู่การนำไปใช้ขับเคลื่อนงานทางสังคม เริ่มต้นเปิดวงคุยโดยการเชิญอาจารย์บุญธรรม เทิดเกียรติชาติ ขับบทกลอนปลุกพลังคาถาพระโพธิสัตว์และเส้นทางนักรบศรีวิชัย จากนั้นคณะผู้เข้าร่วมช่วยเล่าเรื่องราวศรีวิชัยในอดีตและการเชื่อมโยงกับปัจจุบัน ตลอดช่วงระหว่างการสนทนาอาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ ได้ช่วยตั้งคำถามชวนให้ผู้เข้าร่วมได้มองเห็นสิ่งดี มีพลัง คุณค่า ความหมายในอดีตที่แต่ละคนมองข้ามไป เพื่อตั้งหลักอย่างมีสตินำบทเรียนที่มีค่าในอดีตมาปรับใช้กับปัจจุบัน ก่อนจะเคลื่อนต่ออย่างมีพลังเพื่อร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญอีกครั้ง เกิดวงคุยผ่านรายการ “กินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้” กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนทัศนะการขับเคลื่อนขบวนประชาสังคมภาคใต้ ในหัวข้อ "ทำไมการศึกษาประวัติศาสตร์และคุณค่าความหมายของสังคม การเมือง วัฒนธรรมศรีวิชัย" และมีข้อสรุปร่วมกันที่จัดให้มีการเรียนรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์บทเรียนจากคนสามรุ่น สามวัยเพื่อยกระดับการเคลื่อนไหวทางสังคมไทยให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง และการสื่อสารผ่าน fb live กิจกรรมที่ทำจริงแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในหัวข้อ "ทำไมการศึกษาประวัติศาสตร์และคุณค่าความหมายของสังคม การเมือง วัฒนธรรมศรีวิชัย" และลงพื้นที่เขาศรีวิชัย บันทึกเทป รายการล้อมวงคุย
|
50 | 1 |
20. เวทีเสวนา สมุยโมเดล “เตรียมวางแผนกิจกรรมเดินรอบเกาะ” |
||
วันที่ 23 มกราคม 2561 เวลา 08:00-17:00 น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้1.วางแผนหารือ และรวบรวมข้อมูลพื้นที่ 2.เพื่อต้องการสื่อสารประเด็นการขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อม 3.เพื่อต้องการให้คนทั่วไปได้รับรู้สถานการณ์จริงในเกาะสมุยกับการปกป้องถิ่นฐานบ้านเกิด ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output)
ในพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์จากเครือข่ายสื่อชุมชนท้องถิ่น ผลลัพธ์ (Outcome) คนในพื้นที่ได้มีโอกาสได้สื่อสารและได้แลกเปลี่ยนผ่านช่องทางสื่อสารของชุมชนตนเอง กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน1.การสื่อสารผ่านการถ่ายทอดสดในระบบทีวีออนไลน์ กิจกรรมที่ทำจริงลงพื้นที่เพื่อทำคลิป รณรงค์ ประเด็นการจัดการขยะ
ถ่ายทอดสดและบันทึกเทป เพื่อมาออกรายการ กินอิ่ม นอนอุ่น บนแผ่นดินใต้
|
30 | 2 |
21. เวทีถกเถียงสาธารณะ ”เสวนาการจัดการน้ำเมืองคอน ทั้งระบบแบบมีส่วนร่วม “ |
||
วันที่ 26 มกราคม 2561 เวลา 09:00 - 16:00 น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงนำประเด็นธรรมมะกับ พระมหาบุญธรรม เจ้าอาวาสวัดท้าวโคะอ.พรหมคีรีความเป็นมาเมืองนครศรีธรรมราช ในอดีตมีชื่อเรียกดินแดนแถบนี้หลายชื่อ ที่ตะวันตกนิยมเรียกกันมาจนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คือ "ลิกอร์" สันนิษฐานว่าชาวโปรตุเกสที่เข้ามาติดต่อค้าขายในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นเป็นผู้เรียกก่อน โดยเพี้ยนมาจากคำว่า "นคร" ส่วนชื่อ "นครศรีธรรมราช" มาจากพระนามของกษัตริย์ผู้ครองนครในอดีต ทรงมีพระนามว่า "พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช" (ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช) มีความหมายว่า "นครอันเป็นสง่าแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม" หรือ "เมืองแห่งพุทธธรรมของพระราชาผู้ยิ่งใหญ่" สืบทอดมาจาก ลังกาวง และเป็นแม่บทให้กับสุโขทัยในแบบธรรมศาสตร์ เวียง วัง คลัง นา เสวนาถกเถียงสาธารณะ“การจัดการน้ำเมืองคอน ทั้งระบบแบบมีส่วนร่วม”
ผู้เข้าร่วมเสวนา
1. ผู้อำนวยการโครงการชลประทาน จังหวัดนครศรีธรรมราช
2. อาจารย์สุธีระทองขาวอารจารย์จากมหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช
3. ตัวแทนต้นน้ำ คุณศิริภัคนาคบาศว์
4. ตัวแทนกลางน้ำ โดยณัฐวีร์ภูมี
5. ตัวแทนปลายน้ำ โดย อาจารย์นิเวศน์วนคุณากร
นำสานเสวนาโดย ดร.มัลลิกาสุบงกฎ อาจารย์ประจำสาขาบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ • สถานการณ์น้ำของเมืองนครเป็นอย่างไร ผอ.ชลประทาน จังหวัดนครศรีธรรมราชมีการใช้น้ำในส่วนของการเกษตร การประปา ปัจจุบันสถานการณ์น้ำในจังหวัด ได้มีการพัฒนา พื้นที่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช มี 23 อำเภอ มีพื้นที่ 6 ล้านไร่เศษ มีพื้นที่ที่ทำการเกษตรได้ 3 ล้านไร่เศษ และเป็นพื้นที่ที่ใช้น้ำจำนวนมากในช่วงฤดูแล้งในบางปีจะมีปัญหามากมายจะขาดแคลนน้ำ พื้นที่ชลประทานมีประมาณ 8 แสนไร่เศษ ปัญหา 1. การพัฒนาแหล่งน้ำดำเนินการช้าเมื่อเทียบกับที่อื่น 2. การบริหารจัดการน้ำยังไม่คลอบคลุม/หลายหน่วยงานไม่มีการร่วมมือกัน รวมถึงภาคเอกชน การพัฒนาพื้นที่ชลประทานในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราชมีแหล่งน้ำหลักๆคือ 1. อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำไส อ.ชะอวด เก็บน้ำได้ 8 ล้าน ลบ.ม. 2. อ่างเก็บน้ำอ.พิปูนสามารถเก็บน้ำได้จำนวนมาก มีประโยชน์ทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝน 3. อ่างเก็บน้ำคลองดินแดงอ.พิปูน เกิดขึ้นเนื่องจากการเกิดอุทกภัยอย่างรุนแรงในปี 2531 ปัจจุบันหน้าแล้งเก็บน้ำได้ 60 ล้านลูกบาทเมตร ไปใช้ในพื้นที่รอบๆอ่างเก็บน้ำ 4. อ่างเก็บน้ำเสม็ด อ.ทุ่งใหญ่ เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ใช้สำหรับอุปโภค บริโภค แผนงานของชลประทานในปี 61 อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน โครงการของชลประทานต้องชะลอไว้ก่อนพื้นที่เกษตรจำนวน 3 ล้านไร่ ต้องมีการใช้น้ำจำนวนมหาศาล แต่ละหน่วยงานแบ่งกันทำ ทำให้เกิดความล่าช้าในการบริหารจัดการน้ำ สถานการณ์น้ำในปัจจุบันของพื้นที่ต้นน้ำ โดย นางศิริภัคนาคบาศ
พื้นที่ต้นน้ำคีรีวง มีสภาพสมบูรณ์มากในอดีต มีปัญญาเรื่องน้ำหลากซึ่งเป็นปัญหาที่น่ากลัวมาก ตั้งแต่ปี 35 จนถึงปัจจุบัน มีเพียงปี 2554 มีเหตุการณ์น้ำท่วมหนักมากใน จ.นครศรีธรรมราช ท่วมพื้นที่เศรษฐกิจ ปลายปี 59 มีน้ำท่วมมากเช่นกัน ท่วมเป็นเวลานาน 4 วัน ปลายปี 60 เจอเหตุการณ์น้ำท่วมในวันที่ 6 มกราคม มีปริมาณน้ำฝนมาก ปริมาณน้ำฝนรวมของปี 54 และ 60 จะเห็นว่าปี 60 มีปริมาณน้ำมากกว่าปี 54 แต่ในปี 60 น้ำไม่ท่วมในเขตตัวเมืองด้านใน สถานการณ์น้ำในปัจจุบันของพื้นที่กลางน้ำ โดยนายณัฐวีร์ภูมี
พื้นที่กลางน้ำรับน้ำมาจากต้นน้ำคือคีรีวง เป็นพื้นที่น้ำท่วมหลาก ซึ่งเป็นเหตุการณ์ปกติ มีพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลแค่ 20-30 เมตรเป็นพื้นที่ราบลุ่มปัจจุบันปัญหาเรื่องน้ำท่วมขังเกิดจากการสร้างถนน สมัยก่อนมีการเตรียมตัวเพื่อรองรับกับสถานการณ์น้ำท่วมปัญหาอีกเรื่องคือหลักจากฤดูน้ำหลากผ่านไป เพียงแค่ 1 เดือนก็เกิดปัญหาน้ำแล้งขาดน้ำปัจจุบันมีการสร้างนบ เพื่อกักเก็บน้ำรวมถึงการสร้างฝายขึ้นมาเพื่อคงความสมบูรณ์ของพื้นที่ มีการแก้ปัญหาในระบบนิเวศน์ โดยการใช้คลองธรรมชาติในการกักเก็บน้ำ ปัจจุบันน้ำในบ่อดินที่หายไป ได้มีการฟื้นตัวมีน้ำจากบ่อดินใช้ในการดำเนินชีวิต สถานการณ์น้ำในปัจจุบันของพื้นที่ปลายน้ำ (อ.นิเวศน์)
ปัจจุบันหาคนที่จะมาพัฒนาบ้านเมืองได้น้อยลงต้องมีการชักจูงลูกหลานคนรุ่นใหม่ให้หันมาสนใจกับเหตุการณ์บ้านเมืองให้มากขึ้นเพื่อร่วมกันพัฒนาบ้านเมืองให้มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น ปัญหาสำคัญในการบริหารจัดการน้ำคือการมีส่วนร่วมในการจัดการ
ปัจจุบันในตัวเมืองนครมีการบริหารจัดการน้ำเป็นอย่างไร
การบริหารจัดการน้ำสิ่งที่สำคัญคือนครจะเดินไปในทิศทางไหน ต้องมีการวางแผนเป็นอย่างดี มีแนวทางที่ชัดเจนโดยเฉพาะในตัวเรื่องของผังเมืองเป็นสิ่งที่สำคัญมากแต่เมืองนครยังไม่มีการประกาศใช้ผังเมืองอย่างเป็นรูปแบบที่ชัดเจนรวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ต้องมีการปรับตัวและเรียนรู้ที่จะอยู่กับการเปลี่ยนแปลง ต้องมีวิถีชีวิตของคนในอดีตควบคู่ไปกับปัจจุบันคนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่โดยไม่สนในและใส่ใจว่าสภาพแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ต้องตระหนักว่าปัจจุบันเรามีการดำเนินชีวิตอยู่ภายใต้ปัจจัยความเสี่ยงมากมายพื้นที่ต้นน้ำ/กลางน้ำ/ปลายน้ำ ต้องมีการเอื้ออาทรกัน
ภาคใต้มีลักษณะเป็นลุ่มน้ำย่อยๆ และทีทางน้ำระยะสั้น มีเทือกเขาหลวงเป็นเทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคใต้มีทางน้ำที่ชันสูงมาก เราต้องมีความเข้าใจในบริบทของน้ำ ต้องมีการพิจารณาว่าสิ่งไหนที่เสี่ยงและเราสามารถที่จะเรียนรู้และอยู่กับมันได้หรือไม่
ปัจจุบันการสร้างบ้านครัวเรือน ทุกคนจะไม่สนใจในเรื่องของการกักเก็บน้ำ เน้นแต่การใช้น้ำประปา ทำให้เกิดปัญหาเรื่องขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ข้อเสนอแนะจากทางบ้าน
1.ต้องมีการรวมตัวกันของคนในพื้นที่ บทวิเคราะห์สรุปสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ พบว่าพื้นที่ต้นน้ำ ปริมาณน้ำมีมากแต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำตลอดทั้งปี ไม่มีระบบกักเก็บน้ำ ชะลอ, รักษาที่มีคุณภาพและไม่เข้าใจระบบนิเวศน์ ขาดกฎเกณฑ์การใช้น้ำ มีการแก้ปัญหาน้ำแบบไม่มีส่วนร่วม ป่าต้นน้ำลดปริมาณลงการปลูกพืชเปลี่ยนสภาพเป็นการปลูกพื้นเชิงเดี่ยว การกัดเซาะตลิ่งทรายจากตลิ่งที่พังทำให้ลำน้ำตื้นเขิน พื้นที่กลางน้ำ ทรายกอง คลองแคบ ต้นเลารุกคลอง น้ำเปลี่ยนทิศทาง ลักลอบขายทรายแบบแยบยล “ขุดบ่อล่อทราย”ถนนขวางทางน้ำคลองหายไปจากเดิม ขยะในลำคลอง น้ำไม่พอใช้ในการอุปโภค และพื้นที่ปลายน้ำน้ำเค็มรุกน้ำจืด น้ำไม่เพียงพอในการอุปโภค ขาดเจ้าภาพในการจัดการ น้ำเสียจากชุมชนเมือง ทะเลงอกผิดทางน้ำ ความต้องการแก้ปัญหา 1. การสร้างนบ เพื่อกักเก็บน้ำรวมถึงการสร้างฝายขึ้นมาเพื่อคงความสมบูรณ์ของพื้นที่ 2. การใช้คลองธรรมชาติในการกักเก็บน้ำ 3. สร้างความเข้าใจในเรื่องของการกักเก็บน้ำให้กับชาวบ้านในพื้นที่ 4. หน่วยงานรัฐต้องมีการทำข้อมูลของพื้นที่นั้นๆ ในการจะพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด 5. ให้มีการประกาศใช้ผังเมืองอย่างเป็นรูปแบบที่ชัดเจนผ่านการทำประชาคมอย่างแท้จริง 6. มีการปรับตัวและเรียนรู้ที่จะอยู่กับการเปลี่ยนแปลง ต้องมีวิถีชีวิตของคนในอดีตควบคู่ไปกับปัจจุบัน 7. มีความเข้าใจในบริบทของน้ำ กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน1.พระมหาบุญธรรม เจ้าอาวาสวัดท้าวโคะอ.พรหมคีรี เล่าความเป็นมาเมืองนครศรีธรรมราช 2. เวทีถกเถียงสาธารณะ "การจัดการน้ำเมืองคอน ทั้งระบบแบบมีส่วนร่วม" ผู้เข้าร่วมเสวนา 1. ผู้อำนวยการโครงการชลประทาน จังหวัดนครศรีธรรมราช 2. อาจารย์สุธีระทองขาวอารจารย์จากมหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช 3. ตัวแทนต้นน้ำ คุณศิริภัคนาคบาศว์ 4. ตัวแทนกลางน้ำ โดยณัฐวีร์ภูมี 5. ตัวแทนปลายน้ำ โดย อาจารย์นิเวศน์วนคุณากร นำสานเสวนาโดย ดร.มัลลิกาสุบงกฎ อาจารย์ประจำสาขาบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ กิจกรรมที่ทำจริง1.พระมหาบุญธรรม เจ้าอาวาสวัดท้าวโคะอ.พรหมคีรี เล่าความเป็นมาเมืองนครศรีธรรมราช 2. เวทีถกเถียงสาธารณะ "การจัดการน้ำเมืองคอน ทั้งระบบแบบมีส่วนร่วม" ผู้เข้าร่วมเสวนา 1. ผู้อำนวยการโครงการชลประทาน จังหวัดนครศรีธรรมราช 2. อาจารย์สุธีระทองขาวอารจารย์จากมหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช 3. ตัวแทนต้นน้ำ คุณศิริภัคนาคบาศว์ 4. ตัวแทนกลางน้ำ โดยณัฐวีร์ภูมี 5. ตัวแทนปลายน้ำ โดย อาจารย์นิเวศน์วนคุณากร นำสานเสวนาโดย ดร.มัลลิกาสุบงกฎ อาจารย์ประจำสาขาบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
|
200 | 200 |
22. เวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ |
||
วันที่ 28 มกราคม 2561 เวลา 08:00-17:00 น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพื่อรับทราบและเตรียมนำข่าวสารของโครงการโรงไฟฟ้า พลังความร้อนกระบี่ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยไปสื่อสารทางช่องทางสื่อสารออนไลน์และสื่อโซเชียลมีเดีย ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงชาวกระบี่ที่ให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟังและนำเสนอความคิดเห็นหลากหลายมุมมองในการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น ค.1 โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ (ส่วนขยาย ครั้งที่ 1) กว่า 2,500 คน ซึ่งข้อคิดเห็นทั้งหมด บริษัท แอร์เซฟ จำกัด จะนำไปกำหนดขอบเขต และหามาตรการป้องกันและแก้ไขตามที่ประชาชนห่วงกังวล ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นในครั้งต่อไป วันนี้ (28 มกราคม 2561) นางมีนา พิทยโสภณกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอร์เซฟ จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ ขอขอบคุณชาวกระบี่ที่ให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟัง แสดงความคิดเห็นและข้อวิตกกังวล รวมทั้งสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ ในเวทีการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Scoping หรือ ค.1) ซึ่งเป็นหนึ่งในขั้นตอนการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ (ส่วนขยาย ครั้งที่ 1) ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ตั้งแต่เวลา 13.00 - 17.00 น. ซึ่งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีชาวกระบี่และผู้สนใจทุกภาคส่วนเข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็น จำนวน 2,630 คน โดยมีผู้แจ้งแสดงความคิดเห็นด้วยวาจา จำนวน 57 คน สำหรับประชาชนที่ร่วมนำเสนอความคิดเห็นบนเวที ส่วนใหญ่เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อห่วงกังวลต่อการขยายเขตของกองทุนพัฒนาไฟฟ้า การพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าต้องคำนึงถึงผลกระทบด้านจิตใจและวิถีชีวิตของชุมชน และด้านการสื่อสารข้อมูลโครงการควรบอกทั้งข้อดีและข้อด้อยไปพร้อมกัน เพื่อให้ประชาชนมีข้อมูลรอบด้านในการตัดสินใจ เป็นต้น โดยข้อคิดเห็นของประชาชนทั้งหมด บริษัท แอร์เซฟ จำกัด จะนำไปกำหนดขอบเขตและหามาตรการเพื่อหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาให้ครอบคลุมข้อห่วงกังวลของประชาชนในพื้นที่ทั้ง 4 ตำบล ได้แก่ ต.คลองขนาน ต.ปกาสัย ต.คลองท่อมใต้ และ ต.โคกยาง และหลังจากนี้จะเป็นการทำ ค.2 (Public Screening) โดยการลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์และพูดคุยกับกลุ่มประชาชนในพื้นที่ศึกษาอย่างใกล้ชิด หลังจากนั้นจะเป็นขั้นตอนการทบทวนและรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างรายงาน EHIA หรือ ค.3 (Public Review) ต่อไป ด้านว่าที่ พ.ต. อนุชาต ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการชุมชนสัมพันธ์และสิ่งแวดล้อมโครงการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า ขอขอบคุณชาวกระบี่ที่ให้ความสนใจและเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำรายงาน EHIA ตั้งแต่ต้น ที่มารับฟังและร่วมแสดงความคิดเห็นกันอย่างเนืองแน่น ซึ่งข้อคิดเห็นของท่านจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและจัดทำรายงาน การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) โดย กฟผ. และบริษัทที่ปรึกษาจะนำไปกำหนดกรอบการจัดทำแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในการจัดทำ ค.2 และ ค.3 เพื่อให้การจัดทำรายงานมีความถูกต้องครบถ้วน และเกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียอย่างทั่วถึง ครอบคลุมทุกข้อห่วงกังวลอย่างแท้จริง ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนมั่นใจว่า กฟผ. มุ่งมั่นในการสร้างความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้าในภาพรวมของประเทศ โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและชุมชนเป็นสำคัญ เพื่อให้โรงไฟฟ้าสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่าง เป็นมิตรอย่างแท้จริง ชุมชนโดยรอบพื้นที่โรงไฟฟ้ามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนเป็นเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โครงการโรงไฟฟ้า พลังความร้อนกระบี่ (ส่วนขยาย ครั้งที่ 1)และเพื่่อให้ กฟผ. ศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ใหม่ กิจกรรมที่ทำจริงเป็นเวทีแลกปลี่ยนความคิดเห็น เสนอแนวทางการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจ โดยในเวทีดังกล่าวได้มีประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Scoping หรือ ค.1) โครงการโรงไฟฟ้า พลังความร้อนกระบี่ (ส่วนขยาย ครั้งที่ 1) ตามขั้นตอนกฎหมาย เปิดให้ประชาชนทุกภาคส่วนร่วมแสดงความเห็นอย่างเปิดกว้าง ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งในขั้นตอนการศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและด้านสุขภาพ (EHIA) ครอบคลุมทุกข้อห่วงกังวลเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างแท้จริง
|
2,500 | 3 |
* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น
ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ
ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการ | ทั้งหมด | ทำแล้ว | 10% | 20% | 30% | 40% | 50% | 60% | 70% | 80% | 90% | 100% |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
การทำกิจกรรม | ||||||||||||
การใช้จ่ายงบประมาณ | 2,500,000.00 | 0.00 | ||||||||||
คุณภาพกิจกรรม |
ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)
ประเด็นปัญหา/อุปสรรค | สาเหตุเพราะ | แนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน |
---|---|---|
|
|
|
แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป
- เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการพลังการสื่อสาร เผยเเพร่ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสู่การเปลี่ยนแปลงสุขภาวะ ( 12 ก.พ. 2561 - 13 ก.พ. 2561 )
- เวทีเชื่อมโยงเครือข่ายสื่อจังหวัดตรัง ( 21 ก.พ. 2561 )
- เวทีประเด็นเหล้ากับระบบสุขภาพคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ( 25 ก.พ. 2561 )
- เวทีประเด็นอุบัติเหตุกับแผนพัฒนาจังหวัดระนอง ( 26 ก.พ. 2561 )
- สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้(การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดกระบี่ งวดที่ 2 ( 12 มี.ค. 2561 )
- ค่าธรรมเนียมการโอนและค่าธรรมเนียมเช็ค ( 15 มี.ค. 2561 )
- สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้(การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดตรัง งวดที่ 1 ( 19 มี.ค. 2561 )
- เวทีสาธารณะ“คนเมืองตรังบ้านโคกออกร่วมจัดการชุมชนอยู่ดีมีสุข” ( 19 มี.ค. 2561 )
- ประชุม กองบก. สื่อสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 2 ( 20 มี.ค. 2561 )
- สนับสนุนพื้นที่ ประเด็นสุขภาวะทางสังคมการจัดการปัจจัยเสี่ยงจังหวัดชุมพร งวดที่ 2 ( 21 มี.ค. 2561 )
- ประชุมวิชาการ ประจำปี 2561 "สร้างคน สร้างงาน สร้างสุข สานพลังที่ก้าวข้ามขีดกำจัดสู่สุขภาวะที่ยั่งยืน ( 28 มี.ค. 2561 - 30 มี.ค. 2561 )
- เวทีสร้างสุขภาคใต้ ปี 2561 ( 28 มี.ค. 2561 - 30 มี.ค. 2561 )
- ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานในพื้นที่ ( 2 เม.ย. 2561 )
- จัดประชุมร่างแนวปฏิบัติเพื่อกำหนดจริยธรรมสื่อในกระบวนการนโยบายสาธารณะ ( 2 เม.ย. 2561 )
- จัดประชุมรูปแบบการสื่อสาร นโยบายสาธารณะ ( 2 เม.ย. 2561 )
- สนับสนุนประเด็นสุขภาวะทางสังคม ประเด็นระบบอาหาร ( 2 เม.ย. 2561 )
- สนับสนุนประเด็นสุขภาวะทางสังคม ประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ( 2 เม.ย. 2561 )
- สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส งวดที่ 1 ( 2 เม.ย. 2561 )
- สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ จังหวัดภูเก็ตงวดที่ 1 ( 2 เม.ย. 2561 )
- สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ จังหวัดตรังงวดที่ 1 ( 2 เม.ย. 2561 )
- สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้(การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช งวดที่ 2 ( 11 เม.ย. 2561 )
- ค่าตรวจบัญชีโครงการ ( 9 พ.ค. 2561 )
- ค่าตรวจบันชี ( 9 พ.ค. 2561 )
(................................)
อานนท์ มีศรี
ผู้รับผิดชอบโครงการ