พัฒนาเครือข่ายสื่อสาธารณะ

เวทีสาธารณะ บทเรียนจากภัยพิบัติ ทำอย่างไรให้อยู่รอด26 กรกฎาคม 2561
26
กรกฎาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย วิลาสลักษณ์ แก้วบุญเรือง
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อจะได้ปรับตัวและเตรียมพร้อมให้อยู่รอดปลอดภัยจากภัยพิบัติที่จะเกิดในปัจจุบัน และอนาคต 2.เพื่อรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้นมีสติพร้อมจะเผชิญกับทุกเหตุการณ์ทีเกิดขึ้น ไม่ว่าจะตกอยู่ในสภาวการณ์ใดๆ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ติดต่อประสานพื้นที่และตัวแทนฝายมีชีวิตที่จะเข้าร่วมพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นที่วางไว้ 2.ลงพื้นที่เพื่อพูดคุย แลกเปลี่ยน เสนอความคิดเห็นในประเด็นบทเรียนจากภัยพิบัติ ทำอย่างไรให้อยู่รอด 3.ถ่ายทอดสดผ่านทางเพจ สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้  นครศรีธรรมราช

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

          บทเรียนจากภัยพิบัติ เราจะรับมือเพื่อให้เราอยู่รอด ปลอดภัยได้มากที่สุดได้อย่างไร : จากประสบการณ์ที่ผ่านมาจำต้องนำมาถอดบทเรียนเกี่ยวกับภัยพิบัติ  ประชาชนส่วนมากจะตกใจมากเกินไป จึงทำให้เป็นการสร้างภาพในแง่ที่น่ากลัว สร้างภาพจำ  นอกจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นแล้วยังมีอย่างอื่นที่ตามมาคือ ในแง่ของงบประมาณ มีภัยพิบัติ งบประมาณก็ตามมา การอยู่รอด ปลอดภัยในการับมือภัยพิบัติจะส่งผลบวกหรือลบ หรือได้ประโยชน์กับใคร ใครเป็นคนทำให้เกิดภัยพิบัติ  จากเหตุการณ์ย้อนหลังที่ผ่านมา เริ่มจากประเทศไทยหมูป่าติดถ้ำ 13 คน ใช้เวลาในการช่วยเหลือเกือบ 1เดือน แต่รอดมาได้  สิ่งที่เราเห็นคือความทุกข์ ทรมาน หลังจากนั้นประเทศญี่ปุ่น คลื่นความร้อน 41องศาเซลเซียล  ประชาชนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ถัดมาประเทศลาว เขื่อนแตก ประเทศพม่า เหมืองหยกถล่ม ทั้งหมดเหล่านี้คือบทเรียนภัยพิบัติ
          จากการพูดคุยได้มุมมองใน 2 แง่ คือ นิเวศคือบ้านของน้ำ  การผสมผสานจากสิ่งที่เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน เริ่มตั้งแต่สิ่งที่อยู่ใกล้ตัว ประชาชนสามารถจัดการตนเองได้  ทั้งหมดเหล่านี้จากประสบการณ์หรือเหตุการณ์ที่ผ่านมา สามารถทำให้คนตื่นรู้ ตื่นตัว และะรับมือกับภัยพิบัติได้อย่างปลอดภัย กรณีที่ประเทศลาว เขื่อนแตกนั้น ทำให้ประเทศของเราได้สร้างวิกฤตให้เป็นโอกาส ถ้าเราไม่สร้างเขื่อนแต่เราได้ใช้น้ำจากระบบนิเวศด้วยการสร้างฝายมีชีวิต ก็จะทำให้เราได้มีน้ำใช้กันตลอด และลดการเกิดภัยพิบัติได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

1.เครือข่ายฝายมีชีวิต 2.เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช 3.สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช 4.บุคคลทั่วไปที่รับฟังและติดตามชมผ่านทางเพจสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี