พัฒนาเครือข่ายสื่อสาธารณะ

เวทีสาธารณะ ท่าซอมโมเดลกับจุลินทรีย์สมุนไพร25 กรกฎาคม 2561
25
กรกฎาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย วิลาสลักษณ์ แก้วบุญเรือง
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพูดคุยถึงประวัติความเป็นมา และความน่าสนใจเกี่ยวกับ ท่าซอมโมเดลกับจุลินทรีย์สมุนไพร  ว่าทำไมถึงได้มาเป็น ท่าซอมโมเดล

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ติดต่อประสานพื้นที่และตัวแทนกลุ่มกองทุนสวัสดิการชุมชน ต.ท่าซอม ที่จะเข้าร่วมพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นที่วางไว้ 2.ลงพื้นที่เพื่อพูดคุย แลกเปลี่ยน เสนอความคิดเห็นในประเด็น "ท่าซอมโมเดลกับจุลินทรีย์สมุนไพร"
3.ถ่ายทอดสดผ่านทางเพจ สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้  นครศรีธรรมราช

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

"ท่าซอมโมเดลกับจุลินทรีย์สมุนไพร" ทำไมถึงได้มาเป็นท่าซอมโมเดล
คุณวิชิต จงไกรจักร ผู้ใหญ่บ้าน ต.ท่าซอม จ.นครศรีธรรมราช: จากที่จำความได้ประมาณปี 2558 เริ่มต้นจากชาวบ้านเห็นความสำคัญ และคัดเลือกให้ไปทำหน้าที่เป็นผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งได้มองเห็นความลำบาก ความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ที่ค่อนข้างขัดสน รายได้น้อย อาชีพของชาวบ้านในตอนนั้น ทำนา เลี้ยงกุ้ง  ซึ่งเป็นพื้นที่ ราบลุ่ม ซึ่งต่อมา การเลี้ยงกุ้งเป็นที่นิยมของชาวบ้านในพื้นที่และมีการทำนากุ้งกันเยอะขึ้น ทำให้ชาวบ้านมีรายได้มากขึ้น  ซึ่งทำให้นาข้าวเป็นพื้นที่รกร้าง แต่ก็ยังมีนาข้าวให้เห็นอยู่บ้าง  ในขณะที่นากุ้งกำลังเป็นที่นิยม กลับทำให้มีปัญหาในเรื่องของน้ำเสีย มีโรคระบาด ซึ่งทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ขาดทุน กลายเป็นพื้นที่นาร้างทั้งหมด เศรษฐิจตอนนั้นก็ย่ำแย่  คุณวิชิต จงไกรจักร ซึ่งตอนนั้นเป็นผู้ใหญ่บ้าน ได้มีหน่วยงานราชการจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ลงพื้นที่เพื่อแนะนำและศึกษาเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น และช่วยทำให้เศรษฐกิจของชาวบ้านดีขึ้น หลังจากนั้นได้เขียนโครงการเพื่อของบประมาณในการปรับนากุ้ง นาข้าว ที่รกร้าง ให้ทำเป็นพื้นที่ปลูกข้าวในการทำนาใหม่

"รอยต่อระหว่างช่วง อะไรเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้มาสานงานต่อจากผู้ใหญ่บ้าน ต.ท่าซอม" คุณทวี ขาวเรือง  ประธานสภาองค์กรชุมชน ต.ท่าซอม จ.นครศรีธรรมราช : ได้สำรวจและเห็นบ่อร้างเยอะจึงคิดจะเอาทุนที่มีอยู่ มาปรับเปลี่ยนเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นให้ชาวบ้านได้มีรายได้ในการดำรงชีวิต หลังจากนั้นได้มีการปรึกษาหารือภายในกลุ่มสมาชิก เปลี่ยนจากการเลี้ยงกุ้ง มาเป็นการเลี้ยงปลานิล ซึ่งการทำนากุ้งจะมีค่าใช้จ่ายเยอะแต่ในการเลี้ยงปลานิลจะเป็นการเลี้ยงปลานิลอินทรีย์ โดยการใช้อาหารที่ไม่ได้ซื้ออาหารมาจากนายทุน แต่จะใช้ความรู้ของสมาชิกในกลุ่มในการเลี้ยงปลานิล เริ่มจาการทำบ่อสาธิต เพื่อทดลอง โดยใช้พื้นที่นาร้างเป็นพื้นที่ในการเลี้ยงปลาและติดตามผล ซึ่งอาหารที่จะใช้มาเลี้ยงปลาอินทรีย์  ประกอบไปด้วย จอกแหน กากมะพร้าวรำข้าว ในการเลี้ยงปลานิลอินทรีย์จะมีระยะเวลาการให้อาหาร ถ้าให้ตอนเช้า ก็จะเป็นตอนเช้าตลอด หลังจากนั้นคณะกรรมการได้ลงพื้นที่ไปติดตามผลในการเลี้ยงปลานิลอินทรีย์ ว่าในการให้อาหารจากสิ่งที่ชาวบ้านทำขึ้นเองได้ผลจริงหรือไม่

"แล้วจุลินทรีย์สมุนไพรมาเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงปลาอย่างไร" คุณทวี ขาวเรือง  ประธานสภาองค์กรชุมชน ต.ท่าซอม จ.นครศรีธรรมราช : ในส่วนของอาหารไม่มีปัญหาอะไรแต่จะมีปัญหาในส่วนของน้ำ ซึ่งปลาอินทรีย์ที่จะนำไปขายต้องไม่มีกลิ่น จึงคิดที่จะทำน้ำหมักเพื่อจะไปบำบัดน้ำในบ่อเพื่อไม่ให้น้ำในบ่อมีกลิ่น ส่วนผสมในการทำน้ำหมักได้แก่ วัตุดิบที่เป็นที่ทำให้เกิดเชื้อจุลินทรีย์ เช่น หน่อกล้วย กล้วย มะละกอ สับปะรด  ทั้งหมดเหล่านี้ทำให้เกิดกลุ่มกองทุนสวัสดิการชุมชน ต.ท่าซอมขึ้น และได้จัดทำน้ำหมักโดยการรวมกลุ่มจากชาวบ้านลงขันกันเพื่อเป็นต้นทุนในการทำน้ำหมัก และได้รับงบประมาณจากสภาองค์กรชุมชน ต.ท่าซอม เพื่อนำออกจำหน่ายทำให้ชาวบ้านมีรายได้ขึ้น  หลังจากนั้นได้ขยายต้นทุนมากขึ้นเพื่อให้มีผลผลิตเพิ่มมากขึ้นและรองรับกับความต้องการของตลาด หลังจากเกิดเป็นรูปธรรมมากขึ้นจึงได้ขยายเครือข่ายเปิดให้ตำบลในพื้นที่ใกล้เคียงได้เข้ามาเรียนรู้และศึกษาเกี่ยวกับการทำน้ำหมักจุลินทรีย์เพื่อนำไปใช้ในตำบลของตัวเอง

คุณปฐมพงษ์  อริยกุลนิมิต สภาเทศบาลตำบลหัวไทร : หลังจากที่ได้พูดคุยเกี่ยวกับน้ำหมักจุนลินทรีย์กับคุณทวี ขาวเรือง  เทศบาลตำบลหัวไทรจึงมีแนวทางที่จะลงมาพัฒนาท้องถิ่น โดยเร่งเห็นว่าในอนาคตสินค้าจาก
ทางกลุ่มต.ท่าซอม จะมีผลที่จะทำให้เกิดเกษตรอินทรีย์ได้ขึ้นจริง ซึ่งจะเป็นทางเลือกอีกอย่างหนึ่งของเกษตรกร

คุณธนินทร์  ด้วงสุข อบต.หัวไทร : เริ่มต้นจากที่บ้านมีอาชีพทำการเกษตร ใช้สารเคมี ทำให้สุขภาพคนที่บ้านและกลุ่มคนที่ใช้สารเคมีทรุดโทรมลง ตนจึงความคิดที่จะเปลี่ยนชุมชนที่ตัวเองอยู่ให้เป็นเกษตรอินทรีย์ เปลี่ยนให้ชุมชนปลูกผักปลอดสารพิษ เริ่มแรกที่จะใช้แนวคิดนี้มาใช้กับชุมชนคือการมองถึงอนาคตของชุมชน ซึ่งถ้าทำได้ทั้งหมดนี้จะทำให้ชุมชนน่าอยู่ รวมไปถึงเศรษฐกิจและรายได้ของชุมชนจะดีขึ้น

คุณอานนท์ มีศรี นายกสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช : ทั้งหมดเหล่านี้อาจจะเป็นเรื่องแปลกใหม่ของสังคมไทยและเป็นเรื่องที่น่ายกย่องอย่างยิ่ง แต่กลายเป็นสิ่งท้าทายที่เราจะต้องต่อสู่กับสิ่งที่ถูกต้องซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้สุขภาพ ทำให้บ้านเมืองไปสู่สิ่งที่เราต้องการได้แต่กลายเป็นเรื่องแปลกคือการที่ได้มาพูดคุย แลกเปลี่ยน ไขข้อสงสัยกัลกลุ่มคนรุ่นใหม่ สุดท้ายแล้วประเทศไทยโดยเฉพาะภาคใต้ของเราจึงหนีไม่พ้นในเรื่องเกษตรซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนยอมรับ

การที่จะเปลี่ยนชุมชนให้มาเป็นเกษตรอินทรีย์ได้ในอนาคต มันเป็นเรื่องที่ท้าทายและยากมาก ทางกลุ่มจึงร่วมกันคิดว่าจะทำอย่างไรกับชุมชนและแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ จึงได้เดินทางไปศึกษาเรียนรู้ ไปดูงานที่อ.จะนะ ดูการทำเกษตรแบบประยุกต์ เพื่อไปตอบโจทย์ในชุมชน แล้วนำกลับมาทดลองและแก้ปัญหากับชุมชนของตัวเองรวมทั้งพื้นที่ใกล้เคียงหรือกลุ่มเกษตรกรที่สนใจในการ"จุลินทรีสมุนไพร" โดยมีเป้าหมายร่วม  คือ ร่วมคิด แยกทำ เป้าหมายเดียวกัน


circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

1.กลุ่มกองทุนสวัสดิการชุมชน ต.ท่าซอม จ.นครศรีธรรมราช 2.ผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านในพื้นที่ ต.ท่าซอม จ.นครศรีธรรมราช 3.กลุ่มเยาวชนในพื้นที่ ต.หน้าสตน  จ.นครศรีธรรมราช 4.สภาเทศบาลตำบลหัวไทร 5.อบต.หัวไทร 6.สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้  นครศรีธรรมราช 7.เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช 8.บุคคลทั่วไปที่รับฟังและติดตามชมผ่านทางเพจสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช 9.สภาองค์กรชุมชน ต.ท่าซอม จ.นครศรีธรรมราช

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี