พัฒนาเครือข่ายสื่อสาธารณะ

เวทีสาธารณะ การจัดการขยะอยู่ที่มือของเรา13 กรกฎาคม 2561
13
กรกฎาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย วิลาสลักษณ์ แก้วบุญเรือง
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อช่วยกันรักษาระบบนิเวศ จัดเก็บขยะที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ก่อนลงสู่ทะเล  2.เพื่อช่วยกันพัฒนาแหลมตะลุมพุก ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสะอาด น่าเที่ยว 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เป็นกิจกรรมการเสวนาการบริหารจัดการขยะทะเลโดยชุมชน  และกิจกรรมเก็บขยะบนพื้นที่ชายฝั่งทะเล ตลอดปลายแหลมตะลุมพุก ขยะที่จัดเก็บได้ ส่วนใหญ่เป็นถุงพลาสติก ขวดแก้ว โฟม จัดแยกประเภท ชั่งน้ำหนัก พร้อมทั้งถ่ายทอดสดผ่านทางเพจ สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้  นครศรีธรรมราช

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การจัดการขยะอยู่ที่มือของเรา ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่บุคคลทั้งโลกให้สนใจคือ ขยะมูลฝอย ขยะในทะเล และขยะในทุกพื้นที่ มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีการกระบวนจัดการในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างโรงไฟฟ้าการสร้างเตาเผาขยะ หรือวิธีการจัดการขยะด้วยต้นทาง การจัดการขยะด้วยมือของเราเอง แต่ขยะเหล่านั้นก็ไม่ได้ลด น้อย ลงไป

ทำไม จึงเห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและการจัดการขยะ ? คุณสมจินต์  รักฉิม อุปนายกสมาคมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจังหวัดนครศรีธรรมราช : ซึ่งเป็นประเด็นที่มองข้ามไม่ได้และเป็นเรื่องที่สำคัญ ในเรื่องของการจัดการขยะ ทั้งหมดเหล่านี้เกิดขึ้นจากมนุษย์ เป็นผู้ทำลายธรรมชาติส่งผลมาสู่มนุษย์และสิ่งแวดล้อม  จึงต้องช่วยกันแก้ปัญหาห่วงโซ่อาหารที่กำลังหมดไป

คุณสมเดช เกื้อกูล : การอนุรักษ์ คือ การอนุรักษ์แบบ ชาญฉลาด ไม่ใช่ ใช้แล้ว หมดไป
ในเมื่อมีโครงการปล่อยปูลงสู่ทะเล 5 ล้านตัว เพิ่มปริมาณสัตว์น้ำในทะเล จึงร่วมกันด้วยจิตอาสา ช่วยกันรักษาระบบนิเวศ จัดเก็บขยะที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ก่อนลงสู่ทะเลไปด้วย  หลังจากนั้นก็ได้เริ่มทำกิจกรรมเก็บขยะทะเลเกิดขึ้น  แต่สุดท้ายคนที่จะเริ่มได้ คือชุมชน โดยใช้โจทย์ที่ว่า บทบาทชุมชนกับการจัดการขยะทะเลควรเป็นอย่างไร  และร่วมกันทำวิจัยเรื่องขยะ โดยมีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ทั้งหมดเหล่านี้จึงเป็นจุดประกายในการจัดเก็บขยะทะเลของสมาคมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจังหวัดนครศรีธรรมราช เล็ก โลมา : สถิติปริมาณขยะของประเทศไทย ติดเป็นลำดับที่ 6 ของโลก ทางรัฐบาลจึงมองเห็นความสำคัญในด้านนี้ จึงมอบให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นหน่วยงานในการขับเคลื่อนและจัดการขยะในทะเล  โดยการจัดอบรมอาสาสมัครและก่อตั้งชมรมพิทักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง การผลักดันเรื่องภารกิจการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยใช้ โลมา เป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญ จากการที่เราไปคลุกคลี่กับปลาโลมา เมื่อโลมาเสียชีวิต ทรัพยากรชายฝั่งทางทะเล ไม่ใช้มีเฉพาะปลาโลมา ยังมีเตาทะเล  ปรากฏว่า ซากสัตว์ที่เกยตื้นมา ได้นำมาผ่าพิสูจน์ แล้วเจอขยะในท้องโลมา เพราะฉะนั้นต้องแก้ไขปัญหาในภาพรวม ทำอย่างไรให้ โลมาอยู่ในขนอมให้ได้
    1.เรื่องแหล่งของอาหาร ระบบนิเวศอาหาร ทำอย่างไรให้มีอาหารเพียงพอในอ่าวขนอม     2.ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม ทั้งหมดนี้ต้องทำควบคู่กันไป เริ่มแรกในการจัดการขยะคือ การจัดโครงการเก็บขยะ โดยการย้ายขยะไปไว้อีกที่หนึ่ง  และจะต้องเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส สร้างคุณค่าให้เค้าเห็น จึงทำโครงการสายใยรัก หาดขนอมโดยให้เยาวชนและชาวบ้านที่ทำเกี่ยวกับกิจกรรมจัดเก็บขยะโดยการเข้าไปเรียนรู้กับทรัพยากรชายฝั่งทางทะเล  มีกรมทรัพยากรชายฝั่งทางทะเลเข้ามาร่วมด้วย  ถ้าสังคมมองว่าไม่ใช่ปัญหาของสังคม  ชุมชนมองว่าไม่ใช่ปัญหาของชุมชน แน่นอนว่า ปัญหาเหล่านี้จะท่วมสังคม และท่วมชุมชน มีการเปลี่ยนแปลงโดยเห็นความสำเร็จออกมาเป็นรูปธรรมในระดับ พรบ. ระดับนโยบาย

อาจารย์ ภูสิต  ห่อเพชร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ : ขยะส่วนใหญ่ที่เราพบเห็นกัน ส่วนมากจะเป็นขยะที่มาจากพื้นที่ในชุมชน กิจกรรมที่ทำในวันนี้ ถือเป็นโอกาสที่ดี โดยมีกลุ่มนักศึกษาชมรมพิทักษ์ทะเลที่กำลังเก็บขยะแล้วนำมาคัดแยก ในชื่อกลุ่ม ทะเลสุข คนสุข ซึ่งจะเห็นว่าขยะที่เก็บมา มาจากแหล่งไหน จากเดิมที่ไม่เคยรู้ ส่วนหนึ่งจะจัดทำข้อมูลในเชิงวิชาการว่าที่มาของขยะ มาจากที่ไหน และมีกระบวนการในการจัดการขยะ โดยรวบรวมและจดบันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์ม ICC เป็นที่มาของการขับเคลื่อนในวันเก็บขยะหรือทำความสะอาดชายฝั่งสากล

คุณประหยัด  เสนา หัวหน้าสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช :ในเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราชจะต้องทำคือจัดการและดูแลตั้งแต่ ป่าต้นไม้ ชายฝั่งทะเล ในทะเล คือเรื่องการวางปะการังเทียมในทะเล รวมถึงขยะ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราชได้รับผิดชอบในส่วนของขยะอันตราย โดยมีหน้าที่ประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลในเรื่องของการคัดแยกขยะ ขยะที่เป็นอันตรายออกจากองขยะ ส่งต่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อกำจัดขยะและ  เป็นที่นำร่องในเรื่องของการจัดการขยะ และคัดแยกขยะ

คุณธนิศ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ : ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติมีอยู่มากมาย อย่ามองแค่ว่า ดิน น้ำ ป่า การที่จะมารวมตัวกันให้เป็นระบบนิเวศ ต้องมีการหนุนเสริม ในภาควิชาการ ชุมชน ชาวบ้านด้วยการถักทอ การเชื่อมร้อย การเชื่อมโยง เครือข่ายให้คนที่มีจิตใจเหมือนกัน มาทำเรื่องเดียวกันเป็นที่สิ่งที่ดีๆ เป็นสิ่งสำคัญ

คุณสินธุ : ประสบการณ์ และบทเรียนที่จะนำมาใช้จัดการกับชาวบ้านคือ 1) ความสำคัญ ความใส่ใจของบ้านเมือง ชุมชนท้องถิ่น  2) ความสำคัญของขยะ และความสำคัญทะเล สำคัญอย่างไร 3)วิธีคิดในเรื่องขยะ เป็นเรื่องที่สำคัญ และสามารถทำให้ชาวบ้านทำวิจัยในเรื่องของการจัดการขยะได้ และจะต้องมองให้เห็นทั้งระบบ แหล่งที่มาของขยะ ชุมชนจัดการขยะได้อย่างไร มีหน่วยงานไหนเข้ามาช่วยแก้ไขในเรื่องนี้ได้บ้าง

เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งในการดำเนินการจัดการปัญหาขยะทะเลให้เกิดประสิทธิภาพ เชื่อมโยง และสร้างความต่อเนื่องร่วมกับหลายภาคส่วนในทุกระดับ ทั้งนี้จะได้มีการนำแนวทางเพื่อการรณรงค์ลดปริมาณขยะให้เป็นศูนย์และการลดการใช้ถุงพลาสติก

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 6 คน จากที่ตั้งไว้ 200 คน
ประกอบด้วย

1.เครือข่ายนักเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์บ้านปลายแหลม
2.นักศึกษาวิชาทหารโรงเรียนปากพนัง อาจารย์ และนักศึกษา
3.มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
4.วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช
5.ประชาชนชาวปากพนัง
6.สมาคมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจังหวัดนครศรีธรรมราช 7.ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 2
8. เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้จังหวัดนครศรีธรรมราช 9.สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช 10.บุคคลทั่วไปที่รับฟังและติดตามชมผ่านทางเพจสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช 11.องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี