พัฒนาเครือข่ายสื่อสาธารณะ

เวทีเสวนา ฝายมีชีวิต12 สิงหาคม 2561
12
สิงหาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย วิลาสลักษณ์ แก้วบุญเรือง
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้รู้ถึงที่มาของฝายมีชีวิตและฝายมีชีวิตคืออะไร  2.เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากร ในน้ำ ในดิน ในป่า ได้อย่างเหมาะสม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เป็นเวทีเสวนาเกี่ยวกับฝายมีชีวิต ที่มาของฝายมีชีวิตและฝายมีชีวิตคืออะไรและถ่ายทอดสดผ่านทางเพจ สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้  นครศรีธรรมราช

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ที่มาของฝายมีชีวิตและฝายมีชีวิตคืออะไร คุณณัธนัน  มีแก้วหรือครูท้วม ไม้หลา ตัวแทนฝายมีชีวิต ต.หินตก อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช : เมื่อปี พ.ศ. 2556 ซึ่งในขณะนั้นได้เป็นสมาชิกสภาเทศบาลหินตก ได้มีการสนับสนุนให้มีการขุดลอกคลอง        พุดหงส์ ในปี พ.ศ.2556 และในปีต่อมา พ.ศ. 2557 ชาวบ้าน 2 ฝั่งคลองพุดหงส์ ได้เกิดภาวะน้ำในคลองแห้งและแล้งเร็ว ผิดปกติ น้ำในบ่อน้ำตื้นไม่พอใช้ น้ำในบ่อบาดาลต้องเพิ่มความลึกของบ่อ ซึ่งต่อมาต้นปี พ.ศ. 2557 ได้ฟังวิทยุจาก ดร.ดำรง  โยธารักษ์ ว่ามีพื้นที่อยู่พื้นที่หนึ่ง น้ำไม่แห้ง มีน้ำใช้อย่างเพียงพอ ซึ่งพื้นที่นั้นคือ คลองไชยมนตรี จึงได้ติดต่อประสานงานกับ ดร.ดำรง  โยธารักษ์ลงไปศึกษาแล้วกลับมาสร้างฝายมีชีวิต ที่ คลองพุดหงส์ ต.หินตก  อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช ขณะที่ทำไปในช่วงระยะเวลาหนึ่งได้มีนายทหารท่านหนึ่ง มาติดต่อ พูดคุยกันว่า ผู้บังคับบัญชาของท่านอยากจะรู้เรื่องราวเกี่ยวกับฝายมีชีวิต และตกลงอนุมัติให้ทหารมาช่วยสร้างฝายมีชีวิต คลองพุดหงส์ ต.หินตก  อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช นายทหารท่านนั้นคือ พ.อ.ภัทรชัย  แทนขำ หรือผู้พันฝายมีชีวิต  ได้ให้การสนับสนุนภายใต้ความเห็นชอบของแม่ทัพกองทัพภาคที่ 4 และผู้บังคับบัญชาในทุกระดับ จนกระทั่ง ฝายมีชีวิตที่เริ่มจากจังหวัดนครศรีธรรมราช ขยายเครือข่ายไปทั่วประเทศ กว่า 1,000 ฝาย เกือบ 50จังหวัด เพราะฝายเป็นสถานที่เก็บน้ำได้ และทุกพื้นที่ของฝายมีชีวิตได้รับรองจากแม่ทัพกองทัพภาคที่ 4 ซึ่งผู้พันจะเป็นผู้ประสานงาน ว่าทุกพื้นที่ของฝายมีชีวิตเป็นเขตปลอดภัยแล้งอย่างถาวร

คุณโชคดี สุทธิพันธ์ ผู้ใหญ่บ้าน ต.จันพอ ต.ดอนตะโก อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช : ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงการพัฒนาที่ยั่งยืน ในฐานะผู้นำ จะต้องเรียนรู้และศึกษาบทบาทหน้าที่ นโยบายรัฐบาล ซึ่งนโยบายรัฐบาลชุดนี้ มีวิสัยทัศน์ที่จะต้องไปสู่จุดหมายร่วมกัน คือ มั่งคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และเป็นกลไกหลักที่จะนำไปสู่ ยุค 4.0 ยุคนี้รัฐบาลสร้างกรอบไว้และกำหนดกรอบไว้ 6 ด้าน คือ - การสร้างความมั่งคง ในเรื่องของความมั่งคงทางด้านอาหาร ความเป็นอยู่ - เศรษฐกิจไทยเข้มแข็ง
- การพัฒนาทุนมนุษย์ - ความเสมอภาค - การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม - การบริหารจัดการภาครัฐ
ซึ่งจุดเด่นของการทำสร้างฝายมีชีวิตในตำบลจันพอคือ จากเมื่อก่อนที่ไม่มีน้ำเลยได้สร้างฝายมีชีวิตจากที่นาร้าง มาเป็น 10ปี จนได้ขยายผล มีน้ำในการทำนาได้ ถึง 5,000 ไร่ อย่างมั่งคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

คุณสัญญา ชัยวรรณ ตัวแทนฝายมีชีวิต ต.กำแพงเซา: เริ่มจากการก้าวกระโดดในพื้นที่ ที่ไม่มีน้ำ ความสำคัญแรกที่ถูกลืม  คือ ที่ว่า ทหารเป็นรั้วของชาติ  ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ  ขณะที่ทหารของชาติได้ทำหน้าที่แต่ชาวนากระดูกสันหลังของชาติไม่มีการพัฒนาอย่างจริงจังในกระบวนการ  ไม่ได้ทำหน้าที่  คือชาวนาหยุดการทำนาหลังจากฝนแล้ง เพราะการปลูกยางพาราและปาล์มในพื้นที่นา พื้นที่อาหารที่เคยอยู่กินถูกทดแทนด้วย พืชเศรษฐกิจ จนพื้นที่ในนา พื้นที่ที่ต่ำที่สุด ที่ถูกเก็บน้ำในพื้นที่ชุมชนถูกไล่ลงห้วย ลงคลอง ลงทะเล หมดภายใน 15 นาที เพราะฉะนั้นแล้วชาวบ้านที่เลี้ยงวัว ทำไร่ ไม่มีน้ำที่จะนำมาใช้กับอาชีพเกษตร พื้นที่สวน พื้นที่ภูเขา ถูกดึงน้ำลงมาให้แห้งเร็วขึ้น ภาพการก้าวกระโดดในยุด 4.0 แผนพัฒนาชาติ แต่ชาวบ้านกับมองว่าการพัฒนาที่ก้าวไปไกลเกินขีดความสามารถ ทำให้ชาวบ้านหันมาจัดการตนเองในทรัพยากรข้างบ้าน กระบวนการของฝายมีชีวิตไม่ได้ทำให้น้ำอยู่ในห้วยอย่างเดียวแต่เป็นการกระบวนการศึกษา ความรู้ในครอบครัว บรรพบุรุษ ชุมชน ตำบล อำเภอ จังหวัด แล้วนำไปสู่การพัฒนาภายใต้ข้อมูล กระบวนการ ยั่งยืน มั่งคง ได้ตามนโยบายของชาติ

พ.อ.ภัทรชัย  แทนขำ หน.ฝ่าย ศูนย์ปรองดองสมานฉันท์ กอ.รมน.ภาค 4 ผู้พันฝายมีชีวิต : ฝายมีชีวิตเป็นการตอบโจทย์ในเรื่องของการจัดการน้ำ  ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาน้ำไม่แล้ง น้ำไม่ท่วมตลอดจนให้ชุมชนรู้จักการจัดการตนเอง ชุมชนเข้มแข็ง ทางศูนย์เพียงแค่เป็นผู้ประสานหลักในการต่อยอดเพื่อให้ชุมชนได้ก้าวต่อโดยไม่ต้องรองบประมาณของภาครัฐ  เพราะพื้นที่ไหนเป็นพื้นที่ ที่มีฝายมีชีวิตแสดงว่าชุนชนนั้นสามารถลุกขึ้นมาจัดการตนเองได้แล้ว  เพียงแค่มีช่องทางสามารถให้เค้าได้เดินต่อ  แต่ในการที่ทหารเข้าไปช่วยไม่ได้ช่วยทั้ง 100 % แต่จะมีข้อตกลงระหว่างกัน คือการให้ชุมชนทำโครงสร้างผ่านหลักการฝายมีชีวิต โดยการทำเวทีประชาเข้าใจ แรงบันดาลใจในการทำเกี่ยวกับฝายมีชีวิตคือ การใช้ใจเดินกับประชาชน

คุณณัธนัน  มีแก้วหรือครูท้วม ไม้หลา ตัวแทนฝายมีชีวิต ต.หินตก อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช : ฝากบทกลอนไว้ 1 บทกลอน ไม่มีป่า ไม่มีน้ำ ตามพ่อว่า                 องค์แม่ฟ้า ช่วยปลูกป่า เข้ามาเสริม                 ฝายมีชีวิต ช่วยต่อติด เข้ามาเติม                 ช่วยสร้างเสริม ดิน น้ำ ป่า ตามพระองค์                 คลองจะสวย น้ำจะใส ไหลทั้งชาติ                 สัตว์หลายหลาก พืชก็งาม ตามประสงค์                 สามัคคี แก้วิกฤต ในสังคม                 ความมั่นคง  เศรษฐกิจ ทั่วทิศไทย

คุณโชคดี สุทธิพันธ์ ผู้ใหญ่บ้าน ต.จันพอ ต.ดอนตะโก อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช :  แค่ชาวบ้านในชุมชนลุกขึ้นมาร่วมมือ ร่วมแรงกัน ไม่ว่าจะเรื่องใดก็ตาม รวมทั้งเรื่องฝายมีชีวิต ก็จะสามารถจัดการหรือดำเนินการได้โดยไม่ต้องรอการช่วยเหลือจากภาครัฐหรือหน่วยงานอื่นๆ

คุณสัญญา ชัยวรรณ ตัวแทนฝายมีชีวิต ต.กำแพงเซา: เปรียบเทียบในมุมมอง 2 แบบ แบบแรก คือ ถ้าเปลี่ยนเป็นถนนสายหลัก การบริหารการจัดการน้ำคือหน่วยงานภาครัฐ ถนนสายย่อย เป็นถนน ซอย หรือตรอกที่เข้าหมู่บ้าน ยังมีความขาดแคลนในการใช้น้ำ ถ้าชาวบ้านลุกขึ้นมาจัดการในแบบที่ ผู้พันฝายมีชีวิตว่า ก็จะทำให้ชาวบ้านมีน้ำใช้กันตลอด สุดท้ายแล้วเราอย่าลืมสังคมทั้ง 3สังคมนี้คือ สังคมพืช สังคมสัตว์ และสังคมมนุษย์

พ.อ.ภัทรชัย  แทนขำ หน.ฝ่าย ศูนย์ปรองดองสมานฉันท์ กอ.รมน.ภาค 4 ผู้พันฝายมีชีวิต : อย่าให้พี่น้องทุกคน อยู่ดี กินดี มีความสุข เพียงทุกคนเดินตามพระองค์ท่าน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ก็ทำให้พวกเรามีความสุข รักกัน สามัคคี กันตลอดไป

              ดินและน้ำ ลมและฟ้า ป่าและเขา               รวมกันเข้า คือ ทรัพย์สินแผ่นดินแม่               ฝากลูกไทย ร่วมใจภักดิ์รักดูแล   ิ            เพื่อมอบแก่หลานเหลนไทยไปชั่วกาล

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

1.ตัวแทนเครือข่ายฝายมีชีวิต ต.จันพอ ต.หินตก  ต.กำแพงเซา จังหวัดนครศรีธรรมราช 2.กองทัพภาคที่ 4 3.เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้จังหวัดนครศรีธรรมราช 4.สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช 5.บุคคลทั่วไปที่สนใจเกี่ยวกับฝายมีชีวิต
6.บุคคลทั่วไปที่รับฟังและติดตามชมผ่านทางเพจสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี