พัฒนาเครือข่ายสื่อสาธารณะ

เวทีสาธารณะ“การจัดการน้ำทั้งระบบ เตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ”12 กรกฎาคม 2561
12
กรกฎาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย วิลาสลักษณ์ แก้วบุญเรือง
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้มีความพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคต

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ติดต่อประสานพื้นที่และตัวแทนฝายมีชีวิตที่จะเข้าร่วมพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นที่วางไว้ 2.ลงพื้นที่เพื่อพูดคุย แลกเปลี่ยน เสนอความคิดเห็นในประเด็น การจัดการน้ำทั้งระบบ เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ
3.ถ่ายทอดสดผ่านทางเพจ สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้  นครศรีธรรมราช

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

          ปัจจุบันได้เกิดภัยพิบัติเพิ่มมากขึ้นและทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทั้ง เหตุภัยพิบัติสึนามิ ดินโคลนถล่ม ไฟไหม้ป่า น้ำท่วมจากเหตุฝนตกมาก น้ำล้นเขื่อน น้ำป่าไหลหลาก พายุพัดถล่มบ้านเรือน รวมทั้งภัยพิบัติจากเหตุความรุนแรงทางการเมืองและสังคม เป็นต้น ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินอย่างประเมินค่ามิได้ และ ภัยพิบัติจึงมิใช่เรื่องไกลตัวสำหรับคนไทย         ในขณะที่การจัดการภัยพิบัติที่มาจากศูนย์กลาง ไม่สามารถตอบสนองต่อการแก้ปัญหาและความต้องการของชุมชนได้ทั้งหมด รวมทั้งอาจละเลยศักยภาพทรัพยากรและภูมิปัญญาที่มีอยู่แล้วในชุมชน ดังนั้น การจัดการความเสี่ยงโดยชุมชนเอง จึงเป็นทางเลือกหลักในการเติมช่องว่าง ดังกล่าว หลักการที่สำคัญ คือ การบรรเทาทุกข์และสนับสนุนกระบวนการฟื้นฟูวิถีชีวิตโดยชุมชนผู้ประสบภัยเป็นแกนหลัก ลุกขึ้นมารวมกลุ่มแก้ปัญหาด้วยตนเองตั้งแต่ต้น และ สนับสนุนให้เครือข่ายชุมชน หรือ ผู้ที่มีจิตสาธารณะอื่นๆได้เข้าไปหนุนช่วยอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะนำปสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่องของชุมชนและเครือข่ายได้อย่างยั่งยืนจากการสูญเสีย มนเมื่อเรารู้จักที่จะแก้ปัญหาด้วยตนเองแล้วนั้น เราไม่จำเป็นจะต้องไปปะทะกับคนที่เห็นต่างจากเราหรือหน่วยงานนราชการต่างๆ แต่ต้องสร้างความเข้าใจ ความสำคัญ วิธีการแก้ไขปัญหาที่จะเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติ และที่สำคัญมากไปกว่านั้นคือ การบริหารการจัดการน้ำดยใช้ฝายมีชีวิต สามารถที่จะใช้ประโยชน์ได้จริงๆทั้งในปัจจุบันและอนาคต

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

1.เครือข่ายฝายมีชีวิต 2.เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช 3.สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช 4.บุคคลทั่วไปที่รับฟังและติดตามชมผ่านทางเพจสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี