พัฒนาเครือข่ายสื่อสาธารณะ

เวทีเสวนาสื่อสารสาธารณะ “หลักสูตรพัฒนาศักยภาพกับการนำไปใช้ประโยชน์ เห็นผลต่อการเปลี่ยนแปลง” อย่างไร25 มิถุนายน 2561
25
มิถุนายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย วิลาสลักษณ์ แก้วบุญเรือง
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อแลกเปลี่ยน เรียนรู้กับเครือข่ายภาคีสุขภาพที่ขับเคลื่อนประเด็นสุขภาพของภาคใต้  2.เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับ  “หลักสูตรพัฒนาศักยภาพกับการนำไปใช้ประโยชน์ เห็นผลต่อการเปลี่ยนแปลง” อย่างไร 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เป็นเวทีเสวนา สื่อสารสาธารณะ “หลักสูตรพัฒนาศักยภาพกับการนำไปใช้ประโยชน์ เห็นผลต่อการเปลี่ยนแปลง” อย่างไร ซึ่งมีผู้ร่วมเวทีดังนี้     -  นายนันทพงค์  นาคฤทธิ์  เครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่
    -  นายเจกะพันธ์  พรหมมงคล  เครือข่ายปัจจัยเสี่ยง     -  ผศ.ณชพงศ  จันจุฬา  ภาควิชาสังคมศาสตร์  คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครรินทร์ วิทยาเขตปัตตานี     -  น.ส.ฐิตารัตน์  แก้วศรี  เครือข่ายเยาวชนนกนางนวล     -  นายวรวิชญ์  กฐินหอม  เครือข่ายสื่อ ดำเนินรายการโดย นายอานนท์  มีศรี  นายกสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้  นครศรีธรรมราช  มีการถ่ายทอดสดและบันทึกเทป รายการ  ลิกอร์ล้อมวงคุย  เพจ สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-หลักสูตรพัฒนาศักยภาพและการนำไปใช้ประโยชน์ของภาคีเครือข่ายสุขภาพภาคใต้ของ สสส. สสส. หลักสูตรพัฒนาฯ มีทั้งหมด7 หลักสูตรหลักๆคือ
1 การสร้างเสริมสุขภาพ 2 การบริหารโครงการ 3 การบริหารเครือข่าย 4 การจัดการความรู้ 5 การสื่อสาร 6 ภาวะผู้นำ 7 การบริหารเพื่อตอบโจทย์ความยั่งยืนของเครือข่าย ทั้ง7 หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่ใช้นำร่องและขับเคลื่อนของแต่ละเครือข่าย เพื่อสะท้อนและตอบโจทย์ออกมาว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจหรือไม่ ซึ่งทาง สสส. เองนั้นถือว่าเป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างมาก เพราะทั้ง7 หลักสูตรนี้สามารถทำให้เครือข่ายประสบความสำเร็จได้ร้อยละ 85 เลยทีเดียว ซึ่งมี อ.เพ็ญ สุขมาก และ อ.พงค์เทพ  สุุธีรวุฒิ จากทาง สจรส. ที่ท่านเข้าใจในหลักสูตรเป็นอย่างดี คอยให้คำแนะนำและช่วยเหลือตลอดการทำงานในเครือข่ายนี้ จะเปิดเวทีเปิดแหล่งเรียนรู้นี้ให้กับภาคีเครือข่ายต่างๆ ว่าจะทำอย่างไรให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน อ. เพ็ญ สุขมาก– หน่วยงานวิชาการของ สจรส. กลุ่มภาคีที่เข้าร่วมจะต้องเข้าร่วมทั้ง 7 หลักสูตร และปรับหลักสูตรให้เข้ากับพื้นที่ของภาคใต้ และออกแบบสูตรร่วมกับ หลายหน่วยงาน ซึ่งปัญหาในพื้นที่ภาคใต้ส่วนใหญ่ มีทั้ง 4เรื่องหลักด้วยกัน ความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางมนุษย์ ความมั่นคงทางสุขภาพ ความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติ หลักสูตรทั้ง7 หลักสูตรนี้ออกแบบมาเพื่อสร้างให้หน่วยงานของภาคีให้มีศักยภาพในการทำงานมากยิ่งขึ้น หากภาคีไม่ให้ความร่วมมือกันก็ไม่สามารถทำให้หน่วยงานในภาคีบริหารให้ยั่งยืนได้ หลักสูตรนี้มีการอบรมมา2รุ่นแล้ว รุ่นละ 50 คน สุดท้ายนี้อยากให้หลักสูตรนั้นสามารถพัฒนาสุขภาวะในคนได้จริง และเห็นความสามัคคีกันร่วมมือกันของคนในเครือข่าย และพยายามปรับเนื้อหาให้เข้ากับหลักสูตรต่อไป

คุณแสงนภา  หลีรัตนะ เครือข่ายองค์กรงดเหล้าจังหวัดชุมพร – ผู้เข้าร่วมอบรมโครงการหลักสูตร การเข้าร่วมโครงการนั้นมีเงื่อนไขเยอะในการเข้าร่วมโครงการ ส่วนตัวไม่กังวลตัวเองแต่กังวลบุคลากรในหน่วยงานของตนเอง และ หลักสูตรนี้ตอบโจทย์กับสิ่งที่หน่วยงานกำลังปฏิบัติอยู่ ซึ่งหลักสูตรที่จัดอบรมนั้นมีความยากอยู่ในระดับหนึ่งเลย แต่มีเอกสารประกอบจึงทำให้การอบรมชัดเจนขึ้นมาหน่อย พอเรียนไปเรื่อยๆ เราก็มีมิติมุมมองว่าเราจะทำอย่างไรถึงจะพัฒนาได้อย่างยั่งยืนอย่างสมบูรณ์แบบ

คุณเจกะพันธ์  พรหมมงคล ผู้ประสานงานด้านปัจจัยเสี่ยงของภาคใต้ – ผู้เข้าร่วมอบรมโครงการหลักสูตร จุดอ่อนเลยคือเรียนไม่ค่อยเข้าใจ ซึ่งเป็นวิชาการมากเกินไป ซึ่งเรื่องราวแรกๆคล้ายๆกับพี่สาวชุมพร ภายหลังจึงได้รู้ว่าหลักสูตรที่เรียนนั้นสอดคล้องกับการทำงานของหน่วยงานที่ทำอยู่

ปัตตานี – จับประเด็นขับเคลื่อนประเด็นปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ รณรงค์ปลอดบุหรี่ภายในพื้นที่ ได้ใช้หลักสูตรในการพัฒนาและปรับปรุงอย่างได้ผลภายในเครือข่าย  ฝึกโดยการนำประเด็นจริงมาตอบโจทย์และมีอาจารย์จาก
สจรส.มาช่วยแนะนำอยู่ตลอด จึงทำให้เกิดความสำเร็จมากมายมาจนทุกวันนี้

ผศ.ณชพงศ  จันจุฬา  ภาควิชาสังคมศาสตร์  คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครรินทร์ วิทยาเขตปัตตานี – เป็นหลักสูตรที่ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย เป็นหลักสูตรที่น่าสนใจในการพัฒนาสุขภาวะในตัวคน และวิธีคิดต่างๆที่เป็นระบบมากยิ่งขึ้น

คุณวรวิชญ์  กฐินหอม– เครือข่ายสื่อ เนื่องจากสื่อนั้นเป็นเยาวชนส่วนมากทำงานอยู่ จึงส่งเยาวชนเข้ามาอบรมเพื่อให้เยาวชนซึมซับและเรียนรู้การจัดวางระบบภายในตัว ซึ่งยังมีจุดอ่อนอยู่เหมือนกันทางด้านการสื่อสาร

คุณนันทพงค์  นาคฤทธิ์  เครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่  – ทำเรื่องเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ใช้หลักพัฒนาศักยภาพนี้มาประยุกต์ใช้กับเรื่องหารและการที่พักให้สะอาดและปลอดภัย ซึ่งธุรกิจท่องเที่ยวนี้เกี่ยวข้องกับธุรกิจMICE หลังจากที่ได้อบรมมาซึ่งเป็นโครงการที่ทำมาแล้วแต่เพิ่งมารู้จัก ซึ่งการเข้าอบรมครั้งนี้ก็เกี่ยวเนื่องและเชื่อมโยงกับธุรกิจนี้เช่นกัน จัดให้เป็นระบบมากขึ้น จนทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง

อาจารย์จากสสส. – การขับเคลื่อนที่มีจะเป็นไปไม่ได้เลยถ้าหากว่าขาดกลุ่มภาคีเครือข่ายต่างๆในการร่วมมือ เพื่อสนับสนุนสสส.ให้ดำเนินงานต่อไป โดยมีหลักพัฒนาศักยภาพนี้ให้เป็นหลักพัฒนาและปรับปรุงเครือข่ายภายในภาคใต้ และต่อยอดไปเรื่อยๆจนเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น


circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 31 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

1.เครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่ 2.เครือข่ายปัจจัยเสี่ยง 3.มหาวิทยาลัยสงขลานครรินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 4.เครือข่ายองค์กรงดเหล้า จังหวัดชุมพร 5.เครือข่ายเยาวชนนกนางนวล 6.เครือข่ายสื่อ 7.คณะทีมติดตามประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพ 8.สมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์ฯ 9.เครือข่ายชุมชนน่าอยู่จังหวัดพัทลุง 10.เครือข่ายโครงการครอบครัวอบอุ่นชุมชนฝาละมีจังหวัดพัทลุง 11.สำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์ 12.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี