พัฒนาเครือข่ายสื่อสาธารณะ

ประชุม กองบก. สื่อสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 34 กันยายน 2561
4
กันยายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย วิลาสลักษณ์ แก้วบุญเรือง
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการ 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.กล่าววัตถุประสงค์และสรุปการดำเนินงานที่ผ่านมา     -  การขับเคลื่อนงานกับ กขป.     -  การเชื่อมโยใต้แผนงานสื่อสารสาธารณะกับ สช. สปสช. สสส.  เครือข่ายสุขภาวะ 2.การดำเนินโครงการศูนย์วิชาการการสร้างเสริมสุขภาพภาคใต้  ศวสต.ภายใต้แผนงาน พัฒนาเครือข่ายสื่อสาธาณะภาคใต้ 3.การประเมินโครงการโดย ดร.ดุริยางค์  วาสนา 4.การดำเนินกิจกรรม  งวดที 3-5 ภายใต้แผนงาน พัฒนาเครือข่ายสื่อสาธาณะภาคใต้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การดำเนินโครงการสื่อมีทั้งหมด 4 ระยะ ขณะนี้ผ่านการดำเนินงานมาแล้ว 2 ระยะหรือ 2 งวด เหลืออีก 2 งวด คือ งวดที่ 3 และ 4 จะดำเนินการต่อ
      จังหวัดที่มีการดำเนินงานสื่อ ประกอบด้วย พัทลุง พังงา ชุมพร นครศรีธรรมราช กระบี่ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตรัง สตูล สงขลา ยังขาดจังหวัดระนองที่ขณะนี้ยังไม่มีการดำเนินงานแต่อยู่ในช่วงการตั้งต้น การดำเนินงานจะมีในเรื่องของจริยธรรมสื่อ การจัดรายการ เช่น รายการกินอิ่มนอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ เป็นรายการตัวอย่างของนครศรีฯ มีการใช้หลัก 4PW ในการดำเนินงาน การดำเนินงานในภาพรวม จะเน้นรายการวิทยุซึ่งทำแล้วมีความต่อเนื่อง มีกลุ่มผู้ฟังเฉพาะกลุ่ม มีการถ่ายทอดผ่าน Facebook Live นอกจากนี้ ยังมีการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชน เครือข่ายนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วย การดำเนินงานงวดที่ 3-4 จะเน้นหนักเกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็น ซึ่งจะเป็นการดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับจริยธรรมสื่อด้วย จังหวัดพังงา จังหวัดพังงา มีสถานีวิทยุในนามเครือข่ายสมาคมสื่อวิทยุอันดามัน
มีหน้าที่หลักในการนำความรู้และประเด็นต่างๆ ที่ทราบ ไปประชาสัมพันธ์สื่อสารถึงกลุ่มประชาชนในพื้นที่
มีที่ตั้งอยู่ที่อำเภอตะกั่วทุ่ง ทำให้มีการกระจายสัญญาณครอบคลุมบริเวณนั้น รวมถึงบางส่วนของจังหวัดภูเก็ตด้วย
มีกองบก. ส่งข้อมูลวิชาการข้อมูลข่าวสารผ่านทางไลน์หรือทาง email ให้กับสถานีเพื่อนำไปเผยแพร่ต่อ
มีการไลฟ์สดทาง Facebook ผ่านหน้าเพจของสถานี สมาคมสื่ออันดามันมีการลงพื้นที่เพื่อจัดเวทีเสวนาในประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะประเด็นการท่องเที่ยวชุมชน เช่น นากลาง Smart Farm สามช่อง แหล่งท่องเที่ยวชุมชนธารมรกต ณวัฒน์วิถีบ้านบางซอย ทุ่งรัก และมีการจัดรายการ “กินอิ่มเที่ยวสนุก@พังงา” ด้วย จากชิ้นงานในการออกอากาศ มีการแชร์เพื่อการสื่อสารทางเพจสมาคม และเพจส่วนตัวกันมากมาย ซึ่งการช่วยกันแชร์จะทำให้สามารถสื่อสารออกไปได้ในวงกว้างมากขึ้น มีการดำเนินงานประชาสัมพันธ์แบบ on Ground
มีกองบกช่วยสนับสนุนเสริมในเรื่องของความรู้ เครื่องมือ เครื่องอุปกรณ์ต่างๆ ในการดำเนินงานสื่อสาร ผลปรากฏว่า ได้รับการตอบรับจากชุมชนค่อนข้างเยอะ เช่น การรณรงค์ No Foam 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งแต่ก่อนไม่ค่อยได้ผลสักเท่าไหร่ แต่ปัจจุบันปลอดโฟม 100%
การดำเนินงานมีการนำเทคโนโลยีไลฟ์สดไปใช้ ทำให้มีการสื่อสารถึงชุมชนได้ง่ายขึ้น มีผู้คนเข้ามาช่วย Comment ให้กำลังใจ ซึ่งถือเป็นการเสริมแรงให้กับคนทำงานได้ทำงานต่อ นอกจากนี้ มีองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นคุระบุรี ช่วยเขียนโครงการของบเพื่อสนับสนุนและขยายงานไปสู่ชมรมผู้ประกอบการอาหารพังงา ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา ได้ร่วมกันในการขับเคลื่อนเพื่อรณรงค์ No Foam สู่การจัดตั้งสมาคมอาหารปลอดภัยจังหวัดพังงา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา มีส่วนช่วยในการสนับสนุนงบประมาณ อุปกรณ์ และบุคลากร เพื่อขับเคลื่อนงานอาหารปลอดภัย
การดำเนินงานในนามของกอง บก. สื่อสร้างสุขภาคใต้ ทำให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงาเห็นถึงความสำคัญ โดยเฉพาะการไลฟ์สดทำให้สามารถถ่ายทอดผลงานไปสู่หน่วยงานต่างๆ ในเครือข่าย ตลอดจนสามารถส่งงานได้ถึงหัวหน้างาน และที่สำคัญที่สุดประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย
ผลจากการดำเนินงานเกิดการก่อตั้งสมาคม เกิดการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานของสมาคม นอกจากนี้ ตัวเจ้าหน้าที่ในสมาคมสื่อยังสามารถเป็นวิทยากรให้กับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงาในการขับเคลื่อนงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

จังหวัดชุมพร จังหวัดชุมพรมีการแบ่งสื่อออกเป็น 3 ประเภท 1. สถานีวิทยุ ตั้งอยู่ที่อำเภอละแม 2. สื่อสิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ ตั้งอยู่ที่อำเภอปะทิว และ 3. สื่อออนไลน์ มีการไลฟ์สดและทำวีดีโอเผยแพร่ทางออนไลน์ มีผู้ประสานงานร่วมกับเครือข่ายปะทิวในการทำสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งสื่อสิ่งพิมพ์ไม่สามารถดำเนินการได้ดีนัก เนื่องจาก เป็นพื้นที่ห่างไกล มีพื้นที่กว้าง มีประเด็นปัญหาที่แตกต่างกันจนไม่สามารถดำเนินการคู่ขนานไปกับสื่อทั้ง 3 ชนิดได้ ผู้รับผิดชอบงานมีการลงพื้นที่เสริมสร้างและฝึกทักษะการใช้โปรแกรมซึ่งมีอยู่ในระบบปฏิบัติการ Android และ iOS ให้กับประชาชน ชุมชน โดยเฉพาะในกลุ่มชุมชนที่ทำตลาดใต้เคี่ยมหรือการท่องเที่ยวชุมชน เพื่อให้เขาสามารถประชาสัมพันธ์งานหรือการท่องเที่ยวชุมชนของตนเองได้ ตัวอย่าง ตลาดใต้เคี่ยมมีการคัดเลือกประเด็นขึ้นมาและใช้สื่อในการเผยแพร่มีการให้ความรู้และมีการพัฒนาศักยภาพ โดยมีทีมสื่อเป็นพี่เลี้ยงคอยสนับสนุนและให้การช่วยเหลือ ส่วนประเด็นอื่นที่ทางชุมพรได้ดำเนินการ มีอาหารปลอดภัย สิทธิที่ประชาชนควรจะได้รับ พ.ร.บ.การยา เกษตรปลอดภัย ซึ่งมีการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook สื่อสารออกไปให้กับประชาชน มีการถ่ายทอดสดทำเทปเกี่ยวกับการอยู่รอดของชาวสวนยาง การเอาตัวรอดในสถานการณ์คับขัน มีการถ่ายทอดสดในกรณีที่เกิดภัยพิบัติ ปัจจัยเสี่ยง และอาหารปลอดภัย มีการจัดเวทีเพื่อนำทีมสื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในการหนุนเสริมการดำเนินงาน โดยเฉพาะการไลฟ์สดขณะดำเนินงาน เช่น กรณีอุบัติเหตุ เครือข่ายภัยพิบัติ และเครือข่ายนักวิชาการต่างๆ ภัยพิบัติจะเกิดขึ้นบริเวณลุ่มน้ำ โดยเฉพาะลุ่มน้ำหลังสวน ซึ่งเกิดจากการที่มีปริมาณน้ำมาก การก่อสร้างที่ส่งผลให้เกิดน้ำท่วม การประกอบธุรกิจ ซึ่งการดำเนินงานเพื่อแก้ไขภัยพิบัติจะต้องมีการให้เครือข่ายทั้ง 3 ลุ่มน้ำของชุมพร มาร่วมมือกันโดยใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการสื่อสารหรือเชื่อมประสาน กิจกรรมที่สนับสนุนการสร้างเครือข่ายจากการไลฟ์สด เช่น ไลฟ์สดทาง Facebook ทำให้รู้ว่า เรื่องภัยพิบัติจะต้องติดต่อใคร พูดคุยกับใคร หาความรู้ได้จากใคร เรื่องเกษตรปลอดภัย ชุมพรจะเน้นหนักและมีผู้คนสนใจมากอาจเป็นเพราะมีตลาดใต้เคี่ยมอยู่ ส่วนเรื่องอุบัติเหตุมีการไลฟ์สดเพื่อเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ในการดำเนินงานด้วย

3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับงบประมาณเพียงแค่ 1 ปี คือ ปี 2560 ส่วนปี 2561 มีการดำเนินงานโดยใช้งบจาก ศอบต. มีการดำเนินงานสื่อโดยใช้ชื่อว่า “เสียงสุขภาวะชายแดนใต้” โดยมี “ดีเจประกายดาว” เป็นผู้ดำเนินการหลัก ประกอบด้วย อัตตัร Radio วิทยุ มอ.ปัตตานี บางปูลิสซิ่ง ฮิจเราะห์ยะลา ประเด็นที่มีการดำเนินงาน ประกอบด้วย ประเด็นเยาวชนติดยาเสพติด โดยการเอาเด็กที่ติดยาเสพติดแล้วบำบัดได้สำเร็จมาคุยในรายการประชาชนได้ฟังว่าเขาทำอย่างไรจึงสำเร็จ ปัญหาที่พบจากการดำเนินงานที่สำเร็จ ส่งผลให้มีปัญหากับคนขายยาในหมู่บ้าน เพราะเมื่อเด็กเลิกได้ก็จะมีการซื้อยาน้อยลง ทำให้เกิดเป็นความเสี่ยง หลังจากหมดงบประมาณ มีการดำเนินงานต่อโดยชุมชนได้รวบรวมเงินเพื่อสร้างบ้านไออุ่น สำหรับเป็นที่ให้ความรู้และบำบัดยาเสพติดกันเอง ต่อจากนั้นทางรายการก็ได้นำเด็กที่บำบัดยาเสพติดสำเร็จจากบ้านไออุ่นมาออกรายการร่วมด้วย ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการเลิกยาเสพติดได้ต่อเนื่อง ประเด็นที่ 2 คือ ประเด็นพหุวัฒนธรรม มีการพูดถึงหมอตำแย มีการไลฟ์สดเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กันในรูปของเวทีเสวนาเรื่องต่างๆ เช่น การรับมือภัยพิบัติน้ำท่วม มีการทำสารคดีสั้น “มัสยิดต้นแบบ” ซึ่งมีห้องน้ำสะอาด มีการจัดการขยะที่ถูกต้อง มีที่ออกกำลังกายสำหรับประชาชน เผยแพร่ออกไปทำให้มีคนมาดูงานเยอะมาก เพราะได้ออกสื่อทาง Facebook และ YouTube
ในปี 2561 มีการของบจาก ศอบต. มาดำเนินกิจกรรมต่อ ประเด็นการท่องเที่ยวชุมชน มีการสอนชาวบ้านและให้ความรู้เกี่ยวกับป่าชายเลนที่บางปู ทำให้คนขับเรือสามารถเป็นไกด์แนะนำ และให้ความรู้ให้ข้อมูลกับนักท่องเที่ยวได้ นอกจากนี้ รายการวิทยุก็มีการจัดรายการที่ชื่อว่า “บางปู Amazing แหล่งท่องเที่ยว” โดยมีการไลฟ์สดผ่านยูทูปและวิทยุ การดำเนินงานที่ผ่านมาสามารถเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่น โดยใช้สื่อให้ความรู้ในประเด็นการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี ประเด็นต่อไปเป็นประเด็นเกี่ยวกับสุขภาวะทางเพศ ในเด็กอายุ 12 ถึง 15 ปี เพื่อให้ได้มาเรียนรู้ มีการสื่อสารเชิงบวกระหว่างแม่กับลูก โดยทำอย่างไรให้มีการเข้าใจซึ่งกันและกัน มีการนำแม่และลูกไปดูงานเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก มีการขอสนับสนุนรถจากทหารโดยที่ไม่ต้องใช้เงินในการลงทุน ใช้การสอนทางด้านศาสนามามีส่วนช่วยเกี่ยวกับบาป บุญ ซึ่งทำให้ประมาณ 30 ครอบครัวเกิดการเข้าใจกันมากขึ้น ลูกฟังแม่และแม่ก็ฟังลูกมากขึ้น
สาเหตุหลักๆ ในการดำเนินงานเกี่ยวกับสุขภาวะทางเพศ อาจเกิดมาจากความเสี่ยงมีมาก เพราะบริเวณพื้นที่ตำบลบานา เป็นที่อยู่ของแรงงานต่างด้าวค่อนข้างเยอะ และมีโรงแรมราคาถูกที่เด็กสามารถเข้าไปใช้บริการได้ง่าย ประเด็นต่อไปเกี่ยวกับ สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กลุ่มเป้าหมาย คือ แม่เพราะแม่ต้องรู้เท่าทันลูก ว่าลูกมีการเสพสื่ออย่างไรบ้าง ต้องรู้เท่าทันโฆษณา ชัวร์ก่อนแชร์
ส่วนของเยาวชน มีการสอนให้ทำคลิปสั้น รู้เท่าทันสื่อ นอกจากนี้ มีการผลักดันเข้าสู่หลักสูตรของโรงเรียนด้วย ประเด็นต่อไปเป็นประเด็น การอยู่ร่วมกันแบบพหุวัฒนธรรม มีการเชิญผู้นำศาสนาและผู้แทนจากศาสนาต่างๆ มาพูดคุยกัน มีการไลฟ์สด ผ่าน Facebook มีผู้ติดตามประมาณ 6,000 คนในขณะนั้น ส่วนตอนนี้มีผู้ติดตามประมาณ 10,000 คน

จังหวัดตรัง จังหวัดตรังเป็นจังหวัดที่เน้นเรื่องการท่องเที่ยวเป็นหลัก โดยเฉพาะการท่องเที่ยวชุมชน มีการสื่อสารผ่านทางวิทยุ YouTube เพจ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ซึ่งสามารถสื่อสารออกข้างนอก และมีการติดตามจากประชาชนมากมาย มีการสนับสนุนให้ทำสกู๊ปพิเศษจากทีมสื่อ
สื่อช่วยให้ชุมชนสามารถรักษาสภาพเดิมของชุมชนเอาไว้ได้ ไม่พัฒนาตามทุนนิยม โดยใช้สื่อคุยกับชุมชน รณรงค์ให้เกิดความหวงแหน ในความเป็นอยู่แบบดั้งเดิมตามวิถีชีวิตดั้งเดิม นอกจากนี้ มีการทำสื่อเพื่อสุขภาพในกลุ่มผู้ยากไร้และผู้พิการ ผลจากการดำเนินงานมีการทำงานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

จังหวัดพัทลุง การดำเนินงานสื่อจะต้องนำข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องชัดเจนไปสู่พี่น้องประชาชน สำหรับจังหวัดพัทลุงมีประเด็นเกี่ยวกับ ความมั่นคงทางอาหาร โดยเฉพาะปัญหาสารเคมี มีการรณรงค์ให้ทำนาข้าวอินทรีย์
การดำเนินงานด้านความปลอดภัยของอาหาร ให้ย้อนกลับไปดูอดีตสมัยก่อนว่ามีการเป็นอยู่อย่างไรจึงทำให้อาหารปลอดภัย ประเด็นรู้รักษ์พลังงานมีการรณรงค์ให้ใช้พลังงานชีวมวล มูลสัตว์ มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อลดต้นทุนในการใช้จ่ายของครอบครัว ประเด็นสิทธิด้านสุขภาพ โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการเข้าถึงสิทธิบัตรทอง สิทธิบัตรทองมีอะไรบ้าง ความเป็นธรรมในการรับการรักษาแต่ละกองทุนมีความเท่าเทียมกันหรือไม่ โดยการสนับสนุนจาก สปสช. มีการประชาสัมพันธ์สายด่วน สปสช. 1330
นอกจากนี้ ยังมีการใช้สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เพื่อประชาสัมพันธ์ ประกาศ ให้ความรู้เปิดบูธ หรือแม้แต่การใช้ระบบเสียงตามสาย ในสถานที่ต่างๆ เพื่อสื่อสารประชาสัมพันธ์ความรู้ไปยังกลุ่มเป้าหมายหรือประชาชนที่มาท่องเที่ยว เช่น นาโปแก เป็นต้น

จังหวัดสงขลา จังหวัดสงขลามีรูปแบบการดำเนินงานต่างจากจังหวัดอื่น โดยไม่มีสถานีวิทยุ ไม่มีการทำสื่อโดยผู้รับผิดชอบ แต่จะเน้นในเรื่องของการพัฒนาศักยภาพและผลักดันให้เครือข่ายสามารถดำเนินงานร่วมกันได้ โดยใช้วิธีการขายประเด็นหรือขายไอเดียไปยังสื่อที่มีอยู่แล้ว ให้เข้ามาร่วมกันดำเนินงาน ประเด็นที่ใช้ในการดำเนินงาน ประกอบด้วย การจัดการปัจจัยเสี่ยง การท่องเที่ยวชุมชน อาสาสมัคร อาหารปลอดภัย
ซึ่งการดำเนินงานจะเป็นการเดินสายพูดคุยกับสื่อมวลชนที่มีอยู่ในพื้นที่ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนประเด็นที่สนใจ ช่วยกันขับเคลื่อนกับภาคีเครือข่ายที่มีอยู่แล้ว มีกิจกรรมไลฟ์สดต่างๆ เช่น กิจกรรมฟินมาร์เก็ต จนสามารถดำเนินงานได้เองโดยประชาชนในตลาด มีการไลฟ์สดกิจกรรมต่างๆ เพื่อเผยแพร่ให้กับประชาชนได้เข้าถึง
อนาคตจะเพิ่มการเผยแพร่งานวิจัยออกทางสื่อ โดยเฉพาะวิจัยของศูนย์วิจัยสุรา ซึ่งมีมากกว่า 60 เรื่อง แต่ยังไม่ได้รับการเผยแพร่ กลยุทธ์หลักในการดำเนินงานของจังหวัดสงขลา คือ การเสริมและพัฒนาศักยภาพของภาคีเครือข่ายสื่อที่มีอยู่แล้วให้สามารถดำเนินงานขับเคลื่อนร่วมกันได้ มีการจัดเวทีนโยบายสาธารณะแล้วไลฟ์สดออกทางสื่อต่างๆ มีการจัดทำจดหมายข่าวออนไลน์ ซึ่งทุกคนสามารถเข้ามาดูได้ ภาคีเครือข่ายสามารถเอาเรื่องมาลงได้ นำลิงค์ไปเผยแพร่ได้ นำเนื้อหาไปลงในเพจ เว็บไซต์ ไวนิล หรือสื่อต่างๆ ได้ มีลิงค์ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย

จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นศูนย์กลางในการจัดทำสื่อ เพื่อสนับสนุนให้กับทุกโครงการย่อย มีการติดตามการนำเสนอชิ้นงานของโครงการย่อย และมีการนำชิ้นงานของโครงการย่อยที่เด่นๆ มาออกรายการ “กินอิ่ม นอนอุ่น บนแผ่นดินใต้” โดยการไลฟ์สดทาง facebook ประเด็นที่มีการขับเคลื่อน ประกอบด้วย การจัดการน้ำทั้งระบบ การจัดการอาหารปลอดภัย ซึ่งมีการติดตามองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ มีการพัฒนาศักยภาพการใช้สื่อให้กับเครือข่ายผ่านทางสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์ค นครศรีธรรมราชจะสนับสนุนการผลิตสื่อ สนับสนุนงบประมาณ ให้กับโครงการย่อย มีการลงทำกิจกรรม on Ground กับประเด็นย่อยๆ ต่างๆ ในพื้นที่ รวมไปถึงประเด็นโครงการย่อยของจังหวัดต่างๆ ด้วย
มีการนำข้อมูลที่ได้มาผลิตเป็นรายการพิเศษ คือ “เส้นทางสู่สมัชชาประชาชนภาคใต้” ทีมข่าว ผู้ประสานงานแต่ละจังหวัด หรือกอง บก. สามารถเข้ามาแชร์ชิ้นงานจากทีมนครศรีธรรมราชได้ เพื่อนำไปช่วยกันแชร์ ช่วยกันส่งต่อ ช่วยกัน comment ชิ้นงาน
นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาศักยภาพของคนทำสื่อ โดยมีคุณอานนท์  มีศรีเป็นวิทยากร

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 31 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ จังหวัดพัทลุง จังหวัดพังงา จังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช  3 จังหวัดชายแดนภาคใต้  จังหวัดตรัง  จังหวัดสงขลา

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี