พัฒนาเครือข่ายสื่อสาธารณะ

ประชุมวิชาการ ประจำปี 2561 "สร้างคน สร้างงาน สร้างสุข สานพลังที่ก้าวข้ามขีดกำจัดสู่สุขภาวะที่ยั่งยืน28 มีนาคม 2561
28
มีนาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย วิลาสลักษณ์ แก้วบุญเรือง
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อต้องการศึกษาและกำหนดแนวทางการจัดทำจริยธรรมสื่อเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะทางสังคม 2. เพื่อต้องการให้เกิดนวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ของการสื่อสารสุขภาวะ 3. เพื่อการนำผลวิจัยมาใช้ให้เกิดประโยชน์และเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือต่อสาธารณชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. กล่าวต้อนรับและกล่าววัตถุประสงค์ ของเวทีห้องย่อยจริยธรรมสื่อเพื่อสุขภาวะทางสังคม
  2. เวทีเสวนา “จริยธรรมสำคัญและจำเป็นต่อการสื่อสารอย่างไร โดยเฉพาะการสื่อสารด้านสุขภาวะโดยสื่อชุมชนท้องถิ่น”
    ผู้ร่วมเสวนา
  3. ผศ.จารียาอรรถอนุชิต อาจารย์ประจำคณะวิทยาการสื่อสาร
    มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี
  4. น.ส. ยะห์อาลีสื่อโซเชียล ประชาสังคมสื่อชายแดนใต้
  5. นายทวีศักดิ์ปิยะวิสุทธิกุลผู้ประกอบการวิทยุชุมชน จ.พังงา
  6. นายชัยพรจันทร์หอม ปราชญ์ชาวบ้านผู้ใช้ประโยชน์จากสื่อ
    ดำเนินการเสวนา โดย นายเจริญถิ่นเกาะแก้ว
  7. แบ่งกลุ่มย่อย world café method 4 กลุ่ม

    1. จริยธรรมสื่อที่พึงประสงค์
    2. (คุณลักษณะ)รูปแบบการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง
    3. เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ควรมีกลไกการสื่ออย่างไร
    4. รูปธรรมของการเปลี่ยนแปลงจากการสื่อสาร
  8. แลกเปลี่ยนเพื่อหาฉันทามติร่วมเพื่อกำหนดเป็นข้อเสนอ(จากเอกสารร่างประกอบ)เพื่อเป็นข้อเสนอต่อหน่วยงานภาคี สสส. สปสช. สช. สธ. พอช.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สื่อที่ขาดจริยธรรมมักส่งผลต่อสุขภาวะทางสังคมอย่างเห็นได้ชัด นักสื่อสารทุกวันนี้เห็นการสื่อสารเป็นเรื่องที่ฉาบฉวย สื่อจึงเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญที่จะทำให้คนในสังคมได้รับความเท่าเทียมกันทางการรับสื่อจากทุกรูปแบบ รวมทั้งความเท่าเทียมต่อระบบสุขภาพ สื่อต้องให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง ที่สามารถเข้าถึงได้อย่างมีคุณภาพ

ยุคการเปลี่ยนแปลงและการรับมือ

  1. โลกแห่งความสุดโต่ง
  2. โลกแห่งความเข้มแข็ง
  3. โลกที่มีการเปลี่ยนแปลงฉับพลัน

สังคมไทยที่จะเปลี่ยนไป

  1. เปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร
  2. การขาดแคลนแรงงาน
  3. การสร้างความมั่นคงในชีวิตผู้สูงอายุ
  4. กาสร้างทัศนคติที่ดีแก่ผู้สูงวัย
  5. การเพิ่มผลิตภาพผู้สูงอายุ

สิ่งที่ต้องปรับ

  1. ปรับวัฒนาธรรมการเรียนรู้
  2. ปรับวัฒนธรรมการดำรงชีวิตขิงมนุษย์
  3. ปรับวัฒนธรรมของการทำงาน

  ดังนั้นสิ่งที่ภาคใต้ต้องทำคือ ต้องรวมพลรวมตัวตนคนทำสื่อที่พร้อมนำเสนอเรื่องราวดีๆที่เกิดขึ้นในสังคม เป็นการสื่อสารทางบวก ผ่านการทำงานในประเด็นต่างๆ เครือข่ายสื่อเป็นโครงสร้างที่มีหลากหลายกลไก ภายใต้ประเด็นการขับเคลื่อน โดยไม่มุ่งเน้นเฉพาะเรื่องของสื่อใหม่แต่เพียงอย่างเดียว จัดระบบการสื่อสารให้เกิดความเท่าเทียม
ปีนี้เราเริ่มต้นโดยการขยายฐานจากวิทยุ เช่น สื่อวิทยุที่ภูเก็ต และที่อื่นๆขยายไปทั่วทั้ง 14 จังหวัด ข้อเสนอปี 2559 ผ่านหลายหน่วยงาน รูปธรรมที่เกิดขึ้นผ่านเรื่องราวต่างๆ เช่น การท่องเที่ยวโดยชุมชน สื่อสารให้รับรู้ว่าสิ่งเหล่านี้มีอยู่จริงจนเกดการขยายฐาน เป็นโมเดลที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง

  ปี พ.ศ.2560 ภายใต้โครงการศูนย์วิชาการสร้างเสริมสุขภาวะภาคใต้(ศวสต.)ที่รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีสถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ สจรส. เป็นหน่วยประสานงาน แผนงานการพัฒนาเครือขายสื่อสาธารณะ เป็นแผนงานที่จะพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อ โดยที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของคนทำสื่อชุมชนในพื้นที่ภาคใต้ ที่มาจาก คนทำสื่อวิทยุชุมชน หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น สื่อออนไลน์ สื่อโซเชียล(สื่อใหม่) ซึ่งตามภารกิจร่วมกันจะมุ่งเน้น“สื่อเพื่อการขับเคลื่อนสังคม สู่การเปลี่ยนแปลง” จึงเกิดเป็น “เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้” โดยมี กอง บก.สื่อสร้างสุขภาคใต้ เป็นกลไกการออกแบบการทำงานสื่อสารสาธารณะประเด็นสุขภาวะทางสังคม ในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ 4 ประเด็น ใต้ล่าง 3 ยะลา ปัตตานี การแพทย์พหุวัฒนธรรม ใต้กลาง สงขลา , พัทลุง , นครศรีธรรมราช ความมั่นคงทางด้านอาหาร ใต้บน ชุมพร , สุราษฏร์ธานี ความมั่นคงของมนุษย์ ใต้อันดามัน กระบี่ , ตรัง การท่องเที่ยวโดยชุมชน เกิดรายการวิทยุ “กินอิ่ม นอนอุ่น บนแผ่นดินใต้” ออกอากาศวันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00น. – 10.00น. และการใช้สื่อ ออนไลน์ เช่น เวปไซต์ เฟสบุ๊ค ไลน์กลุ่ม หนังสือพิมพ์ออนไลน์ ในการสื่อสารประเด็นด้านสุขภาวะ

เป้าหมายปี2560

  1. ขยายเครือข่ายสื่อเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะภาคใต้ 14 จังหวัด
  2. เกิดแนวทางปฏิบัติเพื่อกำหนดกรอบจริยธรรมสื่อสารเพื่อสังคมสุขภาวะ
  3. รูปแบบการสื่อสารเพื่อสุขภาวะในชุมชนภาคใต้
  4. ยกระดับเป็นนักสื่อสารสุขภาวะมืออาชีพ

คุณลักษณะในการสื่อสารสุขภาวะใช้ลักษณะการสื่อสารประเด็นต่างๆ ดังนี้

  1. ศิลปวัฒนธรรม การละเล่น พิธีกรรม ดนตรี สื่อพื้นบ้าน
  2. สื่อพื้นบ้าน ได้แก่ ดนตรี มโนราห์ หนังตะลุง เพลงบอก
  3. รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ สารคดี สปอร์ตวิทยุ คลิปรณรงค์
  4. สิ่งพิมพ์/สิ่งพิมพ์ออนไลน์
  5. โซเชียลมิเดียร์ เช่น Facebook, ไลน์, ทวิตเตอร์, Youtube
  6. วงคุย เวที

กล่าววัตถุประสงค์ โดย นายวรวิชญ์ กฐินหอม นักวิจัย

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อต้องการศึกษาและกำหนดแนวทางการจัดทำจริยธรรมสื่อเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะทางสังคม 2. เพื่อต้องการให้เกิดนวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ของการสื่อสารสุขภาวะ 3. เพื่อการนำผลวิจัยมาใช้ให้เกิดประโยชน์และเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือต่อสาธารณชน

ปัจจุบันสื่อเป็นตัวสำคัญที่สามารถสร้างและเป็นตัวแปรสิ่งต่างๆให้เกิดขึ้นในสังคม การสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้รับข้อมูลข่าวสารรวมถึงมาตรฐานที่แสดงถึงอัตลักษณ์ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งการกำหนดมาตรฐานจริยธรรมการสื่อสารเพื่อสุขภาวะที่จะเป็นการสร้างต้นแบบที่เป็นนวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ที่มีความทัดเทียมกับกลุ่มสื่อมวลชนหลักในระดับชาติ จึงได้มีการกำหนดหัวข้อวิจัยในหัวข้อ แนวปฏิบัติเพื่อกำหนดจริยธรรมการสื่อสารเพื่อสุขภาวะ

เวทีเสวนา “จริยธรรมสำคัญและจำเป็นต่อการสื่อสารอย่างไร โดยเฉพาะการ สื่อสารด้านสุขภาวะ โดยสื่อชุมชนท้องถิ่น”

ผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย

  1. ผศ.จารียา อรรถอนุชิต อาจารย์ประจำคณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี
  2. น.ส. ย๊ะห์ อาลี สื่อโซเชียล ประชาสังคมสื่อชายแดนใต้
  3. นางฐิติชญา บุญโสม ผู้ประกอบการวิทยุชุมชน จ.กระบี่
  4. นายชัยพร จันทร์หอม ปราชญ์ชาวบ้านผู้ใช้ประโยชน์จากสื่อ

ดำเนินการเสวนา โดย นายเจริญ ถิ่นเกาะแก้ว

ที่ผ่านมาสื่อมักจะกลายเป็นจำเลยของสังคม สื่อมีอยู่หลายประเภท บางคนนำเสนอโดยไม่มีการกรองข่าว
ความหมายของนักสื่อสารชุมชน?

  ผศ.จารียา อรรถอนุชิต ทุกคนที่ทำหน้าที่ที่จะบอกกล่าวกับใครต่อใครที่เป็นประโยชน์ต่อบุคคลและสังคม นักสื่อสารจะทำตัวอย่างไรให้มีจริยธรรม คุณค่าของความเป็นสื่อมีเหตุผลเดียว คือความรับผิดอบ ต่อตนเอง ต่อสังคม คนที่ทำสื่อจะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อมีความรับผิดชอบ นักสื่อสารที่ดีจึงมีไม่กี่คนที่จะเป็นได้
เราเป็นนักสื่อสารชุมชนแล้วหรือยัง? ต้องทบทวนตัวเอง สิ่งที่เราสื่อสารกันมีคุณค่ามีประโยชน์ต่อชุมชนแล้วหรือยัง เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะแค่ไหน และสิ่งที่เราทำให้ประโยชน์ต่อชุมชน ต่อสาธารณะแล้วหรือยัง สิ่งต่างๆเหล่านี้อยู่ที่เนื้อหา การอ้างแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้มีมากน้อยแค่ไหน

สุขภาวะ คือ ภาวะที่เป็นสุข คนทำสื่อเองก็ต้องมีความสุข ทำในสิ่งที่ถูก สร้างความตื่นตระหนักในสิ่งดีๆ คุณค่าของการได้มีชีวิตที่เป็นสุข และเรานำมันอกมาเผยแพร่ มาแบ่งปันให้กับคนอื่นๆในสังคมได้รับรู้ และสุดท้ายสิ่งเหล่านั้นก็จะส่งผลให้คนทำสื่อเองได้มีความสุข คุณธรรม ทำในสิ่งที่มีคุณ

ประเด็นคำถาม

  1. เรื่องอะไรบ้างที่เป็นประโยชน์ สามารถทำให้คนเชื่อถือได้
  2. บทบาทสำหรับนักสื่อสารชุมชน
  3. ภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปคืออะไร

  นายเจริญ ถิ่นเกาะแก้ว จรรยาบรรณของนักสื่อสาร เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่จะทำให้สื่อชุมชนนำไปสู่วิชาชีพสื่อที่ดีได้อย่างไร วิทยุ เป็นสื่อที่ต้องอธิบายเป็นภาษาพูดการโฆษณาส่งผลต่อการสื่อสารอย่างไร

  นายทวีศักดิ์ ปิยะวิสทธิกุล ในส่วนของผู้ประกอบการวิทยุมีปัญหาอย่างมาก เช่น เรื่องของผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถทำยอดขายได้เหมือนเดิม หรือการโฆษณาที่เกินจริง ซึ่งน่าจะเกิดจากการหวังผลประโยชน์ที่เกินไปของผู้ประกอบการ การอธิบายของดีเจที่เกินจริงที่อ้างอิงนักวิชาการต่างๆ การโฆษณาจึงเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาข้อกฎหมายด้วย เมื่อมีกิจกกรมดีๆเราต้องช่วยกันประชาสัมพันธ์ในทุกช่องทางทั้ง ออนแอร์ ออนไลน์ และออนกราวน์ เพื่อให้สังคมได้รับเรื่องราวดีๆและเป็นตัวอย่างที่ดี สื่อชุมชนต้องเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ดี

  นายเจริญ ถิ่นเกาะแก้ว หลายๆเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลายคนโทษสื่อ สื่อสารมวลชน(ดีเจ) กับ พ่อค้าที่มาอาศัยสื่อขายของ เป็นเรื่องที่สับสน คนไม่สามารถแยกแยะได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่กำลังเข้าใจผิดระหว่างสื่อโซเชียลมีเดีย และสื่อชุมชน ปัญหาจุดอ่อนที่เกิดขึ้นกับสื่อชุมชน

  น.ส.ย๊ะห์ อาลี (สื่อโซเชียล ประชาสังคมสื่อชายแดนใต้) วิทยุชุมชนเป็นเรื่องที่ต้องปรับตัวเองมาก ผู้จัดต้องมีการหาความรู้ให้กับตัวเอง ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันให้มากที่สุด นักสื่อสารชุมชนเป็นการสื่อสารเชิงพลังบวก โมโจเป็นเครื่องมือที่สำคัญสามารถช่วยเรื่องกรรสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว การเป็นนักสื่อสารที่ดีต้องเป็นคนที่มีคุณธรรมและจริยธรรมเป็นอย่างมาก สามารถแยกแยะวิเคราะห์ข้อมูลก่อนที่จะสื่อสารออกไปได้

  1. ข้อจำกัดด้านเวลา
  2. เนื้อหาการนำเสนอ
  3. ทักษะ
  4. รูปแบบข่าวเดิม

จริยธรรมของสื่อชุมชนที่ควรจะเป็นควรเป็นอย่างไร

สื่อจังหวัดชายแดนใต้ เป็น มีระเบิด 1 ครั้ง ต้องทำเรื่องราวดีๆนำเสนอถึง 8 ครั้ง เพื่อกลับข่าวเหล่านนั้น การทำเรื่องการสื่อสารพลังบวก การนำเสนอเรื่องการท่องเที่ยวที่ดี ซึ่งส่งผลให้ตอนนี้การท่องเที่ยวใน 3 จังหวัดชายแดนสามารถสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

นายเจริญ ถิ่นเกาะแก้ว สังคมเมื่อได้รับการสื่อสารที่ดี สังคมก็จะถูกกล่อมเกลาออกมาดี สถานการสื่อเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านจริยธรรมสื่ออย่างไร

นายชัยพร จันทร์หอม ปราชญ์ชาวบ้านผู้ใช้ประโยชน์จากสื่อ เวทีพูดคุยปรึกษาหารือในชุมชน

  1. สื่อโฆษณา เช่น รถเร่ ของหน่วยงานราชการ มวลชน หนังสือ วิทยุ ทีวี สื่อพลังบวกเป็นสื่อที่ดี สื่อโฆษณาเป็นเรื่องของการสื่อสารทางการค้า
  2. รัฐ เป็นการโฆษณาแบบชวนเชื่อ

สิ่งเหล่านี้ควรยึดโยงกับ ความดีงาม ความจริง ความถูกต้อง ชาวบ้านต้องการสื่อที่สะท้อนสามารถบอก ปกป้อง คุ้มครอง เห็นการพัฒนาสื่อที่สามารถเติมเต็ม ปัจจุบันสื่อเชิงพัฒนามีหลากหลาย มีลักษณะเป็นหัวใจสาธารณะที่มีหน้าที่เปิดพื้นที่ทางสังคม

สื่อสร้างสุขเป็นเรื่องของการแบ่งปัน มีการเติมเต็ม มีการพัฒนาทีสร้างสรรค์ พัฒนาเป็นพลังบวกไปด้วยกัน คนทำสื่อ สถาบันสื่อเราไม้ได้นำไปทำเอง แต่เรามีหน้าที่นำเสนอสิ่งที่ดีที่มีอยู่แล้วในชุมชนหรือสังคมออกสู่สาธารณะ
สถานการณ์โดยรวมเป็นสถานที่ปั่นป่วน สับสน สุขภาวะที่ดีต้องมีหลักคิดที่ชัดเจน สื่อที่ดีต้องมีคุณธรรม การอยู่ร่วมกันในสังคมต้อง และต้องมีกระบวนการทางสังคมที่ดี ต้องมีปัญญาสุขภาวะ การล้อมวงคุยเป็นทางออกหนึ่งที่สามารถเป็นทางออกลดความขัดแย้ง สร้างรอยยิ้ม สร้างความสมานฉันท์ กาก้าวข้ามข้อจำกัดไปสู่สุขภาวะต้องมีเป้าหมายร่วม เพื่อสร้างความดีงามให้เกิดในสังคม

ความคิดเห็นผู้เข้าร่วม การใช้พลังสื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลง

  1. ให้ช่วยสื่อกับประชาชนที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง(ความดัน เบาหวาน...เป็นต้น) เมื่อไปหาหมอทุกครั้งให้นำยาที่เหลือไปด้วย ลดการกินยาซ้ำซ้อนของคนไข้
  2. ให้ช่วยสื่อให้คนไข้ถ่ายรูปยาที่ตัวเองกินมาด้วย เพื่อลดการจ่ายยาและรักษาซ้ำ
  3. สื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลง หรือ สื่อเชิงบวก อยากให้มองถึงประโยชน์จากการเกิดน้ำท่วม น้ำหลาก ไม่ใช่นำเสนอแต่ทางลบ หรือความเสียหาย เช่น ปลา
  4. ช่วยให้เผยแพร่ด้านเทคนิคสื่อ
  5. ด้านจริยธรรมและคุณธรรมของสื่อด้านการเผยแพร่ข่าวสาร
  6. รูปแบบของสื่อ ด้านคุณค่า ความดี ส่งผลให้กับสังคมได้อย่างไร

จริยธรรมสื่อที่พึงประสงค์

  • พูดถึงความสุข สื่อในรูปแบบที่ถนัด มีคุณธรรม และรูปธรรม
  • (คุณลักษณะ)รูปแบบการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง

แบ่งได้ 2 ส่วน

  • เครื่องมือที่ใช้
  • ทักษะของเนื้อหาข่าว มีคุณสมบัติ คือ คนทำสื่อที่อยู่เหตุการณ์หรือพื้นที่การนำเสนอต้องตรงไปตรงมา เป็นกลาง และเมื่อได้รับข่าวจากที่อื่นจำเป็นต้องมีโครงสร้างเพื่อประกอบเหตุผลให้กับคนที่รับข่าว
  • ไม่นำเสนอแต่ปรากฏการณ์ เนื้อหาข่าวต้องเกิดคุณค่าต่อการรับรู้หรือเปลี่ยนแปลงอย่างไร
  • ใช้พื้นที่กลางผนวกกับกิจกรรม
  • ข้อมูลต้องชัดเจน รับผิดชอบในสิ่งที่นำเสนอ
  • เป้าหมายที่เราจะนำเสนอ นำเสนอใคร เรื่องอะไร เพื่ออะไร มีวิธีการอย่างไร

แลกเปลี่ยนเพื่อหาฉันทามติร่วมเพื่อกำหนดเป็นข้อเสนอ(จากเอกสารร่างประกอบ)เพื่อเป็นข้อเสนอต่อหน่วยงานภาคี สสส. สปสช. สช. สธ. พอช.

เพื่อให้เกิดการสนับสนุนและให้เกิดการทำงานแบบบูรณาการเชื่อมร้อยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับกลุ่มคนที่ได้ใช้ประโยชน์กับเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ในทุกระดับกลุ่มคน จึงมีข้อเสนอดังนี้

ข้อเสนอต่อ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

  1. เสนอให้สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)หนุนเสริมการพัฒนาศักยภาพกองบก.สื่อสร้างสุขภาคใต้ โดยให้เครือข่ายสื่อเป็นกลไกการสื่อสารของการสร้างเสริมสุขภาพพื้นที่ภาคใต้
  2. ใช้โมเดลสื่อสร้างสุขภาคใต้ เพื่อการสื่อสารของสำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  3. เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภูมิภาค เพื่อการขยายเครือข่ายการทำงานสื่อ
    4.

ข้อเสนอต่อศูนย์ภาคใต้ฯ สำนักงาน คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)

  1. เสนอให้ ศูนย์พัฒนานโยบายสาธารณะและเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมภาคใต้ (สช.) ร่วมกับเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ โดยกอง บก.สื่อสร้างสุขภาคใต้ ผลักดันประเด็นจริยธรรมสื่อชุมชนเป็นนโยบายสาธารณะในระดับชาติผ่านกระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ หรือสมัชชาเชิงประเด็น
  2. เสนอให้ สช.ปรับเพิ่มกลไกการสื่อสารเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ในระดับภาคจากเดิมทีมีเพียงกลไก 4 PW จังหวัด และกลไกวิชาการภาค โดยเพิ่มกลไกการสื่อสารเพื่อการขับเคลื่อนนโยบาย เป็นอีกหนึ่งกลไกเพื่อสื่อสารการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายทั้งในระดับภาคและระดับพื้นที่
  3. เสนอให้ สช. ใช้กลไกการทำงานของสื่อสร้างสุขภาคใต้กับการขับเคลื่อน นโยบายสาธารณะในพื้นที่ภาคใต้ อย่างต่อเนื่อง

ขอเสนอต่อ สำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

  1. เสนอให้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)สนับสนุนให้เกิดกระบวนการสื่อสารเพื่อการเข้าถึงสิทธิที่สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมภาคใต้โดยผ่านเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้
  2. เสนอให้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช) เขต 11 และ เขต 12 จัดตั้งกลไกการสื่อสารเพื่อการพัฒนากองทุนในระดับเขต

ข้อเสนอต่อ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน องค์การมหาชน (พอช.)

ยังไม่มีข้อเสนอแต่คณะทำงานเครือข่ายสื่อต้องศึกษาข้อมูลความสอดคล้องและการนำสื่อไปใช้ประโยชน์กับกระบวนการทำงานของ พอช.ต่อไป

ข้อเสนอต่อ กระทรวงสาธารณะสุข ( สธ.)

  1. เสนอให้เพิ่มภาคีเครือข่ายสื่อในโครงสร้างคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)
  2. เสนอให้มีการนำผลงานวิจัยที่มีการยอมรับในเรื่องของระบบสุขภาพมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ

ข้อเสนอจากเครือข่ายภาคีสร้างสุขภาคใต้

  1. ขอให้สมาชิกเครือข่ายสื่อเป็นสื่ออาสาสร้างสุขภาคใต้
  2. เพิ่มช่องทางการสื่อสารโดยใช้เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้เป็นช่องทางหลัก
  3. ใช้การล้อมวงคุยในการถอดประเด็นการขับเคลื่อนเพื่อประโยชน์ของสื่อสาร
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 78 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย

1.เครือข่ายสื่อสร้างสุข 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร  จังหวัดตรัง  จังหวัดสงขลา จังหวัดพังงา  จังหวัดนครศรีธรรมราช  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  จังหวัดพัทลุง จังหวัดกระบี่  จังหวัดระนอง  จังหวัดสตูล จังหวัดปัตตานี  จังหวัดยะลา  จังหวัดนราธิวาส  จังหวัดภูเก็ต
2.หนังสือพิมพ์แมกกาทัวร์ปักษ์ใต้ 3.หนังสือพิมพ์สยามทักษิณ 4.หนังสือพิมพ์โพสต์นิวส์ 5.หนังสือพิมพ์มติไทย
6.หนังสือพิมพ์เดอะนิวส์โฟร์ 7.ผู้ก่อตั้งเพจ และผู้สื่อข่าว รักแบกเป้เที่ยว

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี