พัฒนาเครือข่ายสื่อสาธารณะ

ประชุม กองบก. สื่อสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 220 มีนาคม 2561
20
มีนาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย วิลาสลักษณ์ แก้วบุญเรือง
circle
วัตถุประสงค์

1.ประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินงานของเครือข่าย 2. ร่วมรับผิดชอบภารกิจการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ ปี 2561 3. จัดทำร่างข้อเสนอในห้องย่อยพัฒนาเครอข่ายสื่อสาธารณะเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ทบทวนการเคลื่อนงานในพื้นที่ 2.นำเสนอข้อมูลงานสร้างสุขภาคใต้(งานวิชาการห้องย่อย) 3.เตรียมงานสร้างสุข  วางบทบาทหน้าที่(ห้องย่อยสื่อ)  รูปแบบห้อง  กิจกรรมในห้องย่อย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทบทวนการเคลื่อนงานในพื้นที่ โครงการ สวสต.เป็นการสนับสนนุนของสสส. ทำงานเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะแบบมีส่วนร่วม ในพื้นที่ภาคใต้สื่อภาคประชาชนหรือสื่อชุมชนที่ทำหน้าที่เป็นนักสื่อสารที่อยู่ในพื้นที่ซึ่งรู้ถึงสถานการณ์เกาะติดปัญหาและมีพื้นที่ ช่องทางการสื่อที่หลากหลายทั้ง onair , online , ongrawn และยังมีการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายสื่อเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะและได้จัดกลไกเป็นกองบรรณาธิการสื่อสร้างสุขภาคใต้ ได้มีปฏิบัติการสื่อสารภายใต้ “สื่อเพื่อการขับเคลื่อนสังคมสู่การเปลี่ยนแปลง”ซึ่งจากการที่ได้ศึกษารูปแบบวิธีการและการสร้างความเชื่อมั่นกับข้อมูลและเนื้อหาการสื่อสารด้านสุขภาวะก็มีความสำคัญและจำเป็นต่อผู้รับสาร นั่นคือแนวปฏิบัติด้านจริยธรรมการสื่อสารเพื่อสุขภาวะทางสังคม ที่เป็นมาตรฐานชี้วัดความน่าเชื่อถือและเป็นกรอบกฏกติกาของการสื่อสารซึ่งจะเน้นที่สื่อชุมชนหรือสื่อภาคประชาชนเพราะจากการศึกษาค้นคว้างานวิจัยด้าน แนวปฏิบัติเพื่อการกำหนดจริยธรรมการสื่อสารด้านสุขภาวะยังไม่มีปรากฏและเผยแพร่แต่อย่างได
ดังนั้นจากประเด็นปัญหาที่กล่าวมาการกำกับดูแลกันเอง การสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้รับข้อมูลข่าวสารรวมถึงมาตรฐานที่แสดงถึงอัตลักษณ์ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งการกำหนดมาตรฐานจริยธรรมการสื่อสารเพื่อสุขภาวะที่จะเป็นการสร้างต้นแบบที่เป็นนวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ที่มีความทัดเทียมกับกลุ่มสื่อมวลชนหลักในระดับชาติ จึงได้มีการกำหนดหัวข้อวิจัยในหัวข้อ แนวปฏิบัติเพื่อกำหนดจริยธรรมการสื่อสารเพื่อสุขภาวะ กรณีศึกษานโยบายสาธารณะพื้นที่ภาคใต้ ที่มาเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ ปี พ.ศ.2560  ภายใต้โครงการศูนย์วิชาการสร้างเสริมสุขภาวะภาคใต้(ศวสต.)ที่รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีสถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ สจรส. เป็นหน่วยประสานงาน แผนงานการพัฒนาเครือขายสื่อสาธารณะ เป็นแผนงานที่จะพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อ โดยที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของคนทำสื่อชุมชนในพื้นที่ภาคใต้ ที่มาจาก คนทำสื่อวิทยุชุมชน หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น  สื่ออนไลน์  สื่อโซเชียล(สื่อใหม่) ซึ่งตามภารกิจร่วมกันจะมุ่งเน้น“สื่อเพื่อการขับเคลื่อนสังคม สู่การเปลี่ยนแปลง” จึงเกิดเป็น “เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้” โดยมี กอง บก.สื่อสร้างสุขภาคใต้ เป็นกลไกการออกแบบการทำงานสื่อสารสาธารณะประเด็นสุขภาวะทางสังคม ในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ 4 ประเด็น ใต้ล่าง 3 ยะลา ปัตตานี การแพทย์พหุวัฒนธรรม ใต้กลาง สงขลา , พัทลุง , นครศรีธรรมราช ความมั่นคงทางด้านอาหาร ใต้บน ชุมพร , สุราษฏร์ธานี ความมั่นคงของมนุษย์ ใต้อันดามัน กระบี่ , ตรัง การท่องเที่ยวโดยชุมชน เกิดรายการวิทยุ “กินอิ่ม นอนอุ่น บนแผ่นดินใต้” ออกอากาศวันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00น. – 10.00น. และการใช้สื่อ ออนไลน์ เช่น เวปไซต์  เฟสบุ๊ค ไลน์กลุ่ม หนังสือพิมพ์ออนไลน์ ในการสื่อสารประเด็นด้านสุขภาวะ
เป้าหมาย ปี 2561
• ขยายเครือข่ายสื่อเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะภาคใต้ 14 จังหวัด • เกิดแนวทางปฏิบัติเพื่อกำหนดกรอบจริยธรรมสื่อสารเพื่อสังคมสุขภาวะ • รูปแบบการสื่อสารเพื่อสุขภาวะในชุมชนภาคใต้ • ยกระดับเป็นนักสื่อสารสุขภาวะมืออาชีพ • เชื่อมโยงภาคีเครือข่าย สุขภาวะ เพื่อเป็นเครื่องมือกลางและเปิดพื้นที่และช่องทางการสื่อสารเพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกัน

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการสื่อสาร หลังจากที่ได้นำเสนอประเด็นหรือเรื่องที่ต้องการเปลี่ยนแปลงแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างไร • ผู้ชมทางสื่อออนไลน์(Live สด)ให้ความสนใจแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่นำเสนอ • รูปธรรมการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการสื่อสาร  ใช้ตัวอย่างกรณีพื้นที่ Best plactist รายพื้นที่ นำเสนอผลลัพธ์ที่สามารถวัดได้จากกระบวนการที่เกิดขึ้นจริง  เพื่อเป็นตัวกระตุ้นให้พื้นที่อื่นๆเกิดการเอาอย่าง
• พัทลุง เรื่องพลังงาน การสื่อสารที่เปลี่ยนแปลงระดับบุคคล ชุมชน ให้ตระหนักถึงการประหยัดพลังงานมากขึ้น สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันมากขึ้น
• ประเด็นอื่นๆที่สังคมให้ความสนใจ • ผู้ฟังผ่านรายการวิทยุให้ความสนใจแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่นำเสนอ • มีผู้ติดตามรับชมย้อนหลังและมีการแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

ข้อเสนอต่อ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
• หนุนเสริม/พัฒนาศักยภาพและต่อยอดการทำงาน • สนับสนุนโมเดลการขับเคลื่อนตามแนวทางกองบก.สื่อสร้างสุข
• เผยแพร่การทำงานโดยการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ไปยังภูมิภาคอื่นๆ

ข้อเสนอต่อ สำนักงาน คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) • ให้ศูนย์ภาคของสช. /สำนักสมัชชา ร่วมกับเครือข่ายสื่อ(สื่อเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะ) ผลักดันให้เกิดประเด็นจริยธรรมสื่อ เป็นนโยบายสาธารณะระดับชาติ โดยผ่านกระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ หรือสมัชชาเชิงประเด็น • ขอให้สช.สนับสนุนสื่อสร้างสุขเป็นกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนการสื่อสารนโยบายสาธารณะ ทั้งระดับภาคและระดับพื้นที่ • ขอให้สช.พัฒนาและสนับสนุนองค์ความรู้เกี่ยวกับ................เพื่อเป็นเครื่องมือให้กับนักสื่อสารสร้างสุขภาคใต้ • ให้แผนงานสื่อฯเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนของสช.

ข้อเสนอต่อ สำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ต้องการสื่อสารให้ทุกคนเข้าถึงสิทธิ์ ทำอย่างไรให้กองทุนตำบลเข้าถึงงบอย่างทั่วถึง
• สนับสนุนกระบวนการสื่อสารเพื่อการเข้าถึงสิทธิ์ที่สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมของภาคใต้ • ให้ สปสช.เขต11 เขต12 ตั้งกลไกเพื่อการสื่อสารในระดับเขตเพื่อการพัฒนากองทุนตำบล ข้อเสนอต่อ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน องค์การมหาชน (พอช.) ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งในการทำงาน โดยมีสภาองค์กรชุมชนเป็นพื้นที่กลาง ภายใต้ประเด็นงาน  การสื่อสารต้องให้เขาเข้าใจบทบาท ข้อเสนอต่อ กระทรวงสาธารณะสุข(สธ.)
•      เสนอให้เพิ่มภาคีเครือข่ายสื่อในโครงสร้างคณะกรรมการ

ข้อมูลสร้างสุขภาคใต้(งานวิชาการห้องย่อย)ตามแบบฟอร์มที่ส่งไป รูปแบบ การก่อตัวของเครือข่ายสื่อ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง  รูปธรรมที่เกิด  แนวปฏิบัติที่เป็นจริยธรรมเพื่อการสื่อสาร
- เนื้อหาวิชาการ  ที่มา วัตถุประสงค์ ที่มาเครือข่ายสื่อสร้างสุข

เตรียมงานสร้างสุข วางบทบาทหน้าที่ - MC พี่สาวชุมพร - บันทึก ทีมเลขานคร - ห้องพัก กชมน โพธิ์ถาวร
- การเงิน วิลาสลักษณ์  แก้วบุญเรือง
- วันที่ 27 ต้องทีมงานบางส่วนเข้าไปเตรียมงาน - ห้องย่อยสื่อ  อ.พิภพ มาให้ความรู้ - ประชาสัมพันธ์ด้านหน้า - Line add ผู้เข้าร่วมต้องมีการสแกนคิวอาร์โค๊ด - นำเสนอห้องย่อย/รูปแบบการนำเสนอ ผู้เข้าร่วมรู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่
1. ภาพเล่าเรื่อง
2. วงเสวนาการพัฒนาสื่อเพื่อสุขภาวะทางสังคม แบ่งเป็น 2 ช่วง นำเข้าข้อมูล วงเสวนา         -  อาจารย์จาก มอ.ปัตตานี         -  คุณแวว วงเสวนา • จริยธรรมสื่อที่พึงประสงค์ • รูปแบบการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง คืออะไร • รูปแบบสื่อเป็นแบบไหนที่สามารถนำไปสู่ข้อเสนอได้


circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 34 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

เครือข่ายสื่อสร้างสุข 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร  จังหวัดตรัง  จังหวัดสงขลา จังหวัดพังงา  จังหวัดนครศรีธรรมราช  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  จังหวัดพัทลุง จังหวัดกระบี่

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี