พัฒนาเครือข่ายสื่อสาธารณะ

สนับสนุนพื้นที่ ประเด็นสุขภาวะทางสังคมการจัดการปัจจัยเสี่ยงจังหวัดชุมพร งวดที่ 221 มีนาคม 2561
21
มีนาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย วิลาสลักษณ์ แก้วบุญเรือง
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อสร้างองค์ความรู้และพัฒนาต้นแบบด้านการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพโดยระบบสุขภาพ  2.เพื่อพัฒนาข้อเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพในทุกระดับ  3. เพื่อสื่อสาธารณะประเด็นปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ  4. เพื่อเสริมสร้างมุมมองต่อชีวิตในเชิงบวก มีทัศนคติที่ถู

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.เวทีถอดบทเรียนคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอสวี จ.ชุมพร         -  ติดต่อประสานงานกับสาธารณะสุขอำเภอสวี เพื่อออกแบบวางแผนการทำงาน กำหนด กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง  กำหนดวันเวลาสถานที่ วิทยากรและทีมงานสื่อสร้างสุขภาคใต้         -  ประสานเชิญกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น  นายอำเภอสวี  วิทยากรที่จะเป็นผู้ดำเนินรายการ ชวนคิดชวนคุยถอดบทเรียน  สถานที่  ทีมสื่อ  และเชิญผู้เข้าร่วม         -  ลงทะเบียนผู้เข้าร่วม         -  กล่าวทักทายผู้เข้าร่วมและชี้แจงวัตถุประสงค์ของการเวทีถอดบทเรียน         -  วิทยากรชวนคิดชวนคุยสานเสวนาประเด็นประเด็นเหล้ากับระบบสุขภาพคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)สถานการณ์ปัญหาของพื้นที่ ระบบสุขภาพที่เกี่ยวข้อง กระบวนการทำงาน ผลลัพธ์ ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพประเด็น กลไก/โครงสร้างที่ขับเคลื่อน ปัญหา/อุปสรรคและแนวทางแก้ไข ปัจจัยที่เอื้อ/อุปสรรครวมทั้งบทเรียน/ข้อค้นพบที่น่าสนใจข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานและสื่อ

2.เวทีถอดบทเรียนการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพโดยการบูรณาการภาครัฐกับภาคประชาสังคม จ.ระนอง         -  ติดต่อประสานงานกับประชาคมงดเหล้าจังหวัดระนอง เพื่อออกแบบวางแผนการทำงาน กำหนด กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง  กำหนดวันเวลาสถานที่ วิทยากรและทีมงานสื่อสร้างสุขภาคใต้         -  ประสานเชิญกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ทั้งหน่วยงานและ  วิทยากรที่จะเป็นผู้ดำเนินรายการ         -  ชวนคิดชวนคุยถอดบทเรียน  สถานที่  ทีมสื่อ  และเชิญผู้เข้าร่วม         -  ลงทะเบียนผู้เข้าร่วม         -  กล่าวทักทายผู้เข้าร่วมและชี้แจงวัตถุประสงค์ของการเวทีถอดบทเรียน         -  วิทยากรชวนคิดชวนคุยสานเสวนาประเด็นประเด็นเหล้ากับระบบสุขภาพคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)สถานการณ์ปัญหาของพื้นที่ ระบบสุขภาพที่เกี่ยวข้อง กระบวนการทำงาน ผลลัพธ์ ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพประเด็น กลไก/โครงสร้างที่ขับเคลื่อน ปัญหา/อุปสรรคและแนวทางแก้ไข ปัจจัยที่เอื้อ/อุปสรรครวมทั้งบทเรียน/ข้อค้นพบที่น่าสนใจข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานและสื่อ

3.ถอดบทเรียนเครือข่ายสมัชชาสุขภาพ จ.ตรัง       -  ติดต่อประสานงานคณะทำงานสมัชชาสุขภาพ จังหวัดตรังเพื่อออกแบบวางแผนการทำงาน  กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง  กำหนดวันเวลาสถานที่ วิทยากรและทีมงานสื่อสร้างสุขภาคใต้       -  ประสานเชิญกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ วิทยากรที่จะเป็นผู้ดำเนินรายการ ชวนคิดชวนคุยถอดบทเรียน  สถานที่  ทีมสื่อ  และเชิญผู้เข้าร่วม       -  ลงทะเบียนผู้เข้าร่วม       -  กล่าวทักทายผู้เขข้าร่วมและนำเข้าข้อมูลอุบัติเหตุช่วงเทศกาลที่ผ่านมา       -  วิทยากรชวนคิดชวนคุยสานเสวนาประเด็นตรัง ประเด็นบุหรี่กับระบบสุขภาพสมัชชาสุขภาพจังหวัดสถานการณ์  ปัญหาข้อเสนอแนะ
      -  เปิดรับฟังความคิดเห็นและตอบข้อซักถามผ่านสื่อออนไลน์

4.เวทีสาธารณะการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพโดยระบบสุขภาพ ภาคใต้ จ.สงขลา         -  ติดต่อประสานงานกับประชาคมงดเหล้าจังหวัดสงขลา เพื่อออกแบบวางแผนการทำงาน กำหนด กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง  กำหนดวันเวลาสถานที่ วิทยากรและทีมงานสื่อสร้างสุขภาคใต้         -  ประสานเชิญกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ทั้งหน่วยงานและ  วิทยากรที่จะเป็นผู้ดำเนินรายการ ชวนคิดชวนคุยถอดบทเรียน  สถานที่  ทีมสื่อ  และเชิญผู้เข้าร่วม         -  ลงทะเบียนผู้เข้าร่วม         -  กล่าวทักทายผู้เข้าร่วมและชี้แจงวัตถุประสงค์ของการเวทีถอดบทเรียน
        -  วิทยากรชวนคิดชวนคุยสานเสวนาประเด็นประเด็นเหล้ากับระบบสุขภาพคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)สถานการณ์ปัญหาของพื้นที่ ระบบสุขภาพที่เกี่ยวข้อง กระบวนการทำงาน ผลลัพธ์ ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพประเด็น กลไก/โครงสร้างที่ขับเคลื่อน ปัญหา/อุปสรรคและแนวทางแก้ไข ปัจจัยที่เอื้อ/อุปสรรครวมทั้งบทเรียน/ข้อค้นพบที่น่าสนใจข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานและสื่อ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.เวทีถอดบทเรียนคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอสวี จ.ชุมพร     ปัจจุบันสถานการณ์ปัญหาการดื่มเหล้าของประชาชนในพื้นที่ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร โดยการรายงานของนายอำเภอสวี พบว่า อำเภอสวีเป็นอำเภอหนึ่งซึ่งมีทั้งหมด 11 ตำบล มีจำนวนประชากรประมาณ 70,000 คน ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นวัยแรงงาน ทำให้ผู้ที่ดื่มเหล้าส่วนใหญ่เป็นวัยแรงงานแต่มีจำนวนไม่มากเท่าใด โดยส่วนใหญ่ผู้ที่ดื่มเหล้าจะเกิดผลกระทบทางด้านสุขภาพซึ่งเป็นปัญหาหลัก ซึ่งส่งผลกระทบอื่นๆตามมาอีกมากมาย เบื้องต้นสาธารณสุขอำเภอได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ปัญหาสาธารณสุขที่พบในพื้นที่ส่วนใหญ่ คือ วัณโรค เบาหวาน ความดันโลหิตสูง จมน้ำ และปัญหาติดสุรา โดยพบว่าแนวโน้มของผู้ที่ติดสุราเป็นกลุ่มแนวโน้มของวัยรุ่นซึ่งอยู่ในกลุ่มของนักเรียนและนักศึกษา ส่งผลให้เกิดปัญหาในด้านสุขภาพ เช่น ขาดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ สมองเสื่อม สติฟั่นเฟือน เกิดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว รวมถึงส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านศีลธรรมมากขึ้น ปัญหาเหล่านี้จึงเป็นส่วนสำคัญในการในการรณรงค์และจัดกิจกรรมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อลดจำนวนของผู้ดื่มเหล้า โดยกระบวนการรณรงค์และกิจกรรมต่างๆ ในการลดการดื่มเหล้าของอำเภอสวีจึงเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการดำเนินการเพื่อจัดกิจกรรมในการลดเหล้าให้กับประชาชน โดยใช้รูปแบบชุมพร Model (3 ส 5 ช) ประกอบด้วย ซึ่งความร่วมมือของทุกภาคส่วนถือเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนงานด้านสุขภาพให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยแต่ละภาคส่วนจะมีบทบาทที่แตกต่างกันไป ดังนี้ 1. ส่วนหนุนเสริมเติมเต็ม(Moniter) ประกอบด้วยผวจ.ส่วนราชการจังหวัด/วิชาการ/ปชค./ภาคีเครือข่ายสุขภาพ มีบทบาทหน้าที่ พัฒนาศักยภาพระบบสุขภาพ/เชื่อมประสาน ผลักดันระดับจังหวัด เพื่อสร้างนโยบายที่เอื้อต่อการดำเนินงาน/สร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้/สื่อสารสาธารณะ/สร้างแรงบันดาลใจ/สนับสนุน สื่อ งบประมาณ/เชิดชูเกียรติ์ 2. ส่วนสนับสนุน (Supporter) ประกอบด้วยนอภ./สสอ./รพ.ช./อปท./กำนัน/เอกชน/สื่อ/รพ.สต. มีบทบาทหน้าที่ เชื่อมประสานทั้งแนวดิ่ง แนวราบ เชิงนโยบาย/บังคับใช้กฎหมาย/พัฒนาศักยภาพชุมชน/สร้างความยั่งยืน เช่น คำสั่งแต่งตั้ง บรรจุในระเบียบ กติกา บทบัญญัติ/วิเคราะห์ความเสี่ยง ผู้มีส่วนได้เสีย/ถ่ายทอดจากนโยบายเป็นปฏิบัติ/ขยายผลทั้งนโยบาย พื้นที่ เวลา กลุ่มเป้าหมาย/บรรจุประเด็นปัจจัยเสี่ยงในกลไกสุขภาพในพื้นที่/ติดตาม ประเมินผล สรุป รายงาน 3. ส่วนปฏิบัติการ(Actor) ประกอบด้วยครู/พระ/อสม./ผญบ./สมาชิกคนหัวใจเพชร/หิน/เยาวชน มีบทบาทหน้าที่ สำรวจ วิเคราะห์ ทำฐานข้อมูลในชุมชน/ตั้งคณะทำงาน/สร้างการมีส่วนร่วม(วางเป้าหมาย แผนงาน ปฏิบัติ สรุป พัฒนา) สร้างสภาพแวดล้อมปลอดเหล้า/สร้างข้อตกลง/กติกา/เฝ้าระวัง ส่งเสริม ด้านกฎหมาย/สร้างและพัฒนาทักษะแกนนำ/เข้าถึงระบบสุขภาพชุมชน เช่น กองทุนฯ และหัวใจหลักของระบบการทำงานนั้น ประกอบด้วย คนทั้ง 5 ช. คือ
1. คนชง เป็นคนที่พบเจอปัญหา
2. คนชู คือ ผู้เป็นประธานการทำงานนั้น
3. คนช่วย คือ ผู้ที่สามารถให้ความร่วมมือช่วยเหลือ
4. คนเชียร์ คือ คนที่เป็นแรงสนับสนุน กำลังใจ
5. คนชิม คือ คนที่ได้รับผลประโยชน์หรือชาวบ้าน/ชุมชน ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้เป็นรูปแบบการผสมผสานการขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม โดยเน้นกิจกรรมต่างๆที่จะส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงโทษของการดื่มเหล้า เช่น การจัดกิจกรรมงดเหล้าเข้าพรรษา ซึ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักดื่มให้หยุดดื่มเหล้าในช่วงเวลา 3 เดือน โดยใช้กิจกรรมการให้กำลังใจของครอบครัว และชุมชน เป็นแรงสนับสนุน ขณะเดียวกันส่งเสริมให้คนที่ทำความดีที่สามารถเลิกดื่มเหล้าได้ครบตามกำหนดเป็นต้นแบบในการรณรงค์ ลด ละ เลิก ตามสโลแกนที่กำหนด พร้อมทั้งเชิดชูชุมชนที่เป็นต้นแบบในการดำเนินกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ชุมชนประชาเสรี หมู่ 11 ตำบล เขาค่าย อำเภอสวี จังหวัด ชุมพร ซึ่งเน้นการลด ละ เลิก เหล้าโดยมีต้นแบบจากผู้นำชุมชน ส่งผลให้เกิดพลังใจในการร่วมมือและร่วมใจระหว่างประชาชนในชุมชน เป็นต้น ขณะเดียวกันการรณรงค์กิจกรรมในโครงการลดนักดื่มหน้าใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเยาวชนและนักเรียน นักศึกษา ซึ่งบุคลากรเหล่านี้ล้วนเป็นอนาคตและกำลังในการพัฒนาประเทศ หน่วยงานต่างๆจึงต้องเน้นการเฝ้าระวังโดยร่วมมือกับคนในชุมชน สถานศึกษา และร้านค้าในการวางมาตรฐานในการซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยเน้นการให้ความรู้ตั้งแต่ระดับโรงเรียน ครอบครัว และชุมชน รวมถึงการประเมินและตรวจสอบสถานศึกษาจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดระบบการติดตามอย่างเป็นรูปธรรม ส่วนผู้ป่วยที่มีการติดเหล้าจะได้รับการดูแลรักษา และบำบัด จากโรงพยาบาลอย่างใกล้ชิด โดยเน้นกระบวนการติดตามและประเมินผลเป็นระยะๆ เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกมั่นใจ เชื่อมั่น และไว้วางใจในตนเองและผู้รักษา ส่งผลให้ผู้ป่วยที่มีการติดเหล้าสามารถเลิกได้อย่างเด็ดขาดมากขึ้น พร้อมทั้งให้คำแนะนำด้านสุขภาพโดยเน้นหลัก 3อ ได้แก่ เน้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และเน้นอารมณ์ที่สดชื่นและแจ่มใส เพื่อส่งผลต่อกำลังใจในการเลิกเหล้า ขณะเดียวกันชุมชนต้องมีส่วนร่วมและสนับสนุนให้คนในชุมชนได้ร่วมกันปฏิบัติความดีเพื่อเป็นมรดกสำหรับชุมชน เช่น ส่งเสริมการทำพินัยกรรมความดี โดยเน้นการไม่เลี้ยงเหล้าในงานต่างๆ หรือแม้แต่การจัดทำธรรมนูญหมู่บ้านในการเป็นหมู่บ้านปลอดเหล้า และส่งเสริมชุมชนต้นแบบให้เกิดขึ้นในพื้นที่ทั่วทั้งอำเภอ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดจากการบูรณาการกระบวนการและกิจกรรมจากทุกภาคส่วนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้างความตระหนัก ความคิด และความรู้ ให้เกิดขึ้นตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน และสังคม
บันไดแห่งความสำเร็จ ในกระบวนการสำคัญในการลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพจึงจำเป็นต้องมีองค์กรประกอบหลายประการ ได้แก่ การกำหนดกลยุทธ์หลักของพื้นที่ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตั้งแต่ครอบครัว ชุมชนสังคม หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งต้องใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่มาพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยมีกระบวนการที่สำคัญ 7 ขั้นตอนดังนี้
1. การวิเคราะห์ปัญหาที่ 2. การระบุประเด็นปัญหา 3. การวางแผนและนโยบาย 4. การลงมือปฏิบัติ 5. การติดตามและประเมินผล 6. การพัฒนาและปรับปรุง 7. การยกย่องและเชิดชู ซึ่งกระบวนการทั้ง 7 ขั้นตอนนี้ คือส่วนสำคัญสำหรับการดำเนินโครงการให้สบความสำเร็จ โดยเริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นตามบริบทของพื้นที่ หลังจากนั้นจะต้องมีการระบุประเด็นปัญหาอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมเพื่อให้เกิดแนวทางในการแก้ไขได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยวางแผนและนโยบายจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนอย่างเป็นระบบและชัดเจน พร้อมทั้งนำแผนลงสู่การปฏิบัติในทุกๆพื้นที่โดยเน้นให้เกิดการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน โดยเน้นในกลุ่มคนหรือพื้นที่ที่มีความเสี่ยงซึ่งจะต้องมีการติดตามและประเมินผลของการดำเนินการเป็นระยะๆเพื่อลดความผิดพลาดของกระบวนการทำงาน ขณะเดียวกันต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ และประการสุดท้ายจะต้องช่วยกันส่งเสริม สนับสนุน และยกย่องเชิดชูบุคคลหรือชุมชนที่เป็นแบบอย่างให้เกิดการเผยแพร่กิจกรรมให้ครอบคลุมพื้นที่อื่นๆมากยิ่งขึ้น กระบวนการเหล่านี้สามารถเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่นๆในการลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพได้อย่างยั่งยืน ซึ่งต้องเน้นกระบวนการมีส่วนร่วม การสร้างเครือข่าย การสร้างความรู้ การบังคับใช้กฎหมาย รวมถึงการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมให้เกิดการเรียนรู้และส่งเสริมพฤติกรรมของประชาชนและชุมชมให้เกิดความตระหนักต่อไปในอนาคต เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง และยังยืน ต่อไป

2.เวทีถอดบทเรียนการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพโดยการบูรณาการภาครัฐกับภาคประชาสังคม จ.ระนอง ผลผลิต 1. ตั้งกลุ่ม/องค์กร/ชมรม (รู้เรา) : ภาคประชาสังคมต้องมีการตั้งกลุ่มที่เข้มแข็งและเป็นรูปธรรม เช่น องค์กรสาธารณะประโยชน์ สมาคม มูลนิธิ ฯลฯ โดยสำคัญคือต้องมีเป้าหมายองค์กรที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ การศึกษา การบำบัด หรืออื่นๆ และกำหนดวัตถุประสงค์การดำเนินให้สอดคล้องกันกับ ยุทธศาสตร์การพัฒนาในพื้นที่นั้นๆ ทั้งระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และพัฒนาโครงการหรือแผนปฏิบัติการณ์ให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ตัวชี้วัดของหน่วยงานราชการ เพื่อบูรณาการด้านงบประมาณ 2. ศึกษายุทธศาสตร์หน่วยงานภาครัฐ (รู้เขา) : หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานจะมีการจัดทำยุทธ์ศาสตร์ ตัวชี้วัดไว้อย่างชัดเจน โดยสามารถหาข้อมูลได้จากเวปไซค์ของหน่วยงานนั้นๆ หรือขอรับเป็นเอกสาร เพื่อการออกแบบโครงการหรือแผนปฏิบัติการจะได้สอดคล้องกัน หรือพื้นที่ในการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วย โดยขั้นตอนนี้ต้องอาศัยการพูดคุยเพื่อสร้างความเข้าใจในกรอบการปฏิบัติ ระเบียบ ข้อบังคับ ที่ชัดเจน ทั้งขั้นตอนการปฏิบัติ การใช้จ่ายงบประมาณและการจัดการด้านหลักฐานการเงิน
3. หนุนเสริม เติมเต็ม/สร้างความสัมพันธ์ : ขั้นตอนนี้เน้นหนักมากคือ การหนุนเสริมซึ่งกันและกัน เช่น การสนับสนุนด้านการประสานงาน การจัดกิจกรรม การแชร์ความรู้ สื่อรณรงค์ และผลัดกันให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างภาครัฐและภาคประชาสังคม เช่น การออกบูธกิจกรรม การเข้าร่วมขบวนรณรงค์ การประชาสัมพันธ์ โดยยึดหลัก แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง
4. สร้างการทำงานแบบมีส่วนร่วม : โดยมีกระบวนการทำงาน ดังนี้   พื้นทีี่เป็นเจ้าของปัญหา----------ศึกษาบริบทของพื้นที่เข้าร่วม-------------กำหนดแนวทางแก้ไขร่วมกัน-----------------ตัดสินใจและปฏิบัติร่วมกัน----------------ติดตาม ประเมินผล สรุป พัฒนาร่วมกัน 5. สร้างความยั่งยืน/สร้างนโยบายสาธารณะ : เป็นขั้นตอนที่ต้องสรุปบทเรียน/ข้อค้นพบ จากการดำเนินร่วมกัน แล้วพัฒนาเป็นองค์ความรู้ เพื่อยกระดับจากยุทธ์ศาสตร์ระดับกลุ่ม/องค์กร/หน่วยงาน สู่นโยบายสาธารณะระดับจังหวัด และอาศัยต้นทุนหรือจุดแข็งของภาครัฐและภาคประชาสังคม ผลักดันให้เป็นยุทธ์ศาสตร์หลักด้านการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพของจังหวัดต่อไป ผลลัพธ์ 1. ภาครัฐ ภาคประชาสังคม ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ และปิดจุดอ่อน เสริมจุดแข็งซึ่งกันและกัน 2. เกิดกลไกขับเคลื่อนที่มีการดำเนินงานทั้งด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น การบังคับใช้กฎหมาย งานบุญประเพณีปลอกเหล้า งานชุมชนลดปัจจัยเสี่ยง งานสกัดนักดื่มหน้าใหม่ 3. เกิดการสร้างกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม ลัพฒนาเป็นแผนพัฒนาจังหวัด และบรรจุในยุทธศาสตร์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สสจ./ปภ./พมจ. 4. ภาคประชาสังคมสามารถลดปัญหาและอุปสรรค์ด้านการขาดงบประมาณในการดำเนินงาน เพราะสามารถบูรณาการด้านงบประมาณกับหน่วยงานรัฐได้ 5. หน่วยงานราชการสามารถลดปัญหาเรื่องความไม่คล่องตัวในการปฏิบัติงาน เนื่องจากข้อจำกัดด้านจำนวนบุคลากร เวลาปฏิบัติงาน เพราะภาคประชาสังคมจะมีความคล่องตัวสูงไม่ติดระเบียบราชการ

3.ถอดบทเรียนเครือข่ายสมัชชาสุขภาพ จ.ตรัง ผลผลิต 1. มีกลไกจัดการแบบพหุภาคี (๓ ภาคส่วน): คือ 1.) ภาคท้องถิ่นและราชการ2.) ภาควิชาการและวิชาชีพ3.) ภาคองค์กรพัฒนาเอกชนและประชาสังคม โดยผู้ว่าราชการจังหวัดตรังแต่งตั้งคณะทำงานขึ้น 3 ชุด คือ คณะทำงานสมัชชาสุขภาพจังหวัดตรังคณะทำงานฝ่ายเลขานุการคณะทำงานสมัชชาสุขภาพเชิงประเด็นซึ่งถือเป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญ และการทำงานก็มีความสอดคล้องทั้งเชิงยุทธศาสตร์ พื้นที่ กิจกรรม 2. มีการจัดกระบวนการอย่างเป็นระบบ : คือ 1.) ร่างข้อเสนอสมัชชาสุขภาพตรังเชิงประเด็น2.) ให้ความคิดเห็นต่อร่างข้อเสนอสมัชชาสุขภาพตรังเชิงประเด็นพื้นที่10 อำเภอ 3.)ร่างมติสมัชชาสุขภาพจังหวัดตรัง 4.) สมัชชาสุขภาพจังหวัดตรัง 5.)มติสมัชชาสุขภาพจังหวัดตรัง 6.) กระบวนการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพจังหวัดตรัง 7.)การติดตามการแปรมติสมัชชาสุขภาพสู่แผนปฏิบัติการระดับพื้นที่จังหวัด 3. มีการทำงานบนฐานความรู้ (ใช้ปัญญา) ผสมผสานเข้ากับฐานด้านจิตใจ (ด้วยความรักสมัครสมาน) 4. ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีโอกาสเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อย่างเคียงบ่าเคียงไหล่ (ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม) 5. มีประเด็นชัดเจนและพัฒนาเป็นนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพที่ดี สอดคล้องกับธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ 6. มีการผลักดันไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมในหลายช่องทาง ผลลัพธ์ 1.  เกิดกลไกที่ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะอย่างเป็นระบบ ทั้งระดับนโยบาย ระดับสนับสนุนการปฏิบัติงาน ระดับปฏิบัติการ ในการควบคุมการเข้าถึง การตรวจสอบ/ร้องเรียน การบริโภค เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ 2. การบังคับใช้กฎหมายควบคุมยาสูบ/เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสร้างระบบการช่วยเลิกบุหรี่ 3. เกิดเจ้าภาพที่รับผิดชอบที่ชัดเจนในประเด็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบและมีการดำเนินการภายใต้องค์กรหรือหน่วยงานในสังกัด 4. เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันและการรู้เท่าทันโดยเฉพาะในกลุ่มเป้าหมายเด็กและเยาวชนเพื่อป้องกันการเกิดนักดื่มนักสูบหน้าใหม่ 5. เกิดกระบวนการสื่อสารสาธารณะผ่านสื่อหลักและสื่อท้องถิ่น ในประเด็นการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อร้ายแรง(NCD) 6. เกิดการบูรณาการเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ทั้งส่วนราชการ วิชาการ และประชาสังคม 7. บรรจุเรื่องการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพในยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาจังหวัด และบรรจุในแผนปฏิบัติการโครงการของหน่วยงานราชการในจังหวัด 8. เกิดวัฒนธรรมในด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ทั้งการลดปัจจัยเสี่ยง เสริมปัจจัยสร้างครอบคลุมในทุกกลุ่มวัย

4.เวทีสาธารณะการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพโดยระบบสุขภาพ ภาคใต้ จ.สงขลา ผลผลิต 1.  เยาวชนที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติ ที่ถูกต้อง เกี่ยวกับปัญหาท้องไม่พร้อมและป้องกันตัวเองจากปัญหาท้องไม่พร้อมและปัญหาทางเพศได้ 2.  เยาวชน มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับปัญหาท้องในวัยเรียน สามารถให้ความช่วยเหลือ แนะนำได้ในเบื้องต้น 3.  เยาวชนให้ความไว้วางใจกับแกนนำชุมชนมากขึ้น/ โดยการเกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ กล้าเล่าเรื่องราวและปัญหาของตนเอง/ตระหนักรู้และร่วมระดมกันแก้ไขปัญหา ผลลัพธ์ 1.  เกิดเครือข่ายในพื้นที่ ได้รับการสนับสนุน บูรณาการ ของหน่วยงาน เช่น โรงพยาบาลอำเภอรัตภูมิ / สาธารณสุขอำเภอ / โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งมะขาม / องค์กรบริหารส่วนตำบลคูหาใต้ / ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น รวมไปถึงประชาชนพื้นที่ใกล้เคียง ที่ให้ความสำคัญในประเด็นดังกล่าว
2.  เกิดกลไกการขับเคลื่อนโดย สาธารณสุขอำเภอ สนับสนุนให้กลุ่มแกนนำสตรีเข้าร่วมกิจกรรมระดับเขตเพื่อการเข้าถึงแหล่งงบประมาณต่อไป 3.  เกิดการไว้วางใจ ในเยาวชนและประชาชนในพื้นที่มากขึ้น รวมไปถึงการไว้วางใจจากแหล่งทุนกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลคูหาใต้  ที่ได้เห็นการทำงานของแกนนำสตรีอย่างจริงจังและทุ่มเท คุ้มค่ากับงบประมาณที่อนุมัติ 4.  เกิดการเห็นคนทำงานมีใจสู้งานเกินร้อย ตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาของชุมชน สร้างความปีติให้กับองค์กร หน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เกิดความเข้าใจในกรอบ หลักการ กฏเกณฑ์การเข้าถึงงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพ มากขึ้น จากนี้จึงไม่เป็นเรื่องยากที่จะ นำเสนอโครงการต่างๆ เพื่อการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ชุมชนได้ต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 70 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย

1.เวทีถอดบทเรียนคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอสวี จ.ชุมพร 1.นายอำเภอสวี 2.สาธารณะสุขอำเภอสวี 3.โรงพยาบาลสวี 4.รพ.สต.เขาค่าย 5. เขตพื้นที่การศึกษาปฐมศึกษา ผู้ใหญ่บ้านอสม พระ ประชาชนในอำเภอสวี ประชาคมงดเหล้าจังหวัดชุมพร
6.นักวิชาการจากสถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

2.เวทีถอดบทเรียนการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพโดยการบูรณาการภาครัฐกับภาคประชาสังคม จ.ระนอง 1.เครือข่ายประชาคมงดเหล้าจังหวัดระนอง
2.ดร.มัลลิกา สุบงกฏ อาจารย์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังวิทยาเขตชุมพรเขตอุดมศักดิ์ตัวแทนจากสรรพสามิต 3.สาธารณสุขจังหวัดระนอง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดระนอง
4.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด 5.เทศบาลเมือง ประชาชน และประชาสังคม

3.ถอดบทเรียนเครือข่ายสมัชชาสุขภาพ จ.ตรัง 1.เครือข่ายประชาคมงดเหล้า 2.เครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ ด้านการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ
3.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง 4.ชมรมผู้ไร้กล่องเสียง จ.ตรัง 5.โรงพยาบาลกันตัง
6.ผู้อำนวยการโรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ 7.สำนักงาน สถิติจังหวัดตรัง

4.เวทีสาธารณะการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพโดยระบบสุขภาพ ภาคใต้ จ.สงขลา 1.เครือข่ายประชาคมงดเหล้า 2.มูลนิธิเพื่อนหญิง 3.รพ.สต.ทุ่งมะขาม 4.สำนักงานสาธารณสุข รัตภูมิ 5.โรงพยาบาลรัตภูมิ 6.เทศบาลตำบลคูหาใต้จังหวัดสงขลา

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

1.สนับสนุนให้ชุมชนสามารถจัดการอุบัติเหตุในชุมชนได้เองเพื่อสร้างรูปแบบใหม่ๆนอกเหนือจากเรื่องสุขภาพ

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

1.เวทีถอดบทเรียนคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอสวี จ.ชุมพร ส่วนหนุนเสริม เติมเต็ม (ระดับจังหวัด) • เกิดนโยบายด้านการลดปัจจัยเสี่ยงระดับจังหวัดชุมพร และมีการบูรณาการงานด้านอุบัติเหตุ ความรุนแรง เป็นต้น • เกิดข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ต่อแผนพัฒนาจังหวัดชุมพร ด้านสุขภาพ • หน่วยงานราชการบรรจุเรื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในยุทธศาสตร์และมีแผนปฏิบัติการโครงการ

ส่วนสนับสนุน (ระดับอำเภอ) • เกิดการบรรจุในวาระหลักของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ และมีคำสั่งแต่งตั้งอนุกรรมการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม • เกิดยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ • เกิดแผนปฏิบัติการโครงการของหน่วนงานที่เกี่ยวข้องในระดับอำเภอ ส่วนปฏิบัติการ (ระดับชุมชน) • เกิดคณะทำงานชุมชน/กลุ่ม/ชมรม ซึ่งเป็นเจ้าภาพหลักในการขับเคลื่อนในชุมชน • เกิดฐานข้อมูลสุขภาพของชุมชน • เกิดกฎ กติกา ชุมชน • เกิดระบบช่วยเลิกโดยชุมชน • เกิดการต่อยอดด้านอาชีพ เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ • เกิดการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเลิกเหล้า เช่น งานบุญประเพณีปลอดเหล้า ร้านค้าปฏิบัติตามกฎหมาย คนต้นแบบ ศูนย์เรียนรู้ • เกิดการขยายผลสู่ด้านอุบัติเหตุในชุมชน

2.เวทีถอดบทเรียนการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพโดยการบูรณาการภาครัฐกับภาคประชาสังคม จ.ระนอง 1. ควรจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์สาหรับชาวต่างชาติ โดยเฉพาะ ชาวพม่าซึ่งเป็นชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในจังหวัดระนองมากที่สุด โดยประสานงานกับนายจ้างในการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขับขี่อย่างปลอดภัย
2. ควรจัดตั้งศูนย์ประสานงานชาวต่างชาติเมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ เพื่อให้การดาเนินการและการประงานเกิดความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
3. ควรจัดการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยนาแบบอย่างการปฏิบัติของชุมชนที่ประสบความสำเร็จในเรื่องการรณรงค์การลดอุบัติเหตุเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับชุมชนอื่นๆ ได้เรียนรู้และเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติ
4. ควรจัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าเยี่ยมสำรวจพื้นที่เสี่ยง เพื่อร่วมวางแนวทางในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะพื้นที่ที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยๆ

3.ถอดบทเรียนเครือข่ายสมัชชาสุขภาพ จ.ตรัง 1. ควรจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์สาหรับชาวต่างชาติ  โดยประสานงานกับนายจ้างในการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขับขี่อย่างปลอดภัย
2. ควรจัดตั้งศูนย์ประสานงานชาวต่างชาติเมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ เพื่อให้การดำเนินการและการประงานเกิดความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
3. ควรจัดการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยนาแบบอย่างการปฏิบัติของชุมชนที่ประสบความสำเร็จในเรื่องการรณรงค์การลดอุบัติเหตุเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับชุมชนอื่นๆ ได้เรียนรู้และเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติ
4. ควรจัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าเยี่ยมสำรวจพื้นที่เสี่ยง เพื่อร่วมวางแนวทางในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะพื้นที่ที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยๆ