พัฒนาเครือข่ายสื่อสาธารณะ

เวทีสมัชชา "ขับเคลื่อนเมืองนคร สู่นครศรีฯ อยู่ดีมีสุข"23 พฤศจิกายน 2560
23
พฤศจิกายน 2560รายงานจากพื้นที่ โดย วิลาสลักษณ์ แก้วบุญเรือง
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อเกิดความร่วมมือเพื่อการเคลื่อนสู่พื้นที่สุขภาวะในงานสมัชชาสุขภาพระดับพื้นที่    2.เครือข่ายสื่อได้เปิดพื้นที่การสื่อสารกับเครือข่ายอื่นๆ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

          เป็นการประชุมสมัชชาระดับจังหวัด  มีภาคีหลัก เข้าร่วมได้แก่ สาธารณะสุขจังหวัด สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช  และผู้แทนจากประเด็นขับเคลื่อนทางสุขภาวะ 3 ประเด็น ได้แก่ประเด็นการจัดการน้ำด้วยฝายมีชีวิต  ประเด็นอาหารปลอดภัย  ประเด็นปกป้องเด็กจากปัจจัยเสี่ยง แอลกอฮอล์และบุหรี่ โดยนายวิรัตน์ รักษ์พันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานเปิดงาน พิธีเปิดงานเป็นการแสดงพลังของการมีส่วนร่วมที่สื่อให้เห็นความเสมอภาค หรือความมีภราดรภาพของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช นั้นคือ “เวทีหยวกกล้วย”  มีการแสดงวัฒนธรรมพื้นบ้าน หนังตะลุง  นาฎศิลป์ การสื่อสารด้วยศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยนายหนัง วีระ งามขำ การเสวนาในหัวข้อ.การขับเคลื่อนนครศรีฯอยู่ดีมีสุขแบบมีส่วนร่วม ภาคีสนับสนุนมีความคิดเห็นอย่างไร..โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนา คือ ดร.วิรยะ แต้มแก้วหัวหน้าปฏิบัติการกลุ่มจังหวัดสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนภาคใต้ พลเอกภัทรชัย แทนขำ ผู้อำนวยการศูนย์ปรองดองสมานฉันท์กองทัพภาคที่4  นายชูรินทร์  ขวัญทอง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครศรีธรรมราช นายเจกะพันธ์ พรหมมงคล ผู้ช่วยผู้ประสานงานสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคใต้ตอนบน นางสุจิตรา ป้านวัน รองปลัดองค์กรบริหารส่วนตำบลนาไม้ไผ่ อ.ทุ่งสง คุณจารึก ไชยรักษ์ ผู้แทนจำสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ดำเนินรายการโดยคุณอานนท์ มีศรี นายยกสามาคมสื่อชุมชนภาคใต้นครศรีธรรมราช และในช่วงบ่ายเป็นการแบ่งกลุ่มย่อยตาม ประเด็นการขับเคลื่อน 3 ประเด็น คือ 1) ประเด็นการจัดการน้ำด้วยฝายมีชีวิต 2) ประเด็นอาหารปลอดภัย 3) ประเด็นปกป้องเด็กจากปัจจัยเสี่ยง แอลกอฮอล์และบุหรี่ และมีกลุ่มย่อยของ พมจ. และ เครือข่ายสภาองค์กรชุมชน  และประกาศมติและข้อเสนอของแต่ละประเด็น 

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิตที่ได้จากการจัดเวที 1. มีเครือข่ายภาคี ความร่วมมือให้ความสำคัญกับกระบวนการสมัชชาสุขภาพ และมองเห็นการนำไปใช้ประโยชน์ร่วมกันในอนาคต โดยเฉพาะการเริ่มงานขาเคลื่อนในปีต่อไปที่จะสามารถ จัดการให้เกิดความร่วมมือก้าวไปด้วยกันตั้งแต่ต้นปี 2. ได้รูปแบบการสื่อสารที่ชัดเจนมากขึ้น และมีคุณภาพเหมาะสมกับบริบท พฤติกรรมการรับข่าวสารของคนจังหวัดนครศรีธรรมราช เช่น การสื่อสารเรื่องราวด้วยบทหนังตะลุง  การใช้ “เวทีหยวกกล้วย” ที่แสดงถึงการมีความเสมอภาคความเป็นภราดรภาพต่อกัน เกิดความเท่าเทียมในการแสดงความคิด การเสนอเรื่องราวที่เป็นประโยชน์การสื่อสาร 3. ร่างมติ และข้อเสนอของแต่ละประเด็นที่ขับเคลื่อน ซึ่งเกิดจากกระบวนการนโยบายสาธารณะ มีรูปธรรม และมีเนื้อหาทางวิชาการที่สมารถพัฒนา ต่อไปอย่างมีทิศทาง และเกิดประโยชน์กับชุมชนอย่างจริงจัง
4. รูปธรรมการขับเคลื่อนตามหลักคิดนครบูรณาการ  เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม นั้นคือ การรวมองค์กรภาคี  หน่วยงาน ชุมชน เพื่อให้เกิดเวทีกลางที่เป็นการแสดง ถึงบทบาท ปฏิบัติการของแต่ละส่วน ดำเนินการสอดคล้องกัน ภายใต้ วิสัยทัศน์ นครศรี อยู่ดีมีสุข  และสามารถขยายแนวปฏิบัติ ที่เกิดกว้าง ให้ทุกภาคส่วน ได้ใช้ประโยชน์ สร้างพลังการขับเคลื่อน ในรูปแบบ สมัชชา ประชาชน คนคอนรวมพลคนจิตอาสา ขับเคลื่อนนครศรี อยู่ดีมีสุข

ผลลัพธ์ 1. Participatory  เกิดการมีส่วนร่วม แบบบูรณาการ ขององค์กรภาคี หน่วยงาน และชุมชนสถาบันพัฒนาองค์การชุมชน โดยเครือข่ายขบวนองค์กรชุมชน เป็นกลไกหลักในการรวมคน รวมเครือข่าย รวมงานที่ขับเคลื่อน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด/อำเภอ สถาบันส่งเสริมการเรียนรู้ สนง.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และอีก หลากหลาย กลุ่มองค์กร ภายใต้วิสัยทัศน์ นครศรีฯ อยู่ดี มีสุข 2. Public  การร่วมมือกันของภาคส่วนต่างๆเกิดการมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายในงานสมัชชา “รวมพลคนอาสา” เพื่อการขับเคลื่อนนครศรี อยู่ดี  มีสุข นำมติด้านปัจจัยเสี่ยง เด็กและเยาวชน มาบูรณาการแผนงานร่วมกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อการแก้ไขปัญหาความเสี่ยง ในเด็กและเยาวชน อย่างเป็นระบบต่อไป 3. policy  ได้ร่างมติ และข้อเสนอ ที่ผ่านการรับรองจากสมาชิกสมัชชาขาขึ้น 2 ประเด็น ที่จะเป็นแนวในการเสนอเป็นนโยบายสาธารณะทั้งในระดับพื้นที่และในระดับจังหวัด ความมั่นคงทางด้านอาหาร(อาหารปลอดภัย) ปัจจัยเสี่ยงเด็กและเยาวชน(เหล้า บุหรี่ และ ผลงานขาเคลื่อนในประเด็นการบริหารจัดการน้ำตามมติสมัชชาจังหวัดปี 2559 4. Process  การพัฒนากระบวนการขับเคลื่อน นโยบายสาธารณะ โดยตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆให้ความสำคัญและมีความร่วมมือมากขึ้น โดยการนำมติสมัชชาสู่การปฏิบัติ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 180 คน จากที่ตั้งไว้ 200 คน
ประกอบด้วย

1.ผู้แทนประเด็นการขับเคลื่อน 3 ประเด็น คือ 1) ประเด็นการจัดการน้ำด้วยฝายมีชีวิต 2) ประเด็นอาหารปลอดภัย 3) ประเด็นปกป้องเด็กจากปัจจัยเสี่ยง แอลกอฮอล์และบุหรี่
2.สื่อมวลชน 3.สาธารณะสุขจังหวัด
4.สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
5.สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
6.อพม.
7.ขบวนเครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนฯ
8.อสร.
9.อาสาภัยพิบัติ
10.เครือข่ายบ้านมั่นคง
11.นักวิชาการ วิทยากร 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี