พัฒนาเครือข่ายสื่อสาธารณะ

เวทีงานสมัชชาเพื่อนสื่อสาธารณะ ภาคใต้ ปี 2560 กับการสื่อสารประเด็นการขับเคลื่อนทางสังคม18 ตุลาคม 2560
18
ตุลาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย วิลาสลักษณ์ แก้วบุญเรือง
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงข้ามประเด็นข้ามเครือข่าย  2. เพื่อการเปิดพื้นที่กลางการรับฟังความคิดเห็น ผ่านสื่อสาธารณะ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. เป็นกิจกรรมรับฟังความคิดเห็น ขับเคลื่อนประเด็นทางสุขภาวะทางสังคม เช่นประเด็นสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร  ปะเด็นพลังงาน สันติสุขชายแดนใต้ และประเด็นความมั่นคงด้านอาหาร
    2.  เครือข่ายสื่อเข้าร่วมให้ความเห็นในเรื่องการสื่อสารทางสังคม ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะประเด็นความมั่นคงทางอาหาร 3.  การแบ่งกลุ่มย่อยตามประเด็นต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อสรุปและข้อเสนอต่อสื่อสาธารณะ ที่จะต้องให้ความมีส่วนร่วมในฐานะของสื่อสาธารณะและทำประโยชน์ต่อสังคม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. การมีส่วนร่วมและเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วม ในความจำเป็นและที่มาของการเข้ามาดำเนินการในเรื่องต่างๆ สาเหตุหลักๆมาจากความเดือดร้อนของประชาชน ความทุกบ์ยากจากการได้รับผลกระทบจากการทำร้ายสิ่งแวดล้แอม การต้องการพลังงานจากธรรมชาติ หรือแม้แต่เสียงสะท้อนจากสมาชิกที่อยู่จังหวัดชายแดนใต้ ที่ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบในพื้นที่
  2. การสื่อสารในระดับชุมชนซึ่งเป็นเจ้าของปัญหาเองควรจะได้นำเรื่องราวที่เป็นความจริงนำเสนอผ่านช่องทางการสื่อสารสาธารณะ
  3. ได้ข้อเสนอของแต่ละประเด็นที่เป็นประโยชน์กับสังคมและคาดหวังกับกระบวนการสื่อสารในการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น
  4. ได้แนบตัวอย่างของข้อเสนอ ประเด็นความมั่งคงด้านอาหาร ต่อหน่วยงาน และองค์กรสื่อ ประเด็นการสื่อสารเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร จากเครือข่ายทั่วประเทศมีประเด็นเนื้อหาหรือประเด็นสถานการณ์สำคัญ ดังนี้
  5. ความปลอดภัยทางด้านอาหาร
  6. พื้นที่ผลิตอาหารลดลง  ระบบนิเวศถูกทำลาย
  7. นโยบายหรือกฎหมายที่ส่งผลกระทบกับความมั่นคงด้านอาหาร
  8. ระบบทุนนิยมที่ส่งผลกับความมั่งคงด้านอาหาร
  9. พันธุ์กรรมพื้นถิ่นถูกทำลาย
  10. การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศหรือภัยพิบัติที่ส่งผลกระทบกับความมั่นคงด้านอาหาร
  11. อธิปไตยทางอาหารเป็นเรื่องทางพื้นฐานของสังคมเป็นเรื่องของศักดิ์ศรีของเกษตรกรที่เราต้องการ  ที่จะฟื้นการพึ่งพาตัวเองทำให้เห็นมุมมองของตนเอง

ยุทธศาสตร์/เป้าหมาย สิทธิการจัดการความมั่นคงทางอาหารของชุมชน ข้อเสนอต่อเครือข่าย มีแนวทางดังนี้ 1. สำรวจและรวบรวม/เก็บรักษาพันธุ์กรรมพื้นบ้าน จัดทำฐานข้อมูลทั้งพันธุ์พืช สัตว์ 2. ขึ้นทะเบียนจดสิทธิบัตรพันธุ์กรรมพืช  แยกเป็น 3 ประเภท พืชเฉพาะถิ่น/พืชทั่วไป/พืชป่า 3. สร้างเครื่องมือ/กระบวนการ/การสื่อสารเพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร 4. พัฒนาศูนย์เรียนรู้ระดับชุมชน/วิถีการผลิตการแปรรูปของชุมชน 5. ฟื้นฟู วิถีและวัฒนธรรมการกินของชุมชน 6. ยกเลิกการใช้สารเคมีในเขตพื้นที่ เขา ป่า นา เล ให้เป็นพื้นที่ปลอดสารพิษ 7. ปรับวิถีการผลิตพืชเชิงเดี่ยวมาเป็นเกษตรอินทรีย์

ข้อเสนอต่อรัฐบาล มีแนวทางดังนี้ 1. รัฐบาลต้องยุติกฎหมาย/นโยบายที่ส่งผลต่อความมั่นคงด้านอาหาร 2. รัฐบาลต้องออกมาตรการ/กฎหมายเพื่อการคุ้มครองและปกป้องพื้นที่ผลิตอาหารที่ปลอดภัยของชุมชน 3. รัฐบาลต้องกำหนดเรื่องความมั่นคงด้านอาหารเป็นวาระแห่งชาติ (แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี)

ข้อเสนอต่อสื่อสาธารณะ ไทยพีบีเอส  มีแนวทางดังนี้ 1. สื่อสาธารณะต้องทำหน้าที่ในการสื่อสารเพื่อสร้างความตระหนักต่อความมั่นคงด้านอาหาร 2. สื่อสาธารณะต้องทำหน้าที่ให้ความรู้กับประชาชน ในเรื่องกฎหมาย/นโยบาย ที่ส่งผลต่อสังคม
3. สื่อสาธารณะต้องเจาะลึก/ต่อเนื่องในการนำเสนอสื่อเพื่อให้ประชาชนผู้รับสาร เพื่อการตัดสินใจอย่าง  ถูกต้อง 4. สื่อสาธารณะต้องทำหน้าที่สื่อสารเพื่อกระตุ้นระบบการผลิตต้นแบบดั้งเดิมกลับคืนสู่สังคม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 170 คน จากที่ตั้งไว้ 200 คน
ประกอบด้วย

1.ผู้แทนเครือข่ายทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้ ทีได้ขับเคลื่อนประเด็นความมั่นคงทางอาหาร
2.นักสื่อสาร 3.นักวิชาการ 4.หน่วยงานด้านสุขภาพ 5.หน่วยงานท้องถิ่น

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหา 1.ผู้เข้าร่วมเวทีบางส่วนยังไม่ให้ความเห็นจากปัญหาของตนเอง

แนวทางแก้ไข 1.จัดวงคุยกลุ่มเฉพาะเพื่อให้เสนอความคิดเห็น

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

1.เปิดพื้นที่กลางเพื่อการหารือร่วมระหว่างเครือข่ายสื่อและเครือข่ายประเด็นสุขภาวะ 

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

1.ให้เครือข่ายสื่อในพื้นที่ร่วมกับ เครือข่ายประเด็นประชุมร่วมกัน