พัฒนาเครือข่ายสื่อสาธารณะ

สานเสวนา ทางเลือก ทางรอด ของเยาวชนคนคอน ภายใต้ปัจจัยเลี่ยงต่อสุขภาพที่รุมเร้า17 มกราคม 2561
17
มกราคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย วิลาสลักษณ์ แก้วบุญเรือง
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดกับเยาวชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช 2. เพื่อกำหนดแนวทางพัฒนามติสมาสุขภาพเป็นนโยบายสาธารณะจังหวัดนครศรีธรรมราช 3. เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านเยาวชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.การแสดงสัญลักษณ์ สถานการณ์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพโดยกลุ่มเยาวชน จังหวัดนครศรีธรรมราช 2.ล้อมวงคุยโดยมีผู้ดำเนินรายการนำคุุยเกี่ยวกับ
-สถานการณ์ปัญหาแนวโน้ม ความรุนแรงของเด็กและ
เยาวชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช -บทบาทหน้าที่ของระบบสุขภาพในพื้นที่ 4 ระบบได้แก่
1. ระบบสุขภาพระดับจังหวัด เช่น คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพ
ชีวิตระดับจังหวัดนครศรีธรรมราช
2. คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ 3. กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล 4. ภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ -แนวทางการจัดการปัญหาด้านเด็กและเยาวชนอย่างยั่งยืน 3.มีการสรุปเป็นผังภาพและสรุปข้อเสนอจากทุกภาคส่วน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นำสานเสวนาโดย คุณอรอุมาเรืองสังข์เครือข่ายสื่อมวลชน สถานการณ์ปัญหาของเยาวชนปัญหาของเยาวชนในทุกวันนี้มีให้เห็นอยู่ทุกวัน ทุกรูปแบบไมว่าจะเป็นเรื่องของเยาวชนติดเกมส์ ติดยา เด็กแว๊นท์ ท้องก่อนวัยอันควรเกิดขึ้นเพราะเราไม่กล้ายอมรับความจริง กลัวเสียชื่อเสียง ปัญหาและความเป็นไปของเยาวชนในปัจจุบัน ผู้เข้าร่วม ทำอย่างไรให้เยาวชนหลุดพ้นจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ และทำไมต้องทำ ? ตัวแทนสาธารณะสุข ทำอย่างไรให้เยาวชนหลุดพ้นจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ และทำไมต้องทำเกิดอะไรขึ้นกับสังคมทุกวันนี้มองว่า สังคมมองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติของวัยรุ่นหรือเยาวชนที่กระทำกันหรือเกิดขึ้นบ่อยจนเป็นเรื่องธรรมดา ปลัดอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชนโยบายของภาคใต้ทีเราต้องนำมาปรับใช้ การแก้ไขปัญหายาเสพติดต้องนำปัญหาจากข้างล่างขึ้นสู่ข้างบนเข้าใจต่อเด็กวัยรุ่นอาจเกิดจากความพลาดพลั้งการแก้ปัญหายาเสพติดแนวโน้มอาจมีพื้นที่ให้ปลูกกระท่อม ปลูกกัญชาได้ ผอ.โรงเรียนท่านครญาณโรภาส(ครูมองเห็นปัญหาและสถานการที่เกิดขึ้นอย่างไร)การสร้างโอกาส การให้โอกาสเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับคนที่ก้าวพลาด สังคมจะดึงเขากลับมาได้อย่างไรการทำโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนแห่งความสุขเป็นทางหนึ่งที่จะดึงเขากลับมา นักเรียนโรงเรียนท่านครญาณโรภาส(กล้ามั๊ยที่จะออกมาจากปัญหา) การพาเพื่อนออกมาจากปัญหาเป็นเรื่องยาก เด็กไม่สามารถสะท้อนปัญหาให้รับรู้ได้ แต่สามารถทำได้โดยใช้ความเป็นเพื่อนเนื่องจากเด็กวัยนี้รักเพื่อมักจะฟังเพื่อนมากว่าคนอื่นๆเช่น ชวนกันเล่นกีฬา เป็นต้น สสอ.เมืองนครศรีธรรมราชการลด ละ เลิก เป็นนโยบายของทางสาธารณะสุขซึ่งต้องทำไปตามนโยบายอยู่แล้ว ปลัดอบต.ไชยมนตรีปรับขบวนการการทำงานให้ง่าย กว้าง ครอบคลุมเป้าหมาย ทำอย่างไรต้องมีการพูดคุยกับนายอำเภอในฐานะที่เป็นองค์กรระดับอำเภอและจะเชื่อมโยงกับองค์กรอื่นๆได้หรือไม่อย่างไร การเอาตัวตัวรอดจะรอดได้อย่างไรสิ่งเร้าทุกเรื่องที่เข้ามาประเด็นที่ขับเคลื่อนจะต้องไปเคลื่อนระดับตำบล สปสช.เขต 11 สุราษฎร์ปัญหาที่เหล่านี้ทำให้เกิดปัญหาอื่นๆที่ตามมามากมายการแก้ปัญหาเหล่านี้ได้หน่วยงานทุกภาคส่วน เริ่มแต่พ่อแม่ ต้องเข้ามาพูดคุยกันงบประมาณส่วนของเขต11 อยู่ที่ 40 ล้าน อยู่ที่อบต.สามารถขอมาใช้ได้ รองปลัดอบต.นาไม้ไผ่มองเห็นปัญหาอย่างไรที่จะนำมาซึ่งการแก้ปัญหาร่วมกับทุกภาคส่วนเนื่องจากท้องถิ่นเป็นชุมชนมีเด็กหลายบริบทในชุมชน ปัญหาที่เกิดระดับต้นๆมาจากครัว ความไม่เข้าใจจากผู้ใหญ่การที่เราจะทำงานให้เกิดความสำเร็จได้เราต้องรู้จักพื้นที่การทำงานต้องทำด้วยหัวใจการเป็นพี่น้องใช้รากเหง้าในชุมชนมาดูแลกันเปิดโอกาสให้เขามีพื้นที่เรากำหนดเด็กได้ 0-9 ปีเท่านั้น เกินจากนั้นเรากำหนดยากมากนาไม้ไผ่ใช้โครงการขยะเป็นตัวเชื่อมกับผู้ใหญ่ให้เด็กคิดกระบวนการเองผู้ใหญ่ให้การหนุนเสริมเท่านั้น ให้เด็กเขามีพื้นที่ได้คิดเอง อย่าวางระบบให้เด็กคิดเด็กหลังห้องมักเป็นเด็กที่มีกกระบวนการคิดดีมากถ้าเราได้ส่งเสริมใช้ศาสตร์พระราชาเข้ามาประกอบให้เด็กได้ทำและใช้กระบวนการที่เขาได้คิดขึ้นมาเอง (เข้าใจเข้าถึงการพัฒนา) เครือข่ายงดเหล้าภาคใต้ตอนบนปัจจัยแวดล้อมต้องประกอบทั้ง 2 ส่วน คือภายในและภายนอกภายในจุดเริ่มต้นมาจากครอบครัว การเริ่มกินเหล้าครั้งแรกของเด็กส่วนใหญ่มาจากที่บ้าน เช่น งานวันเกิด งานปีใหม่ในส่วนงานที่ขับเคลื่อนอยู่เราทำได้เรามีเครือข่ายหลายๆภาคส่วน ผู้กำกับสภ.เมืองนครศรีธรรมราชกระบวนสุดท้ายคือกฎหมายเริ่มจากการป้องกันก่อนถ้าป้องกันไม่ไหวจึงจะถึงกระบวนการปราบปรามเช่น เรื่องแอลกอฮอร์เริ่มที่บ้าน ครอบครัว การป้องกันในสถานศึกษามีการจำกัดระยะของสถานบันเทิงบุหรี่มีการบังคับใช้ของใหม่ปี 60นครเป็นจังหวัดที่ใหญ่ปัญหาจึงมีมากและ นักหนากว่าจังหวัดอื่นคู่ๆกับจังหวัดสุราษฎร์ธานียาเสพติดเป็นปัญหาที่หนักกว่าเรื่องอื่นๆโดยเฉพาะน้ำกระท่อม สื่อฯเป็นเรื่องที่น่ากลัวมากสาเหตุที่ทำให้คนตายเป็นอันดับหนึ่งมาจากอุบัติเหตุการทำงานแบบนี้ต้องมีจิตอาสาเป็นอันดับแรก พื้นที่การศึกษาเขต12เห็นอะไรในกระบวนการและมีแนวคิดอย่างไรบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับต้นๆของเด็กวัยมัธยมต้นประเด็นแรก ครอบครัวเป็นการตั้งต้นที่จะช่วยเสริมสร้างความรักความอบอุ่นโรงเรียน เป็นครอบครัวที่ 2 ที่สามารถช่วยฉุดรั้งหรือป้องกันไม่ให้เด็กเข้าถึงสิ่งที่ไม่ดีเหล่านั้นได้หรือถ้าเกิดขึ้นแล้วต้องมีวิธีที่จะช่วยพยุงเด็กให้เดินต่อไปได้อย่างมีกำลังใจ มีทางเลือก ปลอดภัย นักวิชาการศึกษาเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช/พัทลุงดูแลเด็ก 90 โรงเรียน แนวทางในการดูแลเด็ก/เยาวชน (สถิติ ความร่วมมือ) การจัดอันดับ 1. สารเสพติด ประมาณ 70 % 2. ความรุนแรง 3. ท้องก่อนวัย 4. อุบัติเหตุ 5. พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

แนวทาง 3 ส. 1. สร้างโอกาส 2. สร้างศักยภาพ 3. สร้างคุณภาพ คือ ผลการเรียน สร้างให้นักเรียนมีมาตรฐานที่สูงขึ้น จุดแตกหักของปัญหาอยู่ที่หมู่บ้าน ชุมชนเราทำอยู่ในทางหน้าที่ได้ในระดับหนึ่งต้องทำทางอื่นด้วยปัญหาที่เกิดทำอย่างไรให้พื้นที่ปลอดภัยลดพื้นที่เสี่ยงเพิ่มพื้นที่ดีประสานหลายๆส่วนมาช่วยดูแล มีพื้นที่นำร่อง คนทำงานทำอย่างไรให้มีหัวใจเดียวกันงบประมาณต้องดูแลอย่างทั่วถึง ครอบคลุมทุกกลุ่ม ทุกวัย ผู้กำกับสภ.เมืองนครศรีธรรมราชการทะเลาะวิวาทเดี๋ยวนี้เกิดน้อยลงเนื่องจาก การเสียค่าปรับที่แพงขึ้นอุบัติเหตุทางท้องถนนช่วงปีใหม่61 มี 2 ราย ซึ่งเพิ่มจากปี 60 1 ราย สาเหตุเนื่องจากคนขับรถไม่มีวินัย ประมาทสื่อฯต้องปรับทัศนคติในเรื่องการนำเสนอเรื่องราวที่ต้องนำเรื่องดีๆมานำเสนอมากกว่านำเสนอเรื่องราวในทางลบ ผอ.กองอำนวยการการดูแลเยาวชน2 ส่วน 1. ในสถานศึกษา 2. นอกสถานศึกษาอยู่ในเขตชุมชนจำนวน 63 ชุมชนปัญหาจากการสำรวจข้อมูลเรื่องสารเสพติดมาอันดับหนึ่งการดึงเด็กออกมาจากภาวะปัญหาครอบครัวเป็นสถาบันที่เล็กที่สุดแต่มีความสำคัญที่สุด ถ้าครอบครัวเข้มแข็งโอกาสที่เด็กจะก้าวล่วงไปในทางที่ผิดพลาดย่อมเกิดได้ยากชุมชน หมู่บ้านให้มองเด็กๆเป็นเสมือนลูกหลานของตนเอง
เครือข่ายเด็กมัธยมจะมีอยู่ในทุกที่ มีกิจกรรมที่ซ่อมเสริมให้กับเด็ก
สถาบันการเรียนรู้ฯ (นายทวีสร้อยศิริสุนทร)สถาบันฯทำเรื่องสร้างคน พัฒนาคนบูรณากรทุกภาคส่วนโดยเอาพื้นที่เป็นตัวตั้งข้อมูลล่าสุดของสารเสพติดแพร่ไปถึงระดับต้องทำกับครอบครัวซึ่งเป็นสังคมย่อยที่ดีที่สุดวันนี้ครอบครัวเรากล้าที่จะทำเป็นต้นแบบแล้วหรือยังในชุมชนมีกิจกรรมร่วมกันมากน้อยแค่ไหน วันนี้เรามีทักษะพอแล้วหรือยังที่เมื่อเพื่อนส่งให้แล้วเรากล้าปฏิเสธวันนี้เราบอกว่ากลไกมี งบประมาณมี กฎหมายเอื้อไปจนถึงธรรมนูญหมู่บ้าน แต่สิ่งที่ขาดคือ การจัดการเด็กในโรงเรียนขยายโอกาสมีโอกาส และได้รับการเข้าถึงอย่างจริงจังหรือไม่ย่างไรมีกิจกรรมเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ได้อย่างไร รูปธรรมการบูรณาการที่ผ่านมาเห็นเพียงรูปแบบ ไม่ใช่การสร้างการรับรู้ได้อย่างเท่าเทียม เห็นนโยบายแล้วหรือยัง ม.วลัยลักษณ์ 1. ตัวอย่างความไม่สำเร็จ 2. ตัวอย่างความสำเร็จต้องมีการสรุปบทเรียนเพื่อนำไปปรับใช้ 3. ความสำเร็จ ผู้ปกครอง หน่วยงาน ข้อมูลทางวิชาการมาช่วย นักการเมือง(นโยบาย) มาตรการ กิจกรรม ข้อมูลเชิงวิจัย ถ้าจะเดินต่อเป้าหมายที่จะเดินร่วมกันคืออะไร

การสื่อสารและช่องทาง รูปแบบการใช้ร่วมกัน ผอ.ท่านครโรงเรียนแห่งการมีความสุขเราต้องเปิดหูฟังเด็กให้มากที่สุดช่องทางสื่อในหลายๆช่องทางมีความแตกต่างกันเด็กที่สร้างนวัตกรรมให้กับโรงเรียนคือกลุ่มเด็กหลังห้อง สิ่งที่สังคมจะต้องให้การสนับสนุนนักเรียนกลุ่มที่บกพร่องต่อการเรียนรู้ที่ถูกละเลยโดยระบบ(ท้อง แท้ง ทิ้ง) ถ้าเราสร้างโอกาสเด็กเหล่านี้จะกลับมาเรียนตามศักยภาพของเขาได้ - สร้างระบบผู้นำ โรงเรียนทุกโรงจะต้องมีสภาผู้นำ - แบบอย่างของสังคมเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญที่ต้องใส่ใจ - สร้างหลักสูตรอบรมผู้ปกครองสร้างความรู้ ความเข้าใจให้ตรงกัน - การสร้างเครือข่าย บูรณาการหรือการเชื่อมโยงให้เข้าไปสู่วิถีชีวิตของเด็กให้ได้มากที่สุด ผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาเมื่อเด็กเผชิญความเสี่ยงไม่สามารถจัดการกับปัญหาได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นเราเก็บเรื่องราวเหล่านี้เพื่อให้เกิดรูปธรรมการบูรณาการ สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ (นายอานนท์มีศรี) รูปแบบการสื่อสาร ภายใต้การขับเคลื่อนโครงการภาคใต้แห่งความสุขเรื่องสุขภาวะของสังคมเป็นเรื่องสำคัญมีทั้งหมด 8 ประเด็นงานภายใต้ต้นทุน 1. ต้นทุนงานเป็นการต่อยอดไม่ใช่เริ่มใหม่มีการเปิดเวทีพูดคุยอย่างต่อเนื่อง 2. ต้นทุนของงบประมาณ 3. ต้นทุนเครือข่าย/คน กระบวนการ - กระบวนการสื่อสารที่ผ่านมา สิ่งที่เราขาดคือ จริยธรรมเอาความถูกใจเป็นที่ตั้ง - การรายงานผลรูปธรรมความสำเร็จ - การสร้างและขยายเครือข่ายทางสังคม - ขับเคลื่อนต่อ สรุปภาพรวม (เจกะพันธ์) 1. สถานการณ์ปัจจัยเสี่ยงของเด็กคอนคือ เหล้า บุหรี่ ยาบ้า ยาไอซ์ ท้องก่อนวัยอันควร 2. บทบาทของสื่อ - กระบวนการสื่อสาร - จริยธรรม/จรรยาบรรณในการสื่อสาร - เปิดเวทีพูดคุย/ต่อยอด 3. โอกาสหรือทางออก
- มีกลไกที่ชัดขึ้น - มีเครือข่ายเพิ่มขึ้น
- งบประมาณในการขับเคลื่อน - พื้นที่เสี่ยงลดลง - กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้มข้น
- นโยบายปลอดเหล้าบุหรี่ครอบคลุมมากขึ้น 4. บทบาทของหน่วยงาน - เปิดพื้นที่เรียนรู้ให้กับเด็ก - สนับสนุนงบประมาณ - เชื่อมระหว่างหน่วยงานตำบล อำเภอ จังหวัด ในการแก้ปัญหา

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

1.ตัวแทนสาธารณะสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช 2.ปลัดอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
3.ผอ.โรงเรียนและนักเรียนโรงเรียนท่านครญาณโรภาส
4.ปลัดอบต.ไชยมนตรี
5.สปสช.เขต 11 สุราษฎร์ธานี 6.รองปลัดอบต.นาไม้ไผ่
7.เครือข่ายงดเหล้าภาคใต้ตอนบน
8.ผู้กำกับสภ.เมืองนครศรีธรรมราช
9.พื้นที่การศึกษาเขต12
10.นักวิชาการศึกษาเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช/พัทลุง
11.ผอ.กองอำนวยการ
12.สถาบันการเรียนรู้ฯ
13.ม.วลัยลักษณ์และเครือข่ายสื่อมวลชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี