พัฒนาเครือข่ายสื่อสาธารณะ

สนับสนุนประเด็นสุขภาวะทางสังคม ประเด็นการจัดการปัจจัยเสี่ยงจังหวัดชุมพรงวดที่ 19 มกราคม 2561
9
มกราคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย วิลาสลักษณ์ แก้วบุญเรือง
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการจัดการปัญหาอุบัติเหตุ 2. เพื่อสรุปบทเรียนการจัดการอุบัติเหตุทางถนนของจังหวัดชุมพรและนำสู่การแก้ปัญหาต่อไป 3. เพื่อพัฒนาข้อเสนอการจัดการอุบัติเหตุทางถนนต่อนโยบายจังหวัด 4. เพื่อสื่อสารต่อสาธารณะ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ติดต่อประสานงานกับป้องกันบรรเทาสาธารณภัยเพื่อออกแบบวางแผนการทำงาน
      กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง  กำหนดวันเวลาสถานที่ วิทยากรและทีมงานสื่อสร้างสุขภาคใต้
  2. ประสานเชิญกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น  ผู้ว่าราชการจังหวัด  วิทยากรที่จะเป็นผู้ดำเนินรายการ       ชวนคิดชวนคุยถอดบทเรียน  สถานที่  ทีมสื่อ  และเชิญผู้เข้าร่วม
  3. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วม 4.  กล่าวทักทายผู้เขข้าร่วมและนำเข้าข้อมูลอุบัติเหตุช่วงเทศกาลที่ผ่านมา
  4. วิทยากรชวนคิดชวนคุยสานเสวนาประเด็นการจัดการการอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาล
    สถานการณ์  ปัญหาข้อเสนอแนะ
  5. เปิดรับฟังความคิดเห็นและตอบข้อซักถามผ่านสื่อออนไลน์
  6. ผู้ว่าราชการจังหวัดรับฟังข้อมูล ข้อคิดเห็น  และข้อเสนอ จากเวที  โดยให้ข้อคิดเห็นและปิดการเสวนา
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปประเด็นถอดบทเรียน เวทีสานเสวนาสาธารณะ ร้อยใจคนชุมพร ร่วมสร้างเมืองปลอดภัย กรณีศึกษา
“อุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาล” ณ ห้องประชุมเกาะเต่า โรงแรมโนโวเทล ชุมพรบีช รีสอร์ต จ.ชุมพร
จากการรวบรวมสถิติการเกิดอุบัติเหตุในช่วง 7 วันอันตราย ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2560 -3 มกราคม 2561 ของสานักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดชุมพร พบว่า การเกิดอุบัติเหตุมีจานวนทั้งสิ้น 30 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บจานวนทั้งสิ้น 35 คน และมีผู้เสียชีวิตจานวน 5 ราย ซึ่งจากสถิติที่รายงานมีจานวนการเกิดอุบัติลดลงจากปีที่แล้ว โดยสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ การขับรถโดยประมาท การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และสภาพแวดล้อมไม่ปลอดภัย ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัญหาเดิมทั้งสิ้น จังหวัดชุมพรจึงมีแนวทางในการลดอุบัติเหตุ เพื่อลดการสูญเสียที่เกิดขึ้นทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ จากการเสวนาในครั้งนี้จึงพบประเด็นปัญหาหลักของการเกิดอุบัติด้วยกันหลากหลายประการ การดาเนินการในการลดอุบัติเหตุทางถนนจึงเป็นเรื่องที่หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมมือกันในการวางแนวทางเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่จังหวัดชุมพร ซึ่งจากการเสวนาในครั้งนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อหาแนวทางในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งจากการเสวนาพบว่า ปัญหาการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่จังหวัดชุมพรเกิดจากสาเหตุหลักๆ ดังนี้
1. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินกฎหมายกำหนด ส่งผลต่อสติสัมปชัญญะในการควบคุม ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุ เนื่องจากในช่วงเทศกาลประชาชนมักดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อสังสรรค์ในครอบครัว หรือในกลุ่มสมาชิก โดยบริโภคในจานวนมากซึ่งส่งผลต่อการควบคุมสติ เช่น กรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นโดยพบว่ามีหญิงชาวไทยขับจักรยานยนต์ชนรถสิบล้อ เนื่องจากดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เป็นต้น
2. การบังคับใช้กฎหมายที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทาให้ผู้ขับขี่พาหนะไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร ส่งผลกระทบต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น การไม่สวมใส่หมวกกันน็อก การฝ่าฝืนกฎจราจร เป็นต้น ซึ่งจากข้อสังเกตพบว่า ประชาชนในจังหวัดชุมพรมีอัตราการสวมหมวกกันน็อกอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้เมื่อเกิดอุบัติเหตุจะมีผลกระทบที่รุนแรงทั้งผู้ขับขี่และผู้ที่ซ้อนท้าย
3. สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออานวยในการขับขี่ เช่น ไม่มีป้ายสัญญาณบอกทิศทาง ไม่มีสัญญาณไฟ แสงสว่างไม่ทั่วถึง และปัญหาต้นไม้ที่อยู่บริเวณริมถนน ซึ่งส่งผลให้ผู้ขับขี่ไม่สามารถมองเส้นทางได้อย่างชัดเจน ขณะเดียวกันเมื่อเกิดอุบัติเหตุจะมีโอกาสเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากเกิดการกระแทกกับต้นไม้ที่ปลูกไว้บริเวณเกาะกลาง หรือพื้นที่ข้างถนน ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในการเพิ่มความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุมากขึ้น
4. การตั้งจุดตรวจในพื้นที่ที่เสี่ยงต่ำ ส่งผลให้ผู้ที่ขับขี่ไม่ถูกตรวจสอบ
จากการเสวนาในครั้งนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนจึงร่วมกันหาแนวทางในการป้องกันเพื่อลดอุบัติเหตุโดยมีแนวทางดังนี้ 2
1. การบังคับใช้กฎหมายที่เข็มแข็งมากขึ้น โดยเฉพาะฝ่ายตำรวจและทหารที่มีส่วนช่วยในการตรวจและจับผู้ที่ทำผิดกฎจราจร โดยเน้นการประสานงานกับท้องถิ่นและชุมชนในการช่วยเหลือ หรือตักเตือนสมาชิกในหมู่บ้านให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ถูกต้อง
2. การงดดื่มในช่วงเทศกาล ซึ่งจะต้องดาเนินการในภาพรวมตั้งแต่การบังคับใช้กฎหมายห้ามขาย แต่เนื่องจากบริบทของการบังคับใช้กฎหมายอาจมีความซับซ้อนและต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน หลายหน่วยงานจึงมีข้อเสนอแนะให้ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มปฏิบัติดังนี้
2.1 การงดขับรถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ถ้ามีการดื่ม แต่ให้มีบริการรถจัดส่งผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปยังที่อยู่ เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ ซึ่งนับว่าเป็นข้อเสนอแนะหนึ่งในการปฏิบัติ
2.2 งดการขายเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาล เป็นต้น
3. ปรับปรุงสภาพถนนพร้อมทั้งเพิ่มป้ายและสัญญาณไฟจราจรในพื้นที่เสี่ยง เพื่อให้ผู้ขับขี่เกิดความปลอดภัยมากขึ้น รวมถึงการงดปลูกต้นไม้บริเวณพื้นที่เกาะกลางถนนหรือพื้นที่เสี่ยงเพื่อลดความรุนแรงเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
4. การเพิ่มจุดตรวจหรือจุดบริการประชาชนเพิ่มเติมในพื้นที่ชั้นในและพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อให้เกิดการตรวจตราอย่างถี่ถ้วน เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุและลดการฝ่าฝืนกฎจราจร
5. การรณรงค์ร่วมกันในทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อเพิ่มความตระหนักและเพิ่มการรับรู้ของประชาชนให้เกิดจิตสานึกในการขับขี่บนท้องถนน และลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเน้นการประชาสัมพันธ์ในระดับหมู่บ้าน ตาบล ท้องถิ่น และในหน่วยงานการศึกษาเนื่องจากมีกลุ่มเสี่ยงที่อยู่ในช่วงวัยรุ่น เพื่อลดการเกิดการสูญเสียในกลุ่มเด็กและเยาวชน
6. การประชาสัมพันธ์ของสื่อ โดยเน้นการใช้สื่อที่สั้น กระชับ ตรงประเด็น และเข้าใจง่าย และควรสื่อสารในกลุ่มเป้าหมายหลักเพื่อให้เกิดความตระหนักและความเข้าใจ โดยจะต้องมีการประสานงานทั้งระหว่างสื่อท้องถิ่นและสื่อในระดับจังหวัดอย่างบูรณาการ ซึ่งจะทาให้ผู้ใช้รถบนท้องถนนเกิดความตระหนักมากขึ้น

ภายหลังการเสวนา นายนายณรงค์ พลละเอียด ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ได้กล่าวโดยสรุปพร้อมมอบแนวทางการลดการเกิดอุบัติเหตุให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อนาไปใช้เป็นนโยบายต่อไป โดยเน้นการป้องกันในภาพรวมตลอดทุกวัน ไม่เพียงเฉพาะในเทศกาลสำคัญเท่านั้น เพื่อให้เกิดความยั่งยืนโดยมีรูปแบบดังนี้
1. ด้านพฤติกรรม (Behavior) ทุกภาคส่วนต้องทาให้ประชาชนทุกคนรับรู้ เข้าใจและเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ เช่น การใส่หมวกนิรภัย การปฏิบัติตามสัญญาณไฟจราจร การข้ามถนนตรงทางม้าลาย เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันรณรงค์เพื่อสร้างความภัย
2. ด้านกฎหมาย (Law) ผู้มีส่วนรับผิดชอบด้านกฎหมายต้องมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด รวมถึงผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายต้องได้รับการลงโทษตามข้อบังคับนั้นๆ ซึ่งปัจจุบันพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ขณะเดียวกันผู้บังคับใช้กฎหมายยังไม่เข้มงวดมากนัก จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับทุกภาคส่วน
3. ด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) โดยมุ่งเน้นการจัดสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยทั้งด้านกายภาพและชีวภาพ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการลดการเกิดอุบัติเหตุ เช่น การกาจัดสิ่งกีดขวางต่างๆบนถนน การติดป้ายสัญญาณจราจรที่ชัดเจน การสร้างสัญญาณไฟจราจร ณ บริเวณแยกที่มีความเสี่ยงสูง และการขยายพื้นที่ถนนเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ปัจจุบันหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ร่วมมือในการสำรวจพื้นที่เสี่ยงที่ไม่มีป้ายสัญญาณจราจร ถนนที่ชารุด เพื่อเร่งแก้ไขให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด
4. ด้านความร่วมมือ (Cooperative) โดยเน้นการทาอย่างบูรณาการในทุกๆภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยร่วมกันหาแนวทางในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันหน่วยงานภาครัฐต้องมีการร่วมมือกับท้องถิ่นเพื่อนาข้อมูลมาร่วมวางแผนและพัฒนาเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ
5. ด้านการวิเคราะห์และการตรวจสอบ (Analysis and Audit) ควรมีระบบการวิเคราะห์ข้อมูลถึงประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยมุ่งเน้นถึงสาเหตุการเกิดเพื่อหาแนวทางการป้องกัน ขณะเดียวกันควรจะมีหน่วยงานที่เข้ามาตรวจสอบเป็นระยะๆ เพื่อวางแนวทางในการป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น

ซึ่งจากการเสวนาครั้งนี้ยังพบประเด็นที่น่าสนใจในหลายๆประเด็น เช่น ปัญหาของชาวต่างชาติที่เข้ามาพักอาศัยในจังหวัดชุมพรซึ่งไม่เข้าใจภาษาไทย ทาให้ไม่สามารถสื่อสารและเข้าใจกฎหมายหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ได้ ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุ ปัญหาพื้นที่เสี่ยงที่มีทางแยกซึ่งไม่ใช่ทางแยกตามกฎหมายกำหนด ปัญหาการละเมิดสิทธิผู้ป่วยและการนาเสนอข่าวผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต เป็นต้น ผู้เข้าร่วมเสวนาจึงมีข้อเสนอแนะดังนี้
1. ควรจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์สาหรับชาวต่างชาติ โดยเฉพาะ ชาวพม่าซึ่งเป็นชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชุมพรมากที่สุด โดยประสานงานกับนายจ้างในการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขับขี่อย่างปลอดภัย
2. ควรจัดตั้งศูนย์ประสานงานชาวต่างชาติเมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ เพื่อให้การดาเนินการและการประงานเกิดความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
3. ควรจัดการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยนาแบบอย่างการปฏิบัติของชุมชนที่ประสบความสำเร็จในเรื่องการรณรงค์การลดอุบัติเหตุเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับชุมชนอื่นๆ ได้เรียนรู้และเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติ
4. ควรจัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าเยี่ยมสำรวจพื้นที่เสี่ยง เพื่อร่วมวางแนวทางในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะพื้นที่ที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยๆ

ดังนั้นการลดการเกิดอุบัติเหตุอย่างยั่งยืนในพื้นที่จัดหวัดชุมพรจาเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการร่วมกันหาแนวทางในการป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเน้นการสร้างจิตสานึกให้ประชาชนเกิดการเกรงกลัวต่ออุบัติเหตุ ไม่ขับขี่เมื่อดื่มแอลกอฮอล์ ขณะเดียวกันต้องสร้างให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมที่ดีในการเคารพกฎหมายและกฎจราจร ซึ่งจะต้องเน้นการประชาสัมพันธ์และความร่วมมืออย่างจริงใจเพื่อให้เกิดความยั่งยืนกับชาวชุมพรสืบไป

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 56 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร  ป้องกันบรรเทาสาธารณะภัยจังหวัดชุมพร  แขวงการทาง  ทางหลวง  ขนส่งจังหวัด  แขวงบำรุงทาง  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด  โรงพยาบาล  ตำรวจภูธรจังหวัด  มูลนิธิรักศิลธรรม  สนง.ศึกษาธิการจังหวัด  อำเภอ  สถาบันการศึกษา  อบต.  ประชาสัมพันธ์จังหวัด เยาวชน  ภาคประชาสังคม

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

สนับสนุนให้ชุมชนสามารถจัดการอุบัติเหตุในชุมชนได้เองเพื่อสร้างรูปแบบใหม่ๆนอกเหนือจากเรื่องสุขภาพ

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  1. ควรจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์สาหรับชาวต่างชาติ โดยเฉพาะ ชาวพม่าซึ่งเป็นชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ใน จังหวัดชุมพรมากที่สุด โดยประสานงานกับนายจ้างในการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขับขี่อย่าง ปลอดภัย
  2. ควรจัดตั้งศูนย์ประสานงานชาวต่างชาติเมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ เพื่อให้การดาเนิน การและการประงานเกิดความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
  3. ควรจัดการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยนาแบบอย่างการปฏิบัติของชุมชนที่ประสบความสำเร็จในเรื่อง การรณรงค์การลดอุบัติเหตุเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับชุมชนอื่นๆ ได้เรียนรู้และเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติ
  4. ควรจัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าเยี่ยมสำรวจพื้นที่เสี่ยง เพื่อร่วมวางแนวทางในการป้องกันการเกิด อุบัติเหตุ โดยเฉพาะพื้นที่ที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยๆ