พัฒนาเครือข่ายสื่อสาธารณะ

เวทีอบรมหลักสูตรการใช้สมาร์ทโฟน เพื่อการผลิตสื่อปลอดภัย ในกลุ่มเสี่ยง เด็กและเยาวชน9 กุมภาพันธ์ 2562
9
กุมภาพันธ์ 2562รายงานจากพื้นที่ โดย วิลาสลักษณ์ แก้วบุญเรือง
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้เห็นกระบวนการขั้นตอนการฝึกอบรมจากการทดลองหลักสูตรฯ ก่อนนำไปใช้อบรมจริง
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ชี้แจง วัตถุประสงค์ของโครงการ สื่อออนไลน์กับทิศทางการขับเคลื่อนโครงการ 2.รู้จักการวางแผน/ประเด็น/การเขียนโครงเรื่อง 3.รู้จักการถ่ายวีดีโอด้วยสมาร์ทโฟน     - แบ่งกลุ่ม ทำสคริป  วางแผนเตรียมพร้อมในการลงพื้นที่ ตัดต่อวีดี จากการลงพื้นที่ 4.ทบทวนเนื้อหา และเปิด VTR วันวาน 5.นำเสนอผลงานแต่ละกลุ่มและวิพาษ์ วิจารณ์คลิปวีดีโอ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สื่อในยุคปัจจุบันกับเทคโนโลยีกาสื่อสารที่ทันสมัย รวดเร็ว เข้าถึงง่าย ทุกคนสามารถเป็นสื่อได้จนวงการสื่อได้ขนานนามว่า “สื่อใหม่” ซึ่งมีอิทธิพลต่อคนรุ่นใหม่ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงคือเด็กเยาวชนทั้งในระบบและนอกระบบ  การรับสื่อก่อให้เกิดพฤติกรรมลอกเลียนแบบทั้งในทางบวกและทางลบนำไปสู่การสร้างเครือข่ายทางสังคมที่กว้างขวาง รวดเร็ว ทั้งนี้ข้อดีของการเปลี่ยนแปลงคือการกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้รับข่างสารได้โดยง่าย  ทำให้เกิดการขาดความรู้สึกร่วมถึงปัญหานั้นๆอย่างแท้จริง  นอกจากนั้นการรวมตัวที่ง่ายทำให้บุคคลทีสามหรือผู้บริโภคขาดความเชื่อถือของเนื้อหาหรือรูปแบบของการสื่อสาร  การสื่อสารจึงเป็นปัจจัยลำดับต้นๆที่จะเพิ่มความขัดแย้งหรือการชี้นำสังคมไปในทางที่ผิดถ้าขาดการวิเคราะห์แยกแยะหรือการไม่รู้เท่าทัน
จากการขับเคลื่อนงานสื่อฯพบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการใช้สื่อทุกวันนี้มีมากขึ้น โดยเฉพาะด้านจริยธรรม ศีลธรรม  หลักสูตร เยาวชนรู้เท่าทันสื่อ โดยการใช้สมาร์ทโฟน เพื่อการผลิตสื่อที่ปลอดภัย ในกลุ่มเสี่ยง เด็กและเยาวชนในสถานศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  ที่มุ่งเน้นการรู้เท่าทันสื่อในรูปแบบของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เป็นการเรียนรู้ร่วมกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น  วิเคราะห์ร่วมกัน โดยทำการศึกษาเป็นกลุ่ม  ผู้เรียนจะเป็นศูนย์กลางเป็นผู้สร้างความรู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

นำเข้าข้อมูล การรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ของเด็กและเยาวชน         “รู้เท่าทันสื่อ” คือ ทักษะ หรือความสามารถในการ “ใช้สื่ออย่างรู้ตัว” และ “ใช้สื่ออย่างตื่นตัว”   “การรู้เท่าทันสื่อ” คือความสามารถป้องกันตนเองจากการถูกจูงใจจากเนื้อหาของสื่อ ไม่หลงเชื่อเนื้อหาที่ได้อ่าน ได้ยิน ได้ฟัง แต่สามารถคิด วิเคราะห์ สงสัย และรู้จักตั้งค่าถามว่า จริงหรือไม่จริง ใครเป็นคนให้ข้อมูล เขาต้องการ สื่อสารอะไร มีจุดมุ่งหมายแอบแฝงหรือไม่ ต้องการสื่อสารให้ใคร และใครได้ประโยชน์ โดยการรับมือจากสื่อออนไลน์นั้นเราสามารถวิเคราะห์และพิจารณาเองได้ รวมถึงการรับมือกับข่าวลือในสื่อสังคมออนไลน์ โดยข่าวในสื่ออาจจะเป็นข่าวสารที่เป็นข่าวลือหรือสื่อเกินจริง พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันเป็นฉบับ (ฉบับที่  ๒) พ.ศ.  ๒๕๖๐หรือที่คุ้นหูในชื่อ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ กฎหมายดังกล่าวเป็นการแก้ไขกฎหมายเดิมอย่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ปี 2550 โดยหนึ่งในประเด็นที่มีการแก้ไขใหม่ คือ การแก้ไขมาตรา 14 เพื่อป้องกันการนำมาใช้ฟ้องหมิ่นประมาท เนื่องจากในอดีต มาตราดังกล่าวนำมาสู่การฟ้องร้องดำเนินคดีเอาผิดกับ "เนื้อหา" บนโลกออนไลน์ ทั้งที่เจตนารมณ์ของกฎหมายมีขึ้นเพื่อการเอาผิดการกระทำต่อ "ระบบ" คอมพิวเตอร์

ชี้แจงเทคนิคการเตรียมอุปกรณ์สมาร์ทโฟนแต่ละรุ่นเพื่อความพร้อมในการเข้าฝึกอบรม โดย นายพงษ์พัฒน์  ด่านอุดม เทคนิคการใช้สมาร์ทโฟนผลิตคลิปวีดีโอ
เป็นแอปพลิเคชั่นตัดต่อวิดีโอชั้นยอดที่สามารถตัดต่อทั้งภาพ เสียง ไตเติ้ล แคปชั่น  และโลโก้ได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ยัง import ฟอนต์ตัวอักษร และแปลงไฟล์เป็นระบบ NTSC หรือ PAL ได้เช่นกัน ๑. การเขียนสคริปต์  สร้างสคริปต์ โดยการใช้หลักเขียนเรื่องจากภาพ  ดูว่าคลิปภาพส่วนไหนที่มีพลังและเร้าอารมณ์ที่สุด  แล้วค่อยจึงนำคลิปเหล่านั้นมาตัดต่อเพื่อเล่าเรื่องให้มีพลังมากที่สุดระหว่างการเขียนสคริปต์  ไม่จำเป็นต้องใส่ชื่อของผู้ให้สัมภาษณ์เพราะมันจะปรากฏเป็นตัวอักษรบนหน้าจออยู่แล้วสิ่งที่ควรอยู่ในสคริปต์ คือข้อมูลและการสัมภาษณ์ที่เร้าอารมณ์และทำให้เกิดความสนใจใคร่รู้ ๒. การตัดต่อวิดีโอ โดยการใช้โปรแกรม KineMaster  บันทึกเป็นเสียงบรรยายให้เรียบร้อยผ่าน แอปพลิเคชั่น จากนั้นก็ import เสียงนั้นเข้าไปในแอปพลิเคชั่นตัดต่อเพื่อแยกชิ้นส่วนเสียงเข้ากับวิดีโอในแต่ละช่วง สุดท้ายนำเสียงธรรมชาติ เติมลงไปในช่วงที่ไมมีเสียงบรรยายหรือเสียงสัมภาษณ์

ลงพื้นที่ถ่ายภาพ และถ่ายคลิปสั้นๆด้วยสมาร์ทโฟน

ผลที่ได้ - เกิดการทดลองหลักสูตร พบทั้งข้อดีและข้อบกพร่อง ความไม่สมบูรณ์บางส่วนของหลักสูตร เพื่อการปรับปรุงและแก้ไข - เกิดทีมพี่เลี้ยงจากการอบรมและพัฒนาศักยภาพเพื่อเป็นพี่เลี้ยงในการอบรมจริงทั้ง ๓ จังหวัด - ผู้เข้าอบรมสามารถผลิตคลิปเพื่อการสื่อสารได้ตามวัตถุประสงค์

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 27 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

1.โรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก 2.โรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา 3.มหาวิทยาลัยราภัฎนครศรีธรรมราช 4.สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้  นครศรีธรรมราช
5.เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช 6.เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ จังหวัดกระบี่ 7.เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ จังหวัดพังงา 8.เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ จังหวัดชุมพร

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี