แก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาและคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

แก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาและคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ แก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาและคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
หน่วยงานหลัก คณะครุศาสตร์
หน่วยงานร่วม
ชื่อชุมชน
ชื่อผู้รับผิดชอบ
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 113 หมู่ 12 ต.เกาะแก้ว อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา โรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และมัธยมศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด
การติดต่อ
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 3,000,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ร้อยเอ็ด place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

สังคมโลกในศตวรรษที่ 21 มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคม ดังนั้นการจัดการศึกษาจึงต้องปฏิรูปเพื่อให้สอดคล้องและทันต่อ การเปลี่ยนแปลง พัฒนาคนให้มีสมรรถนะและทักษะด้านต่าง ๆ ที่จำเป็น รวมทั้งมีศักยภาพการแข่งขันทั้ง ในระดับชาติและนานาชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) กล่าวว่า คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา การพัฒนาคนให้มีคุณภาพเป็นหัวใจที่สำคัญในการพัฒนาชาติให้มีความเจริญก้าวหน้าและยั่งยืน
คุณภาพการศึกษาคือกระจกสะท้อนคุณภาพคน จากการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2552-2561) ประเทศไทยมีการจัดสรรงบเกี่ยวกับการศึกษาเป็นอันดับที่ 2 ของโลก (สาธิต วงศ์อนันต์นนท์, 2557) เพื่อการปฏิรูปหลักสูตรที่มุ่งเน้นสมรรถนะและทักษะด้านต่าง ๆ ที่จำเป็น ปฏิรูปครู อาจารย์ และผู้บริหารให้มีความรู้มุ่งเน้นความเป็นนักวิชาการ มีสรรถนะสูงขึ้นทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งปฏิรูประบบบริหารจัดการให้สามารถแก้ปัญหาได้จริง ในเชิงประจักษ์และมีประสิทธิภาพ (วิทยากร เชียงกูล, 2559) แต่จากรายงานผลการปฏิรูป ในบริบทจริง ยังมีปัจจัยหลายด้านที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษาได้แก่ การคอรัปชั่น ปัญหาหนี้สิน วัฒนธรรมองค์กร สวัสดิการและขวัญกำลังใจในการทำงาน ที่เป็นผลมาจากความเหลื่อมล้ำทางด้านต่าง ๆ ของสังคมไทย แม้ว่าประเทศไทยจะประสบความสำเร็จในการขยายโอกาสทางการศึกษาแต่ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษายังเป็นปัญหาที่เรื้อรังและบั่นทอนคุณภาพของคนในชาติมาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งเห็นในเชิงประจักษ์ว่าคุณภาพการศึกษาของนักเรียนในโรงเรียนที่มีชื่อเสียงขนาดใหญ่จะสูงกว่านักเรียน ในโรงเรียนขนาดเล็ก (สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2558; สสค, 2558; วิทยากร เชียงกูล, 2559) นอกจากนี้ยังพบปัญหาวัฒนธรรมการทำงานและวัฒนธรรมการสอนแบบเดิมในโรงเรียนส่งผลต่อ การบริหาร และการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน (สำนักงานเลขาธิการ, 2553; พัทธนันท์ หรรษาภิรมย์โชค และ จิราภรณ์ - กาแก้ว, 2557; วิทยากร เชียงกูล, 2559)
ครูคือหัวใจของการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ (สสค, 2558) จากการรายงานผลแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พบว่าประเทศไทยประสบปัญหาการพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ การศึกษาในประเทศไทยผลิตคุณภาพคนไม่ตรงกับตลาดแรงงาน และปัญหาพื้นฐานที่สำคัญคือคนมีคุณภาพความรู้และทักษะ อยู่ในระดับต่ำ (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12, 2-12) สอดคล้องกับผลการสอบวัดผล ในระดับชาติและนานาชาติ ที่พบว่านักเรียนไทยมีทักษะเกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหา อยู่ในระดับต่ำ ตั้งแต่ปี 2545 ถึง 2558 และผลการทดสอบยังไม่ดีขึ้นจนสามารถชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างได้ชัดเจน (โครงการ PISA ประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2560) จากเหตุผลดังกล่าวชี้ให้เห็น ถึงปัญหาคุณภาพครูภายใต้วัฒนธรรมชั้นเรียนแบบเดิม รวมทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ไม่สอดคล้อง กับทิศทางการพัฒนาคุณภาพคนตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
การพัฒนาคุณภาพครูจำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อเปลี่ยนแปลงวัฒธรรมแบบเดิม ในโรงเรียน ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้พัฒนานวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ซึ่งประเทศญี่ปุ่นใช้พัฒนาวิชาชีพครูมาอย่างยาวนานมาปรับใช้ พบว่านวัตกรรมดังกล่าวสามารถเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมแบบเดิม ในโรงเรียน พัฒนาคุณภาพครูและนักเรียน สามารถสร้างชั้นเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้จริง พัฒนาการเรียนรู้และยกระดับการคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนให้สูงขึ้น สอดคล้องกับรายงานการประเมินระดับนานาชาติ TIMM ที่กล่าวว่า ความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นผลมาจากวิธีการสอนของครู โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้ใช้และพัฒนานวัตกรรมทั้งสอง โดยส่งผลให้นักเรียนมีระดับผลการคิดวิเคราะห์ในระดับที่สูงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ นอกจากนี้ในปัจุบันนวัตกรรมทั้งสองนี้ยังได้รับการยอมรับจากนักการศึกษา และนักคณิตศาสตรศึกษาว่าสามารถใช้พัฒนาวิชาชีพครูได้จริงในหลายประเทศ ในประเทศไทยได้นำทั้งสองนวัตกรรมนี้มาปรับใช้กับโรงเรียนในเขตพื้นที่ของจังหวัดขอนแก่นและเริ่มขยายผลในหลายภูมิภาค ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์วิจัยทางคณิตศาสตรศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น กระบวนการหลักของนวัตกรรมเน้นให้นักศึกษา ครู นักวิจัยหรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเรียกว่ากลุ่มการศึกษาชั้นเรียน ได้มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับ การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ การเตรียมสื่อและการสร้างสื่อสำหรับจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การสังเกตชั้นเรียน การวิพากษ์ชั้นเรียนและการเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงชั้นเรียน ซึ่งหัวใจของการพัฒนาชั้นเรียน คือการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการแก้ปัญหาที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามศักยภาพของตนเอง
ตามแนวคิดของ Shulman (1986) การบูรณาการความรู้เชิงเนื้อหากับความรู้เกี่ยวกับวิธีการสอน เป็นสิ่งที่สำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ แต่พบว่าในชั้นเรียนทั่วไปมีจัดการเรียนการสอนที่ไม่เหมาะสมกับธรรมชาติและกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น การใช้วิธีสอนแบบบรรยายในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาตอนต้น ปัญหานี้ชี้ให้เห็นถึงกิจกรรมการเรียนรู้ที่ขาดการบูรณาการความรู้เชิงเนื้อหากับวิธีการสอน ซึ่ง Stigler & Hiebert (2009) กล่าวว่าปัญหาดังกล่าวอาจส่งผลให้นักเรียนขาดโอกาสในการเรียนรู้ การคิดวิเคระห์และแก้ปัญหาด้วยศักยภาพของตนเอง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชั้นเรียน ควรเริ่มจากการพัฒนาคุณภาพครูด้วยการเปลี่ยนแปลงวิธีการสอน ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ (2553) กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนนั้นควรมีความสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเรียนรู้ เต็มตามศักยภาพ กิจกรรมการเรียนรู้ควรเน้นกระบวนการแก้ปัญหา นอกจากนี้ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิธีการสอนและการสังเกตชั้นเรียนที่เน้นการแก้ปัญหายังเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพครู (Suttiamporna, Loiphaa, Inprasitha & Sasomb, 2012) รวมทั้งในการเตรียมกิจกรรมและออกแบบการเรียนรู้ควรมีการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อพิจารณาตำแหน่งการเรียนรู้ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับกิจกรรม (Isoda, 2007) เพื่อสร้างภาพเชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนก่อนลงมือปฏิบัติจริง (ธวัชชัย เหล่าสงคราม, 2556)
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ควรเน้นการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติและสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง สอดคล้องกับแนวคิดกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบเน้นการมีส่วนร่วมและลงมือปฏัติ (active learning) เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Bonwell, 1991) ปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการจัดกิกรรมตามรูปแบบดังกล่าว คือบทบาทของครูในฐานะของผู้ดำเนินการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการบูรณาการความรู้เกี่ยวกับเนื้อหา ความรู้เกี่ยวกับวิธีการสอน และความรู้เกี่ยวกับผู้เรียน โดยสะท้อนผ่านการนำเสนอสถานการณ์ปัญหาที่เร้าความสนใจ เหมาะสมและสอดคล้องกับประสบการณ์และพื้นฐานความรู้เดิมของผู้เรียน การตั้งประเด็นคำถามที่ผู้เรียนสามารถเข้าใจและตอบสนองได้ง่าย การเป็นผู้อำนวยความสะดวกในด้านการจัดลำดับการใช้สื่อการเรียนรู้ การรวบรวมและการจัดระบบความคิดนักเรียนเพื่อให้ผู้เรียนใช้เป็นข้อมูลในการเชื่อมโยงองค์ความรู้ ใช้การแทรกแซงที่เหมาะสมผ่านการตั้งคำถาม ตั้งประเด็นอภิปราย รวมทั้งให้คำแนะนำเพื่อให้ผู้เรียนสามารถสื่อสาร สื่อความหมาย สามารถคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง การพัฒนาครูให้สามารถบูรณาการความรู้และสามารถจัดการเรียนรู้ในรูปแบบดังกล่าวได้ ควรได้รับการตรวจสอบและคำแนะนำในแต่ละขั้นตอนเพื่อให้เกิดการพัฒนาได้จริงในบริบทโรงเรียน ซึ่งโดยทั่วไปยอมรับว่าระบบการให้คำปรึกษาและชี้แนะ (Coaching & Mentoring) ที่เน้นคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยง เป็นระบบที่สะท้อนกระบวนการพัฒนาที่มีความยั่งยืน รวมทั้งยังส่งผลต่อการสร้างวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดีร่วมกันในภาคปฏิบัติเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู นอกจากนี้การสร้างเครือข่ายการปฏิบัติงานยังเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการสร้างความตระหนักและค่านิยม ที่ส่งผลต่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน (ภทัรวรรธน์ นิลแก้วบวรวชิญ์, 2559)
จากที่กล่าวมาแสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาทักษะและความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามแผนและกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ยกระดับทักษะการสอนให้มีความสามารถในการบูรณาการความรู้ด้านต่าง ๆ เพื่อออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนานักเรียนได้ตรงตามวัตถุประสงค์ จากความสำคัญดังกล่าว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ได้ลงนามความร่วมมือกับ ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อดำเนินโครงการแก้ปัญหาการจัดการศึกษาและคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 11:15 น.