เครื่องอบพริกแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอัจฉริยะ สำหรับชุมชนตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

เครื่องอบพริกแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอัจฉริยะ สำหรับชุมชนตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ เครื่องอบพริกแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอัจฉริยะ สำหรับชุมชนตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
หน่วยงานหลัก คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
หน่วยงานร่วม คณะวิศวกรรมศาสตร์, คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทศบาลตำบลลำคลอง อำเภอเมืองจังหวัด กาฬสินธุ์
ชื่อชุมชน บ้านปลาเค้าน้อย ตำบลลำคลอง อำเภอเมืองจังหวัด กาฬสินธุ์
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผศ.ดร.ธรัช อารีราษฎร์
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา อาจารย์
ผศ.ดร.วรปภา อารีราษฎร์ สาขาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
ดร.อภิชาติ เหล็กดี สาขาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
อาจารย์วินัย โกหลำ สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
ดร.ภาณุวัฒน์รื่นเรืองฤทธิ์สาขาวิศวกรรมการจัดการคณะวิศวกรรมศาสตร์
อาจารย์นฤดลสวัสดิ์ศรีสาขาบริหารธุรกิจการเกษตรคณะเทคโนโลยีการเกษตร
ผศ.ดร.ไอลัดดา โอ่งกลาง สาขาการบัญชี
นักศึกษา
นายนภสินธุ์ตุมพิทักษ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
นายวุฒิชัยพิทูรย์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
นายวุฒิชัยล้านเหรียญทอง คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
นายวัชระพลวงษ์คำสุข คณะวิศวกรรมศาสตร์
นางสาวพรศิริปักขิพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
นางสาวปวีณาบุญทาทอง คณะวิศวกรรมศาสตร์
นางสาววิชุดาระหารนอก คณะเทคโนโลยีการเกษตร
นางสาวแพรวนภาคลังดี คณะเทคโนโลยีการเกษตร
นางสาววรรณภาลาโสภา คณะเทคโนโลยีการเกษตร
นายธนทัษน์ วันปลั่ง คณะเทคโนโลยีการเกษตร
น.ส.พรชิตา ถิตย์บุญครอง คณะวิทยาการจัดการ
น.ส.สุจิตรา น้ำนวล คณะวิทยาการจัดการ
การติดต่อ 090-3354499
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 30 มิถุนายน 2563
งบประมาณ 500,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ เมืองกาฬสินธุ์ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ชุมชนเทศบาลตำบลลำคลองตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ห่างจากเมืองกาฬสินธุ์ ประมาณ 20 กิโลเมตร
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ราษฎรเทศบาลตำบลลำคลองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมีพื้นที่การเกษตรร้อยละ 90 สามารถแยกประเภทได้ดังนี้
อาชีพทำนาเป็นอาชีพหลักของตำบลส่วนใหญ่ทำนาปีประมาณ 90% ของพื้นที่ทั้งหมด
อาชีพทำไร่พื้นที่ตำบลลำคลองเหมาะสมสำหรับทำไร่อ้อยไร่มันสำปะหลัง
อาชีพทำสวนส่วนใหญ่ทำสวนพริก,สวนผัก
อาชีพเลี้ยงสัตว์เลี้ยงกุ้ง,เลี้ยงปลา,เลี้ยงโค–กระบือ,เลี้ยงหมู,เลี้ยงไก่พื้นบ้าน
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ผลผลิตจากการทำสวนพริก โดยส่วนใหญ่จำหน่ายเป็นพริกสด ส่งผลให้ต้องจำหน่ายให้ทันเวลา และผลผลิตมีราคาต่ำ ทำให้มีรายได้ไม่เพียงพอ แต่ถ้าจะนำผลผลิตไปตากแห้ง ก็ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ และใช้เวลาหลายวัน ทำให้ไม่สามารถนำผลผลิตไปตากแห้งได้ตามที่ต้องการ
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ความต้องการเครื่องอบแห้งที่สามารถวัดความชื้น อุณหภูมิ และปรับความร้อนได้โดยอัตโนมัติ และสามารถให้ข้อมูลการอบพริกแก่เกษตรกรได้ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ เนื่องจากการอบแต่ละครั้ง เกษตรกรจะนำพริกมาอบแห้ง และไปทำงานอย่างอื่นต่อไป และเมื่อกระบวนการอบพริกเสร็จสิ้น ตู้อบสามารถมีข้อความไปแจ้งสถานะแก่เกษตรกรได้ ซึ่งการอบพริก จะช่วยให้พริกไม่เน่าเสีย จัดเก็บไว้ได้นาน และขายได้ในราคาที่สูงกว่า

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

การอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เป็นการใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปความร้อนรูปแบบหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ ไม่เสียค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงในการใช้งาน ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมการอบแห้งด้วยเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์เมื่อเทียบกับการตากแดด เครื่องนี้สามารถช่วยลดปัญหาการปนเปื้อนจากฝุ่นละอองและการรบกวนจากแมลงทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีคุณภาพดีขึ้น และยังช่วยลดระยะเวลาในการตากแห้งอีกด้วย หากเทียบกับการอบแห้งเชิงอุตสาหกรรม ก็จะช่วยในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าน้ำมันหรือแก๊สธรรมชาติอีกด้วย (อนิรุทธิ์ต่ายขาวและสมบัติทีฆทรัพย์, ๒๕๕๖:๒๔)
การอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์แบ่งได้ ๒ระบบ คือ๑)ระบบ Passive คือ ระบบที่เครื่องอบแห้งทำงานโดยอาศัยพลังงานแสงอาทิตย์และกระแสลมพัดผ่าน เช่น๑.๑) เครื่องตากแห้งโดยธรรมชาติ โดยวางวัตถุในกลางแจ้งอาศัยความร้อนจากแสงอาทิตย์และกระแสลมจากบรรยากาศพัดผ่าน และระเหยความชื้นออกจากวัสดุ๑.๒) เครื่องอบแห้งแบบได้รับแสงอาทิตย์โดยตรง วัสดุที่อบอยู่ในเครื่องอบแห้งซึ่งปกคลุมด้วยวัสดุโปร่งใสความร้อนที่ใช้อบแห้งได้มาจากการดูดกลืนพลังงานแสงอาทิตย์ โดยอาศัยหลักการขยายตัวของอากาศภายในเครื่องอบแห้งทำให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศ เพื่อช่วยถ่ายเทอากาศชื้น๑.๓) เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสม เครื่องอบแห้งแบบนี้วัสดุที่อยู่ภายใน จะได้รับความร้อน ๒ทาง คือทางตรงจากแสงอาทิตย์และทางอ้อมมาจากแผงรับรังสีแสงอาทิตย์ทำให้อากาศร้อนก่อนเข้าวัสดุอบแห้ง๒)ระบบActiveการอบแห้งระบบActive คือระบบอบแห้งที่มีเครื่องช่วยให้อากาศไหลเวียนในทิศทางที่ต้องการเช่นจะมีพัดลมติดตั้งในระบบเพื่อบังคับให้มีการไหลของอากาศผ่านระบบพัดลมจะดูดอากาศจากภายนอกให้ไหลผ่านแผงรับแสงอาทิตย์เพื่อรับความร้อนจากแผงรับแสงอาทิตย์อากาศร้อนที่ไหลผ่านพัดลมและห้องอบแห้งจะมีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำกว่าความชื้นของพืชผลจึงพาความชื้นจากพืชผลออกสู่ภายนอกทำให้พืชผลที่อบไว้แห้งได้และ ๓) ระบบ Hybrid คือ เครื่องอบแห้งที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์และอาศัยพลังงานรูปอื่นเพิ่ม เช่น พลังงานเชื้อเพลิง พลังงานไฟฟ้า วัสดุอบแห้งจะได้ความร้อนจากอากาศร้อน ที่ผ่านเข้าแผงรับแสงอาทิตย์ การหมุนเวียนทางอากาศอาศัยพัดลม หรือเครื่องดูดอากาศช่วย(กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน : ออนไลน์
เครื่องอบพริกแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ สามารถดำเนินการได้โดยใช้เทคโนโลยีควบคุมการดำเนินงาน หรือระบบไอโอที (Internet of Things : IOT)เพื่อตรวจสอบ และควบคุม ความชื้น อุณหภูมิ และสามารถควบคุมพลังงานความร้อนได้ในตู้อบได้ ตลอดจนสื่อสารส่งข้อความไปแจ้งสถานะแก่เกษตรกรได้ มหศักดิ์เกตุฉ่ำ (ออนไลน์) กล่าวว่าเทคโนโลยี ไอโอที หรือ “อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง” หมายถึง การที่สิ่งต่างๆ ถูกเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ต ทำให้มนุษย์สามารถสั่งการ ควบคุมใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น การสั่งเปิด-ปิด อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องมือสื่อสาร เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องมือทางการเกษตร เครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม อาคาร บ้านเรือนเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยเทคโนโลยีนี้จะเป็นทั้งประโยชน์อย่างมหาศาล และความเสี่ยงไปพร้อมๆ กัน เพราะหากระบบรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไม่ดีพอ จะทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามากระทำการที่ไม่พึงประสงค์ต่ออุปกรณ์ข้อมูลสารสนเทศหรือความเป็นส่วนตัวของบุคคลได้ ดังนั้น การพัฒนาไปสู่ไอโอทีจึงมีความจำเป็นต้องพัฒนามาตรการและเทคนิคในการรักษาความปลอดภัยไอทีควบคู่กันไปด้วย

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

รัฐบาลได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา ช่วยเหลือเกษตรกรและประชาชนผู้มีรายได้น้อยทั้งทางด้านการลดต้นทุนการผลิต การให้ความรู้ การสร้างมูลค่าเพิ่ม การตลาด การช่วยเหลือด้านปัจจัยการผลิต และการใช้แนวคิด "ประชารัฐ "มาเป็นตัวการแก้ไขปัญหา และอาศัยกลไกความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติเข้ากับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ของประเทศไทยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับรายได้ของประชาชน แก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร พัฒนาโภชนาการและความปลอดภัยด้านอาหาร เพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ของประชาชนและประเทศชาติ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(๒๕๖๑) จัดทำรายงาน“สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ในระดับภาคของประเทศไทย”ขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลและสถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ในระดับภาคโดยแบ่งภาคออกเป็น๖ภาคได้แก่ภาคกลางภาคตะวันออกภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคใต้และภาคใต้ชายแดนซึ่งสถานการณ์ความยากจนใช้เส้นความยากจน (Poverty line) เป็นเกณฑ์ในการประเมินส่วนความเหลื่อมล้ำด้านรายได้สะท้อนจากค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค (Gini Coefficient) ด้านรายได้และสะท้อนจากส่วนแบ่งรายได้ของประชากรในกลุ่มต่างๆ ตามระดับรายได้ทั้งนี้โดยนำเสนอข้อมูลความยากจนระดับภาคตั้งแต่ปี๒๕๕๖ - ๒๕๕๙และข้อมูลความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ระดับภาคตั้งแต่ปี๒๕๕๔ปี๒๕๕๖และปี๒๕๕๘เพื่อเป็นฐานข้อมูลที่สามารถสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ในระดับภาคในช่วงที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน
จากรายงานพบว่า การให้ความสำคัญกับปัญหาความยากจนในระดับจังหวัดของแต่ละภูมิภาคจะสามารถสะท้อนปัญหาความยากจนได้ชัดเจนมากขึ้นโดยเฉพาะจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงเกินกว่าร้อยละ๒๐ของประชากรทั้งหมดในจังหวัดซึ่งในปี๒๕๕๙มีทั้งหมด๑๒จังหวัดประกอบด้วยภาคกลาง๑จังหวัดคือชัยนาทภาคเหนือ๓จังหวัด คือแม่ฮ่องสอนตากน่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ๕จังหวัดคือกาฬสินธุ์นครพนมบุรีรัมย์อำนาจเจริญ มุกดาหารภาคใต้ชายแดน๓จังหวัดคือนราธิวาสปัตตานียะลาทั้งนี้จาก๑๒จังหวัดที่มีความยากจนสูงดังกล่าว มีอยู่๗จังหวัดที่เป็นจังหวัดที่มีมิติทั้งความยากจนเรื้อรัง (จังหวัดที่ติดลำดับ๑ใน๑๐จังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงที่สุดต่อเนื่องหลายปี) และความยากจนรุนแรง (จังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงติดลำดับ๑ใน๑๐จังหวัดในปี๒๕๕๙) ได้แก่แม่ฮ่องสอนนราธิวาสปัตตานีกาฬสินธุ์นครพนมตากและบุรีรัมย์ซึ่งจังหวัดเหล่านี้ภาครัฐและภาคีการพัฒนาจะต้องให้ความสำคัญลำดับสูงในการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนต่อไป
จังหวัดกาฬสินธุ์ ถือเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นจังหวัดนำร่องโครงการ เนื่องจากเป็นจังหวัดที่ติดอันดับ ๑ ใน๑๐ ที่มีสัดส่วนคนจนสูงสุดต่อเนื่อง และมีความยากจนรุนแรง จากการลงพื้นที่เพื่อสำรวจข้อมูล พบว่า ตำบลลำคลองตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ห่างจากเมืองกาฬสินธุ์ ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร มีจำนวนประชากร / ครัวเรือน ดังโดยมีรายละเอียดดังนี้

ตารางที่ ๑จำนวนประชากร / ครัวเรือน
หมู่ที่ ชื่อบ้าน จำนวนประชากร จำนวนครัวเรือน ชื่อผู้นำ
ชาย หญิง รวม
๑ สะอาดนาทม ม.๑ ๔๗๗ ๔๘๖ ๙๖๓ ๓๖๐ นางคะนองศิลป์ กงมหา
๒ หนองสองห้อง ม.๒ ๑๙๓ ๑๙๘ ๓๙๑ ๑๐๑ นายเลิศ โศกชาตรี
๓ หาดทอง ม.๓ ๓๓๐ ๓๔๔ ๖๗๔ ๑๖๗ นายประมัย สงค์ประดิษฐ์
๔ ปลาเค้าน้อย ม.๖ ๓๗๓ ๓๘๘ ๗๖๑ ๑๘๐ นายสมศักดิ์ ภูกิ่งเงิน
๕ อัมพวัน ม.๗ ๒๒๑ ๒๒๗ ๔๔๘ ๑๓๙ นายสถาพร ภูบัวเงิน
๖ สะอาดใต้ ม. ๙ ๒๙๕ ๓๑๐ ๖๐๕ ๑๔๙ นายประวิทย์ ไชยงาม
๗ หนองม่วง ม. ๑๐ ๒๓๑ ๒๐๖ ๔๓๗ ๑๑๕ นายวิบูลย์ ภูมาตนา
รวม ๒,๑๒๐ ๒,๑๕๙ ๔,๒๗๙ ๑,๒๑๑
ที่มา :http://lamklong.go.th/?option=List&Menu=Sub&type=9&id=102&to=ข้อมูลพื้นฐาน&

สำหรับอาชีพ พบว่า ราษฎรเทศบาลตำบลลำคลองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมีพื้นที่การเกษตรร้อยละ๙๐สามารถแยกประเภทได้ดังนี้

อาชีพทำนาเป็นอาชีพหลักของตำบลส่วนใหญ่ทำนาปีประมาณ๙๐% ของพื้นที่ทั้งหมด
อาชีพทำไร่พื้นที่ตำบลลำคลองเหมาะสมสำหรับทำไร่อ้อยไร่มันสำปะหลัง
อาชีพทำสวนส่วนใหญ่ทำสวนพริก,สวนผัก
อาชีพเลี้ยงสัตว์เลี้ยงกุ้ง,เลี้ยงปลา,เลี้ยงโค–กระบือ,เลี้ยงหมู,เลี้ยงไก่พื้นบ้าน

จากการลงพื้นที่ชุมชนตำบลลำคลอง พบว่า ปัญหาที่พบอย่างหนึ่ง คือ ผลผลิตจากการทำสวนพริก โดยส่วนใหญ่จำหน่ายเป็นพริกสดส่งผลให้ต้องจำหน่ายให้ทันเวลา และผลผลิตราคาต่ำ ทำให้มีรายได้ไม่เพียงพอ แต่ถ้าจะนำผลผลิตไปตากแห้ง ก็ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ และใช้เวลาหลายวัน ทำให้ไม่สามารถนำผลผลิตไปตากแห้งได้ตามที่ต้องการ
จากการสอบถามเกษตรกร พบว่า ความต้องการเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ที่สามารถวัดความชื้น อุณหภูมิ และปรับความร้อนได้โดยอัตโนมัติ และสามารถให้ข้อมูลการอบพริกแก่เกษตรกรได้ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ เนื่องจากการอบแต่ละครั้ง เกษตรกรจะนำพริกมาอบแห้ง และไปทำงานอย่างอื่นต่อไป และเมื่อกระบวนการอบพริกเสร็จสิ้น ระบบของเครื่องอบสามารถส่งข้อความไปแจ้งสถานะแก่เกษตรกรได้ ซึ่งการอบพริก จะช่วยให้พริกไม่เน่าเสีย จัดเก็บไว้ได้นาน และขายได้ในราคาที่สูงกว่า
อนิรุทธิ์ต่ายขาวและสมบัติทีฆทรัพย์ (๒๕๕๖:๒๔) กล่าวว่า การอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เป็นการใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปความร้อนรูปแบบหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ ไม่เสียค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงในการใช้งาน ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมการอบแห้งด้วยเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์เมื่อเทียบกับการตากแดด เครื่องนี้สามารถช่วยลดปัญหาการปนเปื้อนจากฝุ่นละอองและการรบกวนจากแมลงทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีคุณภาพดีขึ้น และยังช่วยลดระยะเวลาในการตากแห้งอีกด้วย หากเทียบกับการอบแห้งเชิงอุตสาหกรรม ก็จะช่วยในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าน้ำมันหรือแก๊สธรรมชาติอีกด้วย
โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน (ออนไลน์) ได้กล่าวว่า การอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์แบ่งได้ ๒ระบบ คือ๑)ระบบ Passive คือ ระบบที่เครื่องอบแห้งทำงานโดยอาศัยพลังงานแสงอาทิตย์และกระแสลมพัดผ่าน เช่น๑.๑) เครื่องตากแห้งโดยธรรมชาติ โดยวางวัตถุในกลางแจ้งอาศัยความร้อนจากแสงอาทิตย์และกระแสลมจากบรรยากาศพัดผ่าน และระเหยความชื้นออกจากวัสดุ๑.๒) เครื่องอบแห้งแบบได้รับแสงอาทิตย์โดยตรง วัสดุที่อบอยู่ในเครื่องอบแห้งซึ่งปกคลุมด้วยวัสดุโปร่งใสความร้อนที่ใช้อบแห้งได้มาจากการดูดกลืนพลังงานแสงอาทิตย์ โดยอาศัยหลักการขยายตัวของอากาศภายในเครื่องอบแห้งทำให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศ เพื่อช่วยถ่ายเทอากาศชื้น๑.๓) เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสม เครื่องอบแห้งแบบนี้วัสดุที่อยู่ภายใน จะได้รับความร้อน ๒ทาง คือทางตรงจากแสงอาทิตย์และทางอ้อมมาจากแผงรับรังสีแสงอาทิตย์ทำให้อากาศร้อนก่อนเข้าวัสดุอบแห้ง๒)ระบบActiveการอบแห้งระบบActive คือระบบอบแห้งที่มีเครื่องช่วยให้อากาศไหลเวียนในทิศทางที่ต้องการเช่นจะมีพัดลมติดตั้งในระบบเพื่อบังคับให้มีการไหลของอากาศผ่านระบบพัดลมจะดูดอากาศจากภายนอกให้ไหลผ่านแผงรับแสงอาทิตย์เพื่อรับความร้อนจากแผงรับแสงอาทิตย์อากาศร้อนที่ไหลผ่านพัดลมและห้องอบแห้งจะมีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำกว่าความชื้นของพืชผลจึงพาความชื้นจากพืชผลออกสู่ภายนอกทำให้พืชผลที่อบไว้แห้งได้และ ๓) ระบบ Hybrid คือ เครื่องอบแห้งที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์และอาศัยพลังงานรูปอื่นเพิ่ม เช่น พลังงานเชื้อเพลิง พลังงานไฟฟ้า วัสดุอบแห้งจะได้ความร้อนจากอากาศร้อน ที่ผ่านเข้าแผงรับแสงอาทิตย์ การหมุนเวียนทางอากาศอาศัยพัดลม หรือเครื่องดูดอากาศช่วย
เครื่องอบพริกแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ สามารถดำเนินการได้โดยใช้เทคโนโลยีควบคุมการดำเนินงาน หรือระบบไอโอที (Internet of Things : IOT)เพื่อตรวจสอบ และควบคุม ความชื้น อุณหภูมิ และสามารถควบคุมพลังงานความร้อนได้ในตู้อบได้ ตลอดจนสื่อสารส่งข้อความไปแจ้งสถานะแก่เกษตรกรได้ มหศักดิ์เกตุฉ่ำ (ออนไลน์) กล่าวว่าเทคโนโลยี ไอโอที หรือ “อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง” หมายถึง การที่สิ่งต่างๆ ถูกเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ต ทำให้มนุษย์สามารถสั่งการ ควบคุมใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น การสั่งเปิด-ปิด อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องมือสื่อสาร เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องมือทางการเกษตร เครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม อาคาร บ้านเรือนเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยเทคโนโลยีนี้จะเป็นทั้งประโยชน์อย่างมหาศาล และความเสี่ยงไปพร้อมๆ กัน เพราะหากระบบรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไม่ดีพอ จะทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามากระทำการที่ไม่พึงประสงค์ต่ออุปกรณ์ข้อมูลสารสนเทศหรือความเป็นส่วนตัวของบุคคลได้ ดังนั้น การพัฒนาไปสู่ไอโอทีจึงมีความจำเป็นต้องพัฒนามาตรการและเทคนิคในการรักษาความปลอดภัยไอทีควบคู่กันไปด้วย
ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงมีแนวคิดพัฒนาเครื่องอบพริกแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอัจฉริยะ สำหรับชุมชน ตำบลลำคลอง อำเภอเมืองจังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อส่งเสริมรายได้ให้กับชุมชน ได้ใช้เครื่องมือที่ช่วยในการอบพริกช่วยในการประหยัดเวลา ที่สามารถอบแห้งได้ทั้งที่มีแสงอาทิตย์ และในสภาวะไม่มีแสงอาทิตย์โดยภายในตู้อบจะติดตั้งพลังงานความร้อนโดยอาศัยพลังงานไฟฟ้าเป็นทางเลือก ทั้งนี้เครื่องอบพริกแห้งนี้จะมีระบบควบคุมแบบอัจฉริยะ ที่สามารถตรวจสอบ และควบคุม ความชื้น อุณหภูมิ และสามารถควบคุมพลังงานความร้อนได้ในตู้อบได้ ตลอดจนสื่อสารส่งข้อความไปแจ้งสถานะแก่เกษตรกรได้ คณะผู้วิจัยคาดหวังว่า ผลจากการวิจัยจะช่วยให้เกษตรกรแปรรูปผลผลิตและจำหน่ายได้ราคาสูงขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้น มีการดำรงชีวิตที่มีความมั่นคง ยั่งยืนต่อไป

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • เครื่องอบพริกแห้งพลังงานแสงอาทิตย์
  • อบพริกแห้ง

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย THARACH469 THARACH469 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 23:12 น.