การส่งเสริมรูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์แบบครบวงจร ชุมชนชาวผู้ไทย จังหวัดกาฬสินธุ์

การส่งเสริมรูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์แบบครบวงจร ชุมชนชาวผู้ไทย จังหวัดกาฬสินธุ์

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ การส่งเสริมรูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์แบบครบวงจร ชุมชนชาวผู้ไทย จังหวัดกาฬสินธุ์
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
หน่วยงานหลัก คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
หน่วยงานร่วม คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร
ชื่อชุมชน บ้านโพน ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
ชื่อผู้รับผิดชอบ ดร.อภิชาติ เหล็กดี
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 80 ถ.นครสวรรค์ ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา 1. ดร.ปิยศักดิ์ ถีอาสนา สาขามัลติมีเดียและแอนิเมชัน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. ดร.ณพรรธนนท์ ทองปาน สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
3. อาจารย์ธเนศ ยืนสุข สาขาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศดิจิทัล คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
4. อาจารย์อุมาภรณ์ พลสยม สาขาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศดิจิทัล คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
5. อาจารย์อุดร จิตจักร สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศการเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร
6. อาจารย์นิรมิตา จันทสูตร นันทะเสน สาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว คณะวิทยาการ
การติดต่อ 085-0575001, 043020227
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 30 มิถุนายน 2563
งบประมาณ 500,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ คำม่วง place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
บ้านโพน หมู่ที่ 1 - 5 ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ หมู่บ้านที่ยังคงเอกลักษณ์สำคัญของจังหวัดกาฬสินธุ์ นั่นคือ วัฒนธรรมผู้ไทย ผ้าไหมแพรวาบ้านโพน เป็นกลุ่มชนที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษของชาวผู้ไทย
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
เป็นชุมชนผลิตผ้าทอมือ มีทรัพยากรทางด้านการผลิตผ้าไหมแพรวา เครื่องจักสาน และวิถีชีวิตแบบชาวผู้ไทย
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ต้องการการจัดการการท่องเที่ยวแบบเป็นระบบครบวงจร ให้ครอบคลุมกิจกรรม ทรัพยากร ผลิตภัณฑ์ของชุมชน และการประชาสัมพันธ์สู่สังคมภายนอกอย่างกว้างขวาง
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
เป็นชุมชนที่มีวิถีชีวิตของชาวผู้ไทย อยู่ห่างจากอำเภอประมาณ 6 กิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ ประมาณ78 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 598 กิโลเมตร

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

การท่องเที่ยวเป็นการเดินทางไปเยือนสถานที่ต่างถิ่นซึ่งไม่ใช่เป็นที่พำนักอาศัยประจำของบุคคลนั้น และเป็นการไปเยือนชั่วคราวโดยไม่ใช่เพื่อเป็นการประกอบอาชีพหารายได้ (ไพฑูรย์ พงศะบุตร และวิลาสวงศ์ พงศะบุตร, 2542) จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์จังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน จากหลักฐานทางโบราณคดีบ่งบอกว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยของเผ่าละว้า ซึ่งมีความเจริญทางด้านอารยธรรมประมาณ 1,600 ปี ดังนั้น จึงมีแหล่งท่องเที่ยวอยู่มากมาย ทั้ง ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี โบราณสถาน และวิถีชีวิตของชุมชนที่มีความแตกต่างกัน
ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจแลสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564 ในเป้าหมายรวมที่ 2.3 เพื่อพัฒนา ระบบเศรษฐกิจมีความเข้มแข็งและแข่งขันได้ โครงสร้างเศรษฐกิจปรับสู่เศรษฐกิจฐานบริการและดิจิทัล มีผู้ประกอบการรุ่นใหม่และเป็นสังคมผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กที่เข้มแข็งสามารถใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลในการสร้างสรรค์คุณค่าสินค้าและบริการ มีระบบการผลิตและให้บริการจากฐานรายได้เดิมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น และมีการลงทุนในการผลิตและบริการฐานความรู้ชั้นสูงใหม่ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน รวมทั้งกระจายฐานการผลิตและการให้บริการสู่ภูมิภาคเพื่อลดความเหลื่อมล้า โดยเศรษฐกิจไทยมีเสถียรภาพและมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ ๕ ต่อปี และมีปัจจัยสนับสนุน อาทิ ระบบโลจิสติกส์ พลังงาน และการลงทุนวิจัยและพัฒนา ที่เอื้อต่อการขยายตัวของภาคการผลิตและบริการ และยุทธศาสตร์ที่ ๓ เพื่อการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืนตามวัตถุประสงค์ที่ ๑.๒.๔ เพื่อเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมสาคัญเดิมให้สามารถต่อยอดสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างเข้มข้น และสร้างรากฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่บนฐานของความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12, 2560-2564 )
บ้านโพน เป็นชุมชนวัฒนธรรมผู้ไทย ผ้าไหมแพรวา ตั้งอยู่ที่ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ หมู่บ้านที่ยังคงเอกลักษณ์สำคัญของจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นกลุ่มชนที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษของชาวผู้ไทย ที่เคยมีถิ่นฐานอยู่ที่บริเวณสิบสองปันนา เอกลักษณ์และวัฒนธรรมของชาวผู้ไทยแสดงออกผ่านวิถีการดำรงชีวิตของชาวบ้าน อีกทั้ง วิถีผ้าของชาวผู้ไทย มีชื่อเสียงในการทอผ้าแพรวา ซึ่งเป็นผ้าไหมลายมัดหมี่ที่มีความวิจิตรและละเอียดละออ โดยลายที่สวยงามเกิดจากการย้อมและการใช้นิ้วก้อยเกี่ยวไหมเรียงร้อยเป็นลายผ้าที่เป็นทรงเรขาคณิตมากมายในผ้า 1 ผืน ผู้ที่ชื่นชอบงานผ้าทอ คงใฝ่ฝันที่จะได้ครอบครองผ้าแพรวาสักผื่น ด้วยเพราะความสวยงาม ภูมิปัญญา และความอุตสาหะของผู้ทอ เสริมให้คุณค่าของผ้าแพรวาเป็นผ้าอีกผืนที่ชวนหลงใหล ชาวผู้ไทบ้านโคกโก่ง ที่มีฝีมือในการปักผ้าเป็นลวดลายประดับคอเสื้อ ข้อมือ สาบเสื้อ หรือขอบกระเป๋า ซึ่งมีความละเอียดละออ รวมทั้งการเดินเส้นตะเข็บผ้าและลวดลายของชายเสื้อทั้งชายและหญิง สร้างสีสันให้กับเครื่องแต่งกายได้อย่างสวยงาม
ดังนั้น การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นผู้ออกแบบการท่องเที่ยว เป็นผู้บริการ จัดการท่องเที่ยว โดยมีภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม เช่น นักวิชาการด้านการท่องเที่ยว สถาบันการศึกษา ภาคส่วนราชการ เอกชน ที่สนใจด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวร่วมกัน รมถึงการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำการตลาดการท่องเที่ยวในเชิงสร้างสรรค์ การมีฐานข้อมูลการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ทันสมัยครบถ้วน สามารถพัฒนาเศรษฐกิจคนในพื้นที่อีกหนึ่งช่องทางที่เป็นบูรณาการในทุกศาสตร์เข้าด้วยกัน เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจคนในประเทศ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป้าหมายการทำงานและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศอีกด้วย การพัฒนาเศรษฐกิจระดับจังหวัดโดยใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือ ผ่านการวิจัย เพื่อให้ได้มาซึ่งยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว พัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น พัฒนาและยกระดับการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้เป็นรูปธรรม และการขยายตลาดการท่องเที่ยวโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยเพื่อยกระดับเศรษฐกิจจังหวัด และเพื่อการนำไปสู่การพึ่งพาตนเอง ด้านรายได้ การบริหารการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ดำการได้เองโดยชุมชนเอง การเรียนรู้ในการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำการตลาดการท่องเที่ยว การถ่ายทอดอัตลักษณ์ชุมชนผ่านการถ่ายทอดโดยใช้การท่องเที่ยวเป็นสื่อกลาง ใช้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วยเพื่อช่วยยกระดับเศรษฐกิจฐานราก เพิ่มพูนการพึ่งพาตนเอง นำไปสู่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชุมชน จังหวัดและระดับชาติ
ดังนั้นเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของคนในประเทศ และช่วยพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนผู้ไทย ซึ่งได้รับผลกระทบจากความแปรปรวนทางเศรษฐกิจ และสังคม ได้ใช้ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีอยู่ในพื้นถิ่น สร้างโอกาส สร้างรายได้ โดยอาศัยการท่องเที่ยวโดยชุมชนเองผ่านการบูรณาการจากทุกหน่วยงาน ร่วมกันพัฒนา โดยอาศัยเทคโนโลยีและสารสนเทศที่ทันสมัย เป็นตัวช่วยทำการตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อการนำพาสู่ความเป็นอยู่และการใช้ชีวิตที่ดีขึ้น สืบทอดแก่คนรุ่นต่อไปในอนาคต

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

1. เพื่อรวบรวมข้อมูลศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนผู้ไทย บ้านโพน ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
2. เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนการท่องเที่ยวชุมชนผู้ไทย บ้านโพน ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
3. เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศการท่องเที่ยวโดยชุมชนผู้ไทย บ้านโพน ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
4. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์พื้นที่ชุมชนผู้ไทย บ้านโพน ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน find_in_page
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย Dr.Apichat Lagdee Dr.Apichat Lagdee เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 22:07 น.