โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในพื้นที่ภาคใต้ตอนกลาง โครงการย่อยที่ 2: การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงผึ้งและการแปรรูปเพื่อสร้างเสริม รายได้ให้ชาวสวนยางและสวนปาล์ม

โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในพื้นที่ภาคใต้ตอนกลาง โครงการย่อยที่ 2: การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงผึ้งและการแปรรูปเพื่อสร้างเสริม รายได้ให้ชาวสวนยางและสวนปาล์ม

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในพื้นที่ภาคใต้ตอนกลาง โครงการย่อยที่ 2: การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงผึ้งและการแปรรูปเพื่อสร้างเสริม รายได้ให้ชาวสวนยางและสวนปาล์ม
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
หน่วยงานหลัก คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน
หน่วยงานร่วม 1) ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงต าบลวังอ่าง อ าเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช (โครงการ พัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ าปากพนังอันเนื่องมาจาพระราชด าริ) 2) ส านักงานเทศบาลต าบลลานข่อย อ าเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง 3) องค์การบริหารส่วนต าบลปันแต อ าเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง 4) ส านักงานเทศบาลต าบลแหลมโตนด อ าเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง 5) ส านักงานเทศบาลต าบลการะเกด อ าเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช 6) องค์การบริหารส่วนต าบลบ้านเนิน อ าเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช 7) องค์การบริหารส่วนต าบลขอน1) ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตำบลวังอ่าง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช (โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจาพระราชดำริ) 2) สำนักงานเทศบาลตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง 3) องค์การบริหารส่วนตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง 4) สำนักงานเทศบาลตำบลแหลมโตนด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง 5) สำนักงานเทศบาลตำบลการะเกด อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช 6) องค์การบริหารส่วนตำบลแม่เจ้าอยู่หัว อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช 7) องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนิน อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช 8) องค์การบริหารส่วนตำบลสวนหลวง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช 9) องค์การบริหารส่วนตำบลแหลม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช 10) องค์การบริหารส่วนตำบลขอนหาด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช 11) สำนักงานเกษตรอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง 12) สำนักงานเกษตรอำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง 13) สำนักงานเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราชหาด อ าเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช 8) ส านักงานเกษตรอ าเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง 9) ส านักงานเกษตรอ าเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง 10)กองทุนสงเคระห์การท าสวนยาง
ชื่อชุมชน 1) จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ อำเภอปากพนัง อำเภอชะอวด อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอหัวไทร อำเภอจุฬาภรณ์ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และอำเภอพระอำเภอลานสกา และอำเภอเมือง 2) จังหวัดพัทลุง ได้แก่ อำเภอควนขนุน และอำเภอป่าพะยอม 3) จังหวัดสงขลา ได้แก่ อำเภอระโนด
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผศ.ดร.อมรรัตน์ ถนนแก้ว
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน ม.ทักษิณ
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา นางปาจรีย์ เรืองคล้าย
การติดต่อ 074-693996
ปี พ.ศ. 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
งบประมาณ 100,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ภาคใต้ place directions
พัทลุง ควนขนุน ปันแต ชนบท place directions
นครศรีธรรมราช ปากพนัง ปากพนัง ชนบท place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
อาชีพการเกษตรมักประสบปัญหาด้านราคาผลผลิตมีความไม่แน่นอน เพราะกลไกลของตลาดโลก ภาวะวิกฤตของราคายางพาราดังกล่าว ส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรชาวสวนยางพาราโดยเฉพาะภาคใต้ลดลง ซึ่งมีผลกระทบต่อเนื่องต่อความเป็นอยู่ของเกษตรกรด้อยลง และภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือนมีความฝืดเคืองเพิ่มมากขึ้น
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงผึ้ง และการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อสร้างเสริมรายได้ให้ชาวสวนยางและสวนปาล์ม

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ครอบคลุมพื้นที่ 10 อำเภอของจังหวัดนครศรีธรรมราช 2 อำเภอของจังหวัดพัทลุง และ 1 อำเภอของจังหวัดสงขลา ประกอบด้วย จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ พื้นที่ทั้งหมดของอำเภอปากพนัง อำเภอชะอวด อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอหัวไทร อำเภอจุฬาภรณ์ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และอำเภอพระพรหม พื้นที่บางส่วนของอำเภอลานสกา และอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง ได้แก่ พื้นที่อำเภอควนขนุน และอำเภอป่าพะยอม และจังหวัดสงขลา ได้แก่ อำเภอระโนด รวมทั้งสิ้น 13 อำเภอ 75 ตำบล 599 หมู่บ้าน ประชากร 128,844 ครัวเรือน 606,323 คน เป็นเกษตรกรในเขตโครงการทั้งสิ้น 83,983 ครัวเรือน พื้นที่ทำการเกษตรรวม 1.092 ล้านไร่ รวมพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 3,100 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,937,500 ประชากรในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ในอดีตลุ่มน้ำปากพนังเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำของภาคใต้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ ๆ มีความอุดมสมบูรณ์ สามารถปลูกข้าวได้ดี ทำให้มีพื้นที่ในการทำนามากที่สุด แต่เมื่อจำนวนประชากรที่เพิ่มขยายมากขึ้น การใช้ทรัพยากรที่ปราศจากการจัดการที่ดี และการถางป่าที่เป็นต้นน้ำเพื่อการทำสวนยางพาราและสวนผลไม้ ส่งผลให้ความอุดมบูรณ์ลดลง รวมทั้งการประสบปัญหาน้ำท่วม ขาดแคลนน้ำจืด ดินเปรี้ยว น้ำเค็มรุกล้ำ ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนสภาพการใช้ที่ดินของเกษตกร เนื่องจากการทำนาไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่เพียงพอในการดำรงชีพ เกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น เช่น ปาล์มน้ำมัน ยางพารา และไม้ผล หรือปรับพื้นที่เป็นไร่นา สวนผสม
ภาคใต้ของไทยถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมันที่สำคัญของไทยมากที่สุด และเกษตรกรในภาคใต้ส่วนใหญ่มีอาชีพทำสวนยางพารา แต่อาชีพการเกษตรมักประสบปัญหาด้านราคาผลผลิตมีความไม่แน่นอน เพราะกลไกลของตลาดโลก ภาวะวิกฤตของราคายางพาราดังกล่าว ส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรชาวสวนยางพาราโดยเฉพาะภาคใต้ลดลง ซึ่งมีผลกระทบต่อเนื่องต่อความเป็นอยู่ของเกษตรกรด้อยลง และภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือนมีความฝืดเคืองเพิ่มมากขึ้น ในสถานการณ์เช่นนี้เกษตรกรจึงจำเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ดังนั้นการแสวงหาแหล่งได้จากแหล่งอื่น โดยการพึ่งทรัพยากรของตนที่มีอยู่จึงจะสามารถประคองสถานะเศรษฐกิจของครัวเรือนได้ อย่างไรก็ตาม หากเกษตรกรมีความคาดหวังว่าการแสวงหารายได้จากแหล่งอื่นเพื่อเพียงต้องการพยุงตัวเองให้อยู่รอดในระหว่างที่ราคาตกต่ำเท่านั้น สังคมครัวเรือนก็จะไม่มีภูมิคุ้มกันหากได้รับผลกระทบเช่นเดิม ดังนั้น การสร้างอาชีพเสริมและต่อยอดผลผลิตจนถึงแหล่งตลาดหรือจนถึงมือผู้บริโภคให้แก่เกษตรกรและเพื่อให้เกษตรกรมีได้รายได้เพิ่มขึ้น จึงเป็นหนทางหนึ่งเพื่อความอยู่รอดได้ในภาวะเช่นนี้ และยังเป็นหนทางที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนในอาชีพได้เช่นกัน
การหารายได้ในพื้นที่สวนยางและสวนปาล์ม เช่น การเลี้ยงผึ้งโพรง เป็นกิจกรรมหนึ่งที่สามารถทำเป็นอาชีพเสริมรายได้ให้แก่เกษตรกรได้ โดยกิจกรรมดังกล่าวเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สวนยางและยังเป็นการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในธรรมชาติ อีกทั้งวิธีการเลี้ยงผึ้งดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของการทำอาชีพสวนยางของเกษตรกร ซึ่งจากการลงสำรวจพื้นที่และการบริการวิชาการในศาสตร์ต่างๆให้แก่เกษตรกร พบว่า ในพื้นที่หมู่ 3, 5, 6, 9 และ 11 ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง มีประชากรส่วนหนึ่งมีอาชีพเสริมโดยการเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง โดยใช้ชื่อกลุ่มว่า “กลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งโพรง และชันโรงตำบลปันแต” จากข้อมูลเบื้องต้น พบว่า การเลี้ยงผึ้งในสวนยางทำได้ไม่ยาก แต่ผู้ที่เลี้ยงจำเป็นต้องมีความรู้ในเบื้องต้นและต้องมีการเรียนรู้เทคนิคการเลี้ยงบางประการเพื่อให้ได้น้ำผึ้งที่มีคุณภาพ เช่น แหล่งน้ำหวานของผึ้ง ซึ่งจากการให้ข้อมูลเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งบอกว่าแหล่งน้ำหวานของผึ้งคือยอดและดอกยางพารา ดังนั้นการเลี้ยงผึ้งในสวนยางจึงเป็นวิถีที่สอดคล้องกับวิถีของการทำสวนยาง และเมื่อเปรียบเทียบวิธีการเลี้ยงผึ้งแบบดั้งเดิม (เลี้ยงแบบธรรมชาติ) ของเกษตรกรจะขายน้ำผึ้งได้น้อยกว่าการเลี้ยงแบบประณีต (มีเทคนิคการเลี้ยง) ซึ่งปัจจุบันพบว่า เกษตรกรที่ใช้วิธีการเลี้ยงแบบประณีตจะสามารถขายผึ้งโพรงได้ขวดละ 500 บาท และชันโรงขวดละ 1,500-2,100 บาท จะเห็นว่าการเลี้ยงผึ้งมีแนวโน้มที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรได้ นอกจากนั้นแล้วผลผลิตจากการเลี้ยงผึ้ง เช่น น้ำผึ้ง รังผึ้ง ขี้ผึ้ง ยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องสำอาง เช่น สบู่น้ำผึ้ง คีมบำรุงผิว อาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีส่วนผสมของน้ำผึ้ง หรือเครื่องดื่ม และยาสมุนไพร เเป็นต้น
จากการที่ทีมนักวิจัยดำเนินโครงการวิจัยและโครงการบริการวิชาการในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง มาอย่างน้อย 5 ปี จึงทำให้ทราบความต้องการของเกษตรกรในการเลี้ยงผึ้งและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากผึ้ง ทางหน่วยงานต่าง ๆ ได้ติดต่อมาทางนักวิจัยให้จัดอบรมเรื่องการเลี้ยงผึ้งและการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้ในหลาย ๆ ครั้ง เช่น อบต. ขอนหาด อบต. ลานข่อย และ อบต.การะเกด ดังนั้นในโครงการบริการวิชาการประจำปี 2560 นี้ ทางคณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชนได้ร่วมกับวิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน ดำเนินโครงการ “การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงผึ้งและการแปรรูปเพื่อสร้างเสริมรายได้ให้ชาวสวนยางและสวนปาล์มในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง” จึงมีความมุ่งหวังที่จะสร้างจิตสำนึกให้กับเกษตรกรชาวสวนยางและสวนปาล์มให้เข้าใจระบบอาชีพการทำสวนพืชเศรษฐกิจที่มีความยั่งยืน โดยเน้นให้เกษตรกรชาวสวนให้เข้าใจธรรมชาติการผันแปรของราคาผลผลิต และส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเสริมให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางและสวนปาล์ม โดยเน้นอาชีพการเลี้ยงผึ้งและการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า ที่มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนและการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์เพื่อสร้างงานและสร้างรายได้ในครัวเรือนของประชากรในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • เทคโนโลยีการเลี้ยงผึ้ง

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 18:52 น.