โครงการการทำเกษตรแบบผสมผสานเพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

โครงการการทำเกษตรแบบผสมผสานเพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการการทำเกษตรแบบผสมผสานเพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
หน่วยงานหลัก สถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ
หน่วยงานร่วม - กลุ่มปลูกป่าในสวนยางพาราชุมชนตะโหมด (สภาลานวัดตะโหมด) - กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบ้านทุ่งยาว ม.11 ต. โคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน - เทศบาลตำบลโคกม่วง ต.โคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง - สหกรณ์กองทุนสวนยางในเขตปฏิรูปบ้านโคกม่วง จำกัด - สหกรณ์เครดิตยูเนียนออมทรัพย์บ้านทุ่งยาว จำกัด
ชื่อชุมชน 9.1 ชุมชนบ้านพร้าว ต.บ้านพร้าว อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง 9.2 ชุมชนทุ่งยาว ต.โคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง 9.3 ชุมชนตะโหมด ต.ตะโหมด อ.ตะโหมด จ.พัทลุง
ชื่อผู้รับผิดชอบ 1. นางสาววานิด รอดเนียม /2. นางสาววันเพ็ญ บัวคง
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ สถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ ม.ทักษิณ
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา 1) อ.ดร.เปลื้อง สุวรรณมณี สถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ
2) พระครูประยุตธรรมธัช สภาลานวัดตะโหมด ต.ตะโหมด อ.ตะโหมด จ.พัทลุง
3) อ.ดร.ทวีเดช ไชยนาพงษ์ สถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ
การติดต่อ 074-443948
ปี พ.ศ. 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 270,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
พัทลุง ป่าพะยอม บ้านพร้าว place directions
พัทลุง ป่าพะยอม บ้านพร้าว ชนบท place directions
พัทลุง ตะโหมด ตะโหมด ชนบท place directions
พัทลุง เขาชัยสน โคกม่วง ชนบท place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
การทำสวนยางพาราและสวนผลไม้เชิงเดี่ยวที่มีระบบการบริหารจัดการในสวนโดยการใช้ยากำจัดวัชพืช ใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้เกิดสารพิษตกค้างในดิน น้ำ ดินขาดความอุดมสมบูรณ์
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนอย่างยั่งยืน

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

การทำเกษตรผสมผสานที่เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนอย่างยั่งยืน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อใช้ประโยชน์ในการทำการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำสวนยางพาราและสวนผลไม้เชิงเดี่ยวที่มีระบบการบริหารจัดการในสวนโดยการใช้ยากำจัดวัชพืช ใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้เกิดสารพิษตกค้างในดิน น้ำ ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ มีการไถพรวนในแปลงยางพาราทำให้เกิดการชะล้างของตะกอนไปทับถมตามลำห้วยลำธาร ทำให้ไม่สามารถเก็บกักน้ำไว้ได้มากเหมือนเดิม นอกจากนี้บางพื้นที่ยังมีการทำลายป่าต้นน้ำ ส่งผลให้เกษตรกรในชุมชนขาดแคลนน้ำใช้ในยามหน้าแล้ง และนับวันระยะเวลาการขาดแคลนน้ำจะยาวนานเพิ่มขึ้น จากปัญหาดังกล่าว สถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยทักษิณ จึงเห็นโอกาสที่จะใช้องค์ความรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงวิธีคิด วิถีทำกิน และการดำเนินชีวิตที่ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ ด้วยการเสวนาและพูดคุยกลุ่มผู้นำชุมชนและเกษตรกรในพื้นที่เพื่อร่วมคิดในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ น้ำและดินอย่างยั่งยืนของชุมชน จนได้แนวทางแก้ปัญหาที่เป็นข้อสรุปของความคิดเห็นที่สอดคล้องกันคือ การนำระบบการปลูกพืชแบบผสมผสานมาประยุกต์ใช้กับสวนยางพาราและสวนผลไม้ ด้วยการปลูกไม้ยืนต้นแซมระหว่างแถวของยางพารา และการปลูกผลไม้แบบผสมผสานหลากหลายชนิดพืช ซึ่งจะเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถเพิ่มพื้นที่ป่าให้กับชุมชนและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร อีกทั้งช่วยลดผลกระทบจากปัญหาภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จึงได้จัดโครงคืนป่าให้ผืนดินด้วยวิถีเกษตรผสมผสาน สร้างความเข้มแข็งสู่ชุมชนอย่างยั่งยืน และโครงการสวนยางพาราเพิ่มป่ารักษ์น้ำ โดยในระยะแรกได้ดำเนินการในพื้นที่ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด ต่อมาได้ขยายผลไปยังตำบลหนองธง อำเภอป่าบอนและตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง สามารถช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ให้กับชุมชนได้ในระดับหนึ่ง เกิดองค์ความรู้ที่สามารถใช้เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักเรียน นิสิตและชุมชนอื่นๆ จนมหาวิทยาลัยทักษิณได้รับการเชื่อถือศรัทธาจากชุมชน และเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อชุมชนได้อย่างแท้จริงและเห็นผลได้ชัดเจน การดำเนินการส่งเสริมการจัดการทรัพยากรป่าไม้ ดิน น้ำ ของชุมชน จึงควรทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ชุมชนเกิดความตื่นตัว ยอมรับกรอบคิดการปรับเปลี่ยนวิถีการทำสวนยางพารามาเป็นรูปแบบสวนยางพาราเพิ่มป่ารักษ์น้ำ และการทำสวนผลไม้แบบผสมผสานที่ปลูกไม้ป่าร่วม เพื่อให้เป็นสวนผสมผสานที่สมบูรณ์แบบและมีมูลค่าที่สูงขึ้น มีความมั่นคงทั้งทางด้านรายได้ของเกษตรกร และความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การทำเกษตรผสมผสาน

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 18:40 น.