โครงการทักษิณถิ่นยุติธรรม นำยุติธรรมสู่ชุมชน (รอบรั้วมหาวิทยาลัย)

โครงการทักษิณถิ่นยุติธรรม นำยุติธรรมสู่ชุมชน (รอบรั้วมหาวิทยาลัย)

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการทักษิณถิ่นยุติธรรม นำยุติธรรมสู่ชุมชน (รอบรั้วมหาวิทยาลัย)
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
หน่วยงานหลัก คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
หน่วยงานร่วม
ชื่อชุมชน - ชุมชนรอบรั้วมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ต.บ้านพร้าว อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์กฤษฎา อภินวถาวรกุล
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
การติดต่อ 074-327172
ปี พ.ศ. 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 50,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
พัทลุง ป่าพะยอม บ้านพร้าว place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
แนวทางการพัฒนาชุมชน

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

การทำแผนพัฒนาชุมชน/กิจกรรม Street law – type clinics

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

ท่ามกลางปัญหาท้าทายหลากหลายที่เป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศในระยะยาวก็เป็นที่ตระหนักร่วมกันในทุกภาคส่วนว่าการพัฒนาประเทศไทยไปสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในระยะยาวได้นั้น ประเทศต้องเร่งพัฒนาปัจจัยพื้นฐานเชิงยุทธศาสตร์ในทุกด้าน ได้แก่ การเพิ่มการลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนา การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ซึ่งต้อง ดำเนินการควบคู่กับการเร่งยกระดับทักษะฝีมือแรงงานกลุ่มที่กำลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงานและกลุ่มที่อยู่ใน ตลาดแรงงานในปัจจุบันให้สอดคล้องกับสาขาการผลิตและบริการเป้าหมาย และการเปลี่ยนแปลงด้าน เทคโนโลยี รวมถึงการพัฒนาคนในภาพรวมให้เป็นคนที่สมบูรณ์ในทุกช่วงวัยที่สามารถบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงที่เป็นสภาพแวดล้อมการดำเนินชีวิตได้อย่างดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาทุนมนุษย์จากการยกระดับคุณภาพการศึกษา การเรียนรู้ การพัฒนาทักษะ และยกระดับคุณภาพบริการสาธารณสุขให้ทั่วถึงในทุกพื้นที่ พร้อมทั้งต้องส่งเสริมบทบาทสถาบันทางสังคมในการกล่อมเกลาสร้างคนดี มีวินัย มีค่านิยมที่ดีและมีความรับผิดชอบต่อสังคม นอกจากนั้น ในช่วงเวลาต่อจากนี้การพัฒนาต้องมุ่งเน้นการพัฒนาเชิงพื้นที่และเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของเมืองต่างๆ ให้สูงขึ้นภายใต้การใช้มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ลักษณะการใช้ที่ดิน การจัดระเบียบผังเมืองและความปลอดภัยตามเกณฑ์เมืองน่าอยู่ที่เหมาะสมเพื่อกระจายโอกาสทางเศรษฐกิจ และสังคมให้ทั่วถึงและเป็นการสร้างฐานเศรษฐกิจและรายได้จากพื้นที่เศรษฐกิจใหม่มากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำภายในสังคมไทยลงและในขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันจากการพัฒนาเมืองให้น่าอยู่ อย่างไรก็ดี ประเทศไทยยังประสบปัญหาคุณภาพในเกือบทุกด้าน อาทิ คุณภาพคนต่ำทั้งใน ด้านความรู้ ทักษะ และทัศนคติ มีปัญหาด้านคุณธรรม จริยธรรม ประชากรจำนวนไม่น้อยไม่เคารพสิทธิผู้อื่น และไม่ยึดผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ จึงซ้ำเติมปัญหาการขาดแคลนปริมาณกำลังแรงงานในภาวะที่โครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นประเทศไทยยังประสบปัญหาคุณภาพบริการสาธารณะ คุณภาพการศึกษาและบริการด้านสาธารณสุขและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและ ระบบโลจิสติกส์รวมทั้งการบริหารจัดการน้ำยังไม่เป็นระบบโครงข่ายที่สมบูรณ์และการพัฒนามีความล่าช้า โครงสร้างพื้นฐานยังคงมีปัญหาในหลายด้าน อาทิ รูปแบบการขนส่งยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนให้มีประสิทธิภาพได้ตามเป้าหมาย การบริหารจัดการยังขาดเอกภาพ รวมทั้งการให้บริการยังไม่ทั่วถึง ไม่เพียงพอ ไม่มีคุณภาพ กระจุกตัวอยู่ในเมือง และมีราคาค่าบริการค่อนข้างสูง นอกจากนี้กฎหมายที่เกี่ยวข้องยังเป็นอุปสรรคต่อ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมก็นับว่ามีความล่าช้า มีการลงทุนในการวิจัยและพัฒนาน้อยไม่เพียงพอ การวิจัยที่ดำเนินการไปแล้วไม่ถูกนำมาใช้ให้เกิด ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างคุ้มค่าและการพัฒนานวัตกรรมมีน้อย
ปัญหาดังกล่าวข้างต้นส่วนหนึ่งเป็นผลพวงจากปัญหาการบริหารจัดการภาครัฐที่ประสิทธิภาพต่ำ ขาดความโปร่งใส และขาดความรับผิดชอบ และการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาที่ขาดความต่อเนื่อง ในขณะที่ การบังคับใช้กฎหมายยังขาดประสิทธิผลและกฎระเบียบต่างๆ ล้าสมัยไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงธรรมาภิบาล และการบริหารจัดการประเทศยังไม่บรรลุเป้าหมาย แม้ว่าบริการสาธารณะที่จัดให้กับประชาชนและ ภาคเอกชน จะพัฒนาได้เร็วขึ้น แต่เมื่อเทียบกับต่างประเทศประเทศไทยยังมีความล่าช้าและไม่ได้มาตรฐานสากล ประกอบกับภาครัฐมีโครงสร้างที่ใหญ่และซับซ้อนขึ้น มีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระบวนการจัดสรรงบประมาณใช้เวลาค่อนข้างนาน ซึ่งไม่ทันกับสภาพปัญหาและความต้องการของประชาชน นอกจากนั้นการใช้จ่ายงบประมาณยังไม่เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลเท่าที่ควร ขาดความโปร่งใสและธรรมาภิบาล ในขณะที่คุณภาพของบุคลากรภาครัฐลดลงเนื่องจากการเข้าทำงานในภาครัฐไม่ใช่ทางเลือกแรกของคนที่มีความสามารถหรือการศึกษาที่อยู่ในเกณฑ์ดีเหมือนในอดีต ในขณะที่บุคลากรที่มีความสามารถลาออกจำนวนมากเพราะมีทางเลือกอื่นๆ ที่ดีกว่า สาเหตุสำคัญคือ ภาครัฐขาดการพัฒนาเส้นทางอาชีพที่ชัดเจนและขาดการพัฒนาระบบการฝึกอบรมบุคลากรที่สอดคล้องกับบริบทของการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งปัญหาคอร์รัปชั่นได้ขยายวงกว้างทั้งในภาครัฐและเอกชน
ดังนั้น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จึงเกิดแนวคิดในการจัดโครงการทักษิณถิ่นยุติธรรมนำยุติธรรมสู่ชุมชน (รอบรั้วมหาวิทยาลัย) ในการรวมมือกันทํางานของหนวยงาน สนับสนุนการพัฒนาภายนอกชุมชนทุกภาคสวน โดยยึดหลักการใชพื้นที่เปนตัวตั้งชุมชนเปนศูนยกลาง ชาวบ้าน เปนเจ้าของเรื่อง โดยใชกระบวนการจัดทําแผนชุมชนเปนเครื่องมือดําเนินกิจกรรมพัฒนาใหเปนไปตามความต้องการของชุมชนมากกวาวัตถุประสงคของหนวยสนับสนุน การบูรณาการมีทั้งบูรณาการด้านกลไก/บุคลากร กระบวนการและเครื่องมือแผนงานและงบประมาณ คนในชุมชนมีส่วนร่วมคิดร่วมทำตั้งแต่ต้นเพื่อแก้ไขปัญหาชุมชนและทุกคนในชุมชนรับประโยชน์ที่เกิดขึ้นร่วมกัน

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • แผนพัฒนาชุมชน

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 18:15 น.