โครงการบูรณาการเรียนการสอนสู่การส่งเสริมพัฒนาหมู่บ้านการเพาะเลี้ยงกบนาครบวงจร เพื่อการค้าและอนุรักษ์พันธุ์กบนา

โครงการบูรณาการเรียนการสอนสู่การส่งเสริมพัฒนาหมู่บ้านการเพาะเลี้ยงกบนาครบวงจร เพื่อการค้าและอนุรักษ์พันธุ์กบนา

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการบูรณาการเรียนการสอนสู่การส่งเสริมพัฒนาหมู่บ้านการเพาะเลี้ยงกบนาครบวงจร เพื่อการค้าและอนุรักษ์พันธุ์กบนา
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
หน่วยงานหลัก
หน่วยงานร่วม
ชื่อชุมชน บ้านหนองแวงใต้ ตำบลภูปอ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผศ.ดร.เหล็กไหล จันทะบุตร ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 80 ถนนนครสวรรค์ ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา นายเสถียร ภูมีแกดำ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
การติดต่อ o๘๙-๑๘๗-๙๓๓๔ , ๐๘๙-๐๕๗๘๔๓๖
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 500,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ เมืองกาฬสินธุ์ ภูปอ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

กบนา (Rana rugulosa) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่พบกระจายพันธุ์ในพื้นที่ชุ่มน้ำพบทั่วไปในประเทศไทยพบได้ของทุกภาค กบนาถือเป็นสัตว์น้ำที่สำคัญทางเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเพาะเลี้ยงและบริโภคเป็นอาหาร เนื่องจากกบเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง ไขมันต่ำ ส่วนของน่องกบมีโปรตีนสูงถึง 83 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 5.8 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งและมีกรดอะมิโนที่สำคัญสองชนิด คือ ไรซีนและเมไธโอนีน รวมทั้งยังมีวิตามินและแร่ธาตุ ได้แก่ ธาตุเหล็ก 2.1 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม และไนอาซีน 2.0 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม ส่วนการจำหน่าย จะขายลูกกบ 2 ขนาด คือ 1 บาท และ 1.50 บาท ลูกกบ อายุ 45 – 50 วัน ราคาเฉลี่ยตัวละ 1 บาท และลูกกบ อายุ 51 – 60 วัน ราคาเฉลี่ยตัวละ 1.50 บาท ส่วนกบเนื้อ 70 บาทต่อกิโลกรัม สำหรับการแปรรูปส่วนใหญ่เกษตรกรจะนำไปย่างเพื่อจำหน่าย ราคา ไม้ละ 30 บาทขึ้นอยู่กับขนาด
ปัจจุบันเกษตรกรอำเภอแกดำ จังหวัดมาสารคาม ได้เลี้ยงกบนา จำนวน 40 ราย ทำการเพาะเลี้ยงกบนาเพื่อเป็นอาชีพ สร้างรายได้แก่ครอบครัว รวมถึงอนุรักษ์พันธุ์กบนาเพื่อปล่อยคืนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ จากการสัมภาษณ์เกษตรกรเบื้องต้นพบว่า การเพาะพันธุ์กบนายังไม่สามารถเพาะพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี โดยทั่วไปสามารถเพาะเลี้ยงกบนาได้ 2 ฤดู ได้แก่ ช่วงฤดูฝนซึ่งเป็นฤดูผสมพันธุ์ของสัตว์น้ำโดยทั่วไป และการเพาะเลี้ยงกบนานอกฤดูในช่วงฤดูร้อน โดยการจำลองธรรมชาติโดยทำให้เหมือนในฤดูฝนเพื่อกระตุ้นให้กบนาสืบพันธุ์วางไข่ สำหรับในช่วงฤดูหนาวเป็นช่วงที่อุณหภูมิต่ำ กบนาจะไม่กินอาหาร ส่งผลต่อการพัฒนาระบบสืบพันธุ์ หรือชาวบ้านเรียกว่ากบจำศีล ประกอบกับเป็นช่วงที่มีการระบาดของเชื้อโรคทำให้พ่อแม่พันธุ์กบนาติดเชื้อโรคตายในที่สุด สิ่งที่เกษตรกรต้องการได้แก่ องค์ความรู้ด้านการเพาะเลี้ยง เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเพาะเลี้ยงกบนา การป้องกันโรค ตลอดจนการแปรรูปและการตลาด ดังนั้นมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่พัฒนาชุมชนสู้ความยั่งยืน ได้น้อมนำพระราโชบายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาท้องถิ่น เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นสู่ความยั่นยืน ตามศาสตร์พระราชา ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของชุมชนท้องถิ่นในทางที่ดีขึ้น เจริญรุ่งเรืองขึ้น ในทุกๆด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
จากประเด็นดังกล่าวเพื่อให้เกิดการพัฒนาและสอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จึงได้จัดทำโครงการบูรณาการเรียนการสอนสู่การส่งเสริมพัฒนาหมู่บ้านการเพาะเลี้ยงกบนาครบวงจร เพื่อการค้าและอนุรักษ์พันธุ์กบนาได้แก่ พัฒนาระบบการทำฟาร์มให้มีระบบหรือเทคโนโลยีในการพัฒนาการเพาะเลี้ยงกบนาให้สามารถเพาะเลี้ยงได้ตลอดทั้งปี ตั้งแต่การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ การจัดการโรงเพาะฟักที่มีระบบควบคุมอุณหภูมิ การจัดการโรค การอนุบาล การเลี้ยง รวมถึงอาหารและการให้อาหารที่เหมาะสมต่อการเลี้ยง และการอนุบาล ตลอดจนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกบนาที่มีความหลากหลาย เพื่อให้ผลิตกบนาทั้งจำหน่ายเป็นลูกอ๊อด กบเนื้อ และแปรรูป ที่สามารถส่งตลาดได้ต่อเนื่องตลอดทั้งปีเพียงพอกับความต้องการของตลาด รวมถึงอนุรักษ์พันธุ์กบนาปล่อยสู่แหล่งน้ำสร้างสมดุลแก่ธรรมชาติ และความมั่นคงทางอาหารชุมชน

๖. วัตถุประสงค์โครงการ (Outcomes)
๖.๑ เพื่อส่งเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการพัฒนารูปแบบการเพาะเลี้ยงกบนาให้มีผลผลิตตลอดทั้งปี
๖.๒ เพื่อศึกษาชนิดโรคและการป้องกันรักษาโรคในกบนาโดยใช้สมุนไพร
๖.๓ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์การแปรรูป รวมถึงช่องทางการตลาด
๖.๔ เพื่อส่งเสริมอาชีพและการอนุรักษ์ฟื้นฟูพันธุ์กบนาเป็นแหล่งอาหารในท้องถิ่น

๗. เป้าหมายโครงการ (Outputs)
เกษตรกรผู้เลี้ยงกบนาสามารถเพาะเลี้ยงกบนาได้ตลอดทั้งปี มีผลผลิตจำหน่ายอย่างต่อเนื่องทั้งปริมาณและคุณภาพ และจำหน่ายลูกกบ กบเนื้อ พ่อแม่พันธุ์กบ รวมทั้งสามารถแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกบได้ เช่น กบนาชูริมิ ป่นกบกึ่งสำเร็จรูป ลูกกบอัดกระป๋อง ตลอดจนสามารถปล่อยพันธุ์กบนาคืนสู่แหล่งธรรมชาติเป็นการอนุรักษ์และเพิ่มจำนวนทรัพยากรกบนาเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในท้องถิ่น
๘. กลุ่มเป้าหมายโครงการ (Target group)
เกษตรกรผู้เลี้ยงกบนา จำนวน 40 ราย บ้านหนองแวงใต้ ตำบลภูปอ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

๙. ตัวชี้วัดเป้าหมายโครงการ (Outputs) และตัวชี้วัดผลลัพธ์ (Outcomes)
ผลผลิต : เกษตรกรผู้เลี้ยงกบนาได้รับการพัฒนาระบบการเพาะเลี้ยงกบนาครบวงจร รวมถึงสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ได้แก่ กบนาชูริมิ ป่นกบนากึ่งสำเร็จรูป และลูกกบนาอักกระป๋อง
ผลลัพธ์ : เกิดการสร้างเครือข่ายการเพาะเลี้ยงกบนา เครือข่ายระบบตลาดการซื้อขายกบนา ซึ่งสามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้แก่เกษตรกร รวมถึงอนุรักษ์พันธุ์กบนาสร้างความสมดุลแก่ระบบนิเวศและความมั่นคงทางอาหารระดับท้องถิ่น

๑๖. ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ (Impact)
๑๖.๑ สามารถผลผิตกบนาทั้งปริมาณ และคุณภาพได้ตลอดทั้งปี
๑๖.๒ ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากกบนามีความหลากหลายและเป็นที่ต้องการของตลาด
๑๖.๓ เกิดชุมชนเพาะเลี้ยงกบนาและมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน
๑๖.๔ เกิดช่องทางการตลาดกบนาและเครือข่ายการเพาะเลี้ยงกบนา

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • กบนา
  • เลี้ยงกบนาครบวงจร
  • เลี้ยงกบนา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย asc.rmu.63 asc.rmu.63 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 15:42 น.