โครงการ การจัดการอาหารกลางวันพื้นบ้านอีสานสำหรับเด็กปฐมวัยโดยชุมชน

โครงการ การจัดการอาหารกลางวันพื้นบ้านอีสานสำหรับเด็กปฐมวัยโดยชุมชน

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการ การจัดการอาหารกลางวันพื้นบ้านอีสานสำหรับเด็กปฐมวัยโดยชุมชน
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
หน่วยงานหลัก คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
หน่วยงานร่วม คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ชื่อชุมชน อำเภอยางตลาด ตำบลยางตลาด
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผู้ช่วยศาสตราจารย์กนกวรรณ ศรีวาปี
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม ๔๔๐๐๐
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา รองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนีย์ นาคุณทรง , อาจารย์สุชาดา หวังสิทธิเดช , อาจารย์วารินทิพย์ ศรีกุลา , อาจารย์บงกชรัตน์ ภูวันนา คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
การติดต่อ 081-8736177
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 274,100.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ ยางตลาด ยางตลาด place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
สภาพปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมในอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ โครงสร้างครอบครัวเป็นครอบครัวเดี่ยวเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งเขตเมืองและชนบท พ่อแม่ออกไปทำงานนอกบ้าน ทิ้งลูกไว้ให้อยู่ในความดูแลของตา ยาย ปู่ ย่า และผู้อื่น โดยเฉพาะกลุ่มเด็กปฐมวัยเป็นกลุ่มที่สมควรได้รับการคุ้มครองเรื่อง การได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าและปลอดภัยต่อการบริโภคมากกว่าเด็กกลุ่มอื่น แต
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
มีศักยภาพและทรัพยากรเพียงพอที่สามารถส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้กับเด็กปฐมวัย
ข้อมูลประเด็นปัญหา
การเสี่ยงต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารตามอิทธิพลของการโฆษณา ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีสิ่งล่อใจ จากอาหารที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการจะทำให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงต่อการพัฒนาการเจริญเติบโตทั้งร่างกายและสมองของเด็ก
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
พัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กปฐมวัยให้ได้สารอาหารครบตามความต้องการของร่างกาย และเป็นแนวทางสำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูและผู้มีหน้าที่ประกอบอาหารทั้งภาครัฐ เอกชน และครัวเรือนในอำเภอยางตลาด ได้ใช้เป็นแนวทางในการจัดเตรียมอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาศักยภาพของเด็กไทยให้เจริญเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพและจิตใจที่สมบูรณ์

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

รูปแบบการจัดสรรอาหารกลางวันพื้นบ้านอีสานที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาด ปลอดภัย มีประโยชน์ต่อร่างกาย

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

ตามที่ภาครัฐได้เชื่อมโยงเป้าหมายและยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๑ ถึง ๒๕๘๐ ที่กำหนดวิสัยทัศน์ ประเทศไทย โดยน้อมนำเอาหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และกำหนดยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ที่มีเป้าหมายการพัฒนาและยกระดับคนในภูมิภาคและในทุกช่วงวัยให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดี เก่งและมีคุณภาพโดยจะต้องมีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้านและมีสุขภาพที่ดี ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ด้านเด็กปฐมวัยทั้งหมด ๔ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ยุทธศาสตร์ที่ ๑ เด็กทุกคนได้รับบริการในการพัฒนาเต็มศักยภาพ ยุทธศาสตร์ที่ ๒ ไอโอดีนกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย และยุทธศาสตร์ที่ ๔ กลไกการดำเนินงานพัฒนาเด็กปฐมวัย(สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, ๒๕๕๕ : ๑) ซึ่งการอบรมปลูกฝังสร้างเสริมพัฒนาการทุกด้านให้แก่เด็กปฐมวัย ได้เจริญเติบโตเต็มศักยภาพในช่วงอายุนี้ จะเป็นรากฐานที่ดีที่จะให้เขาได้เจริญเติบโตเป็นเยาวชนและพลเมืองที่ดี มากกว่าปลูกฝังสร้างเสริมในช่วงอื่น
จากสภาพปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมในอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ โครงสร้างครอบครัวเป็นครอบครัวเดี่ยวเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งเขตเมืองและชนบท พ่อแม่ออกไปทำงานนอกบ้าน ทิ้งลูกไว้ให้อยู่ในความดูแลของตา ยาย ปู่ ย่า และผู้อื่น โดยเฉพาะกลุ่มเด็กปฐมวัยเป็นกลุ่มที่สมควรได้รับการคุ้มครองเรื่อง การได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าและปลอดภัยต่อการบริโภคมากกว่าเด็กกลุ่มอื่น แต่สภาพปัจจุบันที่เป็นอยู่เด็กกลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่อการบริโภคอาหารอันเนื่องมาจากเหตุหลายประการที่สำคัญคือ การเสี่ยงต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารตามอิทธิพลของการโฆษณา ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีสิ่งล่อใจ จากอาหารที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการจะทำให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงต่อการพัฒนาการเจริญเติบโตทั้งร่างกายและสมองของเด็ก (กรมอนามัย, มปป : คำนำ) อีกทั้งพระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ.๒๕๖๒ มุ่งเน้นให้หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือภาคเอกชน ส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพให้กับเด็กปฐมวัยอย่างทั่วถึง และสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน ได้รับการพัฒนาตามแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เป็นมหาวิทยาลัยที่พระราชาประสงค์ให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในเขตจังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดกาฬสินธุ์ มีความพร้อมในการขับเคลื่อนองค์ความรู้ โดยการบูรณาการความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาในจังหวัด เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้เข้าร่วมโครงการอาสาประชารัฐ ในการนำองค์ความรู้ทางวิชาชีพลงสู่การปฏิบัติ และจัดทำโครงการ การจัดการอาหารกลางวันพื้นบ้านอีสานสำหรับเด็กปฐมวัยโดยชุมชน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กปฐมวัยให้ได้สารอาหารครบตามความต้องการของร่างกาย และเป็นแนวทางสำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูและผู้มีหน้าที่ประกอบอาหารทั้งภาครัฐ เอกชน และครัวเรือนในอำเภอยางตลาด ได้ใช้เป็นแนวทางในการจัดเตรียมอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาศักยภาพของเด็กไทยให้เจริญเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพและจิตใจที่สมบูรณ์เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การจัดการอาหารกลางวันพื้นบ้านอีสาน

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ find_in_page
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ) find_in_page
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน find_in_page
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ find_in_page

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย suchada6881 suchada6881 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 13:39 น.