อาสาประชารัฐเรียนรู้สู่ชุมชน บ้านห้วยหาด ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อาสาประชารัฐเรียนรู้สู่ชุมชน บ้านห้วยหาด ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ อาสาประชารัฐเรียนรู้สู่ชุมชน บ้านห้วยหาด ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน
หน่วยงานหลัก คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์
หน่วยงานร่วม สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ชื่อชุมชน บ้านห้วยหาด
ชื่อผู้รับผิดชอบ นางสาววรรณิดา ชินบุตร
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 59 หมู่ 13 ต.ฝายแก้ว อ.ภูเพียง จ.น่าน 55000
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา 1. นายอริยะ แสนทวีสุข / สาขา วิศวกรรมศาสตร์เกษตรและชีวภาพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อมรชัย ลิ้มทองคำ / สาขา ประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปิยะนุช รสเครือ / สาขา เทคโนโลยีอาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
การติดต่อ วรรณิดา - 089-1910821, อริยะ - 084-97982
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 500,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
น่าน ปัว อวน พื้นที่เฉพาะ:พื้นที่สูง place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
การศึกษาในปัจจุบัน นอกจากการเรียนการสอนที่มีเนื้อหาที่ทันสมัย สอดคล้อง และทันต่อสถานการณ์ทางธุรกิจในปัจจุบัน และอนาคตแล้วนั้น การที่นักศึกษาจะจบการศึกษา เพื่อเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ ตามที่สถานประกอบการต้องการนั้น กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ดี มีความสำคัญในการผลิตบัณฑิตเป็นอย่างมาก ซึ่งจากการประเมิลผลความพึงพอใจจากผู้ใช้บัณฑิต ผู้ประกอบการต้องการบัณฑิตที่มีความพร้อมในการทำงานด้านบริหารธุรกิจ คือมีประสบการณ์ในการทำงานพอที่สถานประกอบการไม่ต้องสอนงานมาก สามารถปรับตัวและทำงานได้เลย กล่าวคือ การจัดรูปแบบการเรียนการสอนเฉพาะในห้องเรียน จึงไม่อาจเพียบพอต่อการผลิตบัณฑิตให้ตรงต่อความต้องการของตลาดแรงงาน ดังนั้น การจัดกิจกรรมเสริมให้ นำความรู้สู้การปฏิบัติจริง สามารถค้นคว้า คิด วิเคราะห์ ประมวลผล มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักปรับตัวเข้ากับสังคมที่หลากหลาย มีจิตสาธารณะ และใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเฉพาะฝึกฝนให้รู้จักการกระบวนการคิดแบบสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ปัญหา และเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และอนาคต จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพื่อให้นักศึกษาจบมาเป็นบัณฑิตนักปฏิบัติบัณฑิต ตามบริบทสังคมในศตวรรษที่ 21 ซึ่งได้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา น่าน
ชุมชนบ้านห้วยหาด ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เชิงเขาของยอดดอยภูคา ลักษณะพื้นที่กว่า 90% เป็นภูเขาและเนินเขา เฉลี่ยสูงกว่าระดับน้าทะเล 1,500 เมตร มีพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 2,500 ไร่ เป็นที่ทำกินและที่อยู่อาศัย 1,495 ไร่ เป็นป่าชุมชน 756 ไร่ ในอดีตนั้นเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์โดยเป็นฐานที่ตั้งของผู้ก่อการร้ายพรรคคอมมิวนิสต์ (ผกค.) หมู่บ้านห้วยหาด เป็นหมู่บ้านเล็กๆ มีประชากรเพียง 128 คน 37 ครัวเรือน ช่วงอายุของประชากรส่วนใหญ่ อายุระหว่าง 36-60 ปี คิดเป็นร้อยละ 40 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ จบประถมศึกษาปีที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 23.43 การประกอบอาชีพ เกษตรกร ถึง 30 ครัวเรือน คิดเป็นร้อนละ 81.08 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งจะเห็นได้ว่า บ้านห้วยหาด เป็นหมู่บ้านที่ห่างไกล ขาดโอกาส และเกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา เทคโนโลยี อาชีพ จนถึงรายได้
จากการเริ่มดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม กรณี หมู่บ้านห้วยหาด ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2560 ถึง 2562 เป็นต้นมานั้น คณะทำงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน ได้เข้าไปช่วยให้ความรู้ให้ชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น การสร้างเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อสนับสนุนการแปรรูปให้มีความสะดวก สะอาด ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน การส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ไม่ว่าจะเป็นการเพาะเลี้ยงกบ เพาะเลี้ยงปลามัน เพื่อบริโภคในครัวเรือน จนถึงการแปรรูปกบเพื่อนำไปขายเป็นสินค้าของหมู่บ้าน อีกทั้งยังเข้าไปส่งเสริมและให้ความรู้ด้านการตลาด พร้อมทั้งสนับสนุนและผลักดันการเป็นหมูบ้านท่องเที่ยว ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวนี้กำลังดำเนินการไปได้อย่างดี อย่างไรก็ตามแนวปฏิบัติของโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม นั้น จะทำต่อเนื่องในกลุ่มเป้าหมายเดิมเพียง 3 ปี เท่านั้น เพื่อให้การ ดำเนินต่อไปให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น และยังยืน ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน ก็คอยผลักดันให้กิจกรรมต่างๆ ดำเนินต่อไป
ดังนั้นทางคณะทำงานจึงได้การดำเนินงานสนับสนุนความยั่งยืน และติดตามความต่อเนื่องของโครงการต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ช่วยลดปัญหาด้านความยากจน ความเหลื่อมล้า และปัญหาคุณภาพชีวิต โดยการสร้างหรือนำองค์ความรู้ที่หลากหลายในสถาบันอุดมศึกษา หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาบูรณาการในการแก้ปัญหา โดยจัดทำโครงการอาสาเรียนรู้สู่ชุมชน บ้านห้วยหาด โดยนำมีการบูรณาการร่วมกันระหว่าง นักศึกษา คณาจารย์ และชุมชน โดยนำศาสตร์ความรู้ทางวิชาการและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อแก้ปัญหาที่ตรงต่อความต้องการของชุมชนร่วมกัน อย่างเป็นระบบ ชุมชนได้องค์ความรู้ หรือนวัตกรรม ที่สามารถแก้ปัญหา และพัฒนาชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถ พึ่งพาตนเอง และจัดการตนเองได้
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ชุมชนบ้านห้วยหาด ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เชิงเขาของยอดดอยภูคา ลักษณะพื้นที่กว่า 90% เป็นภูเขาและเนินเขา เฉลี่ยสูงกว่าระดับน้าทะเล 1,500 เมตร มีพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 2,500 ไร่ เป็นที่ทำกินและที่อยู่อาศัย 1,495 ไร่ เป็นป่าชุมชน 756 ไร่ เป็นทางผ่านไปยังอำเภอบ่อเกลือ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดน่าน
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย kwangtong kwangtong เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 10:29 น.