ส่งเสริมเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาท้องถิ่นเพื่อโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร

ส่งเสริมเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาท้องถิ่นเพื่อโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ ส่งเสริมเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาท้องถิ่นเพื่อโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
หน่วยงานหลัก สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
หน่วยงานร่วม เทศบาลตำบลลำคลอง
ชื่อชุมชน บ้านหาดทอง หมู่ 3 ตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วสันต์ ปินะเต
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 80 ถนนนครสวรรค์ ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ 084-363-5654, 043-721-445
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 500,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ เมืองกาฬสินธุ์ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

การใช้พลังงานจากก๊าซชีวภาพที่ผลิตขึ้นเอง จะสามารถชดเชยหรือทดแทนการใช้เชื้อเพลิงต่าง ๆ กับอุปกรณ์ที่ต้องการความร้อนจากเชื้อเพลิงได้เป็นอย่างดี เช่น ทดแทนการใช้ก๊าซหุงต้มในครัวเรือน เครื่องกกลูกสุกร ลูกสัตว์ปีก เครื่องอบแห้ง หม้อต้มไอน้ำ เป็นต้น ทั้งนี้ รวมถึงการใช้ในรูปของแสงสว่างกับตะเกียง และ/หรือใช้กับเครื่องยนต์สำหรับสูบน้ำหรือผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในฟาร์มได้ด้วย และหากสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ในปริมาณมากซึ่งต้องเป็นบ่อขนาดใหญ่
การนำไปใช้ประโยชน์ /กับชุมชน ก่อเกิดผลด้าน
1. ด้านพลังงาน เมื่อพิจารณาทางเศรษฐกิจแล้ว การลงทุนผลิตก๊าซชีวภาพจะลงทุนต่ำกว่าการ ผลิต เชื้อเพลิงชนิดอื่น ๆ สามารถนำมาใช้ทดแทนพลังงานเชื้อเพลิงจากแหล่งอื่น ๆ เช่น ฟืน ถ่าน น้ำมัน ก๊าซหุงต้ม และไฟฟ้าได้ ทั้งนี้ก๊าซชีวภาพจำนวน 1 ลูกบาศก์เมตร สามารถนำไปใช้ได้ดังนี้
1) ให้ค่าความร้อน 3,000 - 5,000 กิโลแคลอรี่ ความร้อนนี้จะทำให้น้ำ 130 กิโลกรัมที่ อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส เดือดได้
2) ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 1.25 กิโลวัตต์
3) ถ้าใช้กับครอบครัวขนาด 4 คน สามารถหุงต้มได้ 3 มื้อ
2. ด้านสิ่งแวดล้อม โดยการนำมูลสัตว์ ปัสสาวะ และน้ำล้างคอกมาหมักในบ่อลักษณะสุญญากาศ จะช่วยทำให้กลิ่นเหม็นและแมลงวันในบริเวณนั้นลดลง ผลจากการหมักมูลในบ่อหรือ ถุงที่ปราศจากออกซิเจนเป็น เวลานาน ๆ ทำให้ไข่พยาธิและเชื้อโรคในมูลสัตว์ถูกทำลายหรือตายด้วย ซึ่งเป็นการทำลายแหล่งเพาะเชื้อโรคบางชนิด เช่น โรคบิด อหิวาต์ และพยาธิที่อาจ แพร่กระจายจากมูลสัตว์ด้วยกัน นอกจากนี้ยังเป็นการป้องกันไม่ให้มูลสัตว์ถูกชะล้างลงในแหล่งน้ำตามธรรมชาติอีกด้วย
3. ด้านการเกษตร
การทำปุ๋ย กากที่ได้จากการหมักก๊าซชีวภาพสามารถนำมาใช้เป็นปุ๋ยได้ดีกว่ามูลสัตว์สดๆ หรือปุ๋ยคอก ทั้งนี้เนื่องจากในขณะที่มีการหมักจะมีการเปลี่ยนแปลงสารประกอบไนโตรเจนในมูล สัตว์ ทำให้พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ดีขึ้น

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่เสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน ฟื้นฟูพลังการเรียนรู้ เชิดชูภูมิปัญญาของท้องถิ่น สร้างสรรค์ศิลปวิทยา เพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนของปวงชน มีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน วิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคมปรับปรุง ถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยี ทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามจึงได้จัดตั้งหน่วยงาน “สำนักบริการวิชาการ” เพื่อขับเคลื่อนงานการให้บริการวิชาการภายในมหาวิทยาลัยและท้องถิ่น โดยการประสานภาคีเคลื่อนข่ายระดมองค์ความรู้และทรัพยากรทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยร่วมกันพัฒนาท้องถิ่นและสังคม ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้น สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จัดโครงการส่งเสริมเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาท้องถิ่นเพื่อโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและถ่ายทอดเทคโนโลยีท้องถิ่นให้สามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

๓. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จ OKR (Objectives & Key Results)
๓.๑ เพื่อตอบสนองต่อพระปณิธานของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามและจังหวัดกาฬสินธุ์ ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
๓.๒ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีบ่อก๊าซชีวภาพสำหรับครัวเรือน
๓.๓ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร
KPI อัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้ครัวเรือนในพื้นที่การพัฒนาของ มรภ.

๔. เป้าหมายโครงการ (Outputs)
๔.๑ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ช่วยลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน

๕. ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ (Impact)
๕.๑ กลุ่มเกษตรกรและประชาชนผู้สนใจได้รับถ่ายทอดเทคโนโลยีบ่อก๊าซชีวภาพสำหรับครัวเรือน
๕.๒ กลุ่มเกษตรกรและประชาชนผู้สนใจได้รับถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกผักและพืชอินทรีย์สำหรับ
การเกษตร

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • ก๊าซชีวภาพ
  • พลังงานทดแทน
  • สิ่งแวดล้อมชุมชน

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ) find_in_page
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน find_in_page
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

  • นักวิจัยดีเด่น สำนักบริการวิชาการ อ.วสันต์ ปินะเต
  • พลังราชภัฏสู่การพัฒนาท้องถิ่น | ตอนที่ 12 | พลังงาน สร้างสุข มหวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย asc.rmu.63 asc.rmu.63 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 08:06 น.