โครงการ ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการผลิตปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศสำหรับผู้ผลิตข้าวอินทรีย์

โครงการ ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการผลิตปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศสำหรับผู้ผลิตข้าวอินทรีย์

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการ ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการผลิตปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศสำหรับผู้ผลิตข้าวอินทรีย์
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
หน่วยงานหลัก คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน
หน่วยงานร่วม 6.2.1 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนชาวนาพัทลุง 6.2.2 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร จังหวัดตรัง 6.2.3 สำนักงานเกษตรอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง 6.2.4 สถานีพัฒนาที่ดินพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ชื่อชุมชน 1) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนชาวนาพัทลุง เลขที่ 248 หมู่ที่ 2 ตำบลท่ามิหรำ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง 2) กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ จังหวัดตรัง
ชื่อผู้รับผิดชอบ ดร.นันทิยา พนมจันทร์
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุไรวรรณ ทองแกมแก้ว
การติดต่อ 074-609605
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 82,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
พัทลุง เมืองพัทลุง ท่ามิหรำ ชนบท place directions
ตรัง เมืองตรัง place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
การปนเปื้อนสารเคมีในระบบเกษตรอินทรีย์
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ระบบเกษตรอินทรีย์ที่ปราศจากการปนเปื้อนสารเคมี

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

เทคนิคการผลิตปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศสำหรับผู้ผลิตข้าวอินทรีย์

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

ตามแผนยุทธศาสตร์จังหวัดพัทลุงมุ่งเน้นการพัฒนาข้าวอินทรีย์ 5 ปี (ปี 2561-2565) เพื่อเพิ่มพื้นที่การผลิตให้เกิดผลสำเร็จ จำนวน 27,000 ไร่ และพันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกในการทำนาอินทรีย์ที่ผ่านมา ได้แก่ พันธุ์ข้าวสังข์หยดเท่านั้น สาเหตุเนื่องจากข้าวสังข์หยดเป็นข้าวที่ผ่านการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) และเป็นข้าวสุขภาพที่ลูกค้าทั้งในและต่างประเทศต้องการ สามารถสร้างมูลค่าและเพิ่มทางการตลาดได้เป็นอย่างดี กระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์ค่อนข้างเข้มงวดเรื่องของการใช้สารเคมีในแปลงนาสำหรับผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ที่กำลังจะจดทะเบียน organic Thailand หรือ IFOAM ซึ่งเป็นมาตรฐานการรับรองการผลิตข้าวอินทรีย์ที่มีการตรวจสอบอย่างเข้มข้นตลอดทั้งระบบการผลิต ดังนั้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในแปลงนาอินทรีย์จึงต้องมาจากแหล่งผลิตที่ได้รับการรับรองว่าเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ปราศจากการปนเปื้อนสารเคมีอย่างแน่นอน การผลิตปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศจึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งสำหรับการผลิตปุ๋ยหมักของกลุ่มเกษตรกรที่จะรวมกลุ่มกันผลิตปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้เองเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าวอินทรีย์ โดยหลักกระบวนการผลิตปุ๋ยต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติและขอตรารับรองปุ๋ยอินทรีย์ที่สามารถใช้ได้จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการผลิตปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศเป็นกระบวนการหมักเริ่มขึ้นหลังจากนำส่วนผสมวัสดุอินทรีย์ตามสูตร คือ มูลไก่แกลบ 3 ส่วน มูลวัว 3 ส่วน และเศษวัสดุ 1 ส่วน โดยน้ำหนัก ที่ระดับความชื้นใกล้เคียงกัน ได้ผสมเข้าเป็นเนื้อเดียวกันดีแล้วพร้อมกับปรับความชื้นให้ได้ในระดับ 60 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก หรือเปียกชุ่มแต่ไม่แฉะ หรือเมื่อใช้มือกำจะเป็นก้อนแต่ต้องไม่มีน้ำไหลออกมาจากวัสดุและเมื่อใช้นิ้วบี้จะแตกออกโดยง่าย การปรับความชื้นมีความสำคัญเพราะมีผลต่อช่องว่างในกองปุ๋ยหมัก ช่องว่างที่เหมาะสมมีผลทำให้อากาศในกองปุ๋ยหมักมีการหมุนเวียนเติมออกซิเจนให้กับจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยหมักอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ภายในกองปุ๋ยไม่เกิดสภาวะขาดออกซิเจน และช่วยปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำจากการหายใจของจุลินทรีย์ และสะสมความร้อนในกองปุ๋ยหมักให้มีความสมดุลกับจุลินทรีย์ย่อยสลายซึ่งชอบอุณหภูมิสูง สร้างเสริมกระบวนการหมักให้ประสิทธิภาพสูงเร่งการย่อยสลายให้เร็วขึ้นสม่ำเสมอทั่วทั้งกอง ลดการสูญเสียไนโตรเจน และการเกิดแก๊สมีเทนกับไนตรัสออกไซด์มีน้อยลง ซึ่งภายในกองปุ๋ยหมักจะมีการเปลี่ยนแปลงสมบัติต่างๆ ดังนี้
1) อุณหภูมิและความชื้น เป็นปัจจัยที่ต้องตรวจสอบและควบคุม ในช่วงแรกทำให้เกิดความร้อนสะสมขึ้นในกองปุ๋ยหมัก จะเริ่มมีอุณหภูมิสูงขึ้นจากความร้อนสะสมที่ขับออกมาจากการหายใจของจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยหมักภายใน 3 วัน และจะเพิ่มเรื่อยๆไปจนถึงระดับที่ควบคุม 55-65 องศาเซลเซียส อย่างน้อย 21 วัน (หากอุณหภูมิสูงเกินไปจุลินทรีย์ย่อยสลายบางชนิดจะถูกทำลาย) ความร้อนสูงในระดับนี้ จะช่วยฆ่าเชื้อโรคของคน สัตว์ และพืช รวมทั้งทำลายการงอกของวัชพืชและสารพิษบางชนิดที่ตกค้างในวัสดุอินทรีย์ จึงทำให้กองปุ๋ยหมักปลอดภัยจากเชื้อโรคและวัชพืช เมื่อครบ 30 วัน จึงย้ายออกจากซองหมักระบบเติมอากาศ เพื่อให้เกิดการย่อยสลายต่อเนื่อง และเมื่ออุณหภูมิในกองปุ๋ยลดต่ำลงเท่ากับอุณหภูมิในอากาศ ปุ๋ยหมักก็จะเข้าสู่ระยะที่มีการย่อยสลายสมบูรณ์
2) อินทรียวัตถุและอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน ปุ๋ยหมักเป็นวัสดุอินทรีย์ที่สำคัญที่ให้อินทรียวัตถุแก่ดิน ซึ่งอินทรียวัตถุในปุ๋ยหมักเป็นอินทรียวัตถุที่ผ่านการย่อยสลายจนคงตัวในรูปของฮิวมัส ปริมาณอินทรียวัตถุในปุ๋ยหมักจะมีมากหรือน้อยจะขึ้นอยู่กับวัสดุอินทรีย์ที่เป็นองค์ประกอบในปุ๋ยหมัก ความคงตัวของปุ๋ยหมักวัดจากอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน ซึ่งอัตราส่วนจะลงลงน้อย หรือการย่อยสลายจะน้อยมาก ปริมาณอินทรียวัตถุจะคงที่หลังจากมีการลดความชื้นให้ต่ำลง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดวัสดุอินทรีย์ที่นำมาใช้ทำปุ๋ยหมัก
3) การเปลี่ยนแปลงของค่าปฏิกิริยากรด-ด่าง ในกองปุ๋ยหมัก ปฏิกิริยากรด-ด่างของวัสดุอินทรีย์ในกองปุ๋ยหมักจะค่อยๆ เปลี่ยนสภาพเป็นกรด ค่าปฏิกิริยากรด-ด่าง อาจต่ำถึง 4.5-5 และเมื่อปุ๋ยหมักย่อยสลายสมบูรณ์ ค่าปฏิกิริยากรด-ด่าง มากกว่า 7.5
4) การแปรสภาพของธาตุอาหารพืชในกองปุ๋ยหมัก ธาตุอาหารพืชในปุ๋ยหมักมาจากแร่ธาตุที่ปนมากับวัสดุ และการแปรสภาพในกระบวนการย่อยสลายหรือกระบวนการปุ๋ยหมัก ปลดปล่อยสารอนินทรีย์ในรูปอิออนต่างๆที่พืชดูดใช้ได้ เช่นเดียวกับรูปอิออนแร่ธาตุในปุ๋ยเคมี แต่ได้มาจากกาย่อยสลายจากวัสดุอินทรีย์ จึงทำให้ปุ๋ยหมักมีข้อดีที่ประกอบด้วยแร่ธาตุอาหารที่จำเป็นกับพืชเกือบทุกชนิดทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม รวมทั้งยังมีสารอินทรีย์ที่ยังย่อยสลายแปรสภาพเป็นแร่ธาตุยังไม่หมดจะค่อยๆ แปรสภาพเป็นแร่ธาตุที่พืชดูดไปใช้ได้ปลดปล่อยออกมาทีหลังใส่ให้กับพืช
5) การย่อยสลายสมบูรณ์ของปุ๋ยหมัก เป็นตัวชี้วัดความเป็นประโยชน์ของปุ๋ยหมักต่อพืชโดยตรง เนื่องจากเป็นการวัดปริมาณสารพิษที่มีผลกระทบต่อการงอก ได้แก่ แก๊สแอมโมเนียและแก๊สไฮโดรเจนซัลโฟด์หรือแก๊สไข่เน่า กรมวิชาการเกษตร (2558 : 5-6)
ข้อดีของปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศ คือ ให้ธาตุอาหารอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ ทำลายเมล็ดวัชพืชและเชื้อที่ก่อให้เกิดโรค สะดวกในการเก็บรักษา ขนส่งและนำไปใช้ ช่วยลดต้นทุนการกลับกองปุ๋ยหมักและขั้นตอนในการดำเนินงาน ไม่ใช้ยูเรียเป็นส่วนผสมเหมาะสำหรับการผลิตระบบเกษตรอินทรีย์ และระยะเวลาในการหมักสั้น ดังนั้นการนำหญ้าเนเปียร์ ต้นข้าวโพด หรือผักตบชวามาใช้สำหรับการทำปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศก็จะช่วยเพิ่มมูลค่าเศษวัสดุเหลือใช้และเพิ่มรายได้จากการผลิตปุ๋ยจำหน่ายรวมถึงการช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากวัชพืชน้ำที่มีการเพิ่มปริมาณและขยายพันธุ์มากขึ้น จึงน่าจะเป็นแนวทาง หรือทางเลือกหนึ่งสำหรับเกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ที่จะรวมกลุ่มกันผลิตปุ๋ยหมักอินทรีย์ไว้ใช้เองหรือจำหน่ายโดยผ่านการรับรองมาตรฐานตามข้อกำหนดของมาตรฐานการผลิตข้าวอินทรีย์ และเป็นแนวทางการส่งเสริมให้เกษตรกรตระหนักและปฏิบัติตามข้อกำหนดของกระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์ที่เป็นไปตามมาตรฐานข้าวอินทรีย์อย่างจริงจัง

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • ยหมักแบบเติมอากาศสำหรับผู้ผลิตข้าวอินทรีย์

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 17:51 น.