โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็น Smart Farmer ในจังหวัดพัทลุง

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็น Smart Farmer ในจังหวัดพัทลุง

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็น Smart Farmer ในจังหวัดพัทลุง
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
หน่วยงานหลัก คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน
หน่วยงานร่วม - Dragon farm ตำบลท่าแค จังหวัดพัทลุง -บริษัท โฮมมาร์ทมังกรทอง จำกัด
ชื่อชุมชน พื้นที่การทำเกษตรกรรมไม้ผลได้แก่ มะละกอพันธุ์เรด เลดี้ ในพื้นที่ ตำบลท่าแค จังหวัดพัทลุง
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผศ.ดร. สมัคร แก้วสุกแสง
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา อ.ดร.ปริศนา วงศ์ล้อม ผศ.ดร.สรพงค์ เบญจศรี
การติดต่อ 074-609605
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 60,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
พัทลุง เมืองพัทลุง ท่าแค place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
เกษตกรขาดองค์ความรู้ต่างๆ ในการส่งเสริมการก้าวเข้าสู่การเป็น Young Smart Farmer
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ความรู้ต่างๆ ในการส่งเสริมการก้าวเข้าสู่การเป็น Young Smart Farmer

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

การ พัฒนาเกษตรกรที่อยู่ในกลุ่ม Existing Smart Farmer ให้เป็นเกษตรกรต้นแบบ (Model) เพื่อให้มีความเข้มแข็ง มีศักยภาพทั้งด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาดในการประกอบอาชีพการเกษตร โดยใช้ แหล่งเรียนรู้จากหน่วยงานต่างๆ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และมีเครือข่ายที่สามารถประสานงานในด้านต่าง ๆ

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

สาขาพืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน ได้เห็นความสำคัญของเกษตรกรซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการยกระดับประชากรไทย และพัฒนาให้ไทยก้าวไปสู่การเป็นประเทศดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบตามนโยบาย Thailand 4.0 ดังนั้นแนวคิดเรื่อง Smart Farmer ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากแนวคิดที่ต้องการให้คนไทยที่มีความรอบรู้ หรือทำอาชีพด้านเกษตรกร มีความภูมิใจในการเป็นเกษตรกร โดยครอบคลุมด้านความรู้ในการเกษตร สามารถบริหารจัดการทั้ง การผลิต การตลาด รวมถึงวิเคราะห์ เชื่อมโยงให้คำนึงถึงคุณภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค สังคม รวมถึงสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามเกษตรกรผู้ที่สนใจในการทำการเกษตรตามแนวคิด smart farmer ในจังหวัดพัทลุงยังขาดองค์ความรู้ต่างๆ ในการส่งเสริมการก้าวเข้าสู่การเป็น Young Smart Farmer ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้ในธุรกิจเกษตร ความรู้ด้านการตลาด และเทคนิคการเพิ่มมูลค่าการขายสินค้าโดยใช้เทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์นั่นเอง
สาขาวิชาพืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มีความตั้งใจในการร่วมแก้ปัญหาและพัฒนาระบบการผลิตให้เป็นไปตามนโยบายในการพัฒนาเกษตรกรไทยเป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) จึงต้องมีการ พัฒนาเกษตรกรที่อยู่ในกลุ่ม Existing Smart Farmer ให้เป็นเกษตรกรต้นแบบ (Model) เพื่อให้มีความเข้มแข็ง มีศักยภาพทั้งด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาดในการประกอบอาชีพการเกษตร โดยใช้ แหล่งเรียนรู้จากหน่วยงานต่างๆ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และมีเครือข่ายที่สามารถประสานงานในด้านต่าง ๆ ให้พร้อมที่จะสามารถแข่งขันกับประเทศต่าง ๆ ได้ ดังนั้น สาขาวิชาพืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน จึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็น Young smart farmer ในจังหวัดพัทลุง เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรเห็นความสำคัญ สามารถปรับเปลี่ยนให้เป็นเกษตรกรแห่งยุคสมัยใหม่ที่เพิ่มความภูมิใจได้ด้วยแนวคิดของ Smart Farmer และให้เกษตรกรสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาประเทศต่อไป

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • Smart Farmer

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 17:29 น.