โครงการ พัฒนากลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง

โครงการ พัฒนากลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการ พัฒนากลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
หน่วยงานหลัก สถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยทักษิณ
หน่วยงานร่วม - มูลนิธิรากแก้ว - สำนักงานเกษตรอำเภอตะโหมด - สภาลานวัดตะโหมด ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง - กลุ่มเกษตรกรทำนาตะโหมด ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง - เทศบาลตำบลตะโหมด ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง - ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 12 ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะโหมด ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง - สำนักงานเกษตรอำเภอเขาชัยสน - ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 11 บ้านทุ่งยาว ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง - สำนักงานเกษตรอำเภอปากพะยูน - เทศบาลตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง - ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 4 และ 5 ตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง - ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3 และ 8 ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง - สำนักงานเกษตรอำเภอควนขนุน - เทศบาลตำบลโตนดด้วน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง - ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 6 และ 7 ตำบลโตนดด้วน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ชื่อชุมชน ชุมชนตะโหมด (เน้นหมู่ที่ 12) ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง 9.2 ชุมชนดอนประดู่ (เน้นหมู่ที่ 4 และ 5) ตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง 9.3 ชุมชนบ้านทุ่งยาว (เน้นหมู่ที่ 11) ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง 9.4 ชุมชนโตนดด้วน (เน้นหมู่ที่ 6 และ 7) ตำบลโตนดด้วน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง 9.5 ชุมชนบ้านพร้าว (เน้นหมู่ที่ 3 และ 8) ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ชื่อผู้รับผิดชอบ นางสาวจิตรา จันโสด
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ สถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา อาจารย์ ดร.เปลื้อง สุวรรณมณี ที่ปรึกษาโครงการ
อาจารย์ ดร.ศิลป์ชัย สุวรรณมณี ที่ปรึกษาโครงการ
การติดต่อ 084-127-3880
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 98,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
พัทลุง ตะโหมด ตะโหมด place directions
พัทลุง ตะโหมด ตะโหมด ชนบท place directions
พัทลุง ป่าพะยอม บ้านพร้าว ชนบท place directions
พัทลุง เขาชัยสน โคกม่วง ชนบท place directions
พัทลุง ควนขนุน โตนดด้วน ชนบท place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
การใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตด้านการเกษตร
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
การผลิตทางการเกษตรที่หลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมี

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

การผลิตปุ๋ยอินทรีย์

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

การพัฒนาเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง เป็นกรอบคิดและเครื่องมือที่สถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ นำมาใช้เพื่อพัฒนาระบบการผลิตทางการเกษตรในชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้กับชุมชน เนื่องจากการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ เป็นวิธีการผลิตทางการเกษตรที่หลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีหรือสารสังเคราะห์ต่างๆ เป็นระบบการผลิตที่ให้ความสำคัญกับธรรมชาติ ได้แก่ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติเพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืน เกษตรอินทรีย์จึงสามารถช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ ป่า ทำให้เกษตรกรปลอดภัยจากพิษของสารเคมี ลดต้นทุนการผลิต และส่งผลดีต่อสุขภาพผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม เป็นระบบที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้เกษตรกรยืนอยู่บนหลักเหตุและผล มีการบริหารจัดการที่มีภูมิคุ้มกันตามหลักความพอเพียง
แนวคิดนี้ได้พัฒนาต่อเนื่องจากการดำเนินงานของสถาบันฯ ในระยะที่ 1 ( 2550-2555) ซึ่งเป็นการปรับกระบวนทัศน์การทำสวนยางพาราเชิงเดี่ยวสู่การทำเกษตรผสมผสาน ทำให้ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจการอยู่ร่วมกันของคน ป่า ดิน และน้ำ มีความตระหนักว่าการทำการเกษตรในระบบเสรีนิยม ที่ต้องพึ่งพาสารเคมี และปุ๋ยเคมี จะไม่ส่งผลดีในอนาคต จนดำเนินการมาถึงในระยะที่ 2 (2556-ปัจจุบัน) มีการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกรในชุมชนทำเกษตรอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์จึงถือได้ว่าเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญในการขับเคลื่อนระบบเกษตรอินทรีย์ให้ประสบความสำเร็จ ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา สถาบันฯ ได้นำองค์ความรู้จากงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาสูตรปุ๋ยอินทรีย์โดยเริ่มจากการคัดเลือกจุลินทรีย์ในท้องถิ่นมาใช้เป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์และพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์สูตรต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิดเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ชุมชนสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้เอง ผลปรากฏว่าทุกชุมชนยอมรับคุณภาพของปุ๋ยอินทรีย์ที่พัฒนาสูตรโดยสถาบันปฏิบัติการชุมชนฯ จึงได้มีการพัฒนากลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ขึ้นเพื่อสนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์ในกลุ่มเครือข่ายผลิตพืชอินทรีย์ที่สถาบันฯขับเคลื่อนเพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็งและสามารถใช้เป็นฐานการเรียนรู้ให้นิสิต ประกอบด้วย 5 อำเภอในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ได้แก่ 1) กลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์และกลุ่มผลิตผักอินทรีย์ชุมชนตะโหมด อำเภอตะโหมด 2) กลุ่มผลิตผักอินทรีย์ชุมชนบ้านทุ่งยาว อำเภอเขาชัยสน 3) กลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์และกลุ่มผลิตเห็ดอินทรีย์ชุมชนดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน 4) กลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์ชุมชนโตนดด้วน อำเภอควนขนุน และ 5) กลุ่มการทำเกษตรผสมผสานระบบอินทรีย์ชุมชนบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม ผลจากการดำเนินการจะเห็นได้ว่าเกษตรกรในชุมชนได้เห็นความสำคัญและกลับมาทำเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คุณภาพของปุ๋ยอินทรีย์เป็นที่ยอมรับและต้องการของสมาชิกกลุ่มเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ที่มีจำนวนมากกว่า 100 ครัวเรือน จากการสำรวจการดำเนินงานของกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ทั้ง 5 กลุ่ม พบว่าสมาชิกส่วนใหญ่ไม่นิยมผลิตปุ๋ยอินทรีย์ แต่มีความต้องการซื้อปุ๋ยอินทรีย์มาใช้แทนปุ๋ยเคมี กลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์จึงประสบปัญหาไม่สามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ให้เพียงพอต่อความต้องการได้ ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ได้มาตรฐานและเพียงพอต่อความต้องการของสมาชิกในชุมชนและขยายผลไปสู่ชุมชนอื่น ๆ จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนากระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การบริหารจัดการกลุ่ม และการวางแผนธุรกิจ เพื่อยกระดับกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์สู่วิสาหกิจชุมชนให้สามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อการค้า และส่งเสริมให้ชุมชนทำเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงต่อไป

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การผลิตปุ๋ยอินทรีย์

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 16:29 น.