ปรัชญาการจัดการศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง


ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือการพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือ ในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียนผ่านกระบวนการแก้ ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้องลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต


การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยจากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวน การจัดการเรียนรู้ ที่ มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ที่ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะการใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และ การเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ


อาจารย์ประจำหลักสูตร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ

รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์

ดร.เพ็ญ สุขมาก

ปร.ด. (การจัดการสิ่งแวดล้อม)
ม.สงขลานครินทร์, 2557
ตำแหน่ง: ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ. ม.อ.

ดร.ซอฟียะห์ นิมะ

ปร.ด. (เภสัชศาสตร์), ม.สงขลานครินทร์, 2555
ตำแหน่ง: อาจารย์ สนส. ม.อ.

ดร.นพ.วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย

Ph.D. (Epidemiology), ม.สงขลานครินทร์, 2551
ตำแหน่ง: อาจารย์ สนส. ม.อ.

ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์

ตำแหน่ง: อาจารย์ สนส. ม.อ.

ดร.ซูวารี มอซู

ตำแหน่ง: อาจารย์ สนส. ม.อ.



หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
 สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564

ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ
ภาษาอังกฤษ Master of Science Program in Health System Management
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการระบบสุขภาพ)
ภาษาอังกฤษ Master of Science (Health System Management)
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
36
หลักสูตรระดับปริญญาโท หลักสูตร 2 ปี โดยจัดการเรียนการสอนเป็น 3 กลุ่มวิชา คือ
  • กลุ่มวิชาการบริหารจัดการระบบสุขภาพ
  • กลุ่มวิชาการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ
  • กลุ่มวิชากระบวนการนโยบายสาธารณะ

แบบฟอร์มและคู่มือนักศึกษา

แบบฟอร์ม บว. สำหรับนักศึกษาปริญญาโท แผน ก
บว.1 แบบขออนุมัติแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก/อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม
บว.1/1 แบบขออนุมัติเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก/อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม
บว.14 รายงานต้นฉบับแสดงผลการตรวจสอบการคัดลอกผลงานการเขียนทางวิชาการ (Originality Report)
บว.2 แบบขออนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์
บว.2/1 แบบขออนุมัติเปลี่ยนแปลงชื่อโครงร่างวิทยานิพนธ์
บว.3 แบบขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
บว.3/1 แบบขออนุมัติเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
บว.4 แบบขอสอบวิทยานิพนธ์
บว.4/1 ข้อมูลการเผยแพร่ผลงานวิทยานิพนธ์
บว.4/2 แบบขอเปลี่ยนแปลงวันสอบวิทยานิพนธ์
บว.5 แบบแจ้งผลการสอบวิทยานิพนธ์
บว.6 แบบตรวจวิทยานิพนธ์
บว.8 แบบขอส่งวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์
บว.สนส.01 แบบขอสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์
บว.สนส.02 แบบรายงานแก้ไขโครงร่างวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์
บว.สนส.05 แบบขอแต่งตั้งคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
บว.สนส.06 แบบรายงานแก้ไขวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์
รายชื่ออาจารย์-สาขาเชียวชาญ สำหรับกรอกในแบบฟอร์ม บว.
หนังสือยินยอมมอบลิขสิทธิ์ (ส่งพร้อม บว.2)
ใบรับรองการแก้ไขโครงร่างวิทยานิพนธ์ (หน้าสุดท้ายของเล่มโครงร่าง)