พื้นที่ย่านเมืองเก่า

พื้นที่ย่านเมืองเก่า
พื้นที่ย่านเมืองได้ออกแบบด้วยแนวคิด Old Town Pop Up Park Journey
พื้นที่ย่านเมืองได้ออกแบบด้วยแนวคิด Old Town Pop Up Park Journey เดินลัดเลาะรอบเมืองเก่า มี 4 แนวทางในการออกแบบ ได้แก่ 1) การวางผังและออกแบบการเชื่อมโยงพื้นที่เพื่อส่งเสริมการเดินในระดับย่าน 2) การออกแบบพื้นที่สาธารณะขนาดเล็กกระจายในพื้นที่ และ Hidden Space ในย่าน เพื่อกระตุ้นการมีกิจกรรมทางกายในละแวกบ้าน และจุดถ่ายรูปท่องเที่ยวแห่งใหม่ 3) ออกแบบรูปแบบกิจกรรมหมุนเวียน เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ 4) การออกแบบที่มุ่งเน้นการสาะท้อนอัตลักษณ์เพื่อสร้างภาพจำของย่าน พื้นที่ที่ได้ออกแบบมีทั้งหมด 4 ส่วนด้วยกัน คือ 1) Pocket park ลานชาร์เตอร์ 2) Museum park พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว 3) Hidden park ตรอกตัวแจ้ 4) Market park ตลาดบ่านซ้าน 5) Connectivity ส่งเสริมการเดินเชื่อมโยง 17 จุด
ปฏิทินการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยสอดคล้องกับเทศกาลสำคัญในรอบ 1 ปี และมีการเชื่อมโยงกิจกรรมกับชุมชนใกล้เคียง
ปฏิทินการจัดกิจกรรม
1) Pocket park ลานชาร์เตอร์
Pocket park ลานชาร์เตอร์ ได้ออกแบบ 3 ส่วน คือ 1) ลานอเนกประสงค์/พื้นที่นั่งพัก 2) Bus Stop/Playground 3) Hide and Seek/Gallery garden ในพื้นที่ได้ออกแบบปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์โดยใช้วัสดุที่อยู่ร่วมกับน้ำท่วมได้ และใช้พืชที่รองรับน้ำ และเป็นรั้วกั้นน้ำท่วมในสเกลที่บางเบาได้
ลานชาร์เตอร์
2) Museum park พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว
Museum park พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว ได้ออกแบบพื้นที่ช่วง Event ในลักษณะ Outdoor Museum ส่งเสริมให้เป็น Landmark ดึงดูดผู้คน และออกแบบแนวคิด Active Learning เพื่อส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดแทรกกิจกรรมทางกายเข้าไป
3) Hidden park ตรอกตัวแจ้
แนวทางการออกแบบพื้นที่ตรอกตั๋วแจ้ (Hidden Park) ดังนี้ 1) ขีดสีตีเส้น ตกแต่งผนัง เพื่อดึงดูดสายตา บริเวณทางเข้า 2) ออกแบบการใช้พื้นที่หลังบ้าน ในเชิงดึงดูดนักท่องเที่ยวและพาณิชยกรรมขนาดเล็ก 3) ออกแบบพื้นที่แลนด์มาร์คบริเวณบ่อน้ำตั่วแจ้
ตรอกตัวแจ้
4) Market park ตลาดบ่านซ้าน
ความต้องการของพื้นที่ ดังนี้ การจัดระเบียบ ได้แก่ 1) ความสะอาด โปร่ง แสงแดดส่องถึง มีระบบระบายอากาศ 2) แบ่งโซนเปียกแห้งให้ชัดเจน ให้ของสดอยู่ด้านใน 3) กำหนดจุดรับส่งของให้ชัดเจน 4) ออกแบบทางระบายน้ำ และระบบท่อน้ำทิ้ง การสร้างพื้นที่กิจกรรม ได้แก่ 1) สงวนพื้นที่ส่วนหนึ่งของตลาดไว้สำหรับนั่งพัก (Open Community) 2) การสร้างสภาพแวดล้อมให้สะอาดมีสีสัน และดูสวยงาม (locat culture and landscape) 3) ป้ายข้อมูลสำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยวในย่าน เพื่อส่งเสริมการเดินและเศรษฐกิจ (Social interaction + walkable)
Market park ตลาดบ่านซ้าน
การออกแบบทางสถาปัตยกรรม โดย ศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง Healthy Space Forum