ทดลอง load หน้าจาก localfund

load
asddddddddddddddddddddddddd
account_balance

แผนงานอาหารและโภชนาการ ปี 2565 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาเจาะ

แผนงานอาหารและโภชนาการ ปี 2565 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาเจาะ
อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ประจำปีงบประมาณ 2565

stars
ข้อมูลแผนงาน
ชื่อแผนงาน แผนงานอาหารและโภชนาการ ปี 2565 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาเจาะ
ประเด็นแผนงาน แผนงานอาหารและโภชนาการ
องค์กร กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาเจาะ
ปีงบประมาณ 2565
stars
สถานการณ์ปัญหา
สถานการณ์ปัญหาแบบสอบถาม
navigate_before 2564 navigate_next
ขนาด
1 ร้อยละของเด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม

 

ข้อมูลสำหรับคำนวณร้อยละสถานการณ์ปัญหาค่าบันทึก
จำนวนเด็กแรกเกิดในชุมชน ที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม
จำนวนเด็กแรกเกิดในชุมชนทั้งหมด
70.00
2 ร้อยละของเด็ก 0-6 เดือน ที่กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน

 

ข้อมูลสำหรับคำนวณร้อยละสถานการณ์ปัญหาค่าบันทึก
จำนวนเด็ก 0-6 เดือน ที่กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน
จำนวนเด็ก 0-6 เดือนทั้งหมด
80.00
3 ร้อยละของคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัดเป็นประจำ (มากกว่า 5 วันต่อสัปดาห์)

 

ข้อมูลสำหรับคำนวณร้อยละสถานการณ์ปัญหาค่าบันทึก
จำนวนคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัดเป็นประจำ (มากกว่า 5 วันต่อสัปดาห์)
จำนวนคนในชุมชนทั้งหมด
65.00

 

stars
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ตัวชี้วัดขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดเด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม

ร้อยละของเด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม

70.00 70.00
2 เพื่อเพิ่มเด็ก 0-6 เดือน ที่กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน

ร้อยละของเด็ก 0-6 เดือน ที่กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน

80.00 85.00
3 เพื่อลดคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัด เป็นประจำ (มากกว่า 5 วันต่อสัปดาห์)

ร้อยละของคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัดเป็นประจำ (มากกว่า 5 วันต่อสัปดาห์)

65.00 75.00
stars
แนวทาง/วิธีการสำคัญ
แนวทางวิธีการสำคัญ
1 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการระบบอาหารในชุมชน

• การเพิ่มที่ผลิตอาหารในบ้าน โรงเรียน หรือสถานที่สาธารณะในชุมชน     • การใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการเพิ่มพื้นที่อาหารปลอดภัยในระดับครัวเรือน /ชุมชน หน่วยงานเช่นโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
    • การเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์หรือเกษตรปลอดภัยในชุมชน     • การปรับงานอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินงานอาหารปลอดภัยและสุขาภิบาลอาหาร     • การใช้บริบท วัฒนธรรม ภูมิปัญญาทางด้านอาหาร เพื่อการจัดการระบบอาหารในชุมชน     • การทำระบบกระจาย หรือเชื่อมโยงผลผลิต (matching model)  โดยการเชื่อมโยงอาหารจากผู้ผลิตไปยังหน่วยงานเช่น โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก  ร้านอาหาร หรือผู้บริโภค

วิธีการ

  1. การส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้  หรือการส่งเสริมการทำสวนผักในเมืองในพื้นที่ๆ เป็นชุมชนเมือง เพื่อเพิ่มการเข้าถึงอาหารปลอดภัยแก้ปัญหาอาหารโภชนาการและอาหารปลอดภัย
  2. ส่งเสริมการทำเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ในโรงเรียนเพื่อแก้ปัญหาการขาดอาหาร เช่นการปลูกผัก นาข้าว การเลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงปลา ฯลฯ
  3. ส่งเสริมการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์มาใช้ในระบบอาหารของครัวเรือน ชุมชน
  4. การใช้เมนูอาหารที่เหมาะสมกับทุกช่วงวัยในศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน และชุมชน
  5. การปรับปรุงสุขาภิบาลอาหารในโรงครัว โรงเรียน/ศูนย์เด็กเล็ก/ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารในพื้นที่
  6. การพัฒนาตลาด (ตลาดปลอดภัย/ตลาดสีเขียว/ตลาดอินทรีย์/ตลาดน่าซื้อ ตลดออนไลน์ ฯลฯ ของชุมชน)
  7. การส่งเสริมการบริโภคโดยใช้เมนูอาหารพื้นบ้าน  เมนูอาหารเป็นยา เมนูชูสุขภาพ ผักสมุนไพรเพื่อสุขภาพ เพื่อการส่งเสริมป้องกันโรค
2 การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล

• การพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน ให้มีความรู้ ทักษะ ความสามารถในการจัดการอาหารในชุมชน • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคตามกลุ่มวัย (วัยเด็ก/วัยเรียน.วันทำงาน/วัยสูงอายุ)

วิธีการ

  1. การพัฒนาศักยภาพครู ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ด้านอาหารในโรงเรียนและชุมชน เช่นการอบรมโปรแกรม Menu Thai School Lunch
  2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในกลุ่มเป้าหมายที่มีปัญหาเช่น เด็ก/ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง/ผู้สูงอายุ ฯลฯ เช่น การส่งเสริมการบริโภค ผัก ผลไม้
  3. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในครัวเรือน /โรงเรียน/ศูนย์เด็กเล็ก และชุมชน เช่น ลด หวาน มัน เค็ม ลดการบริโภคน้ำหวานน้ำอัดลม
  4. การฝึกทักษะการปรุง การใช้ตำรับอาหารพื้นบ้านที่เป็นยา อาหารเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ
  5. การสร้างบุคคล ครัวเรือน ต้นแบบ (Role model)
  6. การส่งเสริมความรอบรู้เรื่องสุขภาพ (Health literacy) ความรอบรู้เรื่องอาหาร (food literacy)
3 การปรับระบบ กลไก

• การพัฒนาระบบเฝ้าระวังเรื่องการจัดการอาหารในชุมชน • การพัฒนาระบบคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร • การจัดตั้งชมรม กลุ่ม เครือข่ายต่างๆ ในชุมชนเพื่อการจัดการอาหาร • การใช้กลไกคณะกรรมการอาหารปลอดภัยระดับจังหวัดในการดำเนินงานอาหารปลอดภัย

วิธีการ

  1. การพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลภาวะโภชนาการในศูนย์เด็กเล็กและในโรงเรียน
  2. การใช้โปรแกรม Menu Thai School Lunch เพื่อจัดการอาหารในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียน
  3. การติดตามภาวะโภชนาการของคนในชุมชน โดยเฉพาะ กลุ่มเด็กและผู้สูงอายุ
  4. การสนับสนุนชมรม กลุ่ม เครือข่ายต่างๆ ในชุมชนเพื่อการจัดการอาหาร เช่น กลุ่มเกษตรกรปลอดสารพิษ.เกษตรอินทรีย์ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเครื่องแกง กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ฯลฯ
4 การเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน

• ชุมชนสามารถจัดการข้อมูลอาหารและโภชนาการได้ • ชุมชนสามารถจัดทำแผนชุมชนด้านระบบอาหารแบบมีส่วนร่วม ตั้งแต่การจัดทำข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดเวทีคืนข้อมูล กำหนดแผนงาน โครงการร่วมกัน ปฏิบัติร่วมกัน และร่วมติดตามประเมินผล

วิธีการ

  1. พัฒนาแกนนำและผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถเก็บข้อมูล การจัดทำข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดเวทีคืนข้อมูล
  2. การทำแผนชุมชน การทำแผนท้องถิ่น การจัดทำโครงการหรือกิจกรรมร่วมกับชุมชน
  3. สนับสนุนให้ชุมชนที่ส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อการมีและเข้าถึงอาหาร ทำให้มีอาหารปลอดภัยบริโภค และบริโภคที่ถูกต้อง มีโภชนาการที่สมวัย
5 การพัฒนานโยบายสาธารณะด้านอาหารในชุมชน

• เกิดธรรมนูญสุขภาพ เรื่องระบบอาหาร • เกิดกติกาหรือข้อตกลงร่วมเรื่องระบบอาหาร • เกิดมาตรการของชุมชนและท้องถิ่นเรื่องระบบอาหาร

วิธีการ

  1. การกำหนดนโยบายชุมชนเรื่องการไม่ขายเครื่องดื่มน้ำหวาน ขนมขบเคี้ยวในบริเวณ ใกล้หรือในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียน
  2. นโยบายชุมชนปลอดน้ำอัดลม เหล้า สุรา ในงานเลี้ยง งานบุญ งานประเพณี
  3. ข้อตกลงชุมชนให้คนในชุมชนปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเองในครัวเรือน
  4. การกำหนดมาตรการ ข้อตกลงร่วม กฏ กติกาของชุมชน ในการลดการใช้สารเคมีในภาคเกษตร
  5. การกำหนดมาตรการ ข้อตกลงร่วม กฏ กติกาของชุมชน ในการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่เป็นแหล่งอาหารของชุมชน
  6. นโยบายบายการนำอาหารสุขภาพไปถวายพระ (ปิ่นโตเพื่อสุขภาพ)
  7. การส่งเสริมให้เกิดธรรมนูญลุ่มน้ำ ธรรมนูญป่าชุมชน เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
paid
งบประมาณที่ตั้งไว้ตามแผนงาน (บาท)
0.00
stars
โครงการที่ควรดำเนินการ
ชื่อโครงการย่อยประเภทผู้รับผิดชอบงบประมาณที่ตั้งไว้ (บาท)
1 โครงการรู้เท่าทันสื่อ บริโภคอย่างปลอดภัย ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะ 20,000.00
stars
โครงการที่ขอการสนับสนุนจากกองทุน
ยังไม่มีโครงการที่ขอการสนับสนุนจากกองทุนของแผนในปีนี้
stars
โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อติดตาม
ปีงบประมาณชื่อติดตามโครงการประเภทองค์กรรับผิดชอบงบประมาณ (บาท)
1 2565 โครงการหนูน้อยสมวัยโภชนาการและพัฒนาการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะ 25,000.00
รวม 25,000.00